การมีเทคนิคการขับร้อง

1111.  การขับร้องเพลงไทยเดิม


เทคนิคการขับร้องเพลงไทย
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅการขับร้องเพลงไทย เป็นศิลปะที่มีความประณีตมากแขนงหนึ่ง มีเทคนิคต่าง ๆ มากมายที่ผู้ร้องจะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เสียงเพลงที่ออกมามีความไพเราะ น่าฟัง และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ได้ถูกต้องตามบทเพลง อันจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเสียงเพลงนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงเทคนิคบางอย่างที่ใช้กันมากในการขับร้อง ดังนี้
ๅๅๅๅๅๅๅๅ1.   เอื้อน หมายถึง การออกเสียงเป็นทำนองโดยไม่มีเนื้อร้อง เสียงเอื้อนเป็นเสียงที่ผ่านออกมาจากลำคอโดยตรง มีอยู่มากมายหลายเสียง และมีที่ใช้ต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงบางเสียงที่ใช้กันมาก ได้แก่

                   1)   เสียงเออ เป็นเสียงสำคัญมาก มีหน้าที่เป็นเสียงนำ วิธีทำเสียง “เออ” เผยอริมฝีปาก
เล็กน้อย แล้วเปล่งเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อยโดยไม่ต้องขยับคาง

2)   เสียงเอย มีที่ใช้ในตอนสุดวรรคหรือหมดเอื้อน หรือหมดวรรคของเอื้อน จะขึ้นบทร้องวิธีทำเสียง “เอย” มีวิธีทำเช่นเดียวกับเสียง “เออ” แต่เมื่อจะให้เป็นเสียง “เอย” ก็ให้เน้นที่มุมปาก ออกเสียงท้ายให้เป็นเช่นเดียวกับตัวสะกดแม่เกยในภาษาไทยโดยให้ปลายลิ้นแตะฟันล่าง

                  3)   เสียงเอ๋ย เสียง “เอ๋ย” นี้ใช้ในการขับร้องที่มีลักษณะของบทร้องเป็นบทชมหรือบทเกี้ยว หรือบทเพลงที่แต่งเป็นสร้อย เช่น ดอกเอ๋ย อกเอ๋ย น้องเอ๋ย ฯลฯ วิธีทำเสียง “เอ๋ย” เหมือนกับการทำเสียง “เอย” แต่ผันเสียงให้สูงขึ้นโดยไม่หุบปาก เปลี่ยนน้ำเสียงในช่วงหางเสียงให้ไปทางนาสิกอย่างช้า ๆพร้อมกับทำเสียง “หือ” ต่อท้าย

4)   เสียงหือ เสียง “หือ” จะใช้เฉพาะขับร้องในทางเสียงสูง มักจะใช้ในตอนสุดท้ายของวรรค หรือตอนของทำนองเพลง หรือตามความต้องการของผู้ขับร้องที่จะใช้หางเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะตามความเหมาะสม วิธีทำเสียง “หือ” ให้เผยอริมฝีปากเล็กน้อย แล้วเปล่งเสียงออกมาจากคอเบา ๆ พร้อมกับผันเสียงขึ้นในทางสูงเรื่อยไป ให้เสียงออกมาทางจมูกอย่างช้า ๆ จนสุดหางเสียง

      5)   เสียงอือ ใช้ในระหว่างรอจังหวะ หรือสุดวรรคหรือลงสุดท้ายของเพลง วิธีทำเสียง “อือ” เผยอริมฝีปากออกเล็กน้อย เปล่งเสียงออกจากลำคอแรงมาก ๆ โดยไม่ต้องขยับคาง ยกโคนลิ้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เสียงออกมาทั้งทางจมูกและทางปาก

            2.   ครั่น เป็นวิธีทำให้เสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน วิธีทำเสียง “ครั่น” เปล่งเสียงออกจากลำคอให้แรงมาก ๆ จนเสียงที่คอเกิดความสะเทือนเป็นระยะ ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ขับร้องที่เห็นว่าไพเราะ น่าฟัง

            3. โปรย เสียง “โปรย” ใช้ได้ทั้งการขับร้องและการดนตรี คือ เมื่อร้องจวนจะจบท่อนก็โปรยเสียงให้ดนตรีสวมรับและเมื่อดนตรีรับจนจะจบท่อนก็จะโปรยให้ร้องรับช่วงไป คำว่า “โปรย” นี้คล้ายกับศัพท์ทางดนตรีว่า “ทอด” นั่นเอง เป็นการผ่อนจังหวะให้ช้าลงเมื่อจะจบเพลง หรือเมื่อจะให้ผู้ขับร้องร้อง

            4.   ปริบ เสียง “ปริบ” วิธีทำเหมือนเสียง “ครั่น” แต่เบากว่า

            5.   เสียงกรอก เสียง “กรอก” เป็นลักษณะที่เกิดจากการทำเสียงที่คอให้คล่องกลับไปกลับมา เพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน วิธีทำเสียง “กรอก” เผยอริมฝีปากเล็กน้อย เปล่งเสียงจากคอให้แรงพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก ทำเสียงให้กลับไปกลับมาระหว่างคอกับจมูก 2–3 ครั้ง หรือมากกว่าตามความเหมาะสม

            6.   เสียงกลืน ใช้ในการร้องลงต่ำ คือ เมื่อต้องการให้เสียงต่ำก็กลืนเสียงลงในลำคอ วิธีทำเสียง “กลืน” เผยอริมฝีปากเล็กน้อย เปล่งเสียงออกจากลำคอให้แรงพอสมควร ขยับคอเล็กน้อย เพื่อให้กลืนเสียงลงไปในลำคอได้สะดวก จะกลืนเสียงมากน้อยขึ้นอยู่กับผู้ขับร้องจะเห็นสมควร

            7.   หลบเสียง หลบเสียง หมายถึง การร้องที่ดำเนินทำนองเปลี่ยนจากเสียงสูงลงมาเป็นเสียงต่ำ หรือจากเสียงต่ำเป็นเสียงสูงในทันทีทันใดการร้องเพลงตอนใดที่เสียงไม่สามารถจะร้องให้สูงขึ้นไปได้อีกแล้ว ก็ให้หลบเสียงเป็นเสียงต่ำ (เสียงคู่แปด) โดยการผ่อนเสียงเดิมให้ค่อย ๆ เบาลงมาหาเสียงต่ำ หรือถ้าตอนใดเสียงร้องนั้นจะต้องลงต่ำต่อไปอีก แต่เสียงร้องไม่สามารถจะต่ำลงไปได้อีก ก็ร้องหักเสียงให้สูงขึ้นด้วยวีธีการเช่นเดียวกัน

เนื่องจากการขับร้องเพลงไทยมีเทคนิคในการขับร้องที่สูงมาก ดังนั้นเทคนิคต่าง ๆ ในการร้องเพื่อตบแต่งทำนองให้ไพเราะ น่าฟัง ดังกล่าวแล้วนี้ อาจแตกต่างกันไปบ้างตามสติปัญญา ความสามารถที่เห็นว่าไพเราะของแต่ละบุคคลซึ่งลักษณะอย่างนี้เป็นการแสดงออกถึงความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักร้องเพลงไทยที่สามารถประดิษฐ์ทำนองหรือทางในการร้องได้ โดยยึดแกนร่วมเดียวกัน
ในส่วนของเพลงพื้นบ้านนั้น เทคนิคต่าง ๆ ในการร้องก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องกลอนเพลงพื้นบ้าน จะมีการร้องเอื้อน หรือร้องคำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยยืดเวลาให้คิดกลอนได้ทัน สำหรับการร้องประกอบวงดนตรี การเอื้อนหรือเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวจะเป็นแบบแผนมากขึ้น

ที่มา ; https://krutongmusic.wordpress.com/wp-admin/post.php?post=1924&action=edit

          2. หลักการขับร้องเพลงสากล

การขับร้องเพลงไทยสากลและเพลงสากล

การขับร้องเพลงต้องร้องให้ถูกต้องชัดเจนทั้งเนื้อร้อง จังหวะและทำนองแล้วยังต้องคำนึงถึงความไพเราะ ต้องพยายามร้องให้มีความไพเราะน่าฟัง โดยเฉพาะการปฏิบัติตามเครื่องหมายต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในโน้ตเพลง การแบ่งวรรคตอนของเนื้อร้อง นอกจากนี้ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การหายใจ ต้องหายใจให้เหมาะสม การแสดงอารมณ์ต้องเหมาะสมกับลีลาและความหมายของเพลงและต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ในการขับร้อง

หลักการปฏิบัติในการขับร้องเพลง มีดังนี้

1.   การหายใจ ต้องหายใจให้ลึกเต็มที่ เงียบและเร็ว เวลาหายใจออกค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกมาพร้อมกับการออกเสียง การถอนหายใจต้องถอนตรงกับท้ายวรรคเพลงหรือท้ายประโยคเพลง เพื่อไม่ให้ความหมายของเพลงเปลี่ยนไป ทำให้เพลงขาดความไพเราะและอารมณ์หรือความรู้สึก

2.   การออกเสียง เวลาออกเสียงควรอ้าปากให้กว้างแต่พอเหมาะพอควรออกเสียงพยัญชนะเสียงสระให้ชัดเจนชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะเสียง อา เอ อี โอ อู และคำอื่นที่ประกอบเป็นคำ ประโยคในเนื้อเพลง

3.   ลักษณะท่าทาง ควรฝึกร้องในท่ายืนตั้งลำตัวและศีรษะให้ตรงพอสมควรไม่ต้องฝืนให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่าก้มหน้าหรือห่อไหล่ ยืดอกให้เหยียดตรงพองาม ให้น้ำหนักตัวอยู่บนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน

การฝึกร้องในท่านั่งต้องนั่งตัวตรงยืดอกพองาม มองดูแล้วสุภาพเรียบร้อย มีสง่า การแต่งกายเหมาะสมกับโอกาสและความสำคัญของงาน การเคลื่อนไหวลีลาท่าทางให้เหมาะกับจังหวะ เนื้อร้องและทำนอง

ที่มา : http://nawin.org.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539410801&Ntype=1

ๅๅๅๅๅๅๅๅ การร้องเพลงให้มีความไพเราะน่าฟังนั้น นอกจากจะต้องอาศัยเสียงที่มีความไพเราะแล้ว ยังต้องมีความรู้พื้นฐานในการขับร้องอีกด้วย ได้แก่

             1.   อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเปล่งเสียง

                   1.1   หลอดคอ นับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการเกิดเสียงบริเวณหลอดคอจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1    บริเวณหลังช่องจมูกเหนือเพดาน เป็นทางผ่านของอากาศ

ส่วนที่ 2    บริเวณหลังช่องปาก เริ่มจากเพดานอ่อนถึงกระดูกโคนลิ้น เป็นทางผ่านของ                                                                     อาหารและอากาศ

ส่วนที่ 3    บริเวณล่างสุดของหลอดคอ เริ่มจากกระดูกโคนลิ้นถึงตอนบนของหลอด
อาหาร อยู่หลังกล่องเสียง

                   1.2   กล่องเสียง เป็นอวัยวะสำคัญในการเกิดเสียง ส่วนหน้าถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นกระดูกอ่อนตรงแนวกลางจะเป็นสันนูนแหลมขึ้นมา เรียกว่า “ลูกกระเดือก” ตอนบนกล่องเสียงมีกระดูกอ่อนชิ้นหนึ่งพับเปิดปิดรูกล่องเสียง เวลาหายใจ แผ่นกระดูกอ่อนจะยกขึ้นเพื่อให้ลมผ่านเข้าออกทางกล่องเสียงและกระดูกอ่อนนี้จะปิดรูกล่องเสียงเวลากลืนน้ำ อาหาร เพื่อไม่ให้ตกลงไปในหลอดลม อาหารและน้ำจะผ่านเข้าทางหลอดอาหาร

             2.   การเกิดเสียง

ที่ปากช่องทางกล่องเสียงมีแผ่นเยื่อบาง ๆ คู่หนึ่งขึงปิดอยู่ มีความยืดหยุ่นตึงหรือหย่อนได้เรียกว่า “สายเสียง” (Vocal Cords) เสียงเกิดจากอากาศหรือลมผ่านเข้ามา ทำให้สายเสียงเกิดการพลิ้วสั่นสะเทือน เวลาหายใจออกเป็นเสียงที่เปล่งออกมา เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของสายเสียงและได้รับการปรับแต่งเป็นคำพูดหรือเสียงร้อง โดยอาศัยโพรงอากาศของจมูก ช่องปาก เพดาน ลำคอริมฝีปาก ลิ้น และฟัน

             3.   อวัยวะที่ช่วยในการก้องกังวาน

อวัยวะต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด นอกจากจะช่วยในการเปล่งเสียง ยังเป็นบริเวณที่ช่วยให้เสียงเกิดการกังวาน บริเวณที่เกิดการก้องกังวานมี 3 บริเวณ คือ

1.   บริเวณลำคอและทรวงอก สำหรับระดับเสียงต่ำ

2.   บริเวณลำคอและโพรงจมูก สำหรับระดับเสียงกลาง

3.   บริเวณหน้าผากและโพรงกะโหลกศีรษะ สำหรับระดับเสียงสูง

             4.   ปัจจัยสำคัญในการขับร้อง

1.   รู้จักใช้และควบคุมลมหายใจทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับไหปลาร้า ระดับทรวงอก และระดับกะบังลม

2.   รู้จักการใช้เสียงอย่างถูกวิธี

3.   รู้จักประเภทของเสียงร้อง เช่น เด็กชาย เด็กหญิง เสียงไม่แตกต่างกัน ในวัยรุ่นเด็กชาย
เสียงจะแตก ต่ำ ห้าว เด็กหญิงจะทุ้ม สูง และแหลม

4.   รู้จักบทเพลงประเภทต่าง ๆ เช่น เพลงพื้นเมือง เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล และเพลงสากล เป็นต้น

5.   มีความรู้ด้านทฤษฎีโน้ต

6.   มีวิธีออกเสียงคำร้องให้ชัดเจน เช่น สระ พยัญชนะ คำควบกล้ำ เป็นต้น

7. รู้จักรักษาสุขภาพที่ดี เช่น คอ ปาก ฟัน จมูก ตลอดจนสุขภาพทั่วไป

ที่มา : http://nawin.org.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539413336&Ntype=3