หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

2.1ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

2.1.1 ความหมายของฮาร์ดแวร์

          ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ซึ่งฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.2 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

2.1.2 ส่วนประกอบของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU หรือ Central Processing Unit)

          เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูลหรือคำสั่งต่างๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องกัน ทำหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรมหน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ อีก 2 หน่วย ได้แก่หน่วยคำนวณเลขคณิตและตรรกวิทยา (ALU หรือArithmetic and Logical Unit) และหน่วยควบคุม (CU หรือ Control Unit) ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.3 หน่วยความจํา core i7 intel
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

หน่วยความจํา (Memory Unit)

- รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลักและจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล

- รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่างๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่างๆ เอาไว้

- แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิด

 คอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และ ตรรกะ (Arithmetic and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น

-หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กัน

2.หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคนและส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล (Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไปรูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเองอุปกรณ์ส่วนรับข้อมูลได้แก่

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.4 อุปกรณ์รับเข้า
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

อุปกรณ์ในส่วนรับข้อมูลยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

3.หน่วยแสดงผล(Output Unit)

หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูลโดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบคือแบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้

- แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.5อุปกรณ์ส่งออกแบบมีสำเนา
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

- แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.6 อุปกรณ์ส่งออกแบบไม่มีสำเนา
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

4. หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage)

สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้

4.1) แบบจานแม่เหล็ก แบบจานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายในดิสก์ (Disk) ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.7 หน่วยเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

4.2) แบบแสงเป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันโดยใช้หลักการทำงานของแสงการจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอกที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD, DVD

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.8 หน่วยเก็บข้อมูลแบบจานแสง แผ่นCD DVD
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

4.3) แบบเทปเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.9 หน่วยเก็บข้อมูลแบบเทป
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

4.4) แบบอื่นๆเป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบันมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive, Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.10 Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

5.หน่วยความจำ (Memory Unit)

หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผลและรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลและเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไปซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

5.1 )หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียวใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้วและพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรงหน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile)

โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข ใช้เก็บ

โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.11ROM และ BIOS
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

5.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบันหน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆอย่างอิสระและรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทปหรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูลที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อหรือมีข้อกำจัดแบบรอมที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว

 ข้อมูลในแรมอาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงานหรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันทีเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

หน่วยรับเข้า ซีพียู หน่วยความจำ และหน่วยส่งออก มีการ ทำงาน ที่ สัมพันธ์ กัน อย่างไร

รูปที่ 2.12 Random Access Memory (RAM)
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/