การค้าระหว่างประเทศมีความสําคัญอย่างไร

กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ

563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

กระทรวงพาณิชย์ ถนนรัชดาภิเษก

22/77 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร
กรุงเทพ 10900

ติดต่อสถาบัน

โทร.: 02 507 7999 ต่อ 8158, 8109, 8145, 8158, 8146
โทรสาร: 02 547 4298

สายด่วนโทร: 1169
อีเมล:

การค้าต่างประเทศมีความสำคัญอย่างไร

1.ทำไมจึงต้องมีการค้าต่างประเทศ

​ประเทศต่างๆทั่วโลกมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน มีทั้งการซื้อขายสินค้าและการค้าขายแลกเปลี่ยนกันทางด้านบริการ เช่น การท่องเที่ยวและการขนส่งระหว่างประเทศ ในบางประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดเล็ก การค้าต่างประเทศมีสัดส่วนที่สำคัญมากต่อเศรษฐกิจ แม้ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายชนิด ก็ต้องมีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ ในปัจจุบันประเทศต่างๆมีการแข่งขันกันมากในทางเศรษฐกิจ บางประเทศต้องการคุ้มครองอุตสาหกรรมของตนเอง จึงมีมาตรการที่มุ่งกีดกันทางการค้าต่างๆนานา ทั้งการตั้งกำแพงภาษีในสินค้านำเข้า การจำกัดปริมาณการนำสินค้าเข้าหรือแม้กระทั่งการห้ามการนำเข้าเลย และมีการอุดหนุนการส่งออก เพื่อให้สินค่าที่ผลิตในประเทศตนสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศได้มาก ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าการมีค้าต่างประเทศ มีผลทำให้ประเทศของตนมีความเสียเปรียบ เพราะการค้าในโลกมีการถูกครอบงำโดยประเทศใหญ่ๆ หรือผู้ผลิตรายใหญ่ ประเทศเล็กที่มีขนาดการค้ารวมไม่มากมักขาดอำนาจในการต่อรอง สินค้าที่ส่งออกมักถูกกดราคาและถูกจำกัดการนำเข้าจากประเทศอื่นๆด้วยมาตรการต่างๆ ส่วนสินค้าเข้ากลับมีราคาสูง ประเทศเล็กเมื่อมีการส่งออกน้อย สินค้าออกมีราคาต่ำ แต่จำเป็นต้องนำสินค้าเข้าปริมาณมากในราคาสูง จึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบทางการค้าและมีดุลการค้าขาดดุล ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในบางครั้งเราจึงได้ยินคำแนะนำในทำนองว่า นโยบายที่ดีควรจะปิดประเทศ โดยอย่าไปค้าขายกับต่างประเทศเลย หรือถ้าจะต้องค้าขายกับต่างประเทศก็ต้องพยายามค้าขายให้น้อยที่สุด นโยบายทางเศรษฐกิจที่ดีจึงควรมุ่งการผลิตสินค้าให้พอกินพอใช้ในประเทศ โดยไม่ต้องไปพึ่งพาการค้าต่างประเทศ

​อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริงประเทศต่างๆยังต้องพึ่งพาการค้าซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศไม่มากก็น้อย ในลักษณะเดียวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนของบุคคลทั่วไป ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครสามารถผลิต ข้าว ปลา อาหาร เสื้อผ้าและของใช้ต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างครบถ้วน ประเทศชาติก็มีลักษณะเดียวกัน แม้ประเทศใหญ่ก็ไม่สามารถผลิตสิ่งของทุกอย่างที่ประเทศตนจำเป็นต้องใช้ได้อย่างครบถ้วนทุกอย่าง การค้าต่างประเทศทั้งการนำเข้าและการส่งออกจึงมีความจำเป็น แม้ในระหว่างทำการค้าขายอาจต้องประสบกับปัญหาต่างๆมากมายหลายประการ ทั้งการเคลื่อนไหวขึ้นลงของราคาสินค้าและการกีดกันทางการค้าด้วยมาตรการต่างๆก็ตาม การเน้นเรื่องข้อเสียเปรียบทางการค้าแล้วเห็นว่าประเทศเราไม่ควรทำการค้าต่างประเทศเลยหรือพยายามจำกัดการค้าต่างประเทศให้น้อยที่สุดนั้นก็เหมือนกับสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า “ไม่กินอาหารเพราะกลัวสำลัก” ผลที่ได้รับก็คือรอวันตายเพราะขาดอาหาร

2.ประโยชน์ของการค้าต่างประเทศ

​ในชั่วโมงแรกของการเรียนวิชาการค้าต่างประเทศ อาจารย์ผู้สอนมักชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการค้าต่างประเทศ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดซึ่งไม่ต้องมีการอธิบายมากนักคือ การค้าต่างประเทศทำให้เรามีโอกาสใช้สินค้าที่ประเทศตนผลิตไม่ได้หรือแม้ผลิตได้แต่ก็ไม่สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอโดยผ่านการนำเข้า ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าและการชนส่งในประเทศไทยต้องใช้น้ำมันปิโตรเลียมและสินค้าอื่นที่สามารถกำเนิดพลังงานในปริมาณมาก และประเทศเราไม่สามารถผลิตสิ่งเหล่านี้ได้เพียงพอ จึงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ เครื่องมือ เครื่องจักรบางชนิดที่เราไม่สามารถผลิตได้ก็ต้องมีการนำเข้าสินค้าหลายชนิด เช่น เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์สื่อสารคมนาคม และพืชผลไม้เมืองหนาวที่ไม่มีการผลิตในประเทศไทย เราก็ต้องนำเข้า การนำเข้าสินค้าเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศสามารถบริโภคสินค้าหลากหลายชนิด สินค้าบางชนิดแม้ผลิตในประเทศได้ แต่ก็มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือมีคุณภาพไม่ดี การนำเข้าสินค้าจึงมีผลทำให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอหรือไม่ดีพอ ซึ่งมีผลทำให้สวัสดิการของประชาชนดีขึ้น

​ทางด้านการส่งออก ประเทศไทยไม่สามารถใช้เงินบาทไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ จะต้องมีการส่งออกเพื่อได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศมาใช้ในการนำเข้า การส่งออกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศหลายประการเช่น การระบายสินค้าที่เหลือกินเหลือใช้ในประเทศ ในปีหนึ่งๆประเทศไทยสามารถผลิตข้าวและยางพาราได้ในปริมาณมากกว่าที่ต้องการใช้ในประเทศ ทั้งข้าว ยางและสินค้าอื่นๆที่เราผลิตได้ แต่บริโภคได้ไม่หมดก็สามารถระบายออกสู่ตลาดต่างประเทศได้ แล้วได้เงินตราต่างประเทศมาเพื่อนำเข้าสินค้าที่จำเป็น เช่น น้ำมันและเครื่องจักรอุปกรณ์ หากไม่มีการส่งออกเลยสินค้าหลายอย่างที่เหลือกินเหลือใช้คงต้องมีราคาตกลงไปมาก เพราะมีมากกว่าความต้องการภายในประเทศ และบางอย่างอาจต้องปล่อยให้เน่าเสียไป

​นอกจากนี้การส่งออกไปตลาดต่างประเทศยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตและ___ สินค้าต่างๆเมื่อมีการผลิตในปริมาณมากๆ ประสิทธิภาพการจะสูงขึ้นและมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง ปรากฏการณ์เช่นนี้ศัพท์ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การประหยัดจากขนาด (economies of scale) กล่าวคือ การผลิตสินค้าจำนวนมากๆมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของสินค้าชนิดนั้นลดลงจากการใช้เครื่องมือเครื่องจักรได้เต็มที่หรือมีความคุ้มค่าในการใช้มากขึ้น คนทำงานมีความชำนาญและมีการแบ่งงานกันได้ดีขึ้น การผลิตสินค้าในปริมาณมากๆจึงทำให้สินค้านั้นมีต้นทุนการผลิตลดลง สินค้าหลายอย่างถ้าขายเพียงตลาดในประเทศอาจขายได้ไม่มาก แต่หากมีการส่งออกก็จะสามารถขายได้ในปริมาณมากขึ้น เพราะตลาดโลกมีขอบเขตที่กว้างใหญ่ ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจึงสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่มากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายเพียงตลาดภายในประเทศ

​ประโยชน์ของการค้าต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดโดยไม่ต้องมีการอธิบายมาก แต่ประโยชน์ของการค้าต่างประเทศยังมีอีกหลายประการ ซึ่งบางอย่างก็ไม่อาจเห็นได้ชัดเจนนัก วิชาการค้าระหว่างประเทศมักจะเริ่มต้นด้วยทฤษฏีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage) และผลประโยชน์ที่ได้จากการค้าต่างประเทศจากการมุ่งผลิตและส่งออกในสินค้าที่ประเทศของตนมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ จะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่ประเทศตนมีอยู่มากอย่างมีประสิทธิภาพ

​หากเราพิจารณาการค้าต่างประเทศในความหมายกว้าง โดยหมายความถึงการลงทุนระหว่างประเทศด้วย ก็จะเห็นผลประโยชน์ได้มากขึ้น ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนต่างประเทศ เช่น หากมีบริษัทตางชาติเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าในประเทศไทย จะมีผลต่อการไหลเข้ามาของเงินทุนและได้มาซึ่งความรู้เทคโนโลยีและช่วยส่งเสริมการจ้างงานและรายได้แก่คนในประเทศ ทั้งยังทำให้เราสามารถส่งสินค้าออกได้มากขึ้นได้อีกด้วย

3. ทฤษฏีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ

​หากความสามารถในการผลิตสินค้าในประเทศหนึ่งมีเหนือกว่าอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากการมีทรัพยากรในการผลิตสินค้านั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์ มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า มีเทคโนโลยีการผลิตที่สูงกว่าและมีความชำนาญในการผลิตสินค้านั้นมากกว่าประเทศอื่นๆ ต้นทุนการผลิตของสินค้าชนิดนั้นย่อมมีน้อยกว่าประเทศอื่น หากมีการส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดโลกก็ย่อมมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ การมีข้อได้เปรียบในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดหรือการผลิตสินค้าต่างๆได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศอื่นหรือประเทศคู่ค้ารายใดรายหนึ่งนี้ เรียกว่า ความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ (absolute advantage) ถ้ามีการทำการค้าระหว่างประเทศ สินค้าที่มีข้อได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ย่อมสามารถส่งออกไปขายในต่างประเทศได้

​การค้าต่างประเทศทำให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างประเทศ และทำให้ประเทศต่างๆมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ตามแนวคิดความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์นี้ ประเทศที่มีการค้าต่างประเทศได้ต้องเป็นประเทศที่สามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าประเทศอื่น ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งผลิตสินค้าในต้นทุนที่สุงกว่าประเทศอื่น ก็ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปแข่งกับประเทศอื่นๆที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ และถ้าผลิตสินค้าหลายชนิดหรือทุกชนิดได้ในต้นทุนที่สูงกว่าประเทศอื่น ก็หมายความว่าประเทศนั้นไม่สามารถทำการค้าต่างประเทศได้ หรือถ้าทำก็มีแต่การนำเข้าแต่ส่งออกไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสุงกว่าประเทศอื่นในสินค้าทุกชนิดจะมีแต่การนำเข้าไม่มีการส่งออกเลยหรือ? ในเวลาต่อมาจึงมีผู้นำเสนอทฤษฏีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage) โดยไม่จำเป็นต้องมีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์หรือผลิตสินค้าได้ถูกกว่าประเทศอื่นๆแล้วจึงสามารถทำการค้าต่างประเทศได้

​แนวคิดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนี้นำเสนอเป็นครั้งแรกโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เดวิด ริคาโด (David Ricardo) ทฤษฏีนี้กล่าวว่า แม้ประเทศใดประเทศหนึ่งจะไม่มีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ในการผลิตสินค้าใดๆเลย ก็ยังสามารถทำการค้าและได้รับประโยชน์จากการค้าต่างประเทศได้ด้วยการเลือกผลิตสินค้าที่ประเทศตนมีความเสียเปรียบน้อยที่สุด และซื้อสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบในการผลิตน้อยกว่า(หรือเสียเปรียบมากกว่า) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆกล่าวคือ เลือกผลิตสินค้าที่แม้ตนเองเสียเปรียบทางต้นทุน แต่มีความเสียเปรียบที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ ในทำนองเดียวกันในประเทศที่แม้มีข้อได้เปรียบในการผลิตสินค้าหลายชนิด ก็ควรมุ่งผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบมาก และนำเข้าสินค้าที่ได้เปรียบไม่มากนัก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าควรส่งออกสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาก และนำเข้าในสินค้าที่แม้มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แต่เมื่อเทียบกับสินค้าอีกชนิดหนึ่งแล้วมีความได้เปรียบน้อยกว่า หากเป็นเช่นนี้ทั้งประเทศที่มีต้นทุนสูงและที่มีต้นทุนต่ำก็สามารถทำการค้าระหว่างกันได้และต่างก็ได้รับประโยชน์จากการค้าต่างประเทศ

​ตัวอย่างที่ริคาโดยกมาคือ ข้าวสาลีกับผ้าที่ผลิตในสองประเทศคือ อังกฤษและฝรั่งเศส อังกฤษสามารถผลิตสินค้าทั้งสองชนิดได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าฝรั่งเศส แต่มีความได้เปรียบในการผลิตผ้ามากกว่า คืออังกฤษสามารถผลิตผ้าได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าฝรั่งเศสมาก ส่วนข้าวสาลีนั้นแม้อังกฤษมีข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน แต่ก็มีข้อได้เปรียบที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตผ้า ถ้าอังกฤษผลิตผ้าแล้วส่งออกไปขายในฝรั่งเศสเพื่อแลกกับข้าวสาลี อังกฤษก็จะได้ประโยชน์จากกรมุ่งใช้ทรัพยากรของตนในการผลิตสินค้าที่มีความถนัดมากกว่า เมื่อเทียบกับสินค้าอีกชนิดหนึ่งคือผ้า และฝรั่งเศสก็สามารถใช้ทรัพยากรของตนในการผลิตข้าวสาลี การค้าขายแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้ทำให้ทั้งสองประเทศที่ทำการค้าต่างได้รับประโยชน์ เพราะสามารถใช้ทรัพยากรของตนในการผลิตสินค้าที่มีความได้เปรียบหรือความถนัด

​ในตัวอย่างที่ริคาโดยกมานั้น การผลิตสินค้ามีปัจจัยการผลิตเพียงอย่างเดียวคือ แรงงาน ซึ่งในระยะสั้นคือ ___ ว่ามูลค่าสินค้าถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานที่ใช้ในการผลิต ในเวลาต่อมาทฤษฏีการค้าต่างประเทศมีการขยายขอบเขตไป และมีผู้อธิบายความได้เปรียบทางการค้าที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีการผลิต แต่ทฤษฏีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนี้ก็ยังสามารถนำมาใช้อธิบายประโยชน์ที่เกิดจากการค้าต่างประเทศได้

​ทางทฤษฏีการค้าต่างประเทศที่กล่าวมา ประเทศต่างๆควรมุ่งผลิตสินค้าที่ประเทศตนมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ดี ในการค้าระหว่างประเทศหากประเทศใดประเทศหนึ่งพึ่งสินค้าออกเพียงไม่กี่ชนิด ก็อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศได้ เช่น ประเทศไทยส่งออกข้าวและยางพาราในแต่ละปีเป็นปริมาณมาก ถ้าเราไม่มีการส่งออกสินค้าชนิดอื่นเลยหรือแม้มีการส่งออกแต่ก็มีปริมาณที่น้อยมาก หากในบางปีราคาข้าวและยางในตลาดโลกลดลงมามาก รายรับที่ได้จากการส่งออกของไทยก็จะตกลงไปมาก ซึ่งมีผลต่อรายได้และการจ้างงานในประเทศ ยิ่งรายรับจากการส่งออกเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ในประเทศมีมากเท่าไหร่ เศรษฐกิจในประเทศยิ่งได้รับผลกระทบมากเท่านั้น ประชาชนโดยเฉพาะชาวไร่ ชาวนาก็จะได้รับความเดือดร้อนเพราะรายได้ต้องลดลงไปมาก

​ดังนั้นเราควรมีการผลิตและส่งออกในสินค้าที่ประเทศเรามีความถนัดมาก แต่ก็ควรให้ความสนใจในเรื่องการผลิตและการส่งออกในสินค้าหลากหลายชนิด ในปัจจุบันการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศมีการแบ่งย่อยลงและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมีการแบ่งการผลิตออกเป็นหลายขั้นตอน ประเทศต่างๆอาจมีการนำเข้าและส่งออกในสินค้าประเภทเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันในลักษณะบางอย่างเช่น ประเทศไทยสามารถผลิตและส่งออกรถยนต์ไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ แต่ก็ยังมีการนำเข้ารถยนต์บางชนิด หรือมีการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังมีการนำเข้าในสินค้าชนิดนี้ด้วย เป็นต้น

4. การค้าต่างประเทศของไทย

​เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศเป็นสัดส่วนสูง มูลค่าการค้าต่างประเทศเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศแล้วคิดเป็นสัดส่วนที่สูงมาก การค้าต่างประเทศจึงมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ในปีที่มูลค่าการค้าต่างประเทศตกต่ำ การขยายตัวของเศรษฐกิจก็ตกต่ำลงไปด้วย

​ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโครงสร้างการค้าต่างประเทศของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ

ก. การค้าต่างประเทศมีความสำคัญต่อไทย ขนาดการเปิดประเทศที่วัดกันด้วยมูลค่าของสินค้าและบริการที่นำเข้าและส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมูลค่าสินค้าและบริการนำเข้าบวกกับมูลค่าสินค้าออกและบริการส่งออกรวมกันแล้วกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง (ร้อยละ 150) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เพียงการค้าในสินค้า (ไม่รวมบริการ) ก็สูงร้อยละ 130 อยู่แล้ว

ข.โครงสร้างของสินค้าทั้งในสินค้าเข้าและสินค้าออกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ก่อนหน้านี้สินค้าออกที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ต่อมาสินค้าที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูง เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีความสำคัญในการส่งออกมากขึ้น ในเวลานี้สินค้าออกที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และยานยนต์ เพราะการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนที่สูงกว่าสินค้าเกษตรมาก แม้ข้าวและยางพารายังเป็นสินค้าออกที่สำคัญ แต่ก็มีสัดส่วนมูลค่าต่อสินค้าออกทั้งหมดลดน้อยลง กล่าวโดยรวมแล้วโครงสร้างสินค้าออกของไทยมีความหลากหลายมากขึ้นตามกาลเวลา ทางด้านสินค้าเข้าก็มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างจากเมื่อหลายสิบปีก่อนไปมาก ก่อนปีพ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศน้อยมาก สินค้าเข้าส่วนใหญ่ของไทยจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการบริโภคมีการนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบและน้ำมัน มีสัดส่วนที่ไม่สูงมาก ต่อมาเมื่อมีการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าและอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก โครงสร้างการนำเข้าก็เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำเข้าในสินค้าสำเร็จรูปแม้ยังมีมูลค่าสูง แต่มีสัดส่วนในการนำเข้ารวมลดลงไปมาก ในทางตรงกันข้ามสินค้าเข้าประเภทเครื่องจักรกล วัตถุดิบและโดยเฉพาะน้ำมัน มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมากและสินค้าเข้าที่เป็นน้ำมัน เครื่องจักรกลและวัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลางประกอบขึ้นเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างสินค้าเข้า

ค.โครงสร้างของตลาดส่งออกของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา เมื่อเพียงประมาณ 20 ปีก่อน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป เป็นตลาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการส่งออกของไทยมาก สามกลุ่มประเทศนี้เมื่อรวมกันแล้วซื้อสินค้าจากประเทศไทยในแต่ละปีรวมกันแล้วประมาณร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออก ในปัจจุบันตลาดส่งออกของไทยมีความสำคัญมากถ้าคิดเป็นรายประเทศคือ จีน และถ้าคิดเป็นกลุ่มประเทศก็เป็นกลุ่มประเทศอาเซียน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป แม้ยังเป็นประเทศนำเข้าสินค้าไทยที่สำคัญ แต่มีสัดส่วนรวมในการส่งออกจากไทยลดลงไปมาก ตลาดส่งออกของไทยก็มีการขยายไปสู่ประเทศในภูมิภาคต่างๆของโลกมากขึ้น

​ทางด้านการนำเข้า ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้าในปริมาณมากที่สุด สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็เป็นแหล่งสินค้าเข้าที่สำคัญ แต่ประเทศจีนและประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนก้มีการขายสินค้าให้ไทยมากขึ้นมาลำดับ

ง.ในสมัยหนึ่งประเทศไทยต้องประสบกับการขาดดุลการค้า คือ มีมูลค่าการนำเข้ามากกว่าการส่งออกเป็นเวลานานหลายสิบปี แม้ดุลบริการของไทยมักมีการเกินดุลแต่ก็ไม่เพียงพอกับการขาดดุลของดุลการค้าในสินค้า ทำให้เราต้องขาดดุลในดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องไปด้วย ต่อมามีอยู่ช่วงหนึ่ง เช่น ช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 การนำเข้าของเราลดน้อยลงไปมาก ทำให้การค้ามีการเกินดุล ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาดุลการค้าของไทยมีบางปีที่ขาดดุล แต่ก็มีอยู่หลายปีที่เกินดุล แต่การเกินดุลและขาดดุลมักมีขนาดที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของประเทศ

การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญยังไง

ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ -สามารถสร้างการค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น -ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต -ช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และ การเมืองของประเทศสมาชิกในกลุ่ม -ทำให้ประเทศเล็กที่รวมกลุ่มกัน มีอำนาจในการเจรจาต่อรองเพิ่มขึ้นในเวทีตลาดโลก

การค้าระหว่างประเทศช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างไร

1. เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในเรื่องการส่งออกซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมีอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้นทำให้มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศมากขึ้น และก่อให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

ผลดีจากการค้าระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง

ข้อดีของการค้าระหว่างประเทศคืออะไร?.
1. รายได้ที่เพิ่มขึ้น ... .
2. ลดการแข่งขัน ... .
3. อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ... .
4. การจัดการกระแสเงินสดที่ง่ายขึ้น ... .
5. การบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น ... .
6. รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเงินตรา ... .
7. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งออก ... .
8. การกำจัดสินค้าส่วนเกิน.

การค้าระหว่างประเทศมีประโยชน์อย่างไร * 1 คะแนน

การค้าระหว่างประเทศมีประโยชน์อย่างไร ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการผลิต ช่วยให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงขึ้นและส่งออกมากขึ้น ทำให้มีสมาชิกจากทั่วโลกเข้ามาแก้ไขปัญหาการค้า ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าในบางประเทศได้