การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

คิดยกกำลังสอง มองเรื่องสินค้า-น้ำมันแพง กับวิธีที่รัฐแทรกแซง แก้ปัญหาได้ไม่ยั่งยืน พร้อมข้อเสนอแนวทางแก้ไข ให้ประโยชน์ไปถึงคนเดือดร้อนและคนรายได้น้อย โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ออกอากาศทางไทยพีบีเอส ในรายการคิดยกกำลังสอง เมื่อ จันทร์ 14 มีนาคม 65

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

การแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2565

  • Facebook iconfacebook
  • Twitter icontwitter
  • LINE iconline

“กรณ์ จาติกวณิช” สอนมวยรัฐแทรกแซงราคาน้ำมันได้ แนะใช้กลไกกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงพลังงาน เข้าไปจัดการ ค่าการกลั่น หรือดึงกำไรส่วนต่างราคาหน้าโรงกลั่น ชงทบทวนการใช้เงินกู้โควิดโปะกองทุนน้ำมัน ดีกว่าทำโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ไม่จำเป็น

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลสามารถเข้าไปแทรกแซง (interfere) ในเรื่องเกี่ยวข้องกับราคาค่าน้ำมันได้ ทั้งลดค่าการกลั่นน้ำมัน หรือการเก็บเงินจากกำไรส่วนต่างราคาหน้าโรงกลั่น เพื่อเป็นทางเลือกในการเสริมสภาพคล่องให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตอนนี้ขาดทุนเกือบแสนล้านบาท 

 

“ในหลักการรัฐบาลมีความชอบธรรมในระบบการค้าเสรีที่จะแทรกแซงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นกับค่าครองชีพของประชาชนได้ ซึ่งการแทรกแซงนั้น ส่วนใหญ่จะถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องในด้านลบ แต่จริงๆ อยากให้ดูภาระหน้าที่ หากจำเป็นและได้คนประโยชน์ก็ต้องทำ ซึ่งตอนนี้คงไม่มีเรื่องไหนสำคัญไปกว่าเรื่องน้ำมันอีกแล้ว และบางสินค้ารัฐก็ทำอยู่แล้วทุกวัน” นายกรณ์ ระบุ

 

นายกรณ์ กล่าวว่า ในการแทรกแซงนั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญ ก็ต้องไปดูวิธีการต่าง ๆ ว่าจะทำได้อย่างไร เช่น การใช้กลไกการของกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงพลังงาน หรือไปดูกฎหมายเฉพาะ ซึ่งวิธีการต่าง ๆ ก็ต้องไปพิจารณากันอีกที

 

ส่วนจะแทรกแซงมากแค่ไหนก็ต้องไปดูความเหมาะสม และต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายด้วย

ทั้งนี้ในตัวอย่างของการเข้าไปแทรกแซงการเก็บเงินจากกำไรส่วนต่างของราคาหน้าโรงกลั่น เรื่องนี้จำเป็นต้องทำ ซึ่งที่ผ่านมาได้คิดตัวเลขมาดีและครอบคลุมทุกอย่างแล้ว แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะทำหรือไม่เท่านั้น หากรัฐบาลตัดสินใจทำ ก็อาจทำแบบชั่วคราวให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก และไม่ให้กระทบกับโรงกลั่นน้ำมันมากเกินไป 

 

อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอีกอย่างที่อาจเกิดขึ้น หากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซง หรือมีการคิดเพดานกำไรการกลั่นมากไป จนทำให้โรงกลั่นส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไปขายต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพราะมีกำไรมากกว่านั้น รัฐบาลก็ควรหาทางควบคุมผ่านการกำหนดโควตาการส่งออกน้ำมันกับทางโรงกลั่นได้ เหมือนที่หลายประเทศที่มีมาตรการควบคุมในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้น้ำมันในประเทศขาดแคลน

 

นายกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีของสถานะกองทุนน้ำมันฯ ว่า ความเป็นไปได้ที่ปีนี้กองทุนน้ำมันฯ อาจจะติดลบเกินกว่า 2 แสนล้านบาท ภายในอีก 5 เดือนข้างหน้า หากรัฐบาลยังไม่สามารถหาเงินกู้มาเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนน้ำมันได้ เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันยังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง และทุกเดือนรัฐบาลต้องใช้เงินกองทุนไปอุ้มราคาน้ำมันถึงเดือนละ 2 หมื่นล้านบาท

“เท่าที่ทราบในตอนนี้กองทุนน้ำมันฯ พยายามหาแหล่งกู้เงินมาหลายเดือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ เพราะไม่มีแบงก์ไหนกล้าปล่อย ซึ่งส่วนตัวมองว่า ด้วยความจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลควรทบทวนการใช้เงินกู้ ตาม พ.ร.ก.กู้เงินที่มีวงเงินเหลืออยู่มาใช้เสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งน่าจะทำได้ และน่าจะดีกว่าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจบางโครงการที่ไม่ได้มีความจำเป็น” นายกรณ์ กล่าว

 

นอกจากนี้ยังอยากให้รัฐบาลทบทวนเรื่องการอุดหนุนราคาน้ำมันว่า แท้จริงแล้วมีความจำเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการเข้าไปอุดหนุนราคาแบบหว่านแห โดยอาจต้องชวยเหลือเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันจริง ๆ เช่น กลุ่มขับรถสาธารณะ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มอเตอร์ไซค์ส่งของเดลิเวอรี่ ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันเบนซิน เพื่อเอาไปอุ้มกลุ่มผู้ใช้น้ำมันดีเซลด้วย 

  ASPS จับตาหุ้นโรงกลั่น กับนโยบายภาครัฐจะแทรกแซงราคาน้ำมันหรือไม่ หลังสหพันธ์ขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเรียกร้องรัฐ ปรับลดค่าการกลั่นหน้าโรงกลั่น หวังฉุดให้ราคาขายลดลง หวั่นทำลายระบบกลไกตลาดเสรีของโรงกลั่น

  ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส เผยผ่านบทวิเคราะห์ว่า โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย หลักๆประกอบไปด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น, ภาษีสรรพสามิตร, ภาษีเทศบาล, กองทุนน้ำมัน, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าการตลาด

  ในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบของสถานการณ์รัฐเซียยูเครน ทำให้รัฐบาลเกรงประชาชนในหลายภาคส่วนจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ถือเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน จึงมีการเข้าแทรกแซงในการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับต่ำกว่าโครงสร้างราคาน้ำมันที่ควรจะเป็นตามสูตรราคา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30, 32 และล่าสุด 33 บาทต่อลิตร โดยมีแผนที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่เกินลิตรละ 35 บาท ผ่านการปรับลดการจัดเก็บกองทุนน้ำมันประเภทดีเซล ส่งผลให้สถานะกองทุนน้ำมันติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท ในปัจจุบัน รวมถึงการปรับลดภาษีสรรพสามิตรน้ำมันดีเซลเหลือเพียง 1.3 จาก
เดิม 5.9 บาทต่อลิตร ในปัจจุบัน เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้

  ล่าสุดได้มีสหพันธ์ขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือถึงภาครัฐเพื่อขอให้ทบทวนการปรับลดค่าการกลั่นน้ำมัน (GRM) ของผู้ประกอบการโรงกลั่น เพื่อลดราคาขายหน้าโรงกลั่นตามสูตรโครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งจะเป็นอีกทางที่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลดลงได้ (หลังจากมีการปรับลดกองทุนน้ำมันและภาษีสรรพสามิตร) ซึ่งทางรมต.กระทรวงพลังงานได้มีการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการบริการจัดการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงวิกฤต” ขึ้นมา เพื่อศึกษาประเด็นเรื่องค่าการกลั่นน้ำมันที่กำลังเป็นประเด็นในสังคม

  ทั้งนี้หากพิจารณาในรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจโรงกลั่น พบว่าในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นระบบการค้าแบบเสรี ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีไม่มีการแทรกแซงโดยภาครัฐ กระทรวงพลังงานไม่ได้ควบคุมค่าการกลั่น ซึ่งก็มีทั้งช่วงที่โรงกลั่นได้กำไร และขาดทุน

  ซึ่งในมุมมองของฝ่ายวิจัย ค่าการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบันมาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ supply โดยรวมของตลาดโลกปรับตัวลดลง ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในภาวะผิดปกติ และอาจจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อีกทั้งค่าการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้นก็มีเพียงประเภทดีเซล และเบนซิน แต่โรงกลั่นมีการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆอีกด้วย ทำให้ต้องมีการถัวค่าการกลั่นเฉลี่ยตามสัดส่วนการผลิต รวมถึงค่าการกลั่นยังไม่ได้สะท้อนกำไรที่แท้จริงของโรงกลั่น เพราะยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้น

  ดังนั้นหากภาครัฐเข้ามาแทรกแซงบังคับให้ปรับลดราคาขายปลีกหน้าโรงกลั่น ก็อาจทำให้ผู้ประกอบการหันไปส่งออกมากขึ้นเพราะได้ราคาสูงกว่าการขายในประเทศ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาทุกครั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงก็จะมีประเด็นการแทรกแซงค่าการกลั่น แต่ยังไม่เคยทำได้ มีเพียงในรัฐบาลคุณทักษิณที่ขอความร่วมมือให้โรงกลั่นน้ำมันบริจาคเงินจากกำไรเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นจึงถือเป็นประเด็นที่ต้องติดตามว่าภาครัฐจะเข้ามาแทรกแซงและทำลายระบบกลไกตลาดเสรีของโรงกลั่นที่มีมาหรือไม่ ซึ่งหากยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนค่าจะเป็นแรงกดดันต่อกลุ่มโรงกลั่น