ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ที่ไหน ดี

จากสถิติการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีของแพทย์โดยส่วนใหญ่พบว่า  การรับประทานยารักษามักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากยาไม่สามารถละลายก้อนนิ่วได้หมด  รวมถึงเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วใหม่ได้ ส่วนเครื่องสลายนิ่วจะใช้ได้ดีเฉพาะนิ่วในท่อไต แต่ไม่ได้ผลสำหรับนิ่วในถุงน้ำดี

ปัจจุบันแพทย์จึงแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีออก  ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะการ ผ่าตัดถุงน้ำดี แบบผ่านกล้อง (laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS  เป็นวิธีผ่าตัดที่เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน  เช่น ถุงน้ำดีบวมมาก หรือมีพังพืดล้อมรอบมาก ทำให้แพทย์ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนจากอวัยวะข้างเคียง อาจยังคงต้องใช้วิธี ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ด้วยวิธีเปิดแผลหน้าท้องแบบธรรมดา

อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการจุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย มีลมในท้องบ่อย โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารประเภทผัด หรือ ทอดด้วยน้ำมัน หรือ หลังรับประทานเนย และ ชีส อาการปวดมักเป็นอยู่นาน ประมาณ 1-3 ชั่วโมง จากนั้นอาการจะค่อยๆ ทุเลาลง

เมื่อมีนิ่วในถุงน้ำดี หรือ มีนิ่วอุดตัดในท่อน้ำดี หรือ เกิดตับอ่อนอักเสบแทรกซ้อน จะทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรง มีไข้สูง และ อาจมีตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม และมีอาการช็อค ได้ภายใน 2-3 วัน

ตรวจอย่างไร จึงจะทราบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

วิธีการตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี สามารถทำได้ง่าย โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-128 Slices) ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจต้องงดอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีให้หายขาด จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีและก้อนนิ่วออก ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการส่องกล้องโดยเจาะผ่านทางหน้าท้อง และใช้เครื่องมือขนาดเล็กทำการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวกว่า การผ่ารตัดแบบธรรมดามาก แผลมีขนาดเล็กลง จาก 10 เซนติเมตร เหลือเพียง 2 เซนติเมตร หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและเดินได้ไว และสามารถเริ่มรับประทานอาหารได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใหญ่ทางหน้าท้องแบบทั่วไป รวมทั้งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการอยู่โรงพยาบาล

ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อนร่วมกับการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษานิ่วในท่อน้ำดีและนิ่วในถุงน้ำดีโดยให้การรักษาร่วมกันในครั้งเดียว ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง ได้แก่ ลดความเสี่ยงและจำนวนครั้งทางวิสัญญีในการดมยาสลบ ระยะเวลาการฟื้นตัวสั้นลง กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

นิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในท่อน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อย โดยนิ่วเกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี อุบัติการณ์ของคนไข้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดีสามารถตรวจพบนิ่วในท่อน้ำดีแบบที่ไม่มีอาการร่วมด้วยได้ 6 – 12% แต่ถ้าอายุมากกว่า 60 ปีอาจพบภาวะนี้เพิ่มสูงขึ้นถึง 20 – 25%

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา  ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี อาจพบอาการที่น่าสงสัย ได้แก่ ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา พบอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ถ้ามีนิ่วในถุงน้ำดีไหลตกลงไปที่ท่อน้ำดีและเกิดภาวะท่อน้ำดีอุดตัน โดยในผู้สูงอายุมักพบภาวะนี้เพิ่มขึ้น


อาการและความรุนแรง

อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดีในระยะเริ่มต้นอาจไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก ในกลุ่มที่มีอาการคนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องอืด แน่นท้อง ปวดใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงด้านขวา แต่หากมีถุงน้ำดีติดเชื้อคนไข้จะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้อาเจียน มีไข้สูง

หากก้อนนิ่วตกลงไปที่ท่อน้ำดีอาจเกิดภาวะท่อน้ำดีอุดตันและมีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือภาวะท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholangitis) ในบางครั้งนิ่วที่ท่อน้ำดีอาจเป็นสาเหตุของการเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pancreatitis) ได้

กลุ่มที่มีอาการแสดงมักมีอาการปวดท้องหลังทานอาหารประมาณครึ่งถึง 1 ชั่วโมง โดยมีอาการจุกเสียด แน่นท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวาถึงลิ้นปี่ บางครั้งอาจมีอาการปวดรุนแรงจนผู้ป่วยทนไม่ไหวต้องไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาแก้ปวด

ทั้งนี้อาการอาจทุเลาลงได้ถ้านิ่วที่อุดตันบริเวณทางออกของถุงน้ำดีไหลกลับไปอยู่ในถุงน้ำดี โดยคนไข้จะมีอาการปกติในเวลาต่อมา ซึ่งอาการดังกล่าวจะเป็นอาการเตือนของนิ่วในถุงน้ำดี (Biliary Colic) และหากมีอาการปวดท้องลักษณะนี้หลายครั้งอาจเป็นสาเหตุของภาวะถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง (Chronic Cholecystitis) แต่หากนิ่วอุดตันต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมงจะทำให้เกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis) ได้

ซึ่งสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากภาวะนิ่ว (Gallstone) หรือตะกอนของถุงน้ำดี (Biliary Sludge) ไปอุดตันทางออกถุงน้ำดี (Cystic Duct) จนทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบ กรณีที่นิ่วตกลงไปในท่อน้ำดีอาจทำให้เกิดภาวะท่อน้ำดีติดเชื้อหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้ และถ้าอาการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงอาจเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้


การตรวจวินิจฉัย

ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยนิ่วในท่อน้ำดี แพทย์อาจใช้วิธีส่องกล้องอัลตราซาวนด์ผ่านระบบทางเดินอาหาร หรือ EUS (Endoscopic Ultrasound)  คือ การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงบริเวณส่วนปลายของกล้อง ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรอยโรคที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผนังกระเพาะและลำไส้ รวมถึงมองเห็นอวัยวะอื่น ๆ ที่การส่องกล้องแบบปกติอาจไม่เห็น เช่น ก้อนในตับ นิ่วในท่อน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี กัอนในตับอ่อน เป็นต้น

กรณีที่พบก้อนขณะตรวจวินิจฉัย แพทย์ยังสามารถตรวจด้วยการใช้กล้องอัลตราซาวนด์ไกด์เจาะตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็มแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ได้ความชัดเจนในการเก็บชิ้นเนื้อส่องตรวจหาเซลล์ความผิดปกติ หลังจากส่งตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งอาจใช้เวลารอผลประมาณ 3 – 5 วัน


การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน (ERCP)

การส่องกล้องอีกแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบท่อน้ำดีและตับอ่อน คือ การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน หรือ ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) เป็นการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีแบบ ERCP ซึ่งมีข้อบ่งชี้หลัก ๆ คือ รักษาภาวะท่อน้ำดีอุดตันหรือภาวะดีซ่าน เช่น นิ่วในท่อน้ำดี หรือก้อนในท่อน้ำดี หรือรอบ ๆ ท่อน้ำดีอุดตัน

กรณีที่พบนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้บอลลูนหรือตะกร้อลวดขนาดเล็กเกี่ยวเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี แต่หากพบก้อนกดเบียดท่อน้ำดี รักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณก้อนเพื่อส่งตรวจ และใส่ท่อระบายน้ำดีเพื่อลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากการส่องกล้องท่อน้ำดี คือ ภาวะตับอ่อนอักเสบภายหลังการส่องกล้อง เนื่องจากท่อตับอ่อนอยู่แนบชิดกับรูเปิดของท่อน้ำดีอาจจะเกิดการระคายเคือง ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 3 – 5% แต่โดยส่วนใหญ่มักเป็นตับอ่อนอักเสบแบบไม่รุนแรง และอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน ด้วยการงดน้ำและอาหาร ให้น้ำเกลือ ให้ยาแก้ปวด ฉะนั้นภายหลังส่องกล้อง ERCP แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการหลังทำหัตถการอย่างน้อย 1 คืน

การเตรียมตัวเพื่อส่องกล้อง EUS และ ERCP จะเหมือนการเตรียมตัวเพื่อส่องกระเพาะอาหาร กล่าวคือ งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมง งดยาละลายลิ่มเลือด 3 – 5 วันแล้วแต่ชนิดของยา กรณีผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่สำคัญเกี่ยวกับปอดหรือหัวใจ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า และปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อประเมินความฟิตของร่างกายก่อนส่องกล้องต่อไป


การรักษานิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในท่อน้ำดี

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วในถุงน้ำดีและมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมกันในครั้งเดียว ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องผ่านกระบวนการวางยาสลบหลายครั้ง มีโอกาสในการรักษานิ่วที่ถุงน้ำดีและนิ่วในท่อน้ำดีสำเร็จยิ่งขึ้น ลดระยะเวลานอนในโรงพยาบาลสั้นลง และช่วยให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยอาจลุกเดินได้ใน 4-6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด รวมทั้งอัตราการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ลดลงหลังการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบเว้นระยะ (การรักษาด้วย ERCP ก่อนและผ่าตัด LC ในภายหลัง)

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีกี่บาท

ราคา ผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดี ชนิดผ่านกล้อง ที่ โรงพยาบาลยันฮี 93,100 บาท ราคา ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี นอน รพ. 2 คืน ที่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง 96,030 บาท

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ํำดีแบบไหนดี

การรักษา นิ่วในถุงน้ำดี ปัจจุบันแพทย์จึงแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีออก ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการ ผ่าตัดถุงน้ำดี แบบผ่านกล้อง (laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS เป็นวิธีผ่าตัดที่เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี น่า กลัว ไหม

อาจเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้เหมือนการผ่าตัดทั่วไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะอักเสบและความรุนแรงของโรค โรคประจำตัว การรับประทานยา และสุขภาพผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนจากยาสลบ เช่น ในกรณีดมยาสลบ จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน, ระคายเคือง หรือเจ็บในคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

ผ่าตัดนิ่วกี่บาท

ราคาเหมาจ่าย 100,000 บาท (จากปกติ 120,000 บาท) รวมการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอ็กซเรย์ปอด (CXR),และ ตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) รวมค่าห้องพักแบบมาตรฐานดีลักซ์ ราคา 1,600 /คืน และครอบคลุมระยะเวลา 3 วัน 2 คืน กรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องพักรักษาตัวเกินกว่าที่กำหนด ทางโรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนวันที่เพิ่ม