หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างไรบ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการสอนลูกเสือ หนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากผลการวิจัยและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยเน้นการปรับปรุงข้อผิดพลาดและอุปสรรคของการใช้หลักสูตรที่เกิดขึ้น[1] หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยเริ่มใช้นำร่องครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 และบังคับใช้ทั่วประเทศในทุกชั้นเรียนปีการศึกษา 2555[2] หลักสูตรฉบับนี้มีการปรับปรุงล่าสุดใน พ.ศ. 2560[3] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยกเลิกหรือปรับหลักสูตรฉบับนี้ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งเป้าหมายจะนำร่องหลักสูตรฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2565[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. สี่มหาศาล, เอกรินทร์. เรื่องน่ารู้สู่การใช้หลักสูตรแกนกลาง '51. อักษรเจริญทัศน์ อจท. p. 1.
  2. "ความเป็นมาของการปรับหลักสูตร" (PDF). สพม. 23. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  3. "คำสั่ง สพฐ. 2 ฉบับ ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และการปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551". ครูบ้านนอก.คอม. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  4. ""ณัฏฐพล" จี้ใช้หลักสูตรใหม่ปี 65-เน้นฐานสมรรถนะ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  5. ""ณัฏฐพล" ลุยโละหลักสูตรฐานสมรรถนะ เขย่าใหม่เน้นเด็กคิดวิเคราะห์". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  6. "กระทรวงศึกษาธิการยกเครื่องหลักสูตรขั้นพื้นฐานใหม่ ให้มีความทันสมัย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างไรบ้าง
บทความเกี่ยวกับการศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช_2551&oldid=9207507"

หมวดหมู่:

  • หลักสูตร
  • การศึกษาในประเทศไทย

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

หลักการ

                ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม ผู้สอนต้องพยามยามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศักยภาพและบริบทของผู้เรียน การกำหนดบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการออกแบบการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

                ๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าในตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต

                ๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

                ๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

                มาตรฐานการเรียนรู้  คือเป้าหมายที่สำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียน โดยระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ( ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้)

                ตัวชี้วัด คือ การระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ สำหรับนำไปกำหนดเนื้อหาจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ที่จำแนกเป็น

                 ๑. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี ในระดับการศึกษาภาคบังคับ(ประถมศึกษาปีที่ ๑-มัธยมศึกษาปีที่ ๓)

                   ๒. ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖)

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

                ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักเลือกรับและส่งสาร โดยใช้หลักเหตุผล พร้อมทั้งใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

                ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

                ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ พร้อมทั้งมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

                ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม

                ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑.      รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

๒.    ซื่อสัตย์สุจริต

๓.    มีวินัย

๔.    ใฝ่เรียนรู้

๕.    อยู่อย่างพอเพียง

๖.     มุ่งมั่นในการทำงาน

๗.    รักความเป็นไทย

๘.    มีจิตสาธารณะ

การจัดการเรียนรู้

                ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม(เขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาเพิ่มเติมได้)

                การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง และกระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย เป็นต้น ทั้งนี้ต้องให้ความสำคัญต่อการใช้สื่อ การพัฒนาสื่อ การใช้แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายเพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง

การใช้สื่อการเรียนรู้

                สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้  ที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีการสร้าง พัฒนาและเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมตามความแตกต่างของผู้เรียน โดยสถานศึกษามีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการีนำสื่อไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผู้เรียนอย่างหลากหลายและเพียงพอ โดยการจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศ และเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในสถานศึกษาและชุมชน รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าวิจัย พัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

                ๑. การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนในการเรียนรู้ที่มีผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ามีหรือไม่ มากหรือน้อย และมีสิ่งที่ต้องพัฒนา ปรับปรุงหรือส่งเสริมในด้านใด

                ๒. การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งเป็นการประเมินเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติและระดับเขตพื้นที่การศึกษา

                ๓. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพของผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่หลักสูตรแกนกลางได้กำหนดเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

                ๔. การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งผลจากการประเมินจะใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาตลอดจนใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ

สรุป

                การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมาในการพัฒนาผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดการเรียนรู้จะต้องเน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ใช้สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศูนย์สื่อการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศ เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนา สถานศึกษาต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และนำผลที่ได้ใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้เกิดคุณภาพสูงสุดต่อผู้เรียน