ค่าธรรมเนียมการถอนการยึดทรัพย์

บังคับคดียึดทรัพย์เกินความจำเป็น

เขียนโดย ชูชาติ คงครองธรรม. จำนวนผู้ชม: 15927

ผู้เข้าชม >>{hits}1911{/hits}

ค่าธรรมเนียมการถอนการยึดทรัพย์
กลับมาพบกันอีกแล้ว  เมื่อคิดถึงเวลาแล้วช่างรวดเร็วเหลือเกิน ผ่านไปแล้วก็ยากที่จะหวนกลับคืนมา คงจะต้องเดินหน้าต่ออย่างเดียว เรื่องเด่นประจำสัปดาห์ก็เช่นเดียวกันคงต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อให้สาระความรู้และประโยชน์กับบุคคลทั่วไปอย่างไม่หยุดยั้ง

วันนี้ขอเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์เกินความจำเป็น  ลูกหนี้จะต้องทำอย่างไร  เรื่องนี้เป็นคำถามมาเป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้โทรศัพท์เข้ามาสอบถามยังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาส่วนมากมักจะขอให้ศาลทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ทั้งหมด ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อมีการยึดแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขาย ก็ต้องมีการถอนการยึดซึ่งต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมศาลอีก และใครที่จะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว ผู้ที่เสียค่าธรรมเนียมก็คือ ผู้แพ้คดีนั่นเอง

บางคนมีข้อสงสัยว่า  ในเมื่อเจ้าหนี้เป็นคนยึดเมื่อไม่มีการขายเกิดขึ้นต่อมามีการถอนการยึดค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้เป็นผู้ออกจึงจะถูก เพราะลูกหนี้เสียทรัพย์สินบางส่วนไปแล้วและจะต้องมาเสียค่าธรรมเนียมโดยที่ตนเองไม่ได้เป็นคนกระทำ มันเป็นธรรมแก่ผู้แพ้คดีแล้วหรือ

ปัญหาเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นกับลูกหนี้ ๆ จะหาทางออกอย่างไร   หากในชั้นบังคับคดีเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ทั้งหมดเพื่อดำเนินการขายทอดตลาด  ทั้งที่ทรัพย์ของลูกหนี้เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้   เพราะฉะนั้นลูกหนี้จึงต้องระมัดระวังอย่าให้มีการยึดทรัพย์ของลูกหนี้เกินความจำเป็น เช่นเจ้าหนี้ทำการยึดที่ดินหลายแปลง  ทั้งที่เพียงแปลงเดียวก็สามารถชำระหนี้ได้     ซึ่งถ้าหากยึดหลายแปลงต่อมามีการถอนการยึดโดยที่ไม่มีการขายลูกหนี้ก็จะต้องรับผิดชอบเสียค่าถอนการยึดโดยเปล่าประโยชน์

ค่าธรรมเนียมการถอนการยึดทรัพย์
คำแนะนำและแนวทางแก้ไข
ประการแรก ทางจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาล โดยให้ศาลเห็นว่าที่ดินที่เจ้าหนี้ทำการยึดหลายแปลงนั้น เกินความจำเป็น ความจริงแล้วถ้าหากนำทรัพย์สินหรือที่ดินของลูกหนี้เพียงแปลงเดียวก็สามารถชำระหนี้รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมได้    จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์สินหรือที่ดินดังกล่าวออกมาขายเพียงแปลงเดียว

ในส่วนของศาลเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วก็อาจจะให้มีการไต่สวนคำร้องนั้น เพื่อให้ได้ความว่า ถ้าหากขายที่ดินของลูกหนี้เพียงแปลงเดียวเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดนั้นจะเพียงพอชำระหนี้รวมทั้งใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งเพียงพอหรือไม่   ถ้าเพียงพอศาลอาจมีคำสั่งให้ทำการขายทอดตลาดที่ดินเพียงแปลงเดียวตามที่ลูกหนี้ร้องขอมาก็ย่อมจะทำได้

เพราะฉะนั้นลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้คำนวณหนี้หรือทำการตรวจสอบให้รอบคอบเวลาเจ้าหนี้ยึดก็ให้ยึดไปทั้งหมด เมื่อทำการยึดไปแล้วไม่ได้ขายและมีการถอนการยึดค่าธรรมเนียมของเจ้าหนี้ก็จะผลักภาระให้ทางลูกหนี้เป็นคนออกจึงทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอย่างมาก  ถ้าลูกหนี้มีความรอบคอบและตรวจสอบดูให้ละเอียดรู้วิธีการแก้ไขความเสียหายดังกล่าวก็จะไม่เกิดกับทางลูกหนี้อีกต่อไป

พิมพ์ อีเมล

ขอเพิ่มเรื่องอายัดทรัพย์ ที่คุณสามารถสืบค้นหาจาก google หรือ ปุ่มสืบค้นด้านบนนะค่ะ จะได้ไม่มีคำถามคาใจอีก

ถาม : กรณีเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินที่ถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อมาลูกหนี้ได้ชำระ หนี้ให้แก่เจ้� ��หนี้นอกศาลจนเป็นที่พอใจแล้ว และเจ้าหนี้แจ้งว่าจะถอนการยึดให้ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ยอมถอนการยึดให้เจ้าของร่วมในที่ดินมีสิทธิขอให้ศาลสั่ง ถอนการยึดได� ��หรือไม่ และกรณีนี้ใครจะเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียม

ตอบ : เจ้าหนี้จะต้องมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอถอนการยึดทรัพย์และเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย ให้ติดต่อเจ้าหนี้ให้มาดำเนินการกับเจ้าพนักงานบังคับคดี หากเพิกเฉยจึงค่อยดำเนินการร้องศาลให้มีคำสั่งต่อไป

การถอนการยึดทรัพย์ ต้องให้โจทก์มายื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอถอนการยึดทรัพย์ ว่าคงต้องชำระหนี้หรือมีข้อตกลงกันภายนอกมาก่อนแล้ว และจะคิดคำนวณค่าธรรมเนียมยึดแล้วแต่ไม่มีการขาย และค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีว่าเป็นเงินจำนวนเท่าใด โดยจะเรียกให้โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ชำระ และจะต้องชำระจนครบถ้วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงจะถอนการยึดให้ การถอนการยึดต้องกระทำก่อนวันเอาทรัพย์ขายทอดตลาดครั้งต่อไป

การถอนการยึดทรัพย์ เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ยึดทรัพย์เอง ไม่ประสงค์จะบังคับคดีขายทอดตลาดเอากับทรัพย์ที่ยึดนั้นต่อไปแล้ว เพราะอาจมีการชำระหนี้ หรือตกลงเอาทรัพย์ของจำเลยใช้หนี้โจทก์ จะมาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์นั้นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรณีเช่นนี้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมที่ยึดแล้วไม่มีการขายตามกฎหมาย จากราคาประเมินทรัพย์ที่ยึด

ถาม : ถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์จะขายทอดตลาด ต่อมาสามารถไกล่เกลี่ยกันได้ มีข้อสงสัยในสัญญาประนอมหนี้ให้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการถอน การยึดทรัพย� �� อยากทราบว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนเท่าไร และควรไปทำสัญญาประนีประนอมที่ศาลอีกหรือไม่

ตอบ : ไม่ต้องไปทำสัญญาที่ศาลแล้ว แต่ให้เจ้าหนี้มาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดี โดยระบุว่ามีการชำระหนี้ตามข้อตกลงครบถ้วนเป็นที่พอใจแล้ว ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมกับชำระค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีซึ่งลูกหนี้ต้องชำระต่อกรมบังคับคดี

ถาม : ตามพรบ.แก้ไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551 กำหนดเพิ่มมาตรา 169/2 ในวรรคท้าย ให้ความรับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ให้ผู้ขอยึด หรืออายัดทรัพย์ เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์นั้น ในกรณีที่ โจทก์ หรือ จำเลย ได้ทำข้อตกลงกันให้คดียุติ โจทก์ผู้ขอยึดจะตกลงให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมถอนการยึดได้หรือไม่ ชึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะใช้บังคับกันได้หรือไม่

ตอบ : ข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับกันได้ แม้ตาม ม.169/2 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะบัญญัติให้ในกรณีที่มีการถอนการ บังคับคดี นอกจากตามมาตรา 295(1) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีก็ ตาม ก็เป็นบทบัญญัติทั่วไปในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากมาตรา 295(1) เท่านั้น แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะตกลงกันให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชำระไม่มีข้อ ห้ามแต่อย่างใ� ��

สรุปก็คือ...มันขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันเองระหว่าง "เจ้าหนี้" กับ "ลูกหนี้" ว่าจะให้ใครเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ ถ้าหากมีข้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้นๆ (ต้องทำเป็นหนังสือยืนยันข้อตกลงเท่านั้น จึงจะสามารถใช้บังคับได้ตามกฏหมาย ไม่ใช่ตกลงกันด้วย "ลมปาก" เพียงอย่างเดียว)

แต่ถ้าไม่มีการทำข้อตกลงกันมาก่อน...ทางฝ่ายเจ้าหนี้ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี โดยต้องให้ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้มาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดี ออกไป ตามมาตรา 169/2...แต่ถ้าหากฝ่ายเจ้าหนี้เพิกเฉย ลูกหนี้มีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาล ให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เจ้าหนี้ต้องเป็นผู้ดำเนินการ ตามมาตรา 295(1) ที่กฏหมายกำหนดไว้

Last edit: 10 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา by kaewja.

ถอนการยึดทรัพย์ คืออะไร

การถอนการยึดทรัพย์ เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ยึดทรัพย์เอง ไม่ประสงค์จะบังคับคดีขายทอดตลาดเอากับทรัพย์ที่ยึดนั้นต่อไปแล้ว เพราะอาจมีการชำระหนี้ หรือตกลงเอาทรัพย์ของจำเลยใช้หนี้โจทก์ จะมาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์นั้นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรณีเช่นนี้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมที่ยึดแล้วไม่มีการขายตามกฎหมาย จากราคาประเมินทรัพย์ ...

การถอนอายัดที่ดินใช้เวลากี่วัน

การสิ้นสุดของการอายัด การรับอายัดที่ดินเป็นอันสิ้นไปเมื่อ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งรับอายัด ศาลสั่งให้ถอนการอายัด ศาลได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับคดีที่ได้ฟ้อง

ถอนคดีคืออะไร

เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับหรือถูกยก หรือหมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอน แต่ถ้าคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดําเนินการต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชําระแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา

ใครเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

มาตรา ๑๕๓ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของเจ้าพนักงานบังคับคดีตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการบังคับคดีบรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้นเป็นผู้ชำระ