กิจกรรม 5 ส สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

5 ส.กับการจัดบ้าน

           “การจัดบ้าน” มีหลากหลายวิธีให้เลือกสรรเหมือนกับการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีหลากหลายวิธีให้เลือกนำไปใช้ ซึ่งอยู่กับความชอบของแต่ละคน วันนี้ผมมีหลักการจัดบ้านและจัดเฟอร์นิเจอร์ควบคู่ไปด้วยให้บ้านที่ดูไม่เป็นระเบียบ เฟอร์นิเจอร์นิเจอร์ที่วางเกะกะไปหมด กลับกลายมาเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยหลักการ 5 ส. นั่นเอง

กิจกรรม 5 ส สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

           สะสาง : การจัดแยกของที่จำเป็นกับของที่ไม่จำเป็นออกไป เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใดไม่สามารถนำมาใช้งานถึงแม้จะซ่อมแซมก็แล้ว ยกเครื่องก็แล้ว ไม่ต้องเก็บมาไว้ในบ้านหรอกครับ เพราะรังจะเป็นที่อยู่ของฝุ่นละอองและเชื้อโรค แยกนำไปขายเป็นเศษซากนอกจากจะทำให้ให้บ้านหายรกแล้วยังได้เงินกลับมาด้วย

           สะดวก : การจัดวางของที่จำเป็น ให้ง่ายต่อการนำไปใช้  ง่ายต่อการเก็บคืนที่เดิม และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้อยู่ในทิศในทางที่เหมาะสม ไม่ใช่นึกอยากจะยกเก้าอี้ตัวโปรดอยู่ไปกลางบ้านตอนยก ก็ขยันขันแข็งยกไปแต่เวลาเอากลับก็รู้สึกเมื่อยแหล่ะเอาวางไว้เหมือนเดิมดีกว่า นอกจากจะทำให้บ้านไม่เป็นระเบียบแล้วยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุภายในบ้านได้

กิจกรรม 5 ส สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

          สะอาด : การทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งของที่ใช้อยู่เป็นนิจ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ที่เราสรรหามาตกแต่งบ้าน การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ก็แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ให้เราเลือกค้นคว้าหาความรู้ว่าเฟอร์นิเจอร์ประเภทหนังจะทำความสะอาดอย่างไร เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นผ้าจะทำอย่างไรจึงจะสะอาดเหมือนตอนซื้อมาใหม่ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ดูใหม่อยู่เสมอแล้วยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วยครับ เรียกว่าสะอาดแล้วยังประหยัดอีกด้วย

5ส คือ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดระเบียบสภาพแวดล้อมการทำงานด้วย 5 กิจกรรมของ หลัก 5 ส คือ สะสาง (Seiri), สะดวก (Seiton), สะอาด (Seriso), สุขลักษณะ (Seiketsu), และสร้างนิสัย (Shitsuke) โดยจุดประสงค์ของแนวคิด 5S หรือ 5ส คืออ การทำให้การดำเนินงานขององค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โดยการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพตามหลัก 5S หรือ 5ส คือ การลดปัญหาในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความล่าช้าของการดำเนินงาน ปัญหาขั้นตอนการทำงานที่มากเกินไปจนงานช้า ปัญหาจากอุปกรณ์ที่ทำให้การดำเนินงานต้องชะงักลง เป็นต้น

กิจกรรม 5ส หรือ 5S ในแต่ละกิจกรรมแบบละเอียด จะอธิบายไว้ในหัวข้อต่อไป สำหรับความหมายคร่าวๆ ของ หลัก 5ส ทั้งหมดจะมีดังต่อไปนี้

  1. สะสาง (Seiri) คือ การแยกสิ่งของที่สำคัญและไม่สำคัญออกจากกันอย่างชัดเจน
  2. สะดวก (Seiton) คือ การจัดสิ่งของและเครื่องมือให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
  3. สะอาด (Seriso) คือ รักษาความสะอาดของเครื่องมือเครื่องใช้ และซ่อมให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา
  4. สุขลักษณะ (Seiketsu) คือ การปฏิบัติ 3 ข้อข้างต้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำแค่ช่วงที่มี กิจกรรม 5 ส
  5. สร้างนิสัย (Shitsuke) คือ การฝึกนิสัยให้นำทั้ง 4 ข้อไปปฏิบัติได้จนติดเป็นนิสัยในระยะยาว

หลัก 5ส จากด้านบนทั้ง 5 กิจกรรมหลายคนอาจสงสัยว่าที่อยู่ในวงเล็บไม่น่าใช่ภาษาอังกฤษ ซึ่งเข้าใจถูกแล้วเนื่องจาก กิจกรรม 5 ส หรือ หลัก 5S คือ แนวคิดที่มาจากญี่ปุ่น โดยชื่อ 5S มาจากการอ่านออกเสียงตัวอักษรญี่ปุ่นทั้ง 5 ตัวตามภาพด้านบน

สะสาง (Seiri)

สะสาง คือ กิจกรรมแรกสุดของหลัก 5ส คือ การแยกของที่จำเป็นกับของที่ไม่จำเป็นออกจากกัน ซึ่งก็คือการกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรือขั้นตอนในการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป ให้เหลือไว้เพียงแค่สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของ หลัก 5ส ที่จะไปสู่ 5ส ตัวต่อๆ ไป

ประโยชน์ที่สำคัญของ การสะสาง หรือ Seiri คือ ทำให้ในเวลาทำงานจริงคล่องตัวขึ้น จากการลดเวลาในการทำเรื่องไม่จำเป็น รวมทั้งลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือไม่ถูกชนิด (โดยเฉพาะเวลาเร่งรีบ)

ตัวอย่าง กิจกรรม 5ส ในส่วนของ สะสาง (Seiri) ได้แก่ การลดงานเอกสารซ้ำซ้อน, การลดงานเอกสารที่ไม่มีความจำเป็นตั้งแต่แรก, การนำเครื่องมือที่ไม่ได้ใช้ออกจากพื้นที่ทำงาน, และการนำสิ่งของที่ไม่ใช้ออกจากโต๊ะทำงาน เป็นต้น

สะดวก (Seiton)

สะดวก คือ การจัดระเบียบและการวางอุปกรณ์ในการทำงานไว้อย่างถูกที่ถูกทาง เมื่อมีการใช้อุปกรณ์แล้วก็จะต้องเก็บอุปกรณ์กลับคืนที่เดิมอย่างเป็นระเบียบ แทนที่จะวางเอาไว้เกะกะจนอุปกรณ์ดังกล่าวสูญหายหรือต้องเสียเวลาหาอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มงาน

กิจกรรม 5 ส ในส่วนของ สะดวก (Seiton) คือสิ่งที่จะช่วยลดเวลาในการค้นหาอุปกรณ์ในการทำงานในครั้งต่อๆไป อีกทั้งยังช่วยให้อุปกรณ์ในการทำงานไม่สูญหาย เพราะเมื่อใช้งานเสร็จผู้ที่ใช้อุปกรณ์ต้องนำอุปกรณ์เก็บคืนที่ทุกครั้ง

สะอาด (Seriso)

สะอาด คือ รักษาความสะอาดของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการดำเนินงานอยู่เสมอ และรวมถึงการดูแลซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อที่การดำเนินงานจะสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีที่ต้องการเพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด

หลัก 5ส หรือ 5S ในส่วนของสะอาด (Seriso) จะทำให้การดำเนินงานสามารถเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการซ่อมบำรุงเครื่องมือหรือเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดปัญหาความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ อย่างเช่น การที่เครื่องจักรที่ใช้ผลิตเกิดชำรุดขึ้นมาขณะการใช้งาน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อได้

สุขลักษณะ (Seiketsu)

สุขลักษณะ คือ การปฏิบัติ 3 ข้อในข้างต้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำแค่ช่วงที่มี กิจกรรม 5 ส เท่านั้น รวมถึงมีการประเมินผลของกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือมีปัญหาที่จุดใดบ้าง

ถ้าหากพบว่ากิจกรรมที่ทำยังไม่สำเร็จผลก็ควรที่จะหาทางปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ถ้ากิจกรรมมีประสิทธิภาพอยู่แล้วก็จะต้องนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง ตามที่อธิบายเอาไว้ใน 5ส ส่วนของ สร้างนิสัย (Shitsuke)

สุขลักษณะ (Seiketsu) เป็นผลมาจากการที่ กิจกรรม 5 ส คือ กิจกรรมที่จะเห็นผลในระยะยาวจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การทำแค่ชั่วคราวจึงเป็นสิ่งที่จะไม่เกิดประโยชน์อย่างแน่นอน

สร้างนิสัย (Shitsuke)

สร้างนิสัย คือ การนำทั้ง 4 ข้อไปปฏิบัติให้ติดเป็นนิสัยจนเกิดความเคยชิน ความเคยชินจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถทำกิจกรรม 5ส ได้อย่างอัตโนมัติซึ่งจะช่วยให้เกิดกิจกรรม 5 ส อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

เพราะต่อให้มีแนวทางในการพัฒนาไปในทางที่ดีแค่ไหน แต่ถ้าหากไม่นำแนวทางดังกล่าวมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสุดท้ายก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร


สรุป กิจกรรม 5 ส คืออะไร

5 ส คือ กิจกรรม 5 อย่างที่ใช้สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานด้วยการจัดระเบียบการดำเนินงานใหม่ เพื่อความสูญเปล่าในการดำเนินงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินงานในอนาคตจนทำให้การดำเนินงานในอนาคตเกิดความล่าช้า โดยองค์กรจะนำหลักปฏิบัติทั้ง 5 ของ หลัก 5ส มาใช้อย่างต่อเนื่องพร้อมการวัดผล เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งผลประโยชน์จากการนำ หลัก 5ส มาใช้ในองค์กร คือ ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงานที่ลดลง จากการกำจัดสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาออกไป ได้แก่ ขั้นตอนที่ลดลง ความสะดวกในการดำเนินงาน ความพร้อมในการดำเนินงาน และวิธีการที่ปรับปรุงให้เหมาสมอยู่ตลอด

กิจกรรม 5 ส สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ถ้าหากสังเกตจะพบว่าแนวคิด 5S หลัก 5 ส คือ แนวคิดที่มีความคล้ายกันกับ หลัก Kaizen และ หลัก ECRS ที่จะเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดความสูญเปล่าในการดำเนินงานพร้อมกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

ECRSKAIZENLeanLogisticsManagementStrategySupply ChainToyotaการจัดการการจัดการเชิงกลยุทธ์การผลิตโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

5ส. ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

1. การแยกแยะสิ่งของต่างๆ ให้ชัดเจน คือ “สะสาง” 2. การจัดหมวดหมู่สิ่งของให้ง่ายต่อการใช้คือ “สะดวก” 3. การรักษาความ “สะอาด” สิ่งของเครื่องใช้ของตนเองอย่างทั่วถึง 4. หมั่นทํา 3 ประการแรก โดยยึดถือหลัก “สุขลักษณะ” เป็นสําคัญ 5. ทํากิจกรรมทั้งหมดอย่างต่อเนื่องจนเคยชิน กลายเป็นการ “สร้างนิสัย”

เราได้อะไรจากการทำ5ส

กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อ ปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง

การทํา 5 ส ส่งผลดีอย่างไรต่อองค์การ

ประโยชน์ของ 5ส ลดอุบัติเหตุในการทำงาน ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้อวัสดุเกินความจำเป็น ลดการสูญหายของวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ พื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นจากการขจัดวัสดุที่เกินความจำเป็นออกไป

หลัก 5 ส กับการสร้างสังคมให้น่าอยู่ มีอะไรบ้าง

5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้นทุน (Cost) และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency)