ผลิตภัณฑ์ บริโภค แบ่งออก ได้ อย่างไร บ้าง

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Kotler, 2003) ดังภาพ เป็นการพิจารณาถึงคุณสมบัติและลักษณะที่เป็นส่วนต่างๆ ของผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์จะมีองค์ประกอบอยู่ 5 ส่วนด้วยกัน คือ1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Benefit) หมายถึง ประโยชน์พื้นฐาน (Core benefit) ของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคประสงค์จะได้รับจากการซื้อหรือใช้สินค้าหรือบริการ 2. ผลิตภัณฑ์ทั่วไป (Generic product) คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภครับรู้และได้รับจากสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้บริโภคมักจะเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง เช่น ประโยชน์ที่หลากหลาย คุณภาพของวัตถุดิบ อายุการใช้งาน เป็นต้น 3. ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (Expected product) หมายถึง ลักษณะและเงื่อนไขที่ผู้บริโภคหวังว่าจะได้รับจากการซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 4. ผลิตภัณฑ์ส่วนเพิ่ม (Augmented product) เป็นประโยชน์เพิ่มเติมที่ลูกค้าได้รับโดยมิได้คาดหวังไว้ หรือเรียกว่าผลิตภัณฑ์ควบ 5. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปได้ (Potential product) กิจการควรจะได้นำเสนอประโยชน์เพิ่มเติมอื่น ๆ ที่คาดว่าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในอนาคต ทั้งนี้เพื่อสร้างความประหลาดใจและประทับใจแก่ผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้คาดหวังมาก่อน

ระดับของผลิตภัณฑ์โดยทั่วไประดับของผลิตภัณฑ์ จำแนกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ (นภวรรณ คณานุรักษ์, 2555)1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) หมายถึง ประโยชน์พื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อสินค้าโดยตรง จนเกิดความพอใจอย่างที่คาดหวังไว้ เช่น ผู้บริโภคซื้อนาฬิกา เพื่อต้องการใช้สำหรับดูเวลา หรือผู้บริโภคซื้อบ้านเพื่อสำหรับอยู่อาศัย
2. ผลิตภัณฑ์จริง (Actual Product) หมายถึง ส่วนที่เป็นลักษณะรูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เสนอให้กับผู้บริโภคที่เรามองเห็น หรือรู้สึกได้ ผลิตภัณฑ์จริงประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ
2.1 ระดับคุณภาพ (Quality Level) เช่น ไอศกรีมมีรสชาติหลากหลาย อร่อย สะอาด ปลอดภัย เพราะผ่านการรับรองจากสาธารณสุข 2.2 ลักษณะหรือรูปลักษณ์ (Features) เช่น ตัวไอศกรีมมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เป็นแท่ง เป็นถ้วย เป็นโคน เป็นกล่อง เป็นรูปการ์ตูน ซึ่งบรรจุในซองและกล่องที่มีสีสันสดใส 2.3 การออกแบบ (Style) เช่น ไอศกรีมแต่ละรสจะมีรูปแบบน่ารับประทาน สะดวกในการบริโภค 2.4 ชื่อตราผลิตภัณฑ์ (Brand Name) เช่น ตราสินค้า วอลล์ เป็นตราที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ง่ายต่อการจดจำ 2.5 การบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เช่น เก็บอยู่ในกล่องที่มีน้ำหนักเบาและซองที่ปลอดภัย เก็บความเย็นได้ดี และสะดวกในการนำกลับไปบริโภคที่บ้าน3. ผลิตภัณฑ์ควบ (Augmented Product) หมายถึง บริการหรือประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้า เช่น การติดตั้ง การบำรุงรักษา หรือการบริการหลังการซื้อ การส่งมอบ การให้สินเชื่อ และการรับประกันสินค้า

ภาพที่ 1 ระดับของผลิตภัณฑ์ (Levels of Product) (Porter, 2003)

ภาพที่ 2 การจำแนกระดับของผลิตภัณฑ์บทบาทและหน้าที่ของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (Product Manager) คือ ผู้ที่มีบทบาทในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อทำให้แบรนด์ เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม หาทางชนะในระยะยาว โดยการสร้างคุณค่า ที่เหนือกว่าให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดการเติบโตของยอดขาย และกำไรในระยะยาวอย่างต่อเนื่องวัตถุประสงค์ของการจัดการผลิตภัณฑ์ (Purpose of Product Management) ผู้จัดการผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ ในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ที่รับผิดชอบ (ตั้งแต่ Product/Brand ยังไม่เกิด – คลอด – เติบโต – เจริญวัยเป็นผู้ใหญ่ – ตาย) ตั้งแต่ กระบวนการ ก่อนการผลิต จนกระทั่ง เมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการ ถูกส่งมอบไปถึงลูกค้า และผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย มีความพึงพอใจสูงสุดวัตถุประสงค์หลักของการจัดการผลิตภัณฑ์ มี 3 ประการ คือ1.สร้างคุณค่าที่พิเศษให้กับลูกค้า (ค้นหาคุณค่าของสินค้า/แบรนด์ ที่เหนือคู่แข่ง หรือ ในส่วนที่คู่แข่ง ไม่มี)2.สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ ระยะยาว (จัดทำแผนระยะยาว ที่ทำให้เกิดความได้เปรียบ ในตลาด)3.ส่งมอบ ความสามารถในการทำกำไร ทุกปี (จัดทำแผนกำไร ระยะยาว)โดยที่งานทั้ง 3 ส่วนนั้น จะต้องมีการฟัง Feedback จากตลาดหรือผู้ที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการจริงๆ เพื่อนำเสียงสะท้อนและข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และมีความสามารถในแข่งขันสูง ซึ่งจะสามารถสร้างคุณค่าระยะยาว ให้กับองค์กร ได้ต่อไปนอกจากนี้ Product manager จะต้องมีการสื่อสารที่ดี ชัดเจน และประสานงานกับทีมอื่นๆ อยู่เสมอ และรับฟังความคิดเห็นจากทีมอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้ทุกทีมที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดอย่างชัดเจน

เพื่อให้สามารถจัดกลุ่มตลาดเป้าหมายได้ชัดเจน เลือกใช้กลยุทธ์ได้ถูกต้อง จึงมีการจัดจำหน่ผลิตภัณฑ์ออกเป็นประเภทตามกลุ่มผู้ซื้อกลุ่มใหญ่ ๆ โดยนำเอาวัตถุประสงค์ในการซื้อมาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกเป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค (Consumer Products) ลูกค้า คือ ผู้บริโภคที่จะซื้อไปกินเองใช้เอง หรือสำหรับสมาชิกในครอบครัว และผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่ถูกซื้อไปเพื่อนำไปผลิตต่อหรือจำหน่ายต่อ และแต่ละประเภทยังมีการจำแนกย่อยลงไปได้อีก ดังต่อไปนี้

4.1       การจำแนกลักษณะของผลิตภัณฑ์ตามอายุการใช้งาน  แบ่งได้ 2  กลุ่ม คือ

1.             สินค้าไม่คงทน (Nondurable Goods)  เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานสั้น ซื้อบ่อยครั้ง

เป็นสินค้าสิ้นเปลือง ราคาค่อนข้างต่ำ มักเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร น้ำปลา  น้ำมันพืช ลูกอม เป็นต้น กลยุทธ์การตลาดมีลักษณะดังนี้ คือ

1.1 การตั้งราคาโดยบวกเพิ่มกำไรต่อหน่วยต่ำ

1.2 การจัดจำหน่ายเป็นแบบทั่วถึง (Intensive Distribution)

1.3 การส่งเสริมการตลาดมักใช้การโฆษณาอย่างมาก เพื่อให้เกิดความชอบ

พอใสินค้าและการทดลองใช้

2.             สินค้าคงทน (Durable Goods) เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน และราคาค่อนข้างสูง

เมื่อเทียบกับสินค้าที่ไม่คงทน  เช่น  ตู้เย็น  โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ  เครื่องจักร เครื่องพิมพ์ดีด กลยุทธ์การตลาดมีลักษณะ ดังนี้คือ

2.1 การตั้งราคาโดยบวกเพิ่มกำไรต่อหน่วยสูง เพราะสินค้ามีการหมุนเวียน

ค่อนข้างต่ำ

2.2 การจัดจำหน่ายเป็นแบบเลือกสรร (Selective Distribution) หรือผูกขาด

(Exclusive Distribution) เพราะสินค้ามีราคาแพง ลูกค้ามีจำกัดอยู่ในวงแคบ

2.3 การส่งเสริมการตลาด เน้นการขายโดยใช้พนักงานขาย การให้บริการ และอาจ

ต้องมีการรับประกันสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า

4.2       การจำแนกลักษณะของผลิตภัณฑ์ตามลักษณะทางกายภาพ เป็นการจำแนกผลิตภัณฑ์จากลักษณะผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้หรือไม่ได้  จึงแบ่งออกเป็น  2  กลุ่มคือ

1.             ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible Product)  หมายถึง สินค้าที่มีรูปร่าง มองเห็นและ

สามารถสัมผัสได้ เช่น ยาสระผม รองเท้า รถยนต์ เครื่องจักรทำบัญชี ฯลฯ  กลยุทธ์การตลาดจะแตกต่างกันไปขึ้นกับลักษณะของสินค้า  ลักษณะของลูกค้า  และลักษณะของการแข่งขัน

2.             ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product)  หรือบริการ  (Services) ซึ่งหมายถึง

กิจกรรม ผลประโยชน์ หรือความพึงพอใจที่เสนอขายแก่ลูกค้า รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดในการให้บริการ จะพูดถึงในหัวข้อนโยบายและกลยุทธ์การให้บริการ

 การจัดประเภทบริการสามารถแบ่งออกเป็น  4  ลักษณะ  คือ

 - ผู้ซื้อเป็นเจ้าของสินค้านำสินค้าไปขอรับบริการจากผู้ขาย เช่น  บริการซ่อมรถ

 - ผู้ขายเป็นเจ้าของสินค้าที่บริการให้กับผู้ซื้อ เช่น บริการเช่ารถ บริการเช่าบ้าน

                             - เป็นการซื้อบริการและมีสินค้าด้วย เช่น  ร้านอาหาร

 - เป็นการซื้อบริการโดยไม่มีตัวสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ร้านทำผม ร้านทำฟัน


4.3       การจำแนกลักษณะของผลิตภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ในการซื้อของผู้ซื้อ

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคซ้อไปเพื่อใช้สอยส่วนบุคคลหรือใช้ในครอบครัว ถ้าพิจารณาในแง่ผู้ขาย จะหมายถึงสินค้าที่ขายให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือสินค้าที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อใช้เอง จะพิจารณาว่าผู้ซื้อเป็นใคร พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในแต่ละตลาดมีความแตกต่างกัน ถ้ากิจการมีความเข้าใจพฤติกรรมและตอบสนองต่อข้อเสนอทางด้านผลิตภัณฑ์ การใช้โฆษณา เป็นการทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักดี การเปลี่ยนแปลงราคาเพื่อการแข่งขัน และการจัดหาช่องทางตลาดใหม่ ๆ ก็จะความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันรายละเอียดสินค้าบริโภคจะพูดถึงในตอนต่อไป

2. สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อการผลิต กาให้บริการ

หรือการดำเนินงานของกิจการ  หรือเป็นเครื่องมือเครื่องจักรที่ต้องมีการติดตั้ง และบางครั้งต้องการ

เปลี่ยนคุณลักษณะของสินค้าที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ต้องหาเครื่องจักรที่ทันสมัยกว่าที่มี หรือบรรจุภัณฑ์ที่เปลี่ยนแบบและเพิ่มประโยชน์ใช้สอยเพิ่มขี้น  ธุรกิจจึงต้องระบุคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อในตลาดสินค้าอุตสาหกรรมโดยกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ลงใน

รายละเอียดของการซื้อสินค้าให้ตรงกับการใช้งานต่าง ๆ ของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์

แอร์คอนดิชั่น  หรือ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆที่ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ บริโภค แบ่งออก ได้ อย่างไร บ้าง

รูปที่  4.1  แสดงการจำแนกลักษณะของผลิตภัณฑ์ในตลาด


4.4  การจัดประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค และพฤติกรรมการซื้อ

สินค้าบริโภค (Consumer Goods) เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อใช้สอยส่วนบุคคล

ซึ่งถือเป็นการบริโภคขั้นสุดท้าย ไม่ใช่การซื้อเพื่อนำไปผลิตต่อหรือขายต่อ  เราสามารถจำแนกได้ตามอุปนิสัยการซื้อ หรือพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้ ดังนี้

                1.  สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อบ่อยครั้ง ซื้อ

กะทันหันโดยใช้ความพยายามในการเลือกซื้อน้อย เช่น บุหรี่ สบู่ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ สินค้าสะดวกซื้อสามารถจัดประเภทได้เป็น  3  ชนิด คือ

1.1      สินค้าหลัก (Staple goods)  เป็นสินค้าที่ใช้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ราคาไม่

แพง มีการใช้บ่อยครั้ง เช่น  น้ำมันพืช ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ข้าว ฯลฯ

1.2      สินค้าที่ซื้อฉับพลัน (Impulse goods) เป็นสินค้าสะดวกซื้อที่ผู้ซื้อไม่ได้วาง

แผนการซื้อสำหรับการซื้อในแต่ละครั้ง แต่ซื้อเพราะได้รับแรงกระตุ้นให้เกิดการซื้อทันทีทันใด ลักษณะการซื้อฉับพลัน  แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

                ก.  การซื้อฉับพลันโดยไม่ได้ตั้งใจ (Pure Impulse Buying) เป็นการตัดสินใจซื้อ

สินค้าโดยผู้บริโภคไม่ได้มีความคิดที่จะซื้อสินค้ามาก่อนที่จะเห็นสินค้า เป็นการตัดสินใจซื้อจากแรงกระตุ้นจริง ๆ เช่น  จากการสิต การจัดแสดงสินค้า ตัวอย่างได้แก่ ขนมปังที่มีการอบให้เห็น ณ จุดขาย สบู่ที่มีหีบห่อสวย เป็นต้น

ข.      การซื้อฉับพลันที่เกิดจากการระลึกได้ (Reminder Impulse Buying)  เป็นการ

ตัดสินใจซื้อที่ผู้บริโภคระลึกขึ้นได้ในระหว่างเดินซื้อของ เมื่อเห็นสินค้าแล้วระลึกได้ว่าสินค้านั้นที่บ้านหมดพอดี  หรือพบสินค้าแล้วระลึกถึงการโฆษณาที่พูดถึงประโยชน์ของสินค้า จึงต้องการจะทดลองใช้สินค้า

                ค.  การซื้อฉับพลันที่เกิดจาการเสนอแนะ (suggestion Impulse Buying) เป็นการ

ตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะการเห็นสินค้าชนิดหนึ่ง แล้วทำให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง เช่น เห็นแปรงสีฟันแล้วนึกถึงยาสีฟัน เห็นยาสระผมแล้วนึกถึงครีมนวดผม เป็นต้น

                ง.   การซื้อฉับพลันที่กำหนดเงื่อนไขไว้ (Planned Impulse Buying) เป็นการ

ตัดสินใจซื้อสินค้าโดยมีการวางแผนไว้ในใจ กล่าวคือ จะตัดสินใจซื้อสินค้าก็ต่อเมื่อมีของ                     แถม หรือราคาถูกเป็นพิเศษ  เช่น เดินในห้างสรรพสินค้าแล้วพบสินค้าสะดวกซื้อลดราคา ก็จะตัดสินใจซื้อ เพราะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้

1.3      สินค้าที่ซื้อในยามฉุกเฉิน (Emergency Goods) เป็นสินค้าสะดวกซื้อที่ผู้ซื้อ

ไม่ได้วางแผนการซื้อไว้ก่อน แต่เกิดขึ้นเพราะมีความจำเป็นต้องใช้สินค้าอย่างฉับพลัน  ดังนั้น ผู้ซื้อจะตัดสินใจซื้อโดยไม่คำนึงถึงราคาและคุณภาพของสินค้า เพราะเป็นการซื้อเพื่อแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวดศีรษะ  พลาสเตอร์ยา เป็นต้น 

2.  สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods) เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจะต้องมีการเปรียบเทียบ

รูปร่าง ขนาด แบบ สีสันการใช้ประโยชน์ คุณภาพ ราคาให้ตรงกับความต้องการหรือความชอบพอของตนเองให้มากที่สุด  อาจจะเปรียบเทียบระหว่างตราสินค้าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ มีความแตกต่างกันในคุณภาพของแสง สี เสียง อายุการใช้งาน  รวมไปถึงส่วนเพิ่มของสินค้าที่ผู้ขายจะเสนอให้ในการซื้อแต่ละครั้ง แต่ถ้ามีความเหมือนกันมากสิ่งที่มักจะเปรียบเทียบคือราคาของสินค้านั้น และบริการที่จะได้รับจากผู้ขาย  ตรงกับความต้องการของลูกค้านั้น  การเรียกร้องสายตาจึงมีความจำเป็นในการเสนอขาย และต้องพยายามสรรหาสิ่งที่จะเปรียบเทียบได้ชัดเจนออกแสดง  เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินได้ง่ายขึ้น สินค้าเลือกซื้อแบ่งออกเป็น 2  ประเภท คือ

                2.1  สินค้าเลือกซื้อที่เหมือนกัน (Homogeneous Shopping Goods) หมายถึง สินค้า

เลือกซื้อที่ผู้บริโภคเห็นว่ามีลักษณะพื้นฐานทั่วไปเหมือนกัน ฉะนั้น การตัดสินใจซื้อจะขึ้นอยู่กับราคาต่ำสุดของสินค้าเป็นหลัก เช่น  ตู้เย็น  โทรทัศน์ รองเท้านักเรียน เป็นต้น

                2.2 สินค้าเลือกซื้อที่ต่างกัน (Heterogeneous Shopping Goods) หมายถึง สินค้า

เลือกซื้อที่ผู้บริโภคเห็นว่ามีลักษณะต่างกัน จึงต้องเปรียบเทียบด้านรูปแบบ คุณภาพ ความเหมาะสม ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีความสำคัญมากกว่าราคา เช่น เสื้อผ้า  กระเป๋า เครื่องเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

3.  สินค้าเจาะจงซื้อ (Special Goods) เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจะต้องการเฉพาะเจาะจงใน

สินค้านั้น อาจเพราะมีลักษณะพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการ หรือเพราะมีความจำเป็นต้องใช้และไม่มีสินค้าอื่นทดแทนได้ ผู้ซื้อจะมีการตัดสินใจล่วงหน้าและจะใช้ความพยายามมากที่สุด ในการแสวงหาซื้อสินค้านั้นมักจะเป็นสินค้าที่มีอายุใช้งานนาน ราคาต่อหน่วยสูง เช่น  เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ที่มีลวดลายพิเศษ เครื่องกีฬา ยารักษาโรคเฉพาะ อาหารพิเศษ  ไม่ใช่สินค้าที่ใช้อยู่ประจำ โอกาสการใช้เป็นครั้งคราวหรือเฉพาะกรณี  แม้แต่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ปกติเป็นสินค้าเปรียบเทียบซื้อ  แต่ถ้าเจาะจงตราสินค้าหรือแบบเฉพาะ  จะจัดเป็นสินค้าเจาะจงซื้อ การจำหน่ายสินค้าประเภท Special goods จะต้องสร้างภาพพจน์ที่ดีให้สินค้า เน้นคุณภาพดี การออกแบบพิเศษ และสร้างความรู้จักคุ้นเคย ตราสินค้ามีบทบาทในการจำหน่ายมาก รวมทั้งการให้บริการที่ดีเลิศเพิ่มเติมให้กับตัวสินค้าที่มีคุณภาพเยี่ยมภาพพจน์สูงส่ง

4.  สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought goods) เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคไม่แสดงความต้องการ อาจ

เกิดจากการเป็นสินค้าใหม่ในตลาด หรือสินค้าเก่าแต่ผู้ซื้อไม่มีความจำเป็น หรือโอกาสต้องใช้ เช่น รถแทรคเตอร์ ในกรุงเทพฯ หรือเสื้อหนาวสวย ๆ สำหรับชาวกรุงเทพฯ ผู้ขายจึงต้องเสนอ Promotion แนะนำสินค้าให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จะเปลี่ยนกลุ่มไปสู่ประเภทอื่น ๆ ได้  แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าซึ่งผู้ซื้อไม่มีโอกาสใช้  หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้  ผู้ขายจะต้องเสาะแสวงหาลู่ทางการใช้ประโยชน์จากชีวิตประจำวันของผู้บริโภค  เพื่อนำมาสร้างอุปสงค์ให้กับสินค้านั้น  เช่น การขายประกันชีวิต  ผู้บริโภคจะไม่เห็นความจำเป็นเพราะจะได้รับประโยชน์ต่อเมื่อเสียชีวิต  ซึ่งผู้เอาประกันไม่มีโอกาสได้ใช้แล้ว  ดังนั้น บริษัทขายประกันชีวิต จึงต้องค้นหาจุดขายจากการดำรงชีวิตประจำวัน  คือหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เอาประกันต่อการเลี้ยงดูบุคคลอื่น คือลูก-ภรรยา นำมาเป็นจุดสร้างอุปสงค์โดยให้เห็นว่าเป็นการแสดงความรอบคอบและมีโอกาสจะแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบโดยครบถ้วน  ถึงแม้ตนเองจะเสียชีวิตไปแล้วและในปัจจุบัน  จุดขายที่ดีใหม่ของการประกันชีวิต คือ การสร้างการยอมรับในเรื่องการออมทรัพย์ระยะยาว ผู้ซื้อรู้สึกว่าไม่ได้สูญเสียไปเลย ตนเองจะได้คืนในอนาคตพร้อมดอกเบี้ยเหมือนกับการออมทรัพย์ฝากธนาคาร อีกทั้งยังได้รับการคุ้มครองด้วย

 4.6  พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในตลาด  

  ตารางที่  4.1  แสดงลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 

ผลิตภัณฑ์ บริโภค แบ่งออก ได้ อย่างไร บ้าง

4.5 การจำแนกประเภทสินค้าอุตสาหกรรม ตามลักษณะการนำไปใช้งานของหน่วยงานธุรกิจได้แก่

1.             สินค้าประเภททุน (Capital Items) เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อกระบวนการผลิต มักจะมี

ลักษณะค่อนข้างใหญ่ อายุการใช้งานนาน  ราคาค่อนข้างแพง ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าประเภทนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าเป็นอย่างดี ประกอบด้วยสิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ประกอบ

                1.1  สิ่งติดตั้ง (Installation) เป็นสินค้าประเภททุนที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น

                ก. สิ่งปลูกสร้างและอาคาร (Building) ได้แก่ ตัวอาคาร ตัวโรงแรม

                ข. อุปกรณ์ถาวร (Fixed Equipment) ได้แก่ ลิฟท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

                1.2  อุปกรณ์ประกอบ (Accessory Equipment) เป็นสินค้าที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานการผลิต ประกอบด้วย

                ก. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโรงงาน (Factory Equipment and Tools) ได้แก่ รถยกของแม่แรง เลื่อย สว่าน เครื่องตรวจสอบคุณภาพ

                ข. อุปกรณ์ในสำนักงาน (Office Equipment) ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด 

                2.  วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ (Raw Material and Parts) เป็นปัจจัยการผลิตที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวสินค้า แบ่งออกเป็นวัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบ

                1.3.1 วัตถุดิบ (Raw Material) เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากการเกษตรกรรมหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังไม่มีการแปรรูป แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

                ก. ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม (Farm Product) เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ข้าวเปลือก ผัก ผลไม้ หมู แกะ เป็นต้น

                ข. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Product) ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้

                1.3.2  วัสดุและชิ้นส่วนประกอบในการผลิต(Manufactured Materials and Parts) เป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งได้มีการผ่านกระบวนการผลิตมาบ้างแล้ว และจะกลายเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น

                ก. วัสดุประกอบ (Component Materials) ได้แก่ เหล็ก ด้าย ซีเมนต์ ลาด เป็นต้น

                ข. ชิ้นส่วนประกอบ (Component Parts) ได้แก่ มอเตอร์ ยางรถยนต์ แบตเตอร์รี่ เป็นต้น

                3.  วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ (Supplies and Services) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่ผลิต แต่ช่วยในการดำเนินงานการผลิต แบ่งออกเป็น

                3.1  วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานสั้น ใช้แล้วหมดสิ้นไปในการดำเนินงาน ราคาสินค้าค่อนข้างต่ำ เป็นสินค้าสะดวกซื้อที่จำหน่ายในตลาดสินค้าอุตสาหรรม แบ่งออกเป็น

ก.      วัสดุบำรุงรักษา (Maintenance Items) เช่น ไม้กวาด  ผงซักฟอก  น้ำยาล้างห้องน้ำ

น้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น

ข.   วัสดุซ่อมแซม (Repair Items) เช่น ตะปู  หลอดไฟ  ถ่านไฟฉาย น้ำยาอุดประสาน

รอย ร้าวรูรั่ว  เป็นต้น

ค.   วัสดุในการดำเนินงาน (Operating Supplies) เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา  เป็นต้น

บริการ (Services)  เป็นงานที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้านการผลิต มีเป้าหมายที่ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น

ก.      บริการบำรุงรักษา (Maintenance Services) เช่น บริการทำความสะอาด บริการ

รักษาความปลอดภัย  การประกันอัคคีภัยต่าง ๆ

ข.      บริการซ่อมแซม(Repair Services) เช่นบริการซ่อมแซมเครื่องใช้ เครื่องจักรต่าง ๆ

ค.      บริการให้คำแนะนำแก่ธุรกิจ (Business Advisory  Services) เช่น สำนักงานกฎหมาย บริษัทโฆษณา  บริษัทรับทำบัญชี


ผลิตภัณฑ์ บริโภค แบ่งออก ได้ อย่างไร บ้าง

ผลิตภัณฑ์ บริโภค แบ่งออก ได้ อย่างไร บ้าง


บทสรุป

                 ลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม สัมพันธ์กันกับ

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อายุการใช้งาน  มาตรฐานของสินค้าในการแข่งขัน  ข้อจำกัดด้านการผลิต ปริมาณการซื้อ และความถี่ในการซื้อ  การจัดประเภทของสินค้า ทั้งสองชนิด รวมทั้งพฤติกรรมการซื้อ ลักษณะความยืดหยุ่นของดีมานด์ต่อราคาจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าและตัวผู้บริโภค  การจัดประเภทผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมการซื้อ  เพื่อให้สามารถจัดกลุ่มตลาดเป้าหมายได้ชัดเจน เลือกใช้กลยุทธ์ได้ถูกต้อง จึงมีการจัดจำหน่ายตามกลุ่มผู้ซื้อกลุ่มใหญ่ ๆ โดยนำเอาวัตถุประสงค์ในการซื้อมาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (

ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคสามารถจําแนกออกเป็น กี่ประเภท

1. สินค้าสะดวกซื้อ Convenience Goods สินค้า ประเภทนี้หาซื้อได้ทั่วไป ราคาสิ้นค้าไม่สูง เช่น สบู่ยาสีฟัน 2. สินค้าเปรียบเทียบ Shopping Goods สินค้าปรเภท นี้ผู้ซื้อจะท าการเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋า

ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคมีอะไรบ้าง

กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคต่างๆ ทั้งที่เป็นสินค้าจำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย ประกอบด้วย หมวดธุรกิจแฟชั่น (Fashion) เป็นผู้ผลิต ออกแบบ ตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง กระเป๋า เจียระไนและแปรรูปอัญมณี เครื่องประดับ ...

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

สินค้าอุตสาหกรรม 6 ประเภท มีอะไรบ้าง แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร.
1. วัตถุดิบ (Raw Materials) ... .
2. ถาวรวัตถุ หรือสิ่งติดตั้ง (Raw Materials) ... .
3. เครื่องมือประกอบ (Accessory Equipment) ... .
4. วัสดุประกอบและชิ้นส่วน (Component Material and Parts) ... .
5. วัสดุใช้สอยหรือวัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) ... .
6. บริการอุตสาหกรรม (Service).

ผลิตภัณฑ์และสินค้าแตกต่างกันอย่างไร

1. สินค้า (Goods) 2. บริการ (Services) ผลิตภัณฑ์ อาจหมายถึง สิ่งที่มีรูปร่างหรือมีคุณสมบัติทางกายภาพสามารถจับต้องได้ หรือคือสิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, เครื่องจักรอุตสาหกรรม, ยารักษาโรค ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ (ธุรกิจ) อาจเรียกรวมกันว่า สินค้าและบริการ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )