ความรู้ ทั่วไป เกี่ยวกับงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความรู้ ทั่วไป เกี่ยวกับงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย

ภาพนี้แสดงให้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลึงที่โรงงานผลิตอาวุธในสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ดวงตาของเธอไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งปัจจุบัน การปฏิบัติดังกล่าวจะไม่ได้รับอนุญาตในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับคนงาน อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ มาตรฐานดังกล่าวก็ยังคงเปราะบาง หรือไม่มีเลย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (อังกฤษ: occupational safety and health; อักษรย่อ: OSH) นอกจากนี้ยังเรียกกันทั่วไปว่า สุขภาพและความปลอดภัยในอาชีพ (อังกฤษ: occupational health and safety; อักษรย่อ: OHS), อาชีวอนามัย (อังกฤษ: occupational health)[1] หรือ สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน (อังกฤษ: workplace health and safety; อักษรย่อ: WHS) เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย, สุขภาพ และสวัสดิภาพของประชาชนในที่ทำงาน คำนิยามนี้ยังหมายถึงเป้าหมายของสาขานี้[2] เพื่อให้พวกเขามีสำนึกต่อหัวข้อดังกล่าว ที่แต่เดิมเป็นคำย่อของโครงการ/ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เป้าหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีอนามัย[3] ทั้งยังให้การป้องกันต่อเพื่อนร่วมงาน, สมาชิกในครอบครัว, ผู้ว่าจ้าง, ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา คำนิยามนี้ยังกินความหมายเป็น อาชีวอนามัย และความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพและไม่ได้ประกอบอาชีพ (อังกฤษ: occupational health and occupational and non-occupational safety) และรวมถึงความปลอดภัยในการทำกิจกรรมนอกที่ทำงาน[4]

ในเขตอำนาจศาลระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายสำหรับการดูแลที่เหมาะสมต่อความปลอดภัยของพนักงาน[5] กฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติอาจเพิ่มกำหนดหน้าที่ทั่วไปอื่น ๆ, แนะนำการปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะ และสร้างหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการควบคุมปัญหาด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยรายละเอียดของเรื่องนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล

ทุกองค์กรมีหน้าที่สร้างความมั่นใจต่อพนักงานและบุคคลอื่นใดที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กร ให้ยังคงมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

ดูเพิ่ม[แก้]

หลัก[แก้]

  • โรคเหตุอาชีพ

องค์กรภาครัฐ[แก้]

  • องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (สหประชาชาติ)

สาขาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • วิศวกรรมอุตสาหการ
  • อาชีวเวชศาสตร์
  • สาธารณสุข
  • พิษวิทยา

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Health and Safety Executive (2009) : A Guide to Safety and Health Regulation in Great Britain เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 4th edition. ISBN 978-0-7176-6319-4.
  • Koester, Frank (April 1912). "Our Stupendous Yearly Waste: The Death Toll of Industry". The World's Work: A History of Our Time. XXIII: 713–715. สืบค้นเมื่อ 2009-07-10.
  • OSAH Safety 1 เก็บถาวร 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Ladou, Joseph (2006). Current Occupational & Environmental Medicine (4th ed.). McGraw-Hill Professional. ISBN 0-07-144313-4.
  • Lebergott, Stanley (2002). "Wages and Working Conditions". ใน David R. Henderson (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Economics (1st ed.). Library of Economics and Liberty. OCLC 317650570, 50016270 and 163149563
  • Roughton, James (2002). Developing an Effective Safety Culture: A Leadership Approach (1st ed.). Butterworth-Heinemann. ISBN 0-7506-7411-3.
  • Viscusi, W. Kip (2008). "Job Safety". ใน David R. Henderson (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Economics (2nd ed.). Indianapolis: Library of Economics and Liberty. ISBN 978-0865976658. OCLC 237794267.
  • OHSAS 18000 series: (derived from a British Standard, OHSAS is intended to be compatible with ISO 9000 and 14000 series standards, but is not itself an ISO standard)
  • Historical Hazard Identification Process for D&D

อ้างอิง[แก้]

  1. It can be confusing that British English also uses industrial medicine to refer to occupational health and safety and uses occupational health to refer to occupational medicine. See the Collins Dictionary entries for industrial medicine and occupational medicine and occupational health.
  2. Mosby's Medical Dictionary
  3. "Oak Ridge National Laboratory | ORNL". www.ornl.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-10-30.
  4. Fanning, Fred E. (2003). Basic Safety Administration: A Handbook for the New Safety Specialist, Chicago: American Society of Safety Engineers
  5. "Guidance note: General duty of care in Western Australian workplaces 2005" (PDF). Government of Western Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-23. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • (US) CDC - National Institute for Occupational Safety and Health
  • (EU) Health-EU Portal – Health and Safety at work
  • ILO International Occupational Safety and Health Information Centre
  • American Journal of Industrial Medicine

ความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (occupational health and safety) จึง หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบ อาชีพทั้งมวล

ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีขอบเขตการด าเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริม และ ด ารงไว้ (promotion and maintenance) การป้องกัน (prevention) การปกป้องคุ้มครอง (protection) การจัดงาน (placing) และการปรับงาน (adaptation) โดยมีความครอบคลุมของการด าเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัยของ ผู้ปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมใน ...

บุคลากรของงานอาชีวนิรภัยมีอะไรบ้าง

2. งานอาขีวนิรภัย (Occupational Safety) บุคลากรประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัย และความปลอดภัย วิศวกรความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน นักการยศาสตร์ (Argonomist) มีหน้าที่ตรวจสภาพการทํางานและสิ่งแวดล้อมการทํางานเพื่อประเมิน ป้องกัน และ ควบคุมอุบัติเหตุ

ประโยชน์ของอาชีวอนามัยมีอะไรบ้าง

1 ช่วยป้องกันและควบคุมให้เกิดสภาพความปลอดภัยในการทำงาน 2 ช่วยลดความสูญเสียที่บันทอนกิจการของนายจ้างอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ 3 ช่วยลดผลกระทบทางสังคมที่อาจตามมาหลังการประสบอันตรายจากการทำงาน 4 ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตและอำนวยประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เช่นสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการทำงานของลูกจ้าง