พระ ราช ประสงค์ ที่ส่งพระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเพื่ออะไร


ทรงเป็นพระราชมารดาในดวงหทัย

        ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชมารดาที่ดีของบุตร สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถทรงห่วงใยในการศึกษาของพระราชโอรสทุกพระองค์

เป็นอย่างยิ่ง พระราชประสงค์ในการให้การศึกษาแก่พระราชโอรสนั้น ก็เพื่อที่จะให้พระราชโอรสทุกพระองค์ ได้ทรงเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี

มีความรับผิดชอบต่อพระองค์เองและต่อชาติบ้านเมือง พระราชโอรสธิดาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนั้น ตามปกติก็มักแต่จะมีผู้คอยตามพระทัย

ไม่มีผู้ใดกล้าขัดขืนคงตกเป็นพระราชภาระของสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระราชชนนีที่ต้องคอยบังคับควบคุม

พระ ราช ประสงค์ ที่ส่งพระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเพื่ออะไร

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และพระราชโอรส

        สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถได้ทรงปฏิบัติพระราชภาระนั้นเป็นอย่างดี มิได้ทรงปล่อยปละละเลยพระราชโอรสพระองค์ใดให้
เสียเวลาเปล่าไปโดยไร้ประโยชน์เลย หากมีอุปสรรคใดเกิดขึ้นแก่การศึกษาของพระราชโอรส ไม่ว่าอุปสรรคนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ทรง
แก้ไขให้ลุล่วงทุกครั้งไป และเมื่อมีความจำเป็นที่พระราชโอรสจะต้องห่างพระองค์เพื่อเสด็จไปศึกษายังต่างประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงฝากฝัง
พระราชโอรสแก่พระบรมวงศ์ และข้าราชบริพารที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ดูแลการศึกษาของพระราชโอรสนั้นให้เป็นไปโดยดีได้

        ดังจะได้เห็นประจักษ์ได้จากพระราชหัตถเลขาของสมเด็จฯ ถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ผู้ซึ่งทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย

ให้ดูแลการศึกษาของพระราชโอรสที่ทรงศึกษา ณ ต่างประเทศ ความหลายตอนที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา แสดงถึงพระวิญญาณ

แห่งความเป็น "แม่" ที่ทรงห่วงใย เข้มงวดกวดขัน แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงตระหนักถึงพระอุปนิสัยของพระราชโอรสซึ่งจะขออัญเชิญ

มาแสดง ณ ที่นี้

สวนดุสิต

วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๑

ถึง คุณวิสุทธ

         เรื่องเรียนของลูกฉันจะได้ว่ากล่าวตักเตือนให้เปนที่เรียบร้อย และขอให้ฟ้องให้ทราบเสมอเช่นนี้ จะเปนที่ยินดีมากแล ขอให้เธอกดขี่จงมากอย่าได้เกรงใจว่าเจ้านาย แลยกๆ นิ่งๆ ให้จะกำเริบเคยไป ขอบอกล่วงหน้าเสียก่อนว่าอย่าคิดว่ายังเป็นเด็ก แลให้ดูตามใจกันเท่านั้น ขอให้ข่มขี่เคี่ยวเข็ญกันตามสมควรกับเวลาและอายุที่ควรจะเป็นไป การที่ต้องบอกดังนี้เสียก่อน ก็เพราะเหตุว่า เด็กๆ เหล่านี้ค่อนข้างจะได้รับความสุขพนึงพนออันบริบูรณ์เกินไปอยู่ ความประพฤติกาย วาจาใจ อยู่ข้างเป็นเด็กอ่อนไปกับอายุ แลตั้งตัวอยู่ในที่สูงเกินไปกับเด็กสามัญ แลมักจะทำอะไรตามใจนิยมทั้งสิ้น

         ไม่ใคร่จะเกรงกลัวใครนอกจากแม่ จึงต้องบอกกล่าวให้ทราบไว้ แลขออย่าให้เกรงใจในการที่จะกดขี่ฝึกสอนประการใด จงทำตามความคิดที่เห็นสมควรทุกอย่าง เพื่อจะได้เป็นผลกับการเรียนให้เจริญตามควรแก่เวลาแลอายุของเด็กนั้น........ฯ

แฮริกันเฮาส์ สิงคโปร์

วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๕

ถึงพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์

         ..................ฉันขอฝากด้วยจงเป็นธุระดูแลว่าตักเตือน ทั้งการดีแลชั่วทุกอย่างไป เช่นลูกโต ถึงจะไม่สู้คุ้นเคยกัน ขออย่าได้เกรงใจเลย ขอให้เข้าใจว่าดวงตาของฉันทั้งคู่นี้ ฝากให้พระยาวิสุทธรักษาไว้ ถ้าพระยาวิสุทธ มีใจเมตตาฉัน ฉันจะได้เห็นแสงสว่างต่อไป ถ้าวางเสียแล้ว ก็คงจะมืดหมด ฉันจะมีชีวิตรออยู่ยาวก็เพราะพระยาวิสุทธจะช่วยสงเคราะห์ ฉันหวังใจว่าพระยาวิสุทธคงจะรักษาดวงตาของฉันทั้งสองนี้ให้ดีจนเต็มกำลังที่จะทำได้ ถ้าถึงเวลาที่จำเป็นจะตั้งวางไว้ ก็คงให้วางในที่อันสมควรถ้าพระยาวิสุทธได้สงเคราะห์ฉันจนเต็มที่แล้ว ความรักและบุญคุณจะมีอยู่แก่ฉันตลอดชีวิตรไม่มีเวลาลืม


ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๑๑๖

ถึง คุณวิสุทธ

       "..................อนึ่งฉันมีปราถนาที่จะให้พระยาวิสุทธมีหนังสือบอกข่าวคราว ลูกตรงถึงตัวฉันเอง ไม่เปนทางราชการ เปนส่วนเฉพาะตัวที่ควรจะพูดกันได้ เปนฉันทกันเองจะเปนที่พอใจมากขอฝากลูกทั้ง ๒ จงมาก ขอได้เมตตาช่วยว่าตักเตือนในสิ่งที่ผิดอย่าให้เปนไปได้และแนะนำในสิ่งที่ชอบที่ควร ขออย่าให้เปนการเผินๆแลเปนอย่างทางราชการ ขอให้ว่ากล่าวประหนึ่งว่าลูกหลาน อย่าได้มีความเกรงใจเลย ถึงแม้ว่าเวลานี้จะไม่เปนที่พอใจของลูก นานไปเมื่อรู้ศึกดีชั่วตลอดแล้ว ก็คงจะคิดถึงคุณในการที่ได้รับคำแนะนำโดยความรักนี้เปนแน่ไม่ต้องสงสัยเว้นเสียแต่จะเปนคนชั่วนั่นและก็เปนการที่จะต้องสูญอยู่เอง "


พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์

วันที่ ๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๐

ถึง คุณวิสุทธ

         ..................แลในส่วนฉันก็ไม่มีความคิดแลถ้อยคำอันใดที่จะขัดขืนหวงแหนเอาลูกไว้กับตัวซึ่งเปนการรู้ได้แน่ว่า เปนการขัดกับผลของเขาซึ่งควรจะได้มีได้รับในเวลาต่อไปข้างน่า แลย่อมรู้สึกใจอยู่ดีแล้วว่า ฉันไม่มีความรู้แลความสามารถอันใดพอที่จะให้ความรู้ซึ่งจะเปนผลกับลูกให้ถูกต้องแลสมควรกับกาลสมัยในต่อไปข้างน่า ฉนี้แล้วจะมีใจปราถนาอย่างไรได้ที่จะหวงแหนลูกไว้กับตัว ซึ่งทราบได้ชัดว่าเปนการขัดกับความต้องการอันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวลูกในเวลาต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีความรักตามธรรมดามารดากับบุตรซึ่งไม่มีปราถนาที่จะให้ลูกไปไกลตัว แม้เพียงชั่ววันหนึ่งก็ไม่พึงปราถนาอยู่อย่างใดก็ดี แต่ความจำเปนบังคับใจให้ต้องคิดถึงประโยชน์ซึ่งจะได้กับตัวลูก ในเวลาที่เจริญขึ้นเปนประมาณยิ่งกว่าสิ่งอื่น เพราะฉนั้นใจฉันจึงไม่ได้มีความคิดที่จะขัดขืน ในสิ่งที่เหนฤาเข้าใจได้ชัดแล้ว ในผลซึ่งจะมีต่อลูกประการใด จำเป็นต้องตัดใจสละลูกให้ไปไกลตัวไม่จำเป็นต้องกล่าวอีกว่าปราถนาอย่างใด แลทนความคิดถึงซึ่งเปนธรรดานั้นไว้ เพราะควรต้องคิดถึงความยาวยิ่งกว่าคิดสั้นในชั่ววันหนึ่งๆ การที่ฉันมาพูดยืดยาวค่อนจะเกินกับความต้องการไปสักหน่อย ก็เพื่อจะให้เธอทราบว่า ฉันไม่เป็นผู้มีความคิดที่จะหวงแหนเอาลูกไว้ แลจะเปนการติดขัดอยู่ที่ตัวฉัน ในใจฉันออกจะยินดีด้วยซ้ำไป ที่จะให้ลูกไปเล่าเรียนยุโรปในเวลาที่ได้ทราบว่าเปนอันจะตกลงได้ไปกัน ในข้อเจ็บไข้ตายล้มอะไรนั้นฉันไม่สู้จะวุ่นวายวิตกวิจารณ์อันใดนัก เพราะคิดว่าความตายไม่เป็นสิ่งปลาด ถ้าว่าเวลาจะมาถึงเข้าแล้วถึงอยู่ไหนก็ตายได้เท่ากัน ถ้ายังไม่ถึงเวลาแล้วก็คงพ้นไปได้เองตามธรรมดา มีปราถนาอย่างเดียวแต่จะให้ได้สำนักนิ์ที่จะเล่าเรียน ให้ได้รับความรู้ซึ่งจะเปน ผลจริงจังกับตัวลูกแลบ้านเกิดเมืองนอนแห่งตน ด้วยเปนยิ่งกว่าวิตกอย่างอื่นในการที่่จะส่งลูกไปต่ำ ซึ่งฉันได้ตอบไปนี้หวังใจว่าเธอจะเข้าใจพอแล้ว ขอจบ

เสาวภา


        ในช่วงที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถต้องทรงปฏิบัติพระราชภารกิจของบ้านเมือง ในฐานะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์นั้น มีช่วงเวลาหนึ่งที่ทรงทุกข์และทรงกังวลในพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง แต่ทรงเก็บความทุกข์ไว้กับพระองค์ โดยมิทรงแจ้งให้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงทราบ ด้วยทรงเกรงพระทัยว่า จะทำให้กังวลโดยใช่เหตุ ดังปรากฏหลักฐานจากลายพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า

         " เมื่อก่อนหน้านี้หน่อยลูกเจ็บพร้อมกันทั้ง ๓ คน เพราะเป็นไข้ ประชาธิปกเจ็บมาก แลบัดนี้ค่อยคลายขึ้นมากแล้ว แต่ยังผอมอยู่ ทั้งจุฑาธุชด้วย อัษฎางค์นั้นสบายและแข็งแรงดีแล้ว ลูกๆ ทั้งหลายของท่านอยู่ข้างเจ็บกันยุ่งในหมู่นี้ แต่ไม่มาก - - ไม่ได้ทูลเวลานั้น เพราะกลัวจะกังวลแลไม่สบายพระทัยมากด้วยเปนการไกลตา แลมีห่วงอยู่เปนนิตย์แล้ว....."

        อนึ่ง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในพระราชประวัติว่า สมเด็จฯ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา รวม ๙ พระองค์ แต่สำหรับพระราชธิดานั้นได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ทรงพระเยาว์ คงมีเพียงพระราชโอรส รวม ๗ พระองค์ และด้วยทรงมีพระราชหฤทัยและพระวิญญาณแห่งความเป็นแม่ที่ี่ปราถนาจะใคร่ได้ฟูมฟักเลี้ยงดูทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดา ดังนั้นเมื่อทรงได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ จึงทรงขอสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ (พระราชนัดดาในสายพระโลหิต พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) มาเป็นพระราชธิดาบุญธรรม โดยประดิษฐานไว้ในตำแหน่งลูกหลวงเอก และทรงพระกรุณาห่วงใยในพระราชธิดาบุญธรรมพระองค์นี้ ดุจดังทรงเป็นบุพการีที่แท้จริง โปรดให้เล่าเรียนจนทรงมีพระปรีชาสามารถหลายทาง และ สมเด็จฯ ทรงอบรมให้ทูลหม่อมฟ้าหญิงทรงนิยมยินดีในอุดมคติเดียวกับพระองค์ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาของสตรีไทย ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงฯ ทรงรับโรงเรียนราชินีไว้เป็นธุระต่อจากองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และทรงเป็นประธานในกิจการโรงเรียนสตรีอื่นๆ สืบต่อจากองค์สมเด็จพระราชินีนาถตลอดพระชนม์ชีพ อีกทั้งทรงเป็นพระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนราชินีบน เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายองค์สมเด็จฯ ดังปรากฎในแผ่นศิลาจารึกคำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๖ ณ อาคารหลังแรกที่ทรงสร้างขึ้นในโรงเรียนราชินีบน ดังนี้

         "สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระองค์แรกที่ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาแห่งสตรีซึ่งจะเป็นมารดาและบุพพาจารย์สืบต่อไปภายหน้า ได้ทรงสละราชทรัพย์เป็นอเนกประการ เพื่อพระราชทานการศึกษาแก่สตรี เริ่มแต่พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนกุลสตรีทั่วไป

         สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระองค์หนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณา จึงทรงสร้างโรงเรียนราชินีบนแห่งนี้ ไว้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์นั้น"

         ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศในรัชกาลที่ ๘ เป็น "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร" นับว่าทรงเป็นพระบรมราชวงศ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของสตรีไทยอีกพระองค์หนึ่ง

        นอกจากทูลกระหม่อมฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์แล้ว สมเด็จฯ ยังทรงมีพระธิดาบุญธรรมอีกสองพระองค์คือ พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพย์นิภาและพระองค์เจ้าหญิงสุจริตาภรณี พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่งสมเด็จฯ ได้ทรงพระเมตตาทั้งสองพระองค์มากเช่นกัน ทรงโปรดให้ตามเสด็จอยู่เสมอ

        นอกจากพระราชโอรส พระราชธิดาแล้ว สมเด็จฯ ยังทรงอบรมสั่งสอนถึงพระราชนัดดา ซึ่งสืบสายพระโลหิต เป็น "หลานย่า" และทรงรักใคร่โปรดปรานมากเป็นพิเศษ ถึงกับทรงพระราชทานห้องพิเศษในพระราชวังพญาไท และโปรดให้เข้าบรรทมข้างพระที่ร่วมในพระวิสูตรด้วย พระราชนัดดาพระองค์นี้คือพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หรือ "ท่านพระองค์หนู" พระโอรสพระองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับหม่อมคัทริน (ชาวรุสเซีย) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรก

        ขออัญเชิญความบางตอนจากพระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เรื่อง "เกิดวังปารุสก์"ซึ่งแสดงถึงพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยความอบอุ่นต่อพระราชนัดดา และทรงสั่งสอน ปลูกฝัง ความเป็นไทย ความกตัญญู และสร้างให้พระราชนัดดาซึ่งอยู่ในวัยพระเยาว์ทรงเกิดศรัทธา และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไว้ดังนี้

       "การไปเฝ้าย่านั้นโดยมากข้าพเจ้าไปคนเดียว........ย่าท่านทรงสั่งสอนอย่างน่าฟังเป็นที่สุด ท่านสั่งสอนถึงพระพุทธศาสนาถึงพงศาวดารไทย ถึงเรื่องราวของปู่ ย่า ตา ยาย และตระกูลของเรา หรือถึงทูลหม่อมปู่ แต่ท่านสอนโดยทำนองเล่านิทานเด็กๆฟังจึงไม่น่าเบื่อ ของบางอย่างนั้นท่านบังคับให้ท่อง ของที่ข้าพเจ้าถูกสอนให้ท่องอันแรก คือ "พระพุทธยอดฟ้าเป็นพ่อพระพุทธเลิศหล้า พระพุทธเลิศหล้าเป็นพ่อพระจอมเกล้า พระจอมเกล้าเป็นพ่อพระจุลจอมเกล้า พระจุลจอมเกล้าเป็นพ่อจักรพงษ์ จักรพงษ์เป็นพ่อจุลจักรพงษ์"ข้าพเจ้าท่องขึ้นใจได้ตั้งแต่อายุ ๔ ขวบ หรือก่อนนั้นนับตั้งแต่นั้นมา ข้าพเจ้าก็จำการสืบสันตติวงศ์ต่อเนื่องกันมาได้โดยตลอด เรื่องที่ท่านโปรดเล่ามากที่สุดก็คือ การกระทำต่างๆ ของท่านปู่

       ......ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าข้าพเจ้ามีความรู้บ้างเล็กน้อยในพระพุทธศาสนาประวัติของไทย และพระราชวงศ์จักรีหรือขนบธรรมเนียมของไทยเรา เฉพาะอย่างยิ่ง "ในวัง" ข้าพเจ้าถือว่า สมเด็จย่าได้ทรงมีส่วนเป็นผู้สั่งสอนมากกว่าผู้ใดทั้งหมด

        และมีบทบรรยายตอนหนึ่งที่ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ทรงนิพนธ์ไว้ ถึงการอบรมสั่งสอนของ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถว่า

       "ข้าพเจ้าได้ถูก ย่า พ่อ แม่ และ ชม ย้ำอยู่ตลอดเวลาว่า ข้าพเจ้าเป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่งที่เคราะห์ดี มีบุญ เกิดมามีย่าและพ่อเป็นใหญ่เป็นโต แต่ตัวเองไม่ใหญ่โตเลย ไม่มีอะไรดีกว่าเด็กอื่นๆ เลยแม้แต่น้อย จึงควรจะพยายามทำตัวให้ดี เพื่อให้เหมาะสมกับเคราะห์ดี ที่บังเอิญเกิดมามีพ่อ ย่า และลุงใหญ่โตเช่นนี้ เป็นการสั่งสอนให้เด็กรู้สึกสำนึกตัว เป็นการสั่งสอนที่ดียิ่ง และเป็นการสั่งสอนที่ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นใครที่ไหนสอนแบบนี้"

พระราชประสงค์ที่ส่งพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศคืออะไร

พระบรมราโชวาทนี้สะท้อนว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นคุณค่าของการศึกษา จึงส่งพระราชโอรสไปศึกษาที่ต่างประเทศ เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศ โดยพระองค์ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแด่พระเจ้าลูกยาเธอที่จะเสด็จไปศึกษาต่างประเทศในหลักปฏิบัติอันสมควร ศิลปะการประพันธ์

หตุใด จึงไม่ให้พระราชโอรสใช้คำว่า “ฮิสรอแยลไฮเนสปรินซ์” นำหน้าชื่อ

ห้ามไม่ให้ใช้ฮิสรอแยลไฮเนสปรินซ์นำหน้าชื่อ (His Royal Hoghness Princes) เพราะไม่ว่าลูก ๆ ทั้งสี่จะทำสิ่งใด เมื่อคนรู้ว่าเป็นลูกของกษัตริย์ ก็ย่อมจับจ้อง ส่งผลให้การใช้ชีวิตของลูก ๆ นั้นยากลำบาก อีกทั้งจะซื้อจ่ายสิ่งของต่าง ๆ ก็อาจถูกตั้งราคาแพงกว่า เพราะผู้คนคิดว่าเป็นคนร่ำรวย

เหตุใดจึงใช้เงินพระคลังข้างที่ เป็นค่าศึกษาเล่าเรียนของพระเจ้าลูกยาเธอ

เพราะเหตุใดรัชกาลที่จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า "เงินพระคลังข้างที่นั้นเองก็เป็นส่วนหนึ่งในเงินแผ่นดินเหมือนกัน" เพื่อให้ทุกพระองค์ทรงประหยัดในการใช้จ่าย เพื่อให้ทรงสำนึกว่าเป็นหนี้บุญคุณแผ่นดิน เพื่อให้ทรงเห็นว่าพระองค์มีเมตตาธรรม

เงินพระคลังข้างที่ หมายถึงข้อใด

เงินพระคลังข้างที่ที่มีมาแต่รัชกาลที่ 1 คือเงินกำไรค้าสำเภา เหตุเพราะเงินแผ่นดินไม่พอจ่ายราชการ จึงเอาเงินนี้...ไปจ่ายราชการ ต่อเนื่องไปถึงรัชกาลที่ 2. ถึงรัชกาลที่ 3 บ้านเมืองสมบูรณ์ขึ้น จึงตั้งภาษีขึ้นใหม่ ได้เงินพอใช้ราชการ ทรงเริ่มแต่งกำปั่นไปค้า เงินส่วนค้าขายจึงจัดไว้เป็นพระคลังข้างที่