ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟปะทุหรือไม่ อย่างไร

ประเทศไทยมีภูเขาไฟ 7 แห่ง เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทหมดแล้ว ในจำนวนนี้ 5 แห่งตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟหินหลุบ-ภูเขาไฟคอก ภูเขาไฟกระโดง และภูเขาไฟไบรบัด

อีก 2 แห่งตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง คือ ภูเขาไฟ ดอยผาดอกจำปาแดด และ ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู

ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟปะทุหรือไม่ อย่างไร

มาทำความรู้จักภูเขาไฟลูกแรกกัน “ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง” เป็นภูเขาไฟหินบะซอลต์แบบกรวยลาวา จุดสูงสุดอยู่ที่ 386 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสูงจากที่ราบโดยรอบประมาณ 180 เมตร ปากปล่องอยู่ที่ศูนย์กลางเนินภูเขาไฟ กว้างราว 300 เมตร รูปร่างคล้ายชามและมีความลึกจากขอบปล่องประมาณ 70 เมตร บนเขายังประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญคืออุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

จากการเกิดภัยธรรมชาติภูเขาไฟระเบิดของภูเขาไฟตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดควันภูเขาไฟและเถ้าถ่านที่เป็นมลพิษทางอากาศ พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปไกลได้ถึงประมาณ 20 กิโลเมตร และเกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 15 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของเกาะแมงโก้ ทำให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะหายไปแทบทั้งหมู่บ้าน เหตุภูเขาไฟระเบิดผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทั้งเกาะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปช่วงระยะหนึ่ง และอีกหลายประเทศที่ชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายรุนแรงจากภูเขาไฟปะทุลูกนี้

แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยไปประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่ก็ต้องมีการจับตามองและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด 

ข่าวการเกิดภูเขาไฟหลายแห่งที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ” ที่หลายๆคนรู้จักกันดี ซึ่งมากกว่าร้อยละ 75% ของภูเขาไฟทั้งหมดบนโลก หรือประมาณ 850 ลูก ที่ยังมีพลังอยู่ (Active Volcanoes) และครอบคลุมถึง 31 ประเทศด้วยกัน ตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกาเหนือ และมักจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวถึง 90% บนโลก ยังไม่นับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นอีก 80%

ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟปะทุหรือไม่ อย่างไร

ภูเขาไฟต่างประเทศและเป็นภูเขาไฟดังๆที่หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่ออยู่บ้าง เช่น ภูเขาไฟตองกา ภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาไฟคองโก ภูเขาไฟกรากะตัว ภูเขาไฟซีนาบุง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นภูเขาไฟที่ยัง Active อยู่  ทีนี้เราย้อนกลับมาดูข้อมูลภูเขาไฟในประเทศไทยกันบ้าง เพราะมีภูเขาไฟที่เคยปะทุในไทย และภูเขาไฟที่ดับแล้วเช่นกัน แต่จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนกันนะ ที่ภูเขาไฟของไทยเราจะปะทุขึ้นมาอีก ก่อนอื่นเราทำความรู้จักการกำเนิดภูเขาไฟเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย ภูเขาไฟคืออะไร ภูเขาไฟเกิดจากอะไร และชนิดภูเขาไฟในประเทศไทย 

ภูเขาไฟคือ ภูเขาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก มีหินหนืดอยู่ใต้เปลือกโลก ในอุณหภูมิสูงมาก จนเกิดแรงดันและการกระแทกแทรกตัวตามรอยแยกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดผลักดันหินหนืดที่ร้อนจัด ไอน้ำ เศษหิน ฝุ่นละออง และก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ก๊าซไนโตรเจน (N2) เป็นต้น พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ซึ่งหินหนืดที่พุ่งออกมานี้คือ “ลาวา” (LAVA) แต่หินหนืดที่ยังไม่ออกสู่พื้นผิวโลก เรียกว่า “แมกมา” (Magma)

เราสามารถเรียกภูเขาไฟภาษาอังกฤษว่า Volcano โดยภูเขาไฟจะมี 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 

  1. ภูเขาไฟมีพลัง (Active Volcanoes) เป็นภูเขาไฟที่เพิ่งเกิดการปะทุหรืออาจปะทุในอนาคต
  2. ภูเขาไฟสงบ (Dormant Volcanoes) เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่มีการปะทุ แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 
  3. ภูเขาไฟดับสนิท (Extinct Volcanoes) ภูเขาไฟที่จะไม่เกิดการปะทุขึ้นอีกเลย 

และยังสามารถแบ่งตามรูปร่างลักษณะได้อีก 4 ประเภท ดังนี้ 

  1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) 
  2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) 
  3. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and cinder cone)
  4. ภูเขาไฟแบบสลับชั้น (Composite cone) 

ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟปะทุหรือไม่ อย่างไร

ภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ และเป็นภูเขาไฟดับแล้ว  แม้ว่าจะเคยเกิดการระเบิดมาก่อน แต่นั้นก็ผ่านมานานมากกว่าหมื่นปีแล้ว แต่ก็ยังภูเขาไฟอายุน้อยๆหลงเหลืออยู่บ้าง ตัวอย่างภูเขาไฟที่ว่านี้ เช่น  ภูเขาไฟใน จ.บุรีรัมย์  ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จ.ลำปาง เป็นต้น ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วแต่ก็มีโอกาสที่อาจปะทุขึ้นได้อีก แม้ว่าจะน้อยมากๆก็ตาม เพราะไม่ได้อยู่แนวมุดตัวเหมือนภูเขาไฟ จ.เลย และ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้นักวิชาการและนักวิจัยเชื่อมั่น ว่าหากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟการป้องกันสำหรับในประเทศไทย คาดว่าจะสามารถทำได้โดยไม่น่ากังวล

แต่ที่น่ากังวลและควรเฝ้าระวังคือ ภูเขาไฟใต้ทะเลลูกเล็กที่เกาะบาแรน หรือภูเขาไฟชื่อ Barren Island ใกล้กับเกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งห่างจากประเทศไทยเพียง 700 กิโลเมตร ทางฝั่งอันดามัน ด้านจังหวัดระนอง ภูเก็ต และพังงา พบว่าภูเขาไฟลูกนี้ยังคงปลดปล่อยพลังงานอยู่เป็นระยะๆ และอาจมีโอกาสที่จะปะทุ ทำให้เกิดแผ่นดินไหว และเกิดสึนามิตามขึ้นมาได้ แต่ก็อาจมาไม่ถึงประเทศไทย แต่นั่นก็ให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นภูเขาไฟอีกจุดหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง ด้วยภูมิศาสตร์และการทับซ้อนตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก และมีภูเขาไฟที่มีพลังกระจายตัวรอบๆ ไทยจึงต้องเตรียมพร้อมและคอยตรวจสอบเตือนภัย รวมถึงการให้ความรู้ในการอพยพ การขนย้ายผู้ป่วยและสัตว์เลี้ยง 

ภูเขาไฟที่ดับแล้วในไทยจะมีด้วยกัน 8 แห่ง โดยจะเป็นภูเขาไฟจ.บุรีรัมย์ 6 แห่งด้วยกัน ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟคอก ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟไปรบัด ภูเขาไฟกระโดง จ.บุรีรัมย์ และอีก 2 แห่งคือ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู และ ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด 

  • ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์  เป็นภูเขาไฟหินบะซอลต์แบบกรวยลาวา มีลักษณะรูปร่างคล้ายชาม มีจุดที่สูงที่สุด 386 เมตร จากระดับน้ำทะเล และสูงจากที่ราบโดยรอบประมาณ 180 เมตร ความกว้างของปากปล่องของศูนย์กลางเนินภูเขาไฟ ราวๆ 300 เมตร และคาดว่าภูเขาไฟลูกนี้น่าจะดับมาแล้วกว่า 1.2 ล้านปี                                                                                   
  • ภูเขาไฟหินหลุบ อ.เฉลิมพระเกียรติ ภูเขาไฟจะมีร่องรอยปากปล่องรูปโค้งยาว จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา เรื่องภูเขาไฟในไทย                                                       
  • ภูเขาไฟเขาคอก อ.ประโคนชัย แม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่ก็เป็นแหล่งกำเนิดห้วยเสว และไว้สำหรับเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา                                                                                                         
  • ภูเขาไฟอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ หรือภูพระอังคาร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากภูเขาไฟพนมรุ้ง มีวัดเขาพระอังคารตั้งอยู่บนยอดเขา ศาสนสถานที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ   
  • ภูเขาไฟกระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานสมัยขอม พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น                                                        
  • ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์ ส่วนใหญ่จะเป็นซากภูเขาไฟที่มีช่องปล่องปะทุชัดเจน ซึ่งเนินจะเกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟ จากแรงดันของก๊าซต่างๆ อย่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ รวมไปถึงไอน้ำ และเศษหินต่างๆ ที่หลอมละลายแล้วถูกดันขึ้นไปปะทุ จนกระทั่งเย็นและแข็งตัวในอากาศ                                                                                                   
  • ภูเขาไฟดอยผาคอกจำปาแดด จ.ลาปาง เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิท ไม่มีการระเบิดอีกแล้ว โดยได้รับการยืนยันจาก ดร.เปียร์ ซอเรนซน ผู้อำนวยการสถาบันสแกนดิเนเวีย ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ ภูเขาลูกนี้มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 630 เมตร ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ยืนต้นหลายชนิด และไม่สามารถเดินทางขึ้นไปได้ด้วยทางเดินรถ                                                   
  • ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู จ.ลำปาง ถูกตั้งชื่อจากชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณแถบน้้น โดยความหมายภูเขาไฟลูกนี้จะสอดคล้องกับลักษณะของปล่อง เป็นชนิดภูเขาไฟชั้นหินลาวา หรือหินบะซอลต์ ที่ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ด้วยปากปล่องภูเขาไฟมีบริเวณกว้าง และถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ทั่วไป จนไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นภูเขาไฟมาก่อน

**ภูเขาไฟดอยผาคอกจำปาแดด และ ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู จะตั้งอยู่ไม่ไกลกัน โดยอยู่กันลูกละฝั่งถนน เพราะภูเขาไฟในไทยจะเป็นชนิดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว อาจไม่ได้เห็นความยิ่งใหญ่อลังการ ความสวยงามที่แฝงไปด้วยความน่ากลัว เหมือนๆอย่างภูเขาไฟต่างประเทศ แต่เชื่อว่าหลายๆคนคงยินดีที่มันเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วอย่างนี้มากกว่า แต่!! เราก็ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ ดังนั้นการไม่ประมาทจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้รอดพ้นสถานการณ์เลวร้ายได้มากกว่าความประมาทอย่างแน่นอน

ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟปะทุหรือไม่ อย่างไร

สิ่งสำคัญในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดสถานการณ์ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และสึนามิ อย่า!!ฝากความหวังไว้กับระบบเตือนภัย 100% เพราะต่อให้ผ่านการฝึกซ้อมมามากแค่ไหน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์จริง ระบบเตือนภัยก็อาจทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ 

ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟปะทุไหม

จากการตรวจสอบหลักฐานของนักธรณีวิทยา พบว่า ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟที่ได้ระเบิดขึ้นเมื่อประมาณ 7 แสนล้านปีผ่านมาแล้ว ได้แก่ 1. ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

ประเทศไทยมีโอกาสเกิดภูเขาไฟปะทุหรือไม่ เพราะเหตุใด *

ในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่ายดังนั้นหากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง ซ้ำภูเขาไฟในทุกภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วภาคเหนือ พบในเขตจังหวัด ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์

ภูเขาไฟในประเทศไทยอยู่บริเวณใด

ภูเขาไฟหลุบ” อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ “ภูเขาไฟเขาคอก” ตั้งอยู่ในอำเภอประโคนชัย ภูเขาไฟทั้งสองแห่งนี้ เเม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็ยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาในเรื่องเกี่ยวกับภูเขาไฟของไทยได้เป็นอย่างดี

ลำปางมีภูเขาไฟไหม

พบแหล่งภูเขาไฟบริเวณตอนกลางของลำปาง ในเขต อำเภอเมืองลำปาง-อำเภอแม่ทะ และเกาะคา-อำเภอสบปราบ โดยกลุ่มหินบะซอลต์ ที่เกิดจากลาวาของภูเขาไฟลำปางไหลอาบออกมาปกคลุมพื้นที่ มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา และอำเภอสบปราบ เรียกรวมกันว่า บะซอลต์สบปราบ มีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในบริเวณ ...