มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้ก่อน ดูแลทัน ป้องกันได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้ก่อน ดูแลทัน ป้องกันได้

“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นมะเร็งที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเกิดขึ้นจากระบบน้ำเหลือง แต่ถึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะที่ 4 แล้ว ก็มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไร?

ระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรีย แต่เมื่อเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะทำให้ตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองบวมโตแต่คลำแล้วไม่มีอาการเจ็บ โดยพบบ่อยที่บริเวณลำคอ รักแร้และขาหนีบ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ HIV การรับประทานยากดภูมิคุ้มกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน การปลูกถ่ายอวัยวะ การติดเชื้อบางชนิด เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียแล้วส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบ รวมถึงสภาวะแวดล้อม เช่น การได้รับสารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน หรืออยู่ในบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสี เป็นต้น

อาการและการวินิจฉัย

อาการในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก เหงื่อออกช่วงกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คันทั่วร่างกาย นอกจากนี้ ต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มโตขึ้น โดยเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดก็ได้ของระบบต่อมน้ำเหลือง เช่น ลำคอ รักแร้ ข้อพับ ช่องอก ช่องท้อง เป็นต้น 
เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ อาการและตรวจร่างกาย หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพิ่มเติม

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งเป็นโรคย่อยได้อีกกว่า 30 ชนิด แต่ละชนิดมีวิธีรักษาแตกต่างกันออกไป แต่การรักษาหลักคือการให้ยาเคมีบำบัด ในบางชนิดอาจใช้ร่วมกับยาทางภูมิคุ้มกันหรือการฉายแสง ส่วนบางชนิดอาจใช้วิธีปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาดจากโรค
อย่างไรก็ตาม หมั่นสังเกตร่างกายตัวเองเสมอ หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะการรักษามะเร็งในระยะต้นย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าในระยะลุกลาม

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5(4 Reviewers)
  • Spectacular

  • Your Rating


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ เนื้องอกของต่อมน้ำเหลือง ซึ่งภายในต่อมน้ำเหลืองมีเม็ดเลือดขาว ที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เม็ดเลือดขาวเจริญเติบโตเร็ว โตไม่หยุด ต่อมน้ำเหลืองเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ

รู้จักกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

Q : ต่อมน้ำเหลืองอยู่บริเวณใดบ้างของร่างกาย?

A : ต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย เป็นจำนวนหลายร้อยต่อมทั่วร่างกายทุกอวัยวะ ปกติต่อมน้ำเหลืองจะมีขนาดเล็กอาจจะมีขนาดไม่ถึงเซนติเมตร เพราะฉะนั้นเราจะคลำไม่เจอ และจะไม่รู้ว่าต่อมน้ำเหลืองอยู่จุดใดบ้าง แต่ถ้าต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ก็มักจะคลำพบได้ในตำแหน่งบริเวณที่ตื้น ๆ เช่น ข้างคอ กกหู ตรงบริเวณไหปลาร้า รักแร้ บางคนที่คลำพบบริเวณเต้านม และอีกจุดหนึ่งที่พบคือบริเวณขาหนีบ

Q : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนมากจะพบบริเวณอวัยวะใดบ้าง?

A : เกิดได้กับทุกอวัยวะ แต่ต่อมน้ำเหลืองโตไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเสมอไป  ต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่ช่วยกำจัดเชื้อโรค ตัวอย่างเช่นกรณีฟันผุ จะมีต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นบริเวณคอ ต่อมน้ำเหลืองส่วนนี้โตขึ้นตามกลไกลของร่างกาย ซึ่งได้เพิ่มเม็ดเลือดขาวมากำจัดเชื้อโรคบริเวณนั้น ๆ อย่างเช่น ฟันผุก็กำจัดเชื้อโรคที่ฟัน เจ็บคอเป็นหวัดก็อาจจะมากำจัดเชื้อโรคที่เข้าไปในลำคอ บริเวณลำคอก็จะโตขึ้นตามตำแหน่งของการติดเชื้อของร่าง อาการเหล่านี้อาจจะหายไปในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

สิ่งที่แพทย์จะบอกว่าอาการต่อมน้ำเลืองผิดปกติ ก็คือ ถ้าต่อมน้ำเหลืองโต โดยไม่มีสาเหตุอื่น ๆ และโตอยู่นานอาจจะเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือนานเป็นหลักเดือนขึ้นไปก็อาจจะต้องสงสัยว่าเกิดจากอะไรหรือเป็นโรคอะไรต่อไป ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหารอยโรค ซึ่งอาจพบว่าเป็นโรคมะเร็งก็พอจะแยกได้ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือเป็นโรคมะเร็งที่มาจากอวัยวะอื่นที่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง

Q : จะรู้ได้อย่างไรว่ามันคือมะเร็งชนิดใด?

A : ต้องมาพบแพทย์ ทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดทั่ว ๆ ไป อาจจะมีการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจะต้องมีการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น เพื่อนำมาดูใต้กล้องจุลทัศน์ว่าชิ้นเนื้อที่โตขึ้นนี้เป็นเซลล์ข้างในเป็นเซลล์ชนิดใด เป็นเซลล์ของต่อมน้ำเหลือง หรือเป็นเซลล์ของมะเร็งอย่างอื่น หรือมีการติดเชื้อ ตัวอย่างเช่นวัณโรคก็ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้เช่นกัน 

Q : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ?

A : ในทางการแพทย์ยังไม่สามารถบอกได้ชัด แต่โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจกันว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งทำให้เม็ดเลือดโตไม่หยุด แล้วก็ไม่ตายไป ซึ่งการกลายพันธุ์ในที่นี้เรายังบอกได้ไม่ชัดว่าเกิดเพราะอะไรกันแน่ แต่มีปัจจัยที่ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยง เช่น คนที่มีอายุมากขึ้น เซลล์เม็ดเลือดมีการแบ่งตัวตลอดเวลา ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็เสี่ยงมากขึ้นตามอายุ และกลุ่มคนที่เคยได้รับสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยาย้อมผม ก็เป็นสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยง และคนที่ได้รับการฉายแสง อาจจะป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมี หรือได้รับการฉายแสงอื่นก็จะเพิ่มความเสี่ยงเช่นกัน

นอกจากนั้นก็จะมีเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปกติภูมิคุ้มกันของเราสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ส่วนหนึ่งถ้าภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างเช่นเป็นโรค HIV หรือเป็นภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือเป็นคนที่ได้ร้บการปลูกถ่ายอวัยวะมา ต้องกินยากดภูมิ ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มากขึ้น

นอกจากนั้นก็จะมีเชื้อไวรัสบางตัวที่ไปกระตุ้นการเกิดมะเร็ง เช่น ไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C), H.pyroli ในกระเพาะอาหาร

Q : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองถือว่าอันตรายไหม?

A : ก็มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นชนิดมะเร็งที่มีผลตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างมาก หากผู้ป่วยรู้ตัวแล้วเข้ารับการรักษาได้ทันทวงที มีโอกาสหายขาดได้มากกว่า 50% ปัจจุบันอาจจะถึง 60% - 70% 

แนวทางการรักษา

หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าชิ้นเนื้อเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจริง ก็จะมีการประเมินระยะของโรคโดยการทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูว่ามีมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่จุดไหนบ้าง และการเจาะไขกระดูกเนื่องจากในไขกระดูมีการผลิตเม็ดเลือดต่าง ๆ กลไกก็จะดูว่าเหมือนในโรงงานมีการผลิตเป็นอย่างไรมีเซลล์ผิดปกติเข้าไปหรือไม่

การแบ่งระยะของโรค

ถ้ามีก้อนเดียวก็จะถือเป็นระยะที่1 ถ้ามีมากว่า 1 ตำแหน่ง ตัวอย่างต่อมน้ำเหลือง 2 ก้อน โดยเกณฑ์จะตัดที่กำบังลม ถ้าอยู่ที่ช่วงบนอย่างเดียว หรือช่วงล่างอย่างเดียวก็จะถือว่าเป็นระยะที่ 2 แต่ถ้าข้ามกำบังลม คือมีทั้งช่องอก และช่องท้องถือเป็นระยะที่ 3 แต่ถ้ามีเข้าไปถึงไขกระดูก ตับ ปอด เป็นอวัยวะนอกต่อมน้ำเหลือง คือเป็นระยะที่ 4

ระยะไหนสามารถรักษาให้หายขาดได้

ตามที่เราเข้าใจกันระยะต้น ๆ ก็จะมีผลต่อการรักษาได้ดีกว่า ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง แต่ถึงแม้จะเป็นระยะที่ 4 ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็มีโอกาสหายขาดได้สูงมากกว่า 50% เราก็ต้องมาดูว่าเป็นชนิดใดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะระยะมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็ยังแบ่งย่อยอีกหลายชนิด มันจะมียารักษาจำเพาะชนิด ซึ่งผลตอบสนองก็มากกว่า 80% ในส่วนของยา 

นอกจากนั้่นก็จะมีการฉายแสงรังสีรักษาในก้อนที่ใหญ่ ในบางกรณียาเคมีอาจจะเข้าไปทำลายได้ไม่หมด อาจจะต้องใช้การฉายแสงเข้าไปช่วยยกำจัดที่เซลล์เฉพาะที่การรักษาอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งก็มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

"...มะเร็งถึงแม้ว่าใครหลาย ๆ คนได้ยินว่าเป็นโรคที่น่ากลัว แต่เราสามารถป้องกันได้ ดยการดูแลสุขภาพร่างกาย ให้แข็งแรง ถ้าร่างกายแข็งแรงก็สามารถต่อสู้กับโรคได้ ..."

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.พญ.พรรณี  ประดิษฐ์สุขถาวร

หัวหน้าหน่วยอายุรศาสตร์โลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์