หน้าที่ หน่วย จัด เก็บ เช่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"Memory device" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับtricks used to aid human memory ดูที่ นีโมนิค

หน้าที่ หน่วย จัด เก็บ เช่น

หน้าที่ หน่วย จัด เก็บ เช่น

15 GiB PATA hard disk drive (HDD) from 1999; when connected to a computer it serves as secondary storage.

หน้าที่ หน่วย จัด เก็บ เช่น

160 GB SDLT tape cartridge, an example of off-line storage. When used within a robotic tape library, it is classified as tertiary storage instead.

หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ มักเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำ เป็นเทคโนโลยีประกอบด้วยส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และสื่อบันทึกที่ใช้เก็บข้อมูลดิจิตอล[1]:15-16

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์คือสิ่งที่จัดการข้อมูลโดยการคำนวณ ในทางปฏิบัติคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้ลำดับชั้นการจัดเก็บข้อมูล[1]:468-473 ซึ่งทำให้ตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่รวดเร็ว มีราคาแพง และมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับ CPU และตัวเลือกที่มีขนาดใหญ่และราคาถูกกว่าที่ไกลออกไป

อ้างอิง[แก้]

แม่แบบ:FS1037C

  1. ↑ 1.0 1.1 Patterson, David A.; Hennessy, John L. (2005). Computer Organization and Design: The Hardware/Software Interface (3rd ed.). Amsterdam: Morgan Kaufmann Publishers. ISBN 1-55860-604-1. OCLC 56213091.

    หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

                    การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน ได้แก่ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และหน่วยแสดงผล แต่ละหน่วยจะมีการทำงานต่อเนื่องกัน เริ่มจากผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ของคอมพิวเตอร์ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลแล้วส่งเข้าสู่หน่วยรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูล แล้วส่งเข้าหน่วยประมวลผลกลางเพื่อประมวลผล โดยในขณะที่กำลังประมวลผลอยู่นั้น คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลบางส่วน ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก เพื่อช่วยในการประมวลผล ป้องกันความผิดพลาดในการประมวลผล และเตรียมข้อมูลเพื่อส่งไป ยังหน่วยแสดงผล แล้วจึงส่งไปที่หน่วยแสดงผล เพื่อให้ผู้รับรับรู้ข้อมูลใหม่ที่ได้จากการประมวลผลนั้น จากนั้นผู้ใช้จึงเก็บข้อมูลลงใน อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองอีกครั้ง


    หน่วยรับข้อมูล


    หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นหน่วยแรกของคอมพิวเตอร์ที่ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ต้องสัมผัสโดยตรง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ รับข้อมูลดังกล่าวไปทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ต่อไป โดยหน่วยรับข้อมูลจะทำหน้ารับข้อมูลทุกรูปแบบจากฮาร์ดแวร์ต่างๆ มาเปลี่ยน ให้เป็นรูปแบบสัญญาณหรือข้อมูลดิจิตอล แล้วจึงส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง

    ปัจจุบันฮาร์ดแวร์สำหรับข้อมูลมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานของผู้ใช้ เช่น แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด เมาส์ กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ ไมโครโฟนและวีดีโอแคม ในหน่วยการเรียนรู้นี้จะกล่าวถึงรายละเอียด ของอุปกรณ์รับข้อมูล 5 ชนิด คือ

    1. แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard)
    ทำหน้าที่รับข้อมูลในลักษณะการป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด จัดเป็นฮาร์ดแวร์หลักสำหรับรับข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี โดยการสั่งงานหรือส่งข้อมูลคำสั่งผ่านแป้นต่างๆ บนแป้นพิมพ์ แป้นพิมพ์สำหรับใช้งานกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีแป้น 101 และ 105แป้น ส่วนแป้นพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก เช่น คอมพิวเตอร์พกพา หรือพีดีเอ (Personal Digital Assistants: PDA)  จะใช้แป้นพิมพ์ที่มีจำนวนแป้นน้อยกว่า ปัจจุบันแป้นพิมพ์มีทั้งแบบเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยสายส่งสัญญาณและแป้นพิมพ์แบบไร้สาย (Wireless Keyboard)

    2. เมาส์ (Mouse)
    ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการชี้และเลือกคำสั่งต่างๆ บนจอภาพหรือมอนิเตอร์ผ่านตัวชี้หรือเมาส์พอยต์เตอร์ (Mouse Pointer) ด้วยการคลิก (Click) คลิกขวา (Right Click) และดับเบิลคลิก (Double Click) คำสั่งที่ต้องการ จึงจัดเป็นฮาร์ดแวร์สำคัญอีชิ้นหนึ่งในการรับข้อมูล เมาส์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
    -  เมาส์แบบทางกล (Mechanical Mouse)
    เกิดจากการหมุนลูกกลิ้งที่อยู่ใต้เมาส์ไปในทิศทางที่ผู้ใช้ต้องการ โดยจะมีกลไกปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถควบคุมความเร็วและความสัมพันธ์ต่อเนื่องของตัวชี้เมาส์ที่จอภาพได้ ปัจจุบันเมาส์แบบทางกล มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่มีลูกกลิ้งอยู่ด้านล่างซึ่งนิยมใช้กันโดยทั่วไปและแบบมีลูกกลิ้งอยู่ด้านบน (Track Ball) ซึ่งต้องหมุนลูกกลิ้งนี้ ในขณะใช้งานแทนการขยับเมาส์ไปมาเหมือนเมาส์ที่มีลูกกลิ้งอยู่ด้านล่าง
    - เมาส์แบบใช้แสง (Optical Mouse) เกิดจากหลักการส่งแสงจากเมาส์ไปยังพื้นที่รองรับแล้วสะท้อนกลับไปยังตัวรับสัญญาณที่เมาส์เพื่อวัดการเคลื่อนตำแหน่ง เมาส์ชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าเมาส์แบบทางกลแต่ช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นติดที่ลูกกลิ้งภายในเมาส์แบบทางกล
    - เมาส์แบบไร้สาย (Wireless Mouse) เกิดจากหลักการส่งแสงจากเมาส์ไปยังพื้นที่รองรับแล้วสะท้อนกลับไปยังตัวสัญญาณจากเมาส์ไปยังเครื่องรับสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ จึงทำให้เมาส์แบบนี้ไม่มีสายต่อจากคอมพิวเตอร์เหมือนเมาส์แบบทางกลและเมาส์แบบใช้แสง

    3. กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
    สามารถรับข้อมูลได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง โดยปกติจะมีการบันทึกข้อมูล ภายในกล้องดิจิตอลไว้ที่หน่วยบันทึก ข้อมูลของกล้อง (Memory Card) เมื่อผู้ใช้ต้องการรับข้อมูลจากกล้องก็เพียงเชื่อมต่อกล้องดิจิตอลโดยผ่านสายสัญญาณ คอมพิวเตอร์ก็จะอ่านค่าในหน่วยบันทึกข้อมูลของกล้อง ซึ่งผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากกล้องไปทำงานบนโปรแกรม ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ทันที หรืออาจบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ก่อนก็ได้

    4. สแกนเนอร์ (Scanner)
    คือ ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลต่างๆ เช่น รูปถ่าน ภาพวาด ข้อความ สัญลักษณ์ ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพ

    5. เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ (Optical Character Reader)
    มีหลักการทำงานด้วยการอ่านข้อมูลจากแสงในลักษณะพาดขวาง แล้วเปลี่ยนรหัสให้เป็นสัญญาณหรือข้อมูลดิจิตอล ช่วยลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลและช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่งหรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า

    หน่วยประมวลผลกลาง


    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)  หรือซีพียู (CPU) คือ สมองหรือหัวใจของคอมพิวเตอร์ โดยประสิทธิภาพในการ ทำงานของคอมพิวเตอร์จะขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลกลางเป็นหลัก เนื่องจากซีพียูทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ส่งเข้ามา ยังคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการทำงานทั้งหมดภายในระบบคอมพิวเตอร์อีกด้วย ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญของ หน่วยประมวลผลกลาง คือ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง แบ่งเป็น 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยควบคุมและหน่วยคำนวณและตรรกะ

    1. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่อ่านคำสั่งทีละคำสั่งแล้วตีความคำสั่งนั้นว่าเป็นคำสั่งใดและต้องใช้ข้อมูลที่ใด เพื่อควบคุมและประสานงานการทำงานของฮาร์ดแวร์และหน่วยต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
    2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic/Logical Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ แล้วนำมาเปรียบเทียบค่าของข้อมูล แล้วจึงเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำต่อไป

    หน่วยประมวลผลกลางจะทำงานเป็น 4 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1-2 จะใช้หน่วยควบคุมในการดำเนินงาน ส่วนขั้นตอนที่ 3-4 จะใช้หน่วยคำนวณและตรรกะในการดำเนินงานดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 หน่วยควบคุมเข้าถึงข้อมูลและคัดแยกคำสั่งจากหน่วยความจำ
    ขั้นตอนที่ 2 คำสั่งถูกตีความ เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจะต้องทำงานอะไร แล้วเลือกข้อมูลที่ต้องใช้ในการประมวลผล แล้วกำหนดตำแหน่งของคำสั่งถัดไป
    ขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตีความได้ ทั้งการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบ
    ขั้นตอนที่ 4 เก็บผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ไว้ในหน่วยความจำหลัก

    หน่วยความจำ

    หน่วยความจำ (Memory Unit)  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งตามลักษณะของการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำได้ 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยความจำหลัและหน่วยความจำสำรอง

    หน่วยความจำหลัก
    หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หรือหน่วยความจำภายใน (Internal Memory) จะทำงานเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลักจะต้องมีขนาดเล็กหรือความจุไม่ใหญ่มากนัก โดยมีหน้าที่สำคัญคือ
    - เลือกใช้และเก็บชุดคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผลจากหน่วยความจำสำรอง
    - เก็บข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง
    - เก็บผลลัพธ์ที่ได้ในขณะประมวลผลแต่ยังไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
    - เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลที่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

    หน่วยความจำหลักมีหลายชนิด ทั้งแบบติดตั้งอยู่ที่เมนบอร์ดโดยตรงและแบบที่เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แยกต่างหาก เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนหรือเพิ่มความสามารถของคอมพิวเตอร์ในภายหลัง ซึ่งหน่วยความจำหลักแบบที่เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นี้มักจะเป็นหน่วยความจำประเภทแรม หน่วยความจำหลักจะมีการทำงานผสานกับซีพียูตลอดเวลา โดยซีพียูจำทำหน้าที่ประมวลผล แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหนัก จากนั้นซีพียูก็จะรับคำสั่งใหม่ แล้วนำข้อมูลหรือคำสั่งเดิมจากหน่วยความจำหลัก มาช่วยประมวลผล จนเกิดกระบวนการที่เรียกว่า วงรอบคำสั่ง (Execution Cycle) ขึ้น หน่วยความจำหลักแบ่งตามสภาพการใช้งานเป็น 3 ประเภทได้แก่

    1. หน่วยความจำประเภทรอม (ROM: Read Only Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ข้อมูลภายในถูกติดตั้งมาจากโรงงานผู้ผลิต จึงมีเพียงผู้พัฒนาระบบที่สามารถลบแล้วเขียนข้อมูลใหม่ได้ด้วยกระบวนการหรือเทคนิคพิเศษในการลบและเขียนข้อมูล ผู้ใช้ทั่วไป จะสามารถอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ภายในได้ จึงใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น โปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานและข้อมูลการจัดการพื้นฐานของระบบ โดยหน่วยความจำประเภทรอม จะติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำประเภทรอมจะยังคงอยู่ถึงแม้จะปิดคอมพิวเตอร์หรือไม่มี กระแสไฟฟ้าแล้วก็ตาม
    2. หน่วยความจำประเภทแรม (RAM: Random Access Memory) บางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว เนื่องจากจะ สามารถลบและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่มีไฟฟ้าเท่านั้น เมื่อปิดคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าแล้วข้อมูลก็จะหายไป ดังนั้นเมื่อต้องการเรียกใช้ข้อมูลที่อยู่ในแรมใหม่ในอนาคตจึงต้องมีการบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในหน่วยความจำสำรองก่อนการปิด
    คอมพิวเตอร์ทุกครั้ง หน่วยความจำประเภทแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    -ดีแรมหรือไดนามิกแรม (DRAM: Dynamic RAM)  มีลักษณะการทำงานที่มีการรีเฟรช (Refresh) กระบวนการอย่างอัตโนมัติ เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลให้คงอยู่ ทำให้เสียเวลาหรือต้องใช้เวลาในการทำงานนายกว่าประเภทเอสแรม ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาดีแรมเพื่อให้ใช้เวลาในการทำงานน้อยลง เช่น เอฟพีเอ็ม ดีแรม (FPM DRAM: Fast Page Mode DRAM) ไฮเปอร์เพจโมด ดีแรมหรือีดีโอแรม (Hyper Page Mode DRAM or EDO RAM: Extended Data Output RAM) และเอสดีแรม (SDRAM: Synchronous DRAM)
    -  เอสแรมหรือสเตติกแรม (SRAM: Static RAM) มีลักษณะการทำงานด้วยการเก็บข้อมูลและรีเฟรชข้อมูลเมื่อได้รับคำสั่งเท่านั้น ทำให้มีความสามารถในการทำงานเร็วกว่าแบบดีแรมแต่ปัจจุบันเอสแรมมีราคาแพงกว่าดีแรมมาก
    3. หน่วยความจำซีมอส (CMOS: Complementary Metal Oxide Semiconductor) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศ ที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์ หน่วยความจำซีมอสจะใช้ พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด ทำให้ข้อมูลที่บันทึกอยู่ไม่หายไปเมื่อปิดคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ข้อมูลภายในหน่วย ความจำซีมอสจะเปลี่ยนแปลงอัตโนมัติไปตามอุปกรณ์ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์

    หน่วยความจำสำรอง
    หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลตามคำสั่งของผู้ใช้ ซึ่งจะมีพื้นพี่หรือ ความจุมากกว่าหน่วยความจำหลัก ลักษณะในการเก็บข้อมูลจะเป็นแบบถาวร ปัจจุบันมีหลายประเภทและมีคุณสมบัติ และข้อมีข้อดี ข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน ดังนี้
    1.  ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่ใช้บันทึกข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลสำหรับการ
    ทำงานของคอมพิวเตอร์ และข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ประเภทโปรแกรมต่างๆ ฮาร์ดดิสก์เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk ) ที่มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมซ้อนกันหลายๆ ชั้น มีรูตรงกลาง โดยด้านบนของจานแม่เหล็กจะแบ่งออกเป็นแทร็ก (Track) ความสามารถในการบันทึกข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยความจุ เป็นเมกะไบต์และกิกะไบต์แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    -  ฮาร์ดดิสก์ไอดีอี (IDE: Integrated Device Electronics) เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานมายาวนานที่สุด มีการนำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มารวมไว้กับจานแม่เหล็ก เพื่อช่วยตัดสัญญาณรบกวนจากภายนอก ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้เพียง 2 เครื่องเท่านั้น จึงมีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ขึ้นเป็นฮาร์ดดิสก์อีไอดีอี (EIDE: Enhance IDE) เพื่อลดข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไอดีอี ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ถึง 4 เครื่อง ช่วยให้สามารถ บันทึกข้อมูลหรือมีความจุได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
    -  ฮาร์ดดิสก์ซีเรียวเอทีเอ (Serial ATA) เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาให้มีช่องสำหรับจ่ายให้ฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถถอดฮาร์ดดิสก์ได้ในขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์
    -  ฮาร์ดดิสก์กัสซีหรือเอสซีเอสไอ (SCSI: Small Computer System Interface) เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหน่วยความจำในตัวเอง ทำให้บันทึกและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ประเภทอื่น สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ 7-15 เครื่อง นิยมใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการให้มีประสิทธิภาพในการรับและส่งข้อมูลสูงๆ
    2.  แผ่นดิสเกตต์หรือแผ่นฟล๊อปปี้ดิสก์ (Diskette or Floppy Disk)  
    เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหลักการทำงานเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ คือ เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทจานแม่เหล็ก ผลิตจากไมลาร์(Mylar) มีลักษณะบาง เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ภายนอกหุ้มด้วยพลาสติกเพื่อป้องกัน สัญญาณรบกวน เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์ (Disk Drive) ซึ่งติดตั้งที่คอมพิวเตอร์โดยจะมีมอเตอร์เป็นตัวหมุน แผ่นดิสเกตต์มีแกนยึดตรงกลางไม่ให้แผ่นดิสเกตต์หลุด โดยใช้หัวอ่านอิเล็กทรอนิกส์อ่านและเขียนข้อมูลบนจานแม่เหล็ก ทำให้เกิดสัญญาณแม่เหล็กรับและส่งข้อมูลจากแผ่นดิสเกตต์ไปยังระบบคอมพิวเตอร์
    3.  แผ่นซีดี (CD: Compact Disc)
    เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสำรองประเภทจานแม่เหล็ก ทำจากแผ่นพลาสติกเคลือบสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง มีน้ำหนักเบาและสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นดิสเกตต์โดยแผ่นซีดีขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไป หรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร สามารถบันทึกข้อมูลได้ 700  เมกะไบต์ เมื่อต้องการอ่านหรือบันทึกข้อมูลจะต้องใช้ร่วม กับเครื่องบันทึกแผ่นซีดี (CD-Writer)  ซึ่งติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ โดยหัวอ่านจะปล่อยแสงเลเซอร์ไปตกกระทบแผ่นซีดีแล้วให้อุปกรณ์ ตรวจจับแสงรับแสงเลเซอร์ที่ตกกระทบมาจากแผ่นซีดดีส่งไปแปลงเป็นข้อมูลอีกทีหนึ่งแผ่นซีดีแบ่งตามลักษณะการบันทึกข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้
    -  แผ่นซีดีอาร์ (CD-R: CD Recordable) สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการ เปลี่ยนแปลง
    -  แผ่นซีดีดอาร์ดับบลิว (CD-RW: CD Rewritable) มีลักษณะภายนอกเหมือนแผ่นซีดีอาร์ แต่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ ๆ ได้หลายครั้ง
    4.  แผ่นดีวีดี (DVD: Digital video Disk)
    พัฒนามาจากแผ่นซีดี จึงมีลักษณะภายนอกเหมือนแผ่นซีดีทุกรปะการ เมื่อต้องการอ่านหรือบันทึกข้อมูลจะต้องใช้ร่วมกับเครื่องบันทึก แผ่นดีวีดี (DVD-Writer) ซึ่งติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการยิงเลเซอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าของแผ่นซีดี จึงสามารถบันทึกได้มากกว่าคือ บันทึกข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์
    5.  ยูเอชบีแฟลชไดรฟ์(USB Flash Drive)  
    เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้มากในปัจจุบันเนื่องจากมีราคาถูก รูปทรงสวยงาม มีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย เหมาะแก่การพกพา บันทึกซ้ำได้หลายครั้งและบันทึกข้อมูลได้มาก ทั้งนี้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีตั้งแต่ 64 เมกะไบต์ ถึงความจุที่ระดับหน่วยเป็นกิกะไบต์ เมื่อต้องการใช้งานต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยยูเอสบีพอร์ท (USB Port) จึงไม่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านข้อมูลอื่นๆ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แทนจานแม่เหล็ก ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น รีมูฟเอเบิลไดรฟ์ (Removable Drive) ทัมป์ไดรฟ์(Thump Drive) แฮนดี้ไดรฟ์(Handy Drive) และเพ็นไดรฟ์(Pen Drive)

    หน่วยแสดงผล

    หน่วยแสดงผลหรือหน่วยส่งออก (Output Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่เตรียมไว้ใน หน่วยความจำหลัก เพื่อส่งข้อมูลหรือสื่อสารกับผู้รับ โดยมีฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการ ประมวลผลจากซีพียูมายังผู้รับ  แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนี้

    1.  จอภาพหรือมอนิเตอร์ (Monitor)
    ทำหน้าที่แสดงข้อมูลในลักษะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงาน เพื่อติดต่อและสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้นิยมวัดขนาด ของจอภาพเป็นนิ้ว โดยวัดจากความยาวของเส้นทแยงมุมจนจอภาพ จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
    -  จอภาพแบบนูนหรือซีอาร์ที (CRT: Cathode Ray Tube) มีรูปทรงและลักษณะการทำงานเหมือนจอโทรทัศน์ คือ ใช้หลอดภาพแบบซีอาร์ทีจากด้านหลังไปกระทบกับสารที่เคลือบพื้นผิวของจอภาพทำให้เกิดเรืองแสง ปรากฏเป็นภาพที่แสดงออกมา
    -  จอภาพแบบแบนหรือจอแอลซีดี (LCD: Liquid Crystal Display)  มีรูปทรงสวยงามและทันสมัยกว่าแบบแรก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย มีลักษณะบางและแบนกว่าจอภาพแบบนูน เนื่องจากใช้เทคโนโลยีของผลึกเหลวที่เป็นสสารโปร่งใส มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งของแข็งและของเหลว มีหลักการแสดงภาพโดยสภาวะปกติจะเป็นของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านจะเกิดการ เรียงโมเลกุลใหม่กลายเป็นของแข็งแทนเพื่อแสดงภาพแทน ซึ่งนอกจากจะมีการใช้จอภาพแบบนี้กับคอมพิวเตอร์แล้ว ยังนิยมใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรทัศน์จอแบน และพีดีเอ

    2.ลำโพง (Speaker)
    ทำหน้าที่แสดงผลในรูปแบบเสียง มีการทำงานร่วมกับการ์ดเสียง (Sound Card) ที่ติดตั้งอยู่ภายในเคส โดยการ์ดเสียงจะรับสัญญาณ ดิจิทัลมาแปลงให้เป็นสัญญาณเสียงส่งต่อไปยังสายส่งสัญญาณที่เชื่อมต่อไปยังลำโพงเพื่อส่งข้อมูลเสียงไปยังผู้ใช้งาน ลำโพงมี ทั้งแบบที่สามารถปรับขยายเสียงได้เองและแบบที่ต้องปรับขยายเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งลำโพงประเภทนี้จะมีคุณภาพเสียง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการ์ดเสียงเป็นหลัก

    3.  หูฟัง (Ear Phone) ใช้รับข้อมูลประเภทเสียง มีลักษณะการทำงานเหมือนกับลำโพงแต่ลดขนาดลง ทำให้สะดวกในการพกพา ใช้รับข้อมูลได้เฉพาะบุคคล หูฟังในปัจจุบันมีรูปแบบ คุณภาพและราคาที่หลากหลาย บางชนิดมีไมโครโฟน เพื่อเพิ่มความสะดวก ในการรับข้อมูลประเภทเสียง หูฟังประเภทนี้จะมีสายสำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เส้น โดยเส้นหนึ่งจะใช้สำหรับรับ สัญญาณเสียงส่วนอีกเส้นจะใช้สำหรับส่งสัญญาณเสียง

    4.  เครื่องพิมพ์ (Printer) ทำหน้าที่พิมพ์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ให้ออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ลงบนกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ แบ่งเป็น 4 ประเภท
    -  เครื่องดอตเมตริกซ์ (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาดใหญ่ เวลาใช้งานมีเสียงดัง เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ต้นทุนต่ำและต้องการทำสำเนาหลายๆ แผ่น โดยกระดาษที่ใช้จะต้องมีรูด้านข้างสำหรับให้หนามเตยของเครื่องพิมพ์เกี่ยวเพื่อเลื่อนกระดาษ การสร้างชิ้นงานอาศัยหลักการสร้างจุดด้วยหัวเข็มกระแทกผ่านผ้าหมึกไปยังชิ้นงาน ทำให้เกิดจุดเพื่อสร้างข้อมูลลงบนชิ้นงาน ความคมชัดของข้อมูลจะขึ้นอยู่กบจำนวนจุดที่กระแทกลงไป โดยจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลจะยิ่งมีความคมชัดมากขึ้น ความเร็วในการทำงานของเครื่องประเภทนี้จะอยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที
    -  เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet) มีขนาดเล็ก รูปทรงทันสมัย ใช้เวลาในการทำงานน้อยและผลงานที่ได้มีคุณภาพมากกว่าเครื่องดอตเมตริกซ์ เนื่องจากอาศัยหลักการหยดหมึกเป็นจุดเล็กๆ ไปที่ชิ้นงานเพื่อประกอบกันเป็นข้อมูล
    -  เครื่องเลเซอร์ (Laser) มีแบบและรูปร่างคล้ายเครื่องแบบอิงค์เจ็ท แต่สามารถทำงานได้เร็วและผลงานที่ได้มีความคมชัดสูงกว่า เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการยิงผงหมึกด้วยระบบเลเซอร์ไปสร้างข้อมูลที่ต้องการบนชิ้นงาน
    -  เครื่องพิมพ์พล๊อตเตอร์ (Plotter) มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องพิมพ์ประเภทอื่น นิยมใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบต่างๆ มีลักษณะการทำงานด้วยการใช้ปากกาเขียนข้อมูลลงบนพื้นผิวที่ต้องการพิมพ์ด้วยวิธีการเลื่อนกระดาษ

    5.  เครื่องแอลซีดีโปรเจคเตอร์ (LCD Projector) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ใช้นำเสนอข้อมูลบนจอภาพคอมพิวเตอร์ไปฉายบนจอภาพขนาดใหญ่ ภายในเครื่องแอลซีดีโปรเจคเตอร์ จะถูกบรรจุ ด้วยกระจกสีแดง เขียว และสีน้ำเงิน เมื่อเครื่องทำงานจะส่งแสงผ่านแผ่นกระจกสีเหล่านี้ เพื่อให้เกิดข้อมูลไปแสดงยังจอภาพที่กำหนด ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องแอลซีดีโปรเจคเตอร์เพื่อให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น เรียกว่า เครื่องดีแอลพีโปรเจคเตอร์ (DLP: Digital Light Processing) ซึ่งใช้ชิปจำนวนมากทำงานแทนกระจก ทำให้ข้อมูลที่แสดงมีความชัดมีความละเอียดสูง และมีขนาดเล็กกว่าเครื่องแอลซีดีโปรเจคเตอร์ แต่มีราคาสูงกว่าด้วย

หน่วยจัดเก็บข้อมูลคืออะไร

หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ มักเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำ เป็นเทคโนโลยีประกอบด้วยส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และสื่อบันทึกที่ใช้เก็บข้อมูลดิจิตอล

หน่วยความจำและจัดเก็บข้อมูลทำหน้าที่อะไร

คำว่าหน่วยความจำหมายถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ของคุณที่ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลในระยะสั้น คุณอาจคิดว่าส่วนประกอบนี้คือ DRAM หรือหน่วยความจำชั่วคราวแบบไดนามิก คอมพิวเตอร์ของคุณต้องทำงานหลายอย่างโดยการสืบค้นข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้น ตัวอย่างการทำงานเหล่านี้ได้แก่ การแก้ไขเอกสาร การโหลดแอพพลิเคชั่นและการ ...

หน่วยจัดเก็บข้อมูลใดที่มีมากที่สุด

เพตะไบต์ (Petabyte) จัดว่าเป็นระดับของข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วภาพถ่ายที่มีจำนวนมากกว่า 10 พันล้านภาพที่มีอยู่บน Facebook นั้น เทียบเท่ากับปริมาณข้อมูลที่มีมากถึง 1.5 เพตาไบต์ นอกจากนี้มันยังจะต้องใช้เครื่องบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดระยะเวลาสามปีครึ่งในการเติมฮาร์ดไดร์ฟ ...