กราฟิกดีไซน์เนอร์ ลักษณะงาน

การสร้างงานที่แตกต่าง แปลกใหม่ และโดดเด่น จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในงานศิลปะ จะสื่อสารอย่างไรให้ สะดุดตา สะดุดใจ ก็ต้องคิดริเริ่มทำขึ้นมา โดยอาจหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือออกไปเปิดหูเปิดตาภายนอก เพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ อย่างเช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว เป็นต้น

          3. เซ็ทค่าเอาท์พุตให้สวย บางคนทำงานที่เครื่องของตัวเอง เซ็ทค่าสีไว้เสียสวยงาม แต่เวลาพิมพ์ออกมา หรือแสดงผลบนเครื่องของคนอื่นกลับไม่เหมือนอย่างที่ทำไว้ คนทำกราฟิกจึงต้องมีความรู้เรื่องการเซ็ทค่าเอาท์พุตให้สามารถแสดงสีออกมา ได้สวยงามเช่นเดียวกับที่เห็นหน้าจอมอนิเตอร์ สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก แต่ต้องระวังเรื่องของ Browser เนื่องจาก Browser ต่างค่ายก็จะแสดงผลที่แตกต่างกัน สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็กเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็กเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน

          4. สนใจความเป็นไปรอบตัว การเป็นคนทันยุค ทันเหตุการณ์จะช่วยให้คุณสามารถเสริมลูกเล่นต่าง ๆ เข้าไปในงานของคุณ ทำให้งานของคุณดูทันสมัย แตกต่างจากคนอื่นในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ทำให้คุณกลายเป็นดาวเด่นในพริบตาก็ได้

กราฟิกดีไซน์เนอร์ ลักษณะงาน
          5.กล้าที่จะลอง เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเรา จึงไม่อาจยึดติดอยู่กับเครื่องมือเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย การลองใช้ Software ใหม่ ๆ ที่มีการ Update อยู่เสมอจะทำให้เราได้ใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

          จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์ หากล้วนแล้วแต่มาจากพรแสวงที่ทุกคนต้องขวนขวายมาเป็นอาวุธติดกาย เพื่อใช้ในการทำงานและพัฒนาผลงานกราฟิกของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

กราฟิกดีไซน์เนอร์  คนทำกราฟิก  คุณสมบัติของคนทำกราฟิก  คุณสมบัติคนทำกราฟิก

บทความยอดนิยม

กราฟิกดีไซน์เนอร์ ลักษณะงาน

20 ประเภทเพื่อนร่วมงานชวนป่วน พร้อมวิธีรับมือ

ในหนึ่งวันชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ ใช้เวลาอยู่ที่ออฟฟิศไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ถ้าไม่นับเวลาที่เราต้องนอนในแต่ละวัน...

มี graphic design studio ที่ทำกราฟฟิคเลย ทำ design แบบ pure design กับเอเจนซี่ ฝั่งเอเจนซี่ก็จะมีแผนกกราฟฟิคหรือคนทำกราฟฟิคก็อาจจะเป็นครีเอทีฟด้วยก็จะแล้วแต่ที่ หรือว่าไปทำเป็น in house ในองค์กรใหญ่ๆ อย่างเช่น SCG เค้าก็จะแผนกที่ทำกราฟฟิคหรือว่าร้านอาหารใหญ่ๆ เค้าก็จะมีฝ่ายกราฟฟิคของเค้าเอง เข้าไปทำ ดูแลในส่วนงานดีไซน์art workที่มันจะออกมา ขององค์กรเค้า ก็แบ่งเป็นอัน3อันใหญ่ๆ ก็คือ graphic design studio , in house , agency ส่วนเรื่องหน่วยงานราชการพี่ไม่ค่อยแน่ใจ แต่พี่ว่าเค้าคงมีนะ พวกกรมส่งเสริม TCDC ก็น่าจะมี

สภาพการทำงาน

ส่วนมากกราฟฟิคก็อยู่หน้าคอม แต่ว่ามันก็แล้วแต่ว่างานมันเป็นงานอะไร งานสไตล์ไหน สมมติว่าถ้าเราทำ ป้ายบอกทาง เราก็ต้องมีไปดูไซต์ ออกนอกสถานที่ หรือถ้าเราทำกราฟฟิคก็จริงแต่ว่าvisualมันออกมาแบบต้องเป็นงานมือ ต้องวาด เราก็ต้องไปวาด หรือว่าทำแพคเกจ เราก็ต้องทำมอคอัพขึ้นมา มีการตัดมีการทำกึ่งๆงานฝีมือ และก็จะมีไปตรวจพรู้ฟ ไปดูไซต์ อย่างเราทำป้ายบอกทาง เราอาจจะต้องไปดูสถานที่ตั้งแต่ก่อสร้างยังไม่เสร็จดี เราก็ต้องมาเดินดูว่าเราขึ้นมา เราเห็นทางแยกแบบนี้ ถ้าเราจะไปห้องน้ำ เราควรจะมีป้ายอยู่ตรงไหนบ้าง ให้คนไม่หลง จริงๆมันก็มีหลายscope สมมติว่าเราทำกับหมู่บ้าน เค้าจะมีคล้ายๆin house คล้ายๆสถาปนิกเค้าก็จะแพลนมาให้เลยว่าเค้าจะเอาป้ายไว้ตรงไหนบ้าง แต่บางโปรเจคเราก็ต้องไปดูเองตั้งแต่ยังสร้างไม่เสร็จว่ามันควรมีป้ายอยู่ตรงไหน พอลิสต์ตำแหน่งได้ เราถึงมาออกแบบป้ายแต่ละชิ้น

ระยะเวลาในการทำงาน 

พี่ว่างานกราฟฟิคมันเป็นอะไรที่แต่ละออฟฟิศเลย บางที่ก็เข้า 9.00 น. บางที่ก็ 10.00 น. ก็จะค่อนข้าง flexible คนทำงานสายนี้นะ เค้าจะไม่ค่อยได้ฟิกเวลาเป๊ะๆ ยกเว้นว่าเราทำในองค์กรที่มันเป็นองค์กรใหญ่และมันต้องมีการควบคุมให้องค์กรมันเป็นในทางเดียวกัน แต่ถ้าอยู่กับเอเจนซี่ หรือ design studio เค้าก็เข้า 9 โมง 10 โมงบ้าง และก็อยู่ไปยาวๆเลย 2-3 ทุ่ม หรือถ้าใกล้ส่งโปรเจคก็อาจจะต้องอยู่ดึกเลย แต่ถ้าบางทีสมมติว่าอยู่ดึกคืนนี้ พรุ่งนี้ก็เข้าสายได้ มันก็แล้วแต่ ค่อนข้างflexible เค้าก็ดูว่างานเสร็จไหม คุณภาพโอเคหรือเปล่า พี่ไม่แน่ใจว่าองค์กรเป็นอย่างไร แต่ถ้าใน design studio หัวหน้าให้งานมาเค้าก็มีเดดไลน์กำหนดให้ ถ้าเราสามารถทำงานให้มันตามเดดไลน์ได้ก็คือโอเค

ประเภทของลูกค้า

ส่วนมากก็จะเป็นเจ้าของกิจการ SME หรือเป็น start up เป็นธุรกิจที่ไม่ใหญ่มาก เค้าก็ต้องลงมาดูเอง แต่ถ้าเป็นธุรกิจใหญ่บางทีเราก็คุยกับ marketing สมมติว่าทำหมู่บ้าน เค้าก็จะมาบอกว่าจะมีโครงการนี้เกิดขึ้น ช่วยทำใบปลิว หรือ Direct Mail ที่เค้าจะส่งไปตามบ้าน ข้อความจะเป็นแบบนี้ๆ ก็มี บางทีก็มีทำงานร่วมกับเอเจนซี่ด้วย เป็นเอเจนซี่โฆษณา บางทีเค้าก็กึ่งๆ supplier กึ่งๆ coordinator ด้วย แต่ design studio ที่เค้าเจ๋งๆก็มี เค้าเก่งเรื่องงานกระดาษ เอเจนซี่ก็จะมาให้เค้าทำงานกระดาษเพื่อเอาไปโชว์ เหมือนเป็น studio ที่มีความถนัดเฉพาะทางก็จะมาให้ทางนั้นทำ ก็เป็นนักออกแบบกราฟฟิคอยู่ ก็ก็เชี่ยวชาญทางด้านงานกระดาษ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าจ้างเอเจนซี่ จะทำแคมเปญขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลอง15ปีหรือกี่ปี 12 โครงการ อยากจะทำขนมที่เป็นแพคเกจเป็นตึกขึ้นมา เอเจนซี่เป็นคนคิดไปเดียว่าจะทำขนม และก็จะมีแพคเกจเป็นกล่องกระดาษเป็นตึกสวยๆ เอเจนซี่ก็ไปหาคนที่ทำขนมในเชิงดีไซน์มาทำขนม ไปหากราฟฟิค design studio ที่เก่งในเรื่องการทำแพคเกจทำงานกระดาษมาทำ และก็ออกมาเป็นผลงาน

2. คุณลักษณะของงาน

เป้าหมายของงาน/โจทย์ใหญ่ของงาน/ความท้าทายของงาน

graphic มันคือ visual communication มันคือการสื่อสารด้วยภาพ หรือ สื่อสารทางการมองเห็น เพราะฉะนั้นมันก็ช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จุดที่สำคัญที่สุดของงาน

พี่มองว่ามันต้องสื่อสาร หมายความว่า ต้องสื่อสารให้สารมันออกไปได้ตรงตามที่คนส่งอยากจะส่งไป การสื่อสารอาจจะไม่ใช่แค่message ไม่ใช่แค่ข้อความ หรือว่าtext แต่มันรวมถึง mood&tone อารมณ์ ภาพ หรือว่าสี ที่มันจะช่วยบิ้วด์ขึ้นมาได้

Work process

ขั้นแรกคือรับบรีฟจากลูกค้า เวลาทำอะไรเราต้องมีโจทย์ ก็รับโจทย์จากลูกค้ามา พอได้รับโจทย์แล้วก็ต้องเอามาคลี่ วิเคราะห์ ว่าโจทย์จริงๆแล้วมันคืออะไร ในบางครั้งลูกค้าก็ให้โจทย์มาเรียบร้อยแล้ว สมมติว่าถ้าเรารับงานจากเอเจนซี่ เค้าก็จะบอกมาเลย แต่ถ้าในางครั้งเราก็ต้องเอามาวิเคราะห์เอง ว่าลูกค้าแบรนด์เค้าเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเค้าเป็นใคร คนอื่นรอบๆทำอะไรกันบ้าง ถ้าเราอยากจะเด่นขึ้นมาเราต้องทำอย่างไร

ขั้นที่สองคือวิเคราะห์ พอวิเคราะห์แล้วได้เรื่องของแบรนด์จริงๆเค้าเป็นอย่างไร ตัวตนเค้าแล้วก็mood&tone ของเค้า เราก็จะได้คอนเซ็ปออกมาได้ สมมติว่าแบรนด์นี้เค้าเป็นโครงการบ้านที่ขายและทำโดยสถาปนิกจริงๆเป็นบ้านที่ไม่ได้เกิดจากนักลงทุน mood&tone มันจะออกมาเป็นอย่างไร ภาพจะออกมาเป็นอย่างไร คอนเซ็ปของงาน พอออกมาเป็นคอนเซ็ป แตกเป็นดีไซน์ไดเรกชั่นต่างๆ เพราะว่าด้วยโจทย์เดียวกัน เหมือนว่าเราจะไปถึงเป้าหมาย มันไปได้หลายทาง เราก็มีไดเรกชั่นให้ลูกค้าเลือกเป็นทางเลือก ว่าเค้าชอบแบบไหน อันไหนจะตรงใจเค้าที่สุด หรือใกล้เคียงกับความชอบเค้า พอเค้าได้อันที่ใกล้เคียงแล้วก็ต้องมีการปรับอีก มันไม่มีอะไรเพอร์เฟคในชิ้นแรก มันก็จะเป็นการ design development ก็ปรับงานไป พอเสร็จแล้ว ไฟนอลแล้ว เราก็ต้องมีการเตรียมart work ถ้าเกิดเป็นงานอย่างพวก corporate identity มันไม่ได้มีการผลิตจริง เป็นแค่ guidelines ก็ส่งให้ลูกค้าได้เลย แต่ถ้างานที่มันมี production บางทีเราก็ต้องไปคุม production มันขึ้นอยู่กับขอบเขตงานที่เราตกลงกับลูกค้าตั้งแต่แรก เช่นบางคนเค้าก็จะเอาไปผลิตเอง บางทีเราก็ต้องไปคุมการผลิต อย่างเช่น ตรวจพรู้ฟ ตรวจสี หรือตรวจหน้างานที่ไซต์ อย่างงานทำสัญลักษณ์ ป้ายถูกต้องไหม มองเห็นดีหรือเปล่า ปกติแล้วเราไม่ได้ผลิตให้ แต่ว่าขึ้นอยู่กับการตกลงกันว่าเค้าจะให้เราช่วยดูส่วนนี้ด้วยไหม เป็นต้น จากนั้นก็ผลิตออกมา ส่งถึงมือลูกค้า แล้วก็เผยแพร่ออกไป

บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้

ต้องมีตรรกะอยู่แต่ก็ต้องมีความคิดสร้างสรรค์หรือหัวทางด้านศิลปะอยู่ อย่างที่บอกว่างานออกแบบมันไม่ได้1+1 คือบางคนที่เค้ามีตรรกะมากๆเค้าก็จะไม่ค่อยเข้าใจ เค้าไม่สามารถจะทำอะไรแบบนี้ได้ เค้าจะมีตรรกะที่สุดโต่งไปเลย หรือคนที่เป็นpure art เลย เค้าก็จะไม่มาทำอไรที่เป็นตรรกะ มันต้องผสมกันระหว่างจินตนาการและตรรกะ และก็มีpassion เพราะว่าบางคนที่ชอบจริงๆที่พี่เห็นเด็กๆบางคนเข้ามาปีหนึ่งก็เก่งมากๆแล้ว เค้ามีความสนใจตั้งแต่ก่อนจะมาเรียน ถ้ามันอินมันก็จะทำได้ในที่สุด ต่อให้ไม่มีพรสวรรค์อาจจะต้องใช้เวลา แต่มันก็ไปถึงได้

3. คุณค่าและผลตอบแทน

คุณค่า ผลตอบแทน ต่อตนเอง คนรอบข้างและสังคม

เอาจริงๆแล้วมันก็เป็นอาชีพที่ค่าตอบแทนเงินมันไม่ได้สูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับvalueของเรา คือถ้าเราสามารถพรีเซนต์ตัวเองว่าเราสร้างvalueให้ลูกค้าได้ เพราะมันเป็นsubjective เราไม่สามารถบอกได้ว่าค่าทำโต๊ะอันนี้กี่บาท คือเราขายความคิด ถ้าเราสามารถทำให้เค้าเชื่อว่าความคิดเรามันดีต่อองคร์กรเค้าได้ เค้าก็จะยอมจ่ายให้เรา มันก็เลยเป็นอะไรที่ค่าตอบแทนมันขึ้นอยู่กับงานของเราเองนั่นแหละ และต่อตนเอง พี่ก็ชอบ เพราะว่าพี่ทำเพราะพี่ชอบ ก็มีความสุขที่จะทำงานออกแบบไปเรื่อยๆ กับคนรอบข้าง มันก็ช่วยในการที่สื่อสารให้คนเข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้น ผู้รับสารผู้ส่งสาร สามารถเข้าใจได้ดี และมันก็ทำให้อะไรๆมันดูสวยงามขึ้น

สิ่งที่ต้องสูญเสีย

ตอนเรียนมันจะมีโปรเจคเยอะกว่าสอบ การทำโปรเจคเป็นเรื่องที่ใช้เวลาในการเรียนเยอะกว่าการสอบ มันหนักไปทางโปรเจคมากกว่า มันอยู่หน้าคอมเยอะมั้ง ต้องจ้องคอมเยอะ จริงๆพี่รู้สึกว่าทำงานอะไรมันก็หนักทั้งนั้นแหละถ้าเราจริงจัง และมันก็เป็นอาชีพที่ไม่ได้ทำเงินได้มากเหมือนธุรกิจบางอย่าง และมันเป็นงานที่ลงทุนและไม่ได้รับผลตอบแทนแบบเยอะเหมือนการทำงานบางอย่าง แต่ว่ามันก็ไม่ได้จะจนขนาดนั้นนะ แต่ถามว่าทำหวังรวยมันคงไม่ได้เป็นล่ำเป็นสันขนาดนั้น และพี่ว่าต้องเรียนมันหนัก มันมีทั้ง ปั้นหม้อ ทอผ้า เลื่อยไม้ เข้าช้อป ต้องเลื่อยไม้เลื่อยวงเดือน ฝุ่นเต็มหน้าก็มี แต่มันก็ต้องลุย

4. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ

สมัยนี้ถ้าอาจจะบอกว่า วาดรูปไม่ได้คงทำกราฟฟิคไม่ได้ จริงๆมันก็ทำได้นะ เพราะมันก็มีเครื่องมือช่วยเยอะ อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าเกิดวาดรูปได้มันก็ดี มันก็เป็นข้อดีเพิ่มเติมที่เรามี เพราะมันก็มีบางงานที่เราอยากให้moodออกมาเป็นมือวาด ถ้าเราวาดได้มันก็จบ ถ้าวาดไม่ได้เราก็ไม่สามารถที่จะสื่อออกมาได้อย่างที่มันควรจะเป็น และพี่ว่ามันเป็นเรื่องของความคิด ไอเดีย ที่ว่ามันยากที่สุด ถ้าคนไม่มีความครีเอทีฟเลยมันก็อาจจะยากนิดนึง แต่จริงๆแล้วมันก็คงฝึกได้ และมันก็ปกติที่ต้องเป็นคนที่มีความเข้าในในตรรกะ ว่าอะไรมันควรจะต้องอยู่ตรงไหน หรือ ไม่ใช่ว่าอันนี้ควรจะใหญ่ อันนี้จะเล็ก ในการที่เราจะสื่อสารออกไปให้คนอื่นเข้าใจได้ และก็ถ้าเกิดจะทำพวกป้ายบอกทาง อาจจะต้องมีความรู้พื้นฐานของพวกสามมิติ จริงๆมันควระมีความรู้พื้นฐานของสถาปัตย์ด้วย เพราะว่าป้ายบอกทางเราต้องทำตั้งแต่ดูแปลน แผนผัง ของสถานที่ และเราก็ต้องจินตนาการได้ว่ามันจะขึ้นมาเป็นแบบไหน เสาอยู่ตรงนี้ ผนังอยู่ตรงนี้ ห้องน้ำอยู่ตรงนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำ3Dได้ แต่ต้องมีทักษะในการมองภาพให้เป็น3D ต้องจินตนาการได้ จริงๆรู้สึกว่าดีไซน์มันไม่ใช่ pure art คือมันต้องเป็นคนที่มีความเป็นตรรกะอยู่ในตัวด้วย ยิ่งสถาปัตย์ยิ่งควรจะต้องมี อย่างการสเก็ตซ์มือ มันคือการสื่อสารออกไปให้เค้ารู้ว่าไอเดียของเรามันคืออะไร ถ้าเราสเก็ตซ์มือได้มันก็ดี แล้วดราก็ต้องมีไอเดียที่เราจะสื่อออกไป ก็ต้องมีความคิดสร้างสรรค์

ทักษะอื่นๆเพิ่มเติมที่มีแล้วจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มองว่าเป็นการเรียนรู้หรือฝึกฝนนะ ในเรื่องการออกแบบมันก็มีทฤษฎีของมันเยอะแยะมากมายซึ่งจะได้เรียนในมหาวิทยาลัย เรื่องฟอร์ม เรื่องสี คือมันมีหลักของหลักการของมัน ซึ่งถ้าเรียนแล้วเข้าใจก็น่าจะทำออกมาได้เอง มันไม่ได้ต้องมีมาตั้งแต่เกิด มันฝึกกันได้ แค่มีความชอบ เห็นแล้วชอบ ชอบในการออกแบบ มันก็น่าจะโอเคในระดับนึงและก็มีตรรกะที่โอเคมันก็พอแล้ว ถ้าเรามีความอยากจะเรียนรู้ ทุกอย่างมันก็ฝึกได้ พี่ว่าสกิลที่มันจำเป็นที่สุดคือไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นอะไรที่ฝึกยากนะ เพราะถ้าไม่มีมันก็คือจบเลยสำหรับอาชีพออกแบบ ถ้ามันไปติดอยู่กับความไม่มีความคิดสรา้งสรรค์ มันก็คิดงานไม่ได้ แต่ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์แล้ว ส่วนเรื่องสกิลของการวาดรูป การพรีเซนต์งานออกมา มันก็ฝึกกันได้ สกิลคือทำอย่างไรก็ได้ที่เราจะสามารถสื่อสารออกมาให้มันเป็นอย่างที่เราต้องการได้ คือทำอย่างไรก็ได้ที่เราจะสื่อสารออกมา ทั้งเรื่องสี เรื่องฟอร์ม เรื่องสไตล์ เพราะฉะนั้นถ้าเรายิ่งฝึกเรื่องของการสเก็ตซ์หรือการใช้โปรแกรมได้ดี มันก็จะทำให้สื่อสารได้ดีขึ้น

แหล่งศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

ถ้าง่ายที่สุดก็เข้า pinterest เพราะมันก็จะลิงค์ออกไปเอง ถ้าเป็น CI พี่ก็จะดู brand new underconsideration มันก็จะมีให้เลือก เช่น FOR PRINT ONLY และอีกหลายๆอัน

5. เครื่องมือที่ใช้ในอาชีพนั้น

ถ้าเป็นโปรแกรมมันก็จะมี AI,PHOTOSHOP, INDESIGN อันนี้พูดถึงกราฟฟิคที่เป็นกราฟฟิคนิ่งๆนะ มันจะมีเป็นพวกโมชั่นกราฟฟิคอีก ก็จะมีสามอย่างนี้หลักๆ AI จะเป็นโปรแกรมที่ใช้วาดภาพที่เรียกว่า vector เวคเตอร์ แล้วก็อาจจะมีการทำเลย์เอาท์ที่มันไม่ได้มีจำนวนหน้าเยอะ อย่างเช่นใบปลิว นามบัตร โบรชัวร์ แต่ถ้าเปนจำนวนหน้าเยอะๆเค้าจะไปใช้INDESIGN มากกว่า แล้วPHOTOSHOPก็จะใช้ในการแต่งรูป รีทัชภาพประกอบ ปรับสีภาพ และอาจจะมี KEYNOTE POWERPOINT PRESENTATION หรือในบางทีถ้าเราต้องทำ corperate identity ให้ลูกค้า เราก็ต้องทำพวกหัวจดหมายที่เค้าจะเอาไปใช้ในโปรแกรมword หัวจดหมาย หรือpresentation powerpoint ถ้าเค้าอยากได้เราก็ต้องออกแบบตรงนั้นด้วย ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของเค้าเหมือนกัน อุปกรณ์ที่ใช้หลักๆก็คอมพิวเตอร์ แล้วก็จะมีเรื่องสี วาดรูป สีน้ำ copic สีอะคริลิค สีไม้ มันก็แล้วแต่งาน บางงานเค้าก็อยากได้ภาพประกอบที่เป็นมือวาด อย่างงานปั้น3Dถ้าทำได้ก็ดี ส่วนตัวรู้สึกว่าชอบทำได้หลายๆอย่าง เพราะมันจะทำให้ข้อจำกัดเราน้อย แต่ถ้าอันนู้นก็ทำไม่ได้ อันนี้ก็ทำไม่ได้ ก็จะทำงานออกมาได้แค่แบบเดียว สมมติว่าวาดรูปไม่ได้ก็จะทำได้แค่เวคเตอร์ หรือพวกงานกระดาษ  pop up ก็สามารถเอามาใช้เป็น visual graphicได้ ใช้เป็นkey visual ของลูกค้า บางทีเราก็ต้องคิดkey visual ให้เค้า ซึ่งถ้าkeyเค้าเป็นอย่างไรเราก็ต้องมาดูลักษณะของเค้า คอนเซปของงานที่ออกไปจะเป็นอย่างไร ฉะนั้นถ้าเราสามารถสื่อสาร key visual นี้ได้ และทำออกมาได้หลายๆแบบ มันก็กว้างในการที่จะทำให้ลูกค้า

กราฟิกดีไซน์เนอร์ทำอะไร

ตำแหน่งนี้มีหน้าที่ออกแบบและจัดวางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ แค็ตตาล็อก แผ่นพัน โบรชัวร์ และนิตยสาร อีกทั้งยังมีบทบาทเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตด้วย โดยต้องดูแลทุกด้านในโปรเจกต์การพิมพ์ เช่น การจัดทำงบประมาณหรือการจัดตารางเวลา ผู้ที่สนใจเป็นนักออกแบบประเภทนี้จะต้องมีความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ในการออกแบบด้วย

คุณสมบัติของนักออกแบบกราฟิกมีอะไรบ้าง

Graphic Designer.
วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชา graphic design, นิเทศศิลป์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง.
เพศชาย/หญิง อายุไม่เกิน 30 ปี.
มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 0-3 ปี.
มีทักษะในด้านศิลป์ และความสามารถในการทำ computer artworks..
มีความรู้ความสามารถในเรื่องการคุม CI ของลูกค้า.

นักออกแบบมีหน้าที่อะไร

อาชีพนักออกแบบก็จะทำงานอยู่ในแทบทุกโรงงานที่มีเรื่องของการผลิตและการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยจะทำงานในส่วนของการออกแบบแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นงานออกมาให้ได้ตามต้องการ หรือทำหน้าที่ประเมินดูว่าชิ้นงานที่จ้างผลิตมาจากบริษัทอื่นนั้นตรงตามสเปคที่เราต้องการหรือไม่ สามารถนำมาใช้กับเครื่องจักรของโรงงานเราได้ไหม

กราฟิกดีไซน์เนอร์ เรียนอะไร

หลักสูตร ทักษะพื้นฐานโดยทั่วไปที่สอนในสาขากราฟฟิกดีไซน์นั้น คือ Digital art, Creative multimedia, Digital Communications, Project management, Art, Media and Design theories และ Professional Practice (การเรียนเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า)