งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

8 ก.พ.63 - ขบวนพาเหรดล้อการเมืองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีการล้อเลียนการทำงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รวมทั้ง เหตุการณ์และสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งผู้ชมงานฟุตบอลประเพณี จุฬา - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ณ สนามศุภชลาศัย

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74
งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

งานบอล จุฬา - ธรรมศาสตร์ 74

ภาพ : TUPhoto

เขียน : เพชรภูมิ กสุรพ

สำหรับบ้านเรา การแข่งขันที่อยู่ในสายตามีมากมาย เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก อาเซียนเกมส์ และแน่นอนว่าจะขาดฟุตบอลประเพณีระหว่างสองมหาวิทยาลัย คือ ธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปไม่ได้ ภาพจำของผู้ชม คงจะหนีไม่พ้นที่เป็นความหยอกล้อแบบคู่กัด การอัญเชิญพระเกี้ยว ธรรมจักร การแข่งขันฟุตบอล และ การล้อการเมืองที่ร้อนแรง

ตลอดเกือบ 86 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันที่อยู่ในสายตาของคนไทยจัดมาถึง 74 ครั้ง โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2477 หรือจะพูดอีกนัยว่า เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งในปีเดียวกันก็ว่าได้ 86 และ 74 อาจเป็นตัวเลขที่ไม่สัมพันธ์กัน เพราะไม่ได้จัดติดต่อกันทุกปี บางครั้งก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้ถูกยกเลิกไป เช่น กรณีสงครามโลกครั้งที่สอง กบฏแมนฮัตตัน ความไม่สงบในด้านการเมือง หรือ การสรรคดของกษัตริย์ เป็นต้น นอกจากเวลาที่ไม่ติดต่อกันแล้ว

สถานที่ก็เช่นกัน ตลอด 74 ครั้งที่ผ่านมาก็ไม่ได้เป็นสนามกีฬาศุภชลาศัยมาตั้งแต่เริ่ม กลับเป็นสนามหลวงที่เป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน โดยในตอนนั้นเก็บค่าเข้าชมแค่บาทเดียว เพื่อไปสมทบทุนในการรักษาวัณโรคที่ระบาดร้ายแรงในสมัยนั้น ต่อมาได้จัดที่สนามกีฬาของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนจะมาเป็นสนามศุภชลาศัยในปัจจุบัน

การล้อการเมือง สิ่งที่ทุกคนจับตามองและเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการแข่งกีฬาดังกล่าว เพราะเป็นสิ่งที่นักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีอุดมการณ์อิสระทำขึ้นเพื่อสื่อและแสดงปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในสมัยที่จัดอยู่ โดยเริ่มแรกเป็นเพียงแค่ป้ายผ้าที่ถูกเขียนเป็นข้อความ หรือ บทกลอนสะท้อนสังคม จนกระทั่งประมาณยี่สิบกว่าปีก่อน หุ่นล้อการเมืองก็เกิดขึ้น จนเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดเพื่อพูดถึงเหตุการณ์ทางสังคมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และด้วยเนื้อหาทางการเมืองที่เข้มข้น ให้คนไทยจับจ้องพอๆกับการแข่งขันฟุตบอล จนกลายเป็นว่า การแข่งขันดังกล่าวจึงดูแปลกกว่าอื่นๆ และเป็นเสน่ห์ของงานฟุตบอลประเพณีฯก็ว่าได้

แน่นอนว่าในทุกๆปีของการจัดงาน ชมรมถ่ายภาพแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือที่รู้จักกันในนาม TU Photo Club ก็ได้รับเกียรติให้เก็บภาพประวัติศาสตร์เสมอมา

ในโอกาสนี้จึงอยากนำเสนอเรื่องราวที่หลายๆคนอาจจะยังไมเคยได้เห็น เรื่องราวของงานฟุตบอลประเพณีฯในอดีต ผ่านแผ่นฟิล์มของเรา และแน่นอนว่าปีนี้ TU Photo Club ก็จะทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อเก็บภาพประวัติศาสตร์ครั้งใหม่นี้เช่นกัน

สำหรับครั้งที่ 74 นี้จะมีอะไรน่าสนใจผ่านคอนเซ็ปต์ Make a CHANGE หรือ เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม คงจะต้องมาลุ้นด้วยกันในวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ สามารถซื้อบัตรเข้าชมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 74 ร่วมให้กำลังใจนักกีฬาและเป็นกระบอกเสียงสังคมผ่านการแสดงขวนธีมและการแปรอักษร พร้อมรับชมการแข่งขันฟุตบอลได้ที่ Thai Ticket Major

โดยราคาบัตรตกอยู่ที่ 300 บาท ในโซน W1 และ 2 200 บาท ในโซน E1 และ 2 และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแปรอักษรครั้งประวัติศาสตร์ ได้ที่ ประตู 18 สนามศุภชลาศัย 11.30น. เป็นต้นไป

สำหรับชาวรังสิตก็ไม่ต้องกังวล มีบริการรถรับ-ส่ง ไป-กลับ จากรังสิต ถึงสนามศุภชลาศัย 'ฟรี' ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารบรรยายรวม 1 (บร.1) ห้อง 201