การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร

การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร

           ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากจำนวนประชากรมนุษย์ในโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และรวดเร็ว 
ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทาง
           ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ  ตามมา  แต่การพัฒนาของประเทศต่าง ๆ  
ทั่วโลกที่ผ่านมาเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มุ่งการเจริญเติบโตของภาค
อุตสาหกรรม  และการส่งเสริมการบริโภคของประชากรภายในประเทศให้สูงขึ้น  การพัฒนาดังกล่าวจึงเป็นการเร่งรัด
ให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว  
 จนกระทั่งทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวมเร็วมากเกินกว่าระดับการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ 
 จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมขึ้นภายในประเทศของตน  ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศในโลกจึงหันมาให้ความสนใจที่จะช่วยกันและร่วมมือกันป้องกัน
และแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ซึ่งกระบวนการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง  ๆ    ให้ความสนใจมากที่สุดในปัจจุบัน  คือ  การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  
(
Environment  sustainable  development)   สำหรับประเทศไทย
ได้เริ่มให้ความสนใจในแนวคิด เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   
ฉบับที่    7   (พ.ศ. 2535 - 2539)  โดยเน้นการพัฒนาชนบทให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเน้นการกระจายรายได้     
ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

องค์ประกอบของสังคมที่การพัฒนาที่ยั่งยืน

           1.   ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ทรัพยากร  เช่น  ปริมาณแหล่งน้ำและความเพียงพอของน้ำใช้ในปัจจุบัน  การใช้พลังงานทดแทนอย่างอื่น  ทั้งจากธรรมชาติและจากการประดิษฐ์ขึ้น 
 ได้แก่ พลังงานน้ำ  พลังงานลม  พลังงานความร้อนใต้พิภพ    พลังงานแก๊สชีวภาพ   
และพลังงานแสงอาทิตย์   และมีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

           2.   เศรษฐกิจที่มั่นคงของชุมชน  คือ  มีการพัฒนาที่ทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจดีอย่างต่อเนื่องและควบวงจร

           3.   คุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชน  เช่น  มีการอยู่ดีกินดี  อยู่ในที่ที่มีอากาศดี  ปราศจากมลภาวะ  
มีการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างถูกต้องตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่   มีบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง 
มีการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เป็นต้น

หลักการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

หลักการที่นำไปสู่ความยั่งยืน      สรุปได้  3  ประการ  ดังนี้  

           1.   รักษาและกระตุ้นให้เกิดความหลากหลาย  การพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนมีหลายแนวทางทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม 
 และการเมือง  มนุษย์จึงควรรักษา  และกระตุ้นให้เกิดความหลากหลายโดยไม่ผูกขาดเฉพาะรูปแบบที่ถูกต้องที่สุด
หรือสมบูรณ์ที่สุดของวัฒนธรรม จริยธรรม  ศาสนา    และสังคม   เพียงแนวทางใดทางหนึ่งเท่านั้น

           2.   ดำเนินการพัฒนาหรือสร้างระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาสิ่งแวดล้อมและเวลาในอนาคตเข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ

           3.   ต้องแสวงหาแนวทางที่เห็นร่วมกันบนพื้นฐานของสิ่งแวดล้อม  สังคม  วัฒนธรรม  และศีลธรรม  ที่มีความหลากหลาย

แนวทางการปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

แนวทางในการปฏิบัติที่จะไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  มีดังนี้

        1.  การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ควรดำเนินการดังนี้

                        1.1  การอนุรักษ์สสารและวงจรการหมุนเวียน  ซึ่งเป็นความสามารถในการฟื้นตัวของธรรมชาติ

                        1.2  จำกัดการปล่อยของเสีย  เพื่อรักษาความสามารถของธรรมชาติในการจัดการกับของเสีย

                        1.3  รักษาความหลากหลายของระบบนิเวศแบบต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กันบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  
เพื่อควบคุมความสามารถในการสร้างผลผลิตของธรรมชาติไว้

            2.  การใช้ทรัพยากรอย่างมีอย่างประสิทธิภาพ  ควรดำเนินการดังนี้

                        2.1  ทำให้เกิดความยุติธรรม  โดยอาศัยหลักการว่า  ใครทำคนนั้นต้องจ่าย

                        2.2  ให้การชดเชยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ที่ก่อนให้เกิดปัญหา

                        2.3  มีมาตรการชดเชยแก่การผลิตที่สร้างผลดีต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจมีกำไรน้อยในระบบธุรกิจ

                        2.4  กระจายสิทธิและรับรองสิทธิในการใช้ทรัพยากรให้แก่กลุ่มคนในสังคมอย่างเสมอภาค

                        2.5  ให้ความคุ้มครองทรัพยากรไปพร้อมๆ  กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

                        2.6  ต้องควบคุมอย่าให้สังคมต้องจ่ายค่าชดเชยเพื่อปกปิดปัญหานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม

                        2.7  ดำเนินการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทางเทคนิค

                        2.8  ส่งเสริมและกระตุ้นการหมุนเวียนผลผลิตที่เลิกใช้แล้ว  และหาวิธีการยืดอายุผลิตภัณฑ์

            3.  การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของกลไกรัฐที่เกี่ยวข้อง  โดยการปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้

                        3.1  ใช้กลไกการตลาดตามระบบปกติ

                        3.2  ส่งเสริมเจตคติที่ดีของสังคมต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

                        3.3  ยึดหลักความยุติธรรมในสังคม  ถ้าใครต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  จะต้องยอมจ่ายเงินตามมูลค่าที่เป็นจริง
ของทรัพยากรนั้น  ๆ ไม่ใช่ระบบผูกขาด
          
3.4  ถ้านโยบายของรัฐใด   ๆ  ที่จะมีผลกระทบต่อกลุ่มชนต่าง ๆ  ในสังคม  รัฐจำเป็นต้องตัดสินใจเลือก  นโยบายเกื้อหนุนกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมนั้น  ๆ  เพราะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส
และยากจนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
          
3.5  รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเมือง

            4.  การรักษาทางเลือกสำหรับอนาคต  โดยวิธีการดังนี้

                        4.1  หลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม

                        4.2  เมื่อมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือเทคนิคที่อาจจะมีผลกระทบ  ให้เลือกการตัดสินใจในทางที่รอบคอบ   
โดยยึดหลักการปลอดภัยไว้ก่อนว่า    ถ้ามีความไม่แน่ใจก็ให้ระงับโครงการนั้น  ๆ   ไว้จนกว่าจะได้ข้อมูลที่เพียงพอ

                        4.3  เพิ่มความหลากหลายทางนิเวศวิทยา  เศรษฐกิจ  และสังคม    
เนื่องจากความหลากหลายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการปรับตัวให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  ที่อาจจะมี

                        4.4  รักษามาตรการทางการเงินให้สะท้องความเป็นจริงของสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น  และให้มีเสถียรภาพ

            5.  หยุดการเจริญเติบโตขอประชากร  โดยมาตรการต่าง  ๆ  เช่น  การให้การศึกษา  หรือการขยายระบบการศึกษาภาคบังคับ  เป็นต้น

            6.  การกระจายความมั่นคงให้แก่กลุ่มคนที่ยากจน 

            7.  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ  ทั้งที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป  แนวทางปฏิบัติมีดังนี้

                        7.1  ลดการใช้พลังงาน  เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
และการแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน

                        7.2  สงวนรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  โดยการสร้างความรู้ความเช้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนในชุมชน 
เพื่อให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และเกิดจิตสำนึกที่จะมีส่วนร่วมในการรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

                        7.3  ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด  เพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตทางอุตสาหกรรมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                        7.4  เปลี่ยนพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภค  เพื่อลดปริมาณขยะและของเสีย  โดยการ  ลดการใช้ (reduce)  การใช้แล้วใช้อีก  (reuse)  การแปรใช้ใหม่ (recucle)  และการซ่อมแซม (repair)

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/evironmental/2011/09/25/entry-1

การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสาเหตุทางใดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบด้านบวกจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อด้านสิ่งแวดล้อม สรุปได้ ดังนี้ • ทําให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการแบ่งเป็นย่านต่าง ๆ เช่น ย่านที่อยู่อาศัย ย่านอุตสาหกรรม ย่านเกษตรกรรม • เกิดการประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ เช่น การนําพลาสติกมาใช้แทนเหล็กการใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติ • มีการขยายตัวของ ...

การพัฒนา เทคโนโลยี มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร

การพัฒนาและการสร้างเทคโนโลยีส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางดิน น้า อากาศ เสียง หรือการปนเปื้อนของ สารพิษ ในขณะเดียวกันมีการนาเทคโนโลยีมาใช้ในการบาบัดของเสียจากกระบวนการผลิต ในภาคอุตสาหกรรม หรือภาพครัวเรือน เช่น เทคโนโลยีบาบัดน้าเสียเป็นต้น

ผลเสียจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอะไรบ้าง

ผลกระทบทางด้านความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์.
ผลกระทบด้านสังคม จิตใจ ทำให้จิตใจคนเสื่อม ไม่รู้จักความพอ โลภะ เกิดการชิงดีชิงเด่นในสังคม.
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้อากาศเป็นพิษ ขยะล้นเมือง โรงงานปล่อยน้ำเสีย.
ผลกระทบด้านวัฒนธรรม.

วิทยาการและเทคโนโลยีก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมนุษย์อย่างไร

ผลกระทบด้านบวก เทคโนโลยีช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ให้ติดต่อกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว มีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ 2.ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น