ข้อสอบเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ม.2 พร้อมเฉลย

ข้อสอบ  สังคมศึกษา เรื่อง สาระภูมิศาสตร์   จำนวน 50 ข้อ
ปีการศึกษา2551 (พร้อมเฉลย)
จาก สถาบัน / หน่วยงาน  การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET)

ติวเข้ม ONET ภูมิศาสตร์ (หลักสูตร 2551) ฉบับที่ 2

 

  1.  ข้อใดแบ่งประเภทของแผนที่ตามลักษณะการใช้ได้ถูกต้อง

 1    แผนที่อ้างอิง แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่เล่ม

2    แผนที่อ้างอิง แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เล่ม

3    แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่รัฐกิจ

4    แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เล่ม แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่

  1.  แผนที่เล่มเป็นแผนที่ที่รวมแผนที่ชนิดใดเข้าด้วยกันเป็นเล่มเดียว

   1    แผนที่หลาย ๆ ชนิด

2    แผนที่รัฐกิจหลาย ๆ ชนิด

3    แผนที่รัฐกิจและแผนที่อ้างอิง

4    แผนที่รัฐกิจและแผนที่ธรณีวิทยา

  1.  แผนที่รัฐกิจที่บอกเฉพาะชื่อจังหวัดและชื่อประเทศน่าจะเป็นแผนที่มีขนาดมาตราส่วนในข้อใด

1    1:2,500

2    1:25,000

3    1:250,000

   4    1:2,500,000

  1.  ชื่อแผนที่ในข้อใดที่ทำให้เรารู้ได้ว่าแผนที่นั้นไม่ใช่แผนที่เฉพาะเรื่อง

 1    แผนที่กายภาพจังหวัดกาญจนบุรี

2    แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

3    แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดกาญจนบุรี

4    แผนที่เขตการปกครองจังหวัดกาญจนบุรี

  1.  ชื่อภูมิศาสตร์ใดที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้ตัวเอน และใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

1    ทวีป

2    ช่องแคบ

  3    มหาสมุทร

4    เมืองหลวง

  1.  ข้อใดเขียนชื่อภูมิศาสตร์ได้ถูกต้อง

1    ช่องแคบมะละกา

 2    ช่องแคบมะละกา

3    ช่องแคบ มะละกา

4    ช่องแคบ มะละกา

  1.  ข้อใดกล่าวถึงทิศเหนือกริดได้ถูกต้อง

1    ทิศที่ใช้สัญลักษณ์เป็นเส้นตรง

2    ทิศเหนือตามแนวเส้นเมริเดียน

3    ทิศที่ใช้สัญลักษณ์ลูกศรครึ่งซีก

4    ทิศเหนือตามแนวเส้นฉากทางดิ่ง

  1.  มุมแอซิมัทที่วัดได้มีค่าไม่เกินกี่องศา

1    90 องศา

2    180 องศา

3    270 องศา

 4    360 องศา

  1.  พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ไม่ครอบคลุมถึงจังหวัดใดของประเทศไทย

1    ร้อยเอ็ด

2    สุรินทร์

3    นครราชสีมา

4    มหาสารคาม

 

  1. มาตราส่วน 1:1,250,000 อ่านเป็นมาตราส่วนคำพูดได้ว่าอย่างไร

1    1 เซนติเมตร เท่ากับ 125 กิโลเมตร

2    1 เซนติเมตร เท่ากับ 1.25 กิโลเมตร

 3    1 เซนติเมตร เท่ากับ 12.5 กิโลเมตร

4    1 เซนติเมตร เท่ากับ 1,250 กิโลเมตร

  1. จากมาตราส่วนคำพูด 1 เซนติเมตร เท่ากับ 2.5 กิโลเมตร ถ้านักเรียนต้องการวัดพื้นที่ให้ได้18 กิโลเมตร นักเรียนจะต้องวัดให้ได้ระยะทางในแผนที่กี่เซนติเมตร

1    5.2 เซนติเมตร

2    6.2 เซนติเมตร

3    7.2 เซนติเมตร

4    8.2 เซนติเมตร

  1. ข้อใดอธิบายลักษณะของเส้นแบ่งเขตประเทศได้ถูกต้อง

1    เป็นเส้นคดโค้งไปมา

2    เป็นเส้นตรงยาว หนา และมีสีแดง

3    เป็นเส้นตรงมีขีดแนวตั้งสั้น ๆ พาดอยู่หลายเส้น

4    เป็นเส้นตรงมีจุด 2 จุด คั่นอยู่ระหว่างเส้นตรง 2   เส้น

13 สัญลักษณ์นี้ใช้แทนสิ่งใดจึงจะเหมาะสมที่สุด

1    วัด

2    โรงเรียน

3    โรงพยาบาล

4    สถานที่ราชการ

  1. ข้อใดใช้สีที่เป็นมาตรฐานแทนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกได้ถูกต้อง

1    สีน้ำเงิน แทน ภูเขา

2    สีน้ำตาล แทน ถนน

3    สีแดง แทน โรงเรียน

4    สีเขียว แทน พื้นที่เพาะปลูก

 

  1. เส้นชั้นความสูงที่มีลักษณะเป็นวงเรียงซ้อนกันขึ้นไปจะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร

1    ที่ราบสูง

2    หน้าผาชัน

3    ภูเขารูปอีโต้

4    ภูเขารูปกรวย

  1. ข้อใดใช้แถบสีแทนพื้นที่เรียงจากภูเขา ที่ราบสูง ที่ต่ำ และทะเล ได้เหมาะสมที่สุด

1    สีเหลือง สีน้ำตาล สีเขียว สีฟ้าอ่อน

2    สีเหลือง สีเหลืองแก่ สีขาว สีฟ้าอ่อน

3    สีน้ำตาล สีเหลืองแก่ สีเขียว สีน้ำเงิน

4    สีน้ำตาล สีเขียวแก่ สีเหลืองแก่ สีน้ำเงิน

  1. การแสดงระดับความสูงในแผนที่รูปแบบใดที่มีลักษณะเป็นภาพสามมิติ

 1    การแรเงา

2    การใช้แถบสี

3    การใช้เส้นลาดเขา

4    การใช้เส้นชั้นความสูง

  1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใดที่มีความจำเป็นต่อการเดินทางมากที่สุด

1    เข็มทิศ

2    เทอร์โมมิเตอร์

3    ภาพจากดาวเทียม

4    เครื่องมือวัดระยะทาง

  1. การใช้เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ เราต้องถือด้ามให้เอียงทำมุมกี่องศากับแนวระนาบ

1    30 องศา

2    45 องศา

3    60 องศา

4    75 องศา

  1. มิลลิบาร์ เป็นหน่วยที่ใช้วัดอะไร

1    ความเร็วลม

2    ความกดอากาศ

3    ความชื้นสัมพัทธ์

4    จุดน้ำค้างในอากาศ

  1. การทำงานของไฮโกรมิเตอร์ในการวัดค่าความชื้นในอากาศอาศัยอุปกรณ์ใดเป็นสำคัญ

1    เส้นผม

2    ตลับโลหะ

3    แขนปากกา

4    คานและเข็มชี้

  1. ก้านชี้โลหะรูปดัมบ์เบล เป็นอุปกรณ์ที่อยู่เทอร์โมมิเตอร์แบบใด

1    เทอร์โมกราฟ

2    เทอร์โมมิเตอร์ต่ำสุด

3    เทอร์โมมิเตอร์สูงสุด

4    เทอร์โมมิเตอร์แบบซิกซ์

  1. เพราะเหตุใดปากภาชนะรองรับน้ำฝนของเครื่องวัดฝนจึงมีขนาดแคบและพอดีกับกรวย

 1    เพื่อลดการระเหยของน้ำ

2    เพื่อรองรับเฉพาะหยดน้ำ

3    เพื่อจำกัดปริมาณฝนที่รองรับ

4    เพื่อให้มีอากาศอยู่ภายในกรวยน้อยที่สุด

  1. ข้อใดอธิบายจุดเด่นและข้อจำกัดระหว่างรูปถ่ายทางอากาศกับภาพจากดาวเทียมได้อย่างถูกต้อง

1    รูปถ่ายทางอากาศได้ภาพจากมุมต่ำ แต่ภาพจากดาวเทียมได้จากมุมสูง

2    รูปถ่ายทางอากาศได้ภาพที่แปลความหมายได้ง่ายกว่าภาพจากดาวเทียม

3    ภาพจากดาวเทียมได้ภาพสีเพียงอย่างเดียว แต่รูปถ่ายทางอากาศได้ภาพหลากสี

4    ภาพจากดาวเทียมไม่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญแปลความหมายเหมือนรูปถ่ายทางอากาศ

  1. ถ้านักเรียนต้องการวิเคราะห์ข้อมูลพืชพรรณธรรมชาติในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจากรูปถ่ายทางอากาศ ควรเลือกรูปที่ถ่ายจากฟิล์มประเภทใด

1    ฟิล์มสีธรรมชาติ

2    ฟิล์มสีผิดธรรมชาติ

3    ฟิล์มออร์โทโครเมติก

4    ฟิล์มขาว–ดำอินฟราเรด

  1. กล้องสามมิตินำมาใช้ในการอ่านข้อมูลจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิดใด

1    แผนผัง

2    ภาพถ่าย

3    ภาพจากดาวเทียม

4    รูปถ่ายทางอากาศ

  1. กรมอุตุนิยมวิทยานำภาพจากดาวเทียมมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใด

1    ทิศทางของพายุ

2    ปริมาณทรัพยากรน้ำ

3    พื้นที่ที่ถูกตัดไม้ทำลายป่า

4    การตั้งถิ่นฐานของประชากร

  1. ข้อมูลลักษณะประจำของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีลักษณะเป็นอย่างไร

1    ข้อมูลที่เป็นตัวเลข

2    ข้อมูลที่เป็นจุดภาพ

3    ข้อมูลที่เป็นรูปลักษณ์

4    ข้อมูลที่เป็นจุด เส้น พื้นที่

  1. ฮาร์ดแวร์ มีหน้าที่อย่างไรในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

1    นำเข้าข้อมูล

2    จัดการข้อมูล

3    วิเคราะห์ข้อมูล

4    รายงานผลข้อมูล

  1. ข้อมูลใดที่สามารถหาได้จากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี

1    ที่ตั้งเขื่อน

2    พื้นที่ป่าสงวน

3    ชนิดของสัตว์น้ำ

4    การเกิดแผ่นดินไหว

  1. ชั้นไซอัลมีลักษณะของหินในชั้นเป็นอย่างไร

1    เป็นหินสีจางจำพวกหินแกรนิต

2    เป็นหินที่มีรูพรุนจำพวกหินบะซอลต์

3    เป็นหินหนืดที่มีแร่เหล็กและนิกเกิลผสมอยู่

4    เป็นหินเหลวที่มีแร่ซิลิกาและแมกนีเซียมผสมอยู่

  1. โครงสร้างโลกชั้นใดที่มีความหนามากที่สุด

1    ชั้นไซมา

2    ชั้นเนื้อโลก

3    แก่นโลกชั้นใน

4    แก่นโลกชั้นนอก

  1. นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าแก่นโลกชั้นในมีอะไรเป็นส่วนประกอบ

 1    เหล็กและนิกเกิล

2    เหล็กและอะลูมินา

3    กำมะถันและเหล็ก

4    กำมะถันและนิกเกิล

  1. เปลือกโลกส่วนที่อยู่ท้องมหาสมุทรเป็นเปลือกโลกชั้นใด

 1    ชั้นไซมา

2    ชั้นไซอัล

3    ชั้นเนื้อโลก

4    ชั้นไซอัลและไซมา

  1. พื้นที่ที่อยู่ด้านหลังแนวเทือกเขาจะมีลักษณะเป็นอย่างไร

1    มีฝนตกหนัก

2    มีธารน้ำไหลผ่าน

3    มีอากาศหนาวเย็น

  4    มีความแห้งแล้งสูง

 

  1. เทือกเขาใดไม่มีลักษณะของหินโค้งรูปประทุนและหินโค้งรูปประทุนหงาย

1    เทือกเขาร็อกกี

2    เทือกเขาแอลป์

3    เทือกเขาแอนดีส

4    เทือกเขาเซียร์ราเนบาดา

  1. รอยเลื่อนแซนแอนเดรียส์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรอยเลื่อนแบบใด

1    รอยเลื่อนย้อน

2    รอยเลื่อนปกติ

 3    รอยเลื่อนในแนวนอน

4    ถูกทุกข้อ

  1. ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ในประเทศแคนาดา

         มีลักษณะพื้นที่ที่เกิดจากกระบวนการใด

1    การบีบอัดของเปลือกโลกจนโค้งงอ

2    การยกตัวขึ้นของพื้นที่ตามแนวรอยเลื่อน

3    การทรุดตัวของพื้นที่จนกลายเป็นแอ่งกราเบิน

  4    การไหลของลาวาจากภูเขาไฟปกคลุมพื้นที่กว้างขวาง

  1. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการเกิดภูเขาไฟรูปโล่ได้ถูกต้อง

 1    เกิดจากหินหนืดมีอัตราการไหลที่เร็วมาก

2    เกิดจากหินหนืดที่ถูกดันออกมามีความหนืดสูง

3    เกิดจากหินหนืดที่ปะทุออกมาเย็นตัวลงอย่าง รวดเร็ว

4    เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงผสมกับกองขี้เถ้า จากการปะทุหลายครั้ง

  1. กระบวนการใดที่ไม่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่มีแม่น้ำเป็นตัวกระทำ

1    การกร่อน

2    การพัดพา

3    การทับถม

 4    การผุพังอยู่กับที่

  1. ข้อใดเป็นลักษณะของหินที่เกิดจากกระบวนการผุพังทางเคมี

1    การขยายและหดตัวของหินตามอุณหภูมิจนทำให้เกิดรอยแตกร้าว

2    การแตกตัวของหินที่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำที่แทรกอยู่ตามรอยแตก

3    การหลุดร่อนของหินที่มีแร่เหล็กปะปนอยู่และถูกอากาศจนกลายเป็นเหล็กออกไซด์

4    การแตกออกของหินจากการที่ถูกรากของต้นไม้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ชอนไชไปตามแนวหิน

  1. ภูเขาที่อยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอยู่ในวัยชรามีลักษณะเป็นอย่างไร

1    หุบเขา

2    เขาโดด

3    หน้าผาชัน

4    หุบเขารูปตัววี

  1. แกรนด์แคนยอน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากการกระทำของแม่น้ำในระยะใด

1    วัยชรา

2    วัยอ่อน

3    วัยหนุ่ม

4    วัยหนุ่มและวัยชรา

  1. บริเวณใดที่เกิดการทับถมของตะกอนในช่วงน้ำหลากของแม่น้ำในวัยหนุ่มและวัยชรา

 1    ที่ราบน้ำท่วมถึง

2    ลานตะพักลำน้ำ

3    เนินตะกอนรูปพัด

4    ดินดอนสามเหลี่ยม

  1. ช่วงของธารน้ำที่ไหลเชี่ยวและมีโขดหินขวางกั้นลำน้ำจนน้ำลดระดับความรุนแรงของการไหลลงจะมีลักษณะภูมิประเทศที่เรียกว่าอะไร

1    ถ้ำ

2    แก่ง

3    น้ำตก

4    หุบผาชัน

  1. แอ่งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟเรียกว่าอะไร

1    ฮอร์น

2    ฮอสต์

3    อาแรต

 4    แคลดีรา

  1. แอร์สร็อก มีลักษณะเป็นอย่างไร

1    ที่ราบดินเลิสส์

2    แอ่งในทะเลทราย

 3    เขาโดดในทะเลทราย

4    เนินทรายหรือสันทราย

 

  1. ข้อใดอธิบายลักษณะของฮอร์นได้ถูกต้อง

1    ไหล่เขาที่มีแอ่งลึกจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง

2    หุบเขาที่ลึกและกว้าง มีฐานราบและขอบสูงชันคล้ายตัวยู

3    สันปันน้ำที่อยู่ระหว่างเซิร์ก 2 แห่ง เป็นสันเขาหยักแหลม ๆ

4    เซิร์กที่มากกว่า 3 แห่งหันหลังชนกันจนกลายเป็นยอดเขาแหลม

  1. ชายฝั่งแบบฟยอร์ดมีลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากธารน้ำแข็งเป็นแบบใด

1    เซิร์ก

2    ฮอร์น

3    อาแรต

4    หุบเขาธารน้ำแข็ง

  1. พื้นที่ชายฝั่งที่ถูกคลื่นและกระแสน้ำพัดพาเอาโคลน ทราย ตะกอนดินและเศษหินเข้ามาทับถม ทำให้พื้นที่มีลักษณะเป็นแบบใด

1    แหลม

2    สันดอน

3    ที่ราบชายฝั่ง

4    ซุ้มหินชายฝั่ง

 

อ้างอิง    http://lnwsudsud.blogspot.com/2013/01/onet-2551-2.html

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...