เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

ปัจจุบันนี้ตามท้องตลาดมีสินค้าอุปโภคบริโภคให้เลือกสรรมากมาย แล้วผู้บริโภคจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าชิ้นนั้นปลอดภัยและได้มาตรฐานจริง ๆ ? ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวการันตีว่าสินค้าจะได้มาตรฐานการผลิตหรือไม่ส่วนใหญ่จะสังเกตจาก ‘เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า’ นั่นเอง ดังนั้นแล้วผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองจึงต้องทำความรู้จักกับเครื่องหมายเหล่านี้ไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าของคุณได้รับการผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานระดับสากล

Show

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า คืออะไร

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า คือ เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าชนิดนั้นได้รับการผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้จะได้รับก็ต่อเมื่อโรงงานผู้ผลิตได้ดำเนินกิจการตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบการผลิตสินค้าออกมาในระดับที่มีคุณภาพ

ปัจจุบันเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะกำหนดในเรื่องของการควบคุมมาตรฐานที่แตกต่างกันไป ซึ่งบางอย่างอาจจะเป็นเครื่องหมายทั่วไปหรือเครื่องหมายมาตรฐานที่บังคับว่าทุกโรงงานต้องมี นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายอื่น ๆ ที่เจ้าของแบรนด์ต้องศึกษาข้อมูลไว้ว่าสินค้าของคุณนั้นจัดอยู่ในประเภทใดและต้องมีเครื่องหมายรับรองอะไรบ้าง ดังนั้นมาดูกันว่าเครื่องหมายสินค้ามีอะไรบ้าง

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้ามีอะไรบ้าง

  1.  เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ ‘มอก.’ คือข้อกำหนดที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (สมอ.) ระบุขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตดำเนินขั้นตอนการผลิตสินค้าให้ออกมามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยส่วนใหญ่แล้วสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้ครอบคลุมอยู่ก็จะเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ ฯลฯ

ปัจจุบันนี้ทาง สมอ. ได้อนุญาตให้แสดงเครื่องหมาย มอก. กับผลิตภัณฑ์ได้ 5 แบบ คือ เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป, มาตรฐานบังคับ, มาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย, มาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานเฉพาะความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

อ้างอิง : http://ait.nsru.ac.th/alumni_ait/News/infor_20160615161857.pdf

  1. เครื่องหมายอาหารและยา

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

 เครื่องหมายอาหารและยา หรือ ‘อย.’ คือ เครื่องหมายที่ออกโดยสำนักคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ทั้งด้านการผลิตหรือแม้แต่การนำเข้าสินค้าก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วสินค้าที่ต้องทำการขอขึ้นทะเบียนจด อย. มักเป็นสินค้าจำพวกที่มีความเสี่ยงสูง อาทิเช่น เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง ยา วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และอาหาร

ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย อย. จะช่วยทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นได้รับการตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนออกวางขายสู่ตลาดแล้ว นอกจากนี้กรณีที่ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยังสามารถเรียกร้องให้ดำเนินการตามกฎหมายได้อีกด้วย เพราะถือว่าสินค้านั้นอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ้างอิง : https://www.moneywecan.com/food-and-drug-administration/

  1. เครื่องหมายฮาลาล

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

 ฮาลาล คือ ภาษาอารบิกที่หมายความว่าการผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจึงสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรืออาหารต่าง ๆ ที่มีเครื่องหมายฮาลาลได้ผ่านกรรมวิธีในการทำเป็นไปตามศาสนบัญญัติ โดยเครื่องหมายนี้จะออกโดยคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ

ปัจจุบันตลาดโลกมุสลิมมีประชากรประมาณ 2,000 ล้านคนผลิตภัณฑ์ฮาลาลจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดที่สำคัญและนอกเหนือกว่านั้นผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมก็สามารถบริโภคอาหารหรือผลิตภัณฑ์ฮาลาลได้เช่นกัน

อ้างอิง : https://www.acfs.go.th/halal/general.php

  1. เครื่องหมาย GMP 

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

 GMP (Good Manufacturing Practice) คือ มาตรฐานที่ทั่วโลกให้การยอมรับและเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับวิธีการผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพไม่ว่าจะผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรืออาหารก็ตาม โดยการควบคุมจะมีตั้งแต่สถานที่ตั้งของโรงงานและอาคารผลิต เครื่องมือที่ใช่ในการผลิต การบำรุง&การทำความสะอาด รวมถึงบุคลากรและสุขลักษณะอื่น ๆ อีกมากมาย

มาตรฐาน GMP มีด้วยกันทั้งหมดสองประเภท คือ ‘GMP สุขลักษณะทั่วไป’ ที่ควบคุมเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องจักร กระบวนการผลิต ฯลฯ กับ ‘GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์’ ที่จะเน้นไปในด้านความเสี่ยงและความปลอดภัยสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ เช่น อาหารและน้ำดื่ม

อ้างอิง : http://www.warehousechod.com/th/news/detail?d=qQWcZatk#:~:text=GMP%20ย่อมาจากคำ,มาตรฐานในขั้นต้นที่

  1. เครื่องหมาย ISO

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

 ISO (International Organization for Standardization) คือ มาตรฐานที่ใช้วัดคุณภาพขององค์กรเพื่อให้แต่ละองค์กรดำเนินงานตามมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่าสัญลักษณ์นี้จะมีตัวเลขตามหลัง โดยตัวเลขเหล่านั้นจะบ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน เช่น โรงงาน โรงแรม สนามบิน หรือภัตตาคาร เป็นต้น

การที่ผู้ผลิตแต่ละรายได้รับการรับรองคุณภาพจาก ISO จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ได้รับมีการตรวจสอบด้านคุณภาพและความปลอดภัยจากองค์กรที่ได้มาตรฐานระดับโลกแล้วซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายทำให้ไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ

อ้างอิง : https://theoneiso.co.th/มาตรฐาน-iso-คืออะไร/

  1. เครื่องหมาย HACCP 

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

HACCP ย่อมาจากคำว่า Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งก็คือการควบคุมมาตรฐานในด้านความปลอดภัยของกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอาหารและยา โดยหลักการของมาตรฐานนี้จะเน้นไปที่การป้องกันและวิเคราะห์อันตรายที่อาจมีการปนเปื้อนในอาหารตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการเก็บรักษา

ประโยชน์ที่ได้จากระบบนี้คือแต่ละองค์กรจะสามารถควบคุมความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยครอบคลุมไปถึงประโยชน์ในด้านการขนส่งอาหารระหว่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมั่นใจได้ว่าอาหารที่มาจากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองจาก HACCP จะมีความปลอดภัยสูงที่สุด

 อ้างอิง : http://www.tomco.co.th/2019/03/12/haccp-คืออะไร/#:~:text=คืออะไร-,H.A.C.C.P.,ประเมินความเสี่ยงแนวทาง%20H.A.C.C.P

  1. เครื่องหมายโอทอป (OTOP) 

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

OTOP หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์’ คือนโยบายที่ประเทศไทยนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยโครงการนี้ได้แนวคิดมาจากประเทศญี่ปุ่นด้วยการนำภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ที่มีรูปแบบแปลกใหม่และไม่เหมือนใครนำมาต่อยอดให้เป็นสินค้าต่าง ๆ เช่น งานถักทอเสื้อผ้า งานจักสาร งานหัตถกรรม หรืออาหาร เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายโอทอปจะต้องผ่านตามหลักเกณฑ์ที่โครงการกำหนดไว้ เช่น ต้องได้รับมาตรฐาน อย., GMP, HACCP, ฮาลาล. มอก. ฯลฯ และต้องไม่เป็นสินค้าที่เลียนแบบหรือมีวัตถุดิบที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญต้องไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อันดีของไทยอีกด้วย ผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นขอเครื่องหมาย OTOP สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/ เขตที่สถานประกอบการตั้งอยู่

อ้างอิง : https://nongkhai.cdd.go.th/participationotop

  1. สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ 

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

สัญลักษ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์หรือที่เห็นเป็นคำว่า ‘Organic Thailand’ คือเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าการผลิตของสินค้าประเภทนั้นเน้นการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติและได้มีการหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่มาจากการสังเคราะห์หรือการใช้พืชสัตว์/จุลินทรีย์ ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้สินค้าออกมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพมากที่สุด

ผู้ประกอบการที่สนใจออกใบรับรองสามารถติดต่อได้ที่ โครงการเกษตรอินทรีย์และหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ซึ่งใบรับรองนี้จะมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้นผู้ประกอบการจึงต้องยื่นขอใหม่ทุกปี

อ้างอิง : http://certify.dld.go.th/certify/images/project/organic/organic2562/pwR5/2.pdf

  1. เครื่องหมายมาตรฐาน Q

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

เครื่องหมาย ‘Q’ มาจากคำว่า ‘Quality’ คือ เครื่องหมายที่รับรองมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านเกษตรกรรมและอาหารที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ หรือขั้นตอนการผลิตว่าสินค้าได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด เช่น การตรวจสอบกระบวนการผลิตว่าผู้ผลิตได้รักษาคุณภาพและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

 การมีเครื่องหมายนี้บนผลิตภัณฑ์จะส่งผลให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่มีมาตรฐานและปลอดภัย รวมถึงยังทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในขั้นตอนการผลิตของสินค้าเกษตรได้มากขึ้น ผู้ที่ต้องการใช้เครื่องหมาย Q จะต้องยื่นขอกับหน่วยงานที่รับรองและมีหลักเกณฑ์ครบตามที่หน่วยงานกำหนด

อ้างอิง : http://www.fisheries.go.th/quality/qmark/Qmark.htm#:~:text=ความหมาย,ความเป็นมา

ประโยชน์ของเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า 

  1. สำหรับผู้ผลิต

  • เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อให้สินค้าออกมามีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
  • สามารถช่วยลดรายจ่ายและช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้ส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพดีและมีราคาที่ถูกลง
  • ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกำหนดว่าสินค้านั้น ๆ ต้องได้รับเครื่องหมายอะไรบ้าง 
  1. สำหรับผู้บริโภค

  • ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ใช้งานจะได้รับความปลอดภัยสำหรับสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรอง
  • ในกรณีที่สินค้าชำรุดสามารถหาอะไหล่เปลี่ยนเองได้ง่าย เนื่องจากสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันสามารถใช้ทดแทนกันได้
  • ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดีและมีราคาสมเหตุสมผล

เครื่องหมายใดบ้างที่สำคัญและต้องมีเมื่อมีแบรนด์

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการ หมายถึง

ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง นอกจากความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ของตัวเองแล้วเจ้าของแบรนด์ควรศึกษาเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าด้วย เนื่องจากเครื่องหมายเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งเครื่องหมายที่สำคัญและต้องมีนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการหมายถึงอะไร

เป็นเครื่องหมายที่ออกโดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใช้เพื่อรับรองคุณภาพสินค้า โดยเป็นหลักประกันให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา ซึ่งมักใช้กับสินค้าประเภทส่งของ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า มีอะไรบ้าง

รู้ไว้ใช้จริง !.
☑ การรับรองมาตรฐาน GMP. ... .
☑ การรับรองมาตรฐาน HACCP. ... .
☑ เครื่องหมายมาตรฐาน Q. ... .
☑ เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณอุตสหกรรม (มอก.) ... .
☑ Organic Thailand สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ... .
☑ เครื่องหมายมาตรฐานไอเอสโอ ISO. ... .
☑ เครื่องหมายอาหารและยา (อย.) ... .
☑ เครื่องหมายมาตรฐานอาหารฮาลาล.

เครื่องหมายรับรองสินค้าคืออะไร

เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายเอาไว้รับรองกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ของเจ้าของเครื่องหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง และยังมีหน้าที่ในการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่น ๆ ...

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการมีประโยชน์อย่างไร

1.ช่วยประหยัดเวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า 2.ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสินค้ามีคุณภาพและได้รับมาตรฐาน 3.มีความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน 4.ในกรณีที่สินค้าชำรุด ก็สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะมีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้