ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565

Show

  • Share
  • Tweet

ก่อนจะติดโควิด-19 กันทั่วหน้า ก็คิดว่าติดโซเชียลกันก่อนมากกว่า เมื่อประชาชนทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดนานเกือบ 3 ปี ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้น “สื่อโซเชียลและอินเทอร์เน็ต” จึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบัน

อย่างที่ทราบกันดีว่า…การแพร่ระบาดทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การทำงาน การเรียน ช้อปปี้ ซื้อของต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งสิ้น โดยใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อกลางการติดต่อ ซื้อขายต่างๆ 

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : สรุปพฤติกรรมการใช้งาน Digital และอินเทอร์เน็ตของไทย 2021 | Techsauce

จากสถิติประชากรทั่วโลก ในปี 2019-2021 มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 23% เมื่อเปรียบกับประชากรไทยเพิ่มขึ้นถึง 8% นอกจากนี้คนไทยยังมีการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking มากที่สุดในโลกถึง 68% รองลงมาเป็นแอฟริกาใต้ 64% และ โปแลนด์ 58% นั่นเอง

การจากเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังช่วงเหตุการณ์โควิด-19 แสดงให้เห็นแล้วว่าอัตราการเพิ่มขึ้นดังกล่าว ถือเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนักการตลาดด้านธุรกิจ E-commerce สามารถคาดเดาทิศทางและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ณ ปัจจุบันได้ 

“คนไทยติดโซเชียล อันดับ 2 ของโลก” 

ตำแหน่งนี้ไม่ใช่จะได้มาง่ายๆ แต่พี่ไทยก็ทำให้ได้ไม่ผิดหวัง!! จากสถิติของ We Are Social รายงานว่า คนไทยกว่า 69% หันมาใช้ชีวิตอยู่บนสื่อออนไลน์มากกว่าใช้ชีวิตจริง เพราะส่วนใหญ่การนำเสนอข่าวสารต่างๆ เลือกใช้ช่องทางผ่าน “สื่อโซเชียลเป็นหลัก” ทำให้พฤติกรรมการเสพข่าวสารออนไลน์ของคนไทยมีเพิ่มมากขึ้นถึง 91% จากคนทั่วโลก คิดเป็น 78% เท่านั้น 

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : เปิดสถิติคนไทยเสพติด ‘ออนไลน์ โซเชียล’ สูงติดอันดับโลก (bangkokbiznews.com)

อย่างที่ทุกคนรู้จักกันผ่านช่องทางแต่ละประเภทที่ผู้บริโภคคุ้นเคยกันดี อย่างเช่น 

  • ถ้าต้องการสั่งซื้อสินค้า จะต้องเลือกซื้อผ่านแอป Lazada , Shopee, Line MyShop ,Alibaba หรือ JDCentral และอื่นๆ  
  • หากต้องการสั่งซื้ออาหาร จะต้องเลือกผ่านแอป Grab ,  Line Man , Foodpanda , Gojek , Robinhood , 7 Delivery หรืออื่นๆ
  • การไลฟ์สดบนช่องทางออนไลน์ต่างๆ จะต้องเลือกผ่านแอป Facebook, Instragram, Tiktok, Lazada , Shopee หรืออื่นๆ

ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทันและการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ สำหรับนักการตลาดพยายามคิดค้นระบบการซื้อขายง่าย สะดวกต่อพ่อค้าแม่ค้าและผู้บริโภคมากที่สุด เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อภายในระยะเวลาอันสั้น และยิ่งตอนนี้ศึกสงครามE-Commerce ดุเดือดมาก โดยรูปแบบการ Live E-Commerce กำลังจะเป็นเทรนด์นิยมในไทยอย่างแพร่หลาย 

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : สรุปพฤติกรรมการใช้งาน Digital และอินเทอร์เน็ตของไทย 2021 | Techsauce

“คนไทยช้อปปี้ออนไลน์เก่ง ติดอันดับ 3 ของโลก”

โดยได้มีการเก็บสถิติE-commerce ในไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนไทยกว่า 83.6% เลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะซื้อง่าย สะดวก และรวดเร็ว จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคไม่นิยมเดินทางไปช้อปปี้ซื้อของหน้าร้านกันแล้ว แต่หันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า ไม่ต้องเดินลากขาให้เมื่อยนั่นเอง

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : ทิศทางอีคอมเมิร์ซปี’65 ทะลุ 9 แสนล้าน โซเชียล-ไลฟ์สด แรง (prachachat.net)

ากข้อมูลดังกล่าว เผยให้เห็นว่า ธุรกิจE-commerce คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และแนวโน้มตลาดE-commerce ในปี 2565 จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดไม่ต่ำกว่า 30% หรือมูลค่าราว 9 แสนล้านบาท 

ซึ่งสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2565 ได้แก่

  • สินค้ากลุ่มสุขภาพ
  • สินค้ากลุ่มแฟชั่น
  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
  • สินค้าสำหรับทารกและเด็ก
  • สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

ธุรกิจขายออนไลน์ ไม่ใช่ “ทางเลือก” แต่คือ “ทางรอด”

แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจE-commerce ถือว่าเป็นสงครามแดงเดือด ด้วยเศรษฐกิจที่ยังไม่ทรงตัว และมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น ส่วนใหญ่นิยมหันมาทำธุรกิจขายออนไลน์ คือ ทางรอดที่ดีที่สุด ทำให้มีจำนวนคู่แข่งขันเยอะ ยิ่งทำให้ค่าใช้จ่ายโฆษณาจากต้นทุนเท่าเดิม แต่ได้ยอดขายที่ต่ำลง อีกทั้งยังปิดการมองเห็นอีกด้วย และทุกเจ้าต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั่นเอง

อ้างอิง : moneybuffalo / eximknowledgecenter

CONTENT TIPS

10 ไอเดียทำ VDO Content ลง IG ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น

Published

5 เดือน ago

on

4 พฤษภาคม 2022

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565

เป็นที่เข้าใจได้ค่ะ หากในหน้าโปรไฟล์ไอจีธุรกิจของใครหลาย ๆ คนจะเต็มไปด้วยโพสต์ขายของ เพราะเป็นใคร ใครก็อยากเน้นโพสต์ได้ทำหน้าที่แผงขายของสร้างรายได้ให้กับเรา 

แต่ถ้าหากเราต้องการพรีเซนต์ธุรกิจเราต่อลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้า การลงแค่คอนเทนต์ Hard sell อย่างเดียวคงไม่มีใครอิน ดังนั้นวันนี้เราจะมาแจก 10 ไอเดียทำ VDO Content ลง IG ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น จาก Social Media Examiner กันค่ะ

ขึ้นชื่อว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ ดังนั้นหลักการของทั้ง 10 ไอเดียนี้จะมาจากหลักการการทำ TOFU (Top-of-Funnel) เพื่อเป็นการแนะนำตัวแบรนด์ให้ลูกค้าใหม่ ๆ ได้หันมาสนใจทำความรู้จักกับเราค่ะ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อทำวิดีโอไอจีโดยใช้หลักการ TOFU

  • เป็นตัวของตัวเอง เพื่อจูงใจให้ลูกค้าเป้าหมายรักเราที่เป็นเรา แล้วกดตุ่มฟอลโลว์เราในที่สุด
  • ทำให้ง่ายเข้าไว้ คนเข้ามาใหม่ส่วนมากยังไม่มีใครสนใจข้อมูลเชิงลึกมากหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นแนะนำทำให้เข้าถึงง่ายเข้าไว้และยังแฝงไปด้วย offer ต่าง ๆ ของเราค่ะ
  • เล่าเรื่อง หรือ Storytelling การนำเสนอแบบนี้จะทำให้แอค ฯ ของเราดูน่าติดตาม คนกลับมาดูคอนเทนต์เราบ่อยขึ้น
  • สั้น ๆ กระชับ เพราะในปีนี้ 2022 IG มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับวิดีโอสั้นกันแล้วค่ะ ดังนั้นความยาวคลิปไม่เกิน 60 วิ คือแนะนำค่ะ

10 ไอเดียทำ VDO Content ลง IG ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น

แนะนำตัวธุรกิจของเรา

แนะนำธุรกิจของเราให้แก่ Potential customers ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับสตอรี่ของธุรกิจ โชว์เคสว่าเรามีสินค้าอะไรบ้าง หรือแม้กระทั่งใครเป็นทีมงานเราบ้าง แบบนี้ก็ได้ แต่ในบางทีหากมีเรื่องเล่าเยอะทำให้วิดีโอยาวเกินไปก็สามารถซอยย่อยออกมาเป็นพาร์ท ๆ ได้ค่ะ

แสดงคุณค่าแบรนด์ของเรา

โชว์ให้ลูกค้าในอนาคตของเราเห็นว่าสินค้าของเรามีดีหรือถูกใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตขนาดไหน หรือจะนำเอา CEO มาให้สัมภาษณ์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับภาพลักษณ์แบรนด์ก็ทำได้

ยกตัวอย่างจากแอคเคาท์ @kencko ที่นำเสนอ Value ของสินค้าในรูปแบบที่อยากให้ทุกคนมองลึกลงไปว่าภายในนั้นมีส่วนประกอบอะไรอยู่บ้าง โดยการใช้ลูกเล่นแว่นขยายส่องลงไป

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
รูปจาก Social Media Examiner

แสดงให้เห็นถึงเวย์การใช้สินค้าใหม่ ๆ

ให้แรงบรรดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้าได้อยากลองซื้อสินค้าของเราไปใช้ดูบ้าง หากใครคิดไม่ออกก็ลองนึกถึงการนำโอรีโอไปใช้เป็น Raw material ในการทำขนม/เบเกอรี่ต่าง ๆ ดูก็ได้ค่ะ เคสนี้เคยประสบความสำเร็จแล้วช่วยให้โอรีโอได้เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนได้มาแล้ว

สอนวิธีการใช้หรือเคล็ดลับ DIY

การให้ไอเดียวิธีการใช้สินค้าเวย์ใหม่ ๆ กับลูกค้าก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่หากจะให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นก็ทำวิดีโอสอนการใช้ในแบบของเราไปเลย

Sneak peek สินค้าใหม่

ให้ลูกค้าได้ตื่นเต้นกับสินค้าใหม่ที่เรากำลังจะออกวางขาย โดยการลงสตอรี่เพื่อให้ดูน่าค้นหา เพราะด้วยเนเจอร์ของฟีเจอร์นี้ที่คอนเทนต์จะคงอยู่เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น

เปิดตัวสินค้าใหม่

ให้เกิด Awareness กับโปรดักใหม่ของเรา โดยอาจจะทำเปฌน Reels สั้น ๆ โชว์ว่าสินค้าใหม่ของเราใช้ทำอะไรได้บ้าง ปรับแต่งยังไงได้บ้าง

โชว์เบื้องหลังการทำงาน / การผลิต แบบเล็ก ๆ น้อย ๆ

เพราะว่าคนสมัยนี้ต่างชอบดูอะไรที่เรียล ๆ และดูเข้าถึงได้ การพาทัวร์โรงงานหรือโปรดักไลน์สั้น ๆ ก็ทำให้คนหันมาสนใจเอนเกจกับเรามากขึ้น

บอกสรรพคุณของสินค้า

เพื่อไฮไลต์ถึงความเจ๋งของสินค้าเรา แต่ต้องคำนึงไว้เสมอว่าเราทำโดยอิงหลัก TOFU เพราะฉะนั้นเนื้อหายังไม่ต้องลึกมากค่ะ

ทำคอนเทนต์ขำ ๆ บ้าง

การขายของไม่จำเป็นต้องอัดแต่คอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้าเสมอไป การทำคอนเทนต์ขำ ๆ จะช่วยเรียกยอดเอนเกจได้ดีเลยค่ะ

ใช้ฟีเจอร์ไลฟ์สด สื่อสารกับลูกค้าแบบ Real time

เป็นวิธีการที่เรียลและจริงใจกับลูกค้ามากที่สุด และยังสามารถเปลี่ยนลูกค้าจากขั้น TOFU มาเป็น MOFU ได้อีกด้วย

อ้างอิง : Social Media Examiner

CONTENT TIPS

คอนเทนต์แบบไหนโดนใจผู้ใช้ Facebook, IG, Twitter, TikTok มาที่สุด ฉบับปี 2022

Published

5 เดือน ago

on

20 เมษายน 2022

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565

อัปเดตแนวทางการทำคอนเทนต์ในปี 2022 ของแต่ละแพลตฟอร์มยอดฮิตอย่าง Facebook, IG, Twitter และ TikTok กันค่ะ 

ทุกวันนี้เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าฟีเจอร์ของแต่ละแพลตฟอร์มนั้นอาจมีหน้าตาที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันไปแต่สำหรับนักการตลาดหรือสายคอนเทนต์อย่างเรา ๆ ก็ต้องรู้ว่าในความแตกต่างเล็ก ๆ นี้พฤติกรรมของผู้ใช้แต่ละแพลตฟอร์มมีความคาดหวังในตัวเนื้อหาและสนใจในคอนเทนต์แต่ละประเภทแตกต่างกันไป เพราะบางทีคอนเทนต์ Real time ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ อาจไม่ได้ตอบโจทย์และเรียกเอนเกจได้เสมอไปนั่นเองค่ะ

 Facebook ยังต้องการ Community-driven 

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
รูปจาก https://blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

จากการสำรวจ ถึงแม้เหล่าคอนเทนต์ประเภท Funny, Informative, Creative จะถูกโหวตจากผู้ใช้ว่าพวกเขาอยากเห็นบนหน้าฟีดมากที่สุด แต่แท้จริงแล้ว Community-driven นั้นก็ยังเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ผู้ใช้ยังให้ความสนใจ กล่าวคือ ผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 5 ต้องการเห็นแบรนด์สร้างคอมมูนิตี้ให้พวกเขา 

อีกทั้งอ้างอิงจากการวิจัยของ GWI. ยังพบว่า ระดับของเอนเกจเมนต์ในแต่ละกลุ่มเฟซบุคนั้นมีคงที่และสม่ำเสมอ แต่ยังไม่มีค่อยแบรนด์นำข้อดีของการมีกลุ่มความสนใจเฉพาะในเฟซบุคไปใช้ประโยชน์สักเท่าไหร่ เพราะกลุ่มคอมมูนิตี้เหล่านี้คือแหล่งของคนที่มีความสนใจร่วมกัน, ในพื้นที่นั้น ๆ อยู่รวมกัน ซึ่งหากแบนรนด์นำไปต่อยอดก็จะทำให้พบกับกลุ่ม Audience ที่ Specific กับตัวธุรกิจได้มากขึ้น

เพราะด้วยเนเจอร์ของตัวผู้ใช้ Facebook เองที่ไม่ได้มายด์มากเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่ต้องเจาะจงเพื่อพวกเขามาก เพราะพวกเขานั้นก็อยากให้คอนเทนต์ตัวเองแมสเหมือนกัน ดังนั้นโพสต์หน้าฟีดจึงเริ่มไม่ค่อยน่าสนใจเท่า Subculture แล้ว (จากการสำรวจพบว่า ผู้ใช้ 43.2% รู้สึกว่าหน้าฟีดไม่ค่อย Relevant แล้ว) 

Instagram คอนเทนต์ต้องชิค

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
รูปจาก https://blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

อย่างที่รู้ ๆ กันว่าเมื่อ CEO ของ IG ได้ออกบอกมาว่า IG ไม่ใช่แพลตฟอร์มแชร์รูปอีกต่อไป และจะกลายเป็นแอป ฯ ที่ให้ความบันเทิงแทน ในเมื่อเป็นแบบนี้ Piority ของผู้ใช้ย่อมเปลี่ยน ทำให้คอนเทนต์ประเภทตลกเฮฮา (Funny) กลายเป็นคอนเทนต์ที่ผู้ใช้ต้องการมากที่สุด

ประจวบเหมาะกับช่วงที่โควิดระบาด UGC (User Generated Content) เลยบูมและถูกแชร์อย่างมากในโลกโซเชียล แต่อย่างไรก็ตามเหล่า Instagrammer ก็ยังต้องคงคอนเซปต์ ‘ความชิค’ ไว้อยู่เสมอ สอดคล้องกับผู้ใช้จำนวน 23% ชอบเข้าถึงแบรนด์ที่ดูชิคหรือคูลมากกว่า 

Twitter บางส่วนยังเป็นความหวังของสังคม

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
รูปจาก https://blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

Twitter ถือว่าเป็นแพลตฟอร์ม Microblogging คล้ายพันทิปในบ้านเราเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเนื้อหาในแพลตฟอร์มนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นทางการจ๋าเสมอไปค่ะ เพราะจากความเกร็งนี้ทำให้ผู้ใช้ unliked หรือ unfollowed แบรนด์ไปแล้วกว่า 35% ในเดือนที่ผ่านมา

จริงอยู่ที่เนื้อหาในทวิตเตอร์นั้นจะออกไปในแนวตลกขบขัน แต่แท้จริงแล้วนั้นชาวทวิตเตอร์ไม่ได้ใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากเท่าไหร่ เพราะพวกเขาสนใจในเรื่องของการเอนเกจ มีส่วนร่วม มากกว่าที่จะมาเสพอะไรขำ ๆ แล้วผ่านไป 

Conversation จึงสำคัญกว่า Monologue สำหรับแพลตฟอร์มนี้ ดังนั้นสำหรับนักการตลาดแล้ว ผู้ใช้นั้นคาดหวังที่จะให้แบรนด์รับฟังพวกเขามากกว่าที่จะให้ความรู้แก่พวกเขา (51% VS 38%)

TikTok คอนเทนต์เน้นตลกและครีเอท

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
รูปจาก https://blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

ขึ้นแท่นมาเลยอันดับหนึ่งในเรื่องของคอนเทนต์ประเภท Funny ที่ผู้ใช้อยากเห็นบนหน้าเพจมากที่สุด ดังนั้นแบรนด์ที่นำเสนอภาพลักษณ์ตลกแบบไม่ห่วงสวยกันจึงจะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ในแพลตฟอร์มนี้ เพราะผู้คนนั้นต่างยกให้ติกตอกเป็นเหมือนพื้นที่ที่คอยปลดปล่อยความติ๊งต๊องออกมา

ตัวอย่างของแบรนด์ที่ทำออกมาได้ดีก็คือ Duolingo แอป ฯ นกฮูกเขียวสอนภาษาที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกัน ซึ่งผลก็คือแบรนด์นี้ดูเป็นบุคคลจับต้องได้มากขึ้น และสามารถเข้าถึงกลุ่ม Audience ที่อายุน้อยได้ดี

สุดท้ายนี้เราก็ต้องกลับมาทำการบ้านกันอีกรอบว่าในคอนเทนต์ของแต่ละทอปปิคที่เราอยากนำเสนอออกไปในแต่ละแพลตฟอร์มนั้นต้องนำเสนอในเวย์ที่แตกต่างกันไป เพื่อการมองเห็นและการเข้าถึงที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเองค่ะ

อ้างอิง : GWI

CONTENT TIPS

Shopee ลงแข่งสนามเดือด Food Delivery พร้อมงัดไม้เด็ดพิชิตใจลูกค้า

Published

6 เดือน ago

on

11 เมษายน 2022

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565

กลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม E-commerce ชื่อดังอย่าง Shopee บุกตลาด Food Delivery ทั่วไทย หลังจากได้เปิดตัวก่อนหน้านี้ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้ผลตอบรับดีเกินคาด ยอดดาวน์โหลดแอปกว่า 500,000 คน พร้อมร้านค้าพาร์ทเนอร์เข้าร่วมกว่า 500 ร้าน

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป Work From Home ตามมาตรการของระงับการแพร่ระบาดของรัฐบาล จึงไม่สามารถเดินทางไปข้างนอกได้สะดวกกว่าเช่นเคย ดังนั้นช่องทางออนไลน์ จึงตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคมากที่สุด 

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2995.aspx

โดยจากผลสำรวจของ Nielsen Thailand กลุ่มพฤติกรรมผู้บริโภคช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์ ปี 2565 เผยว่า กลุ่มร้านอาหาร และ แอปสั่งซื้ออาหาร มีอัตราการเติบโตสูงถึง 647% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับการสั่งอาหารผ่านแอป และคาดว่าหลังจากวิกฤตโควิด-19 หายไป ธุรกิจ Food Delivery ก็ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ ธุรกิจ Food Delivery ในปี 2565 มีแนวโน้มโตเพิ่มขึ้นประมาณ 4.5% หรือมูลค่าตลาด 7.9 หมื่นล้านบาท กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของศึกสงครามแย่งชิงบัลลังค์ส่วนแบ่งการตลาด Food Delivery อย่างดุเดือด

พื้นที่ยังเหลือ Shopee Food ขอร่วมจอยหน่อย

หลังจากที่ AirAsia เปิดตัวบริการฟู้ดเดลิเวอรี่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดขอต้อนรับน้องใหม่ Shopee Food เพิ่มอีกหนึ่งราย แพลตฟอร์มอี คอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ ผู้ให้บริการสินค้าออนไลน์ พร้อมฐานลูกค้าเก่ามากมาย ที่ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab Foodpanda หรือ Line man ไม่ควรพลาดเด็ดขาด

ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : Shopee บุกตลาด Food Delivery งัด 4 ไม้เด็ดครองใจไรเดอร์ | ทันข่าว Today (thunkhaotoday.com)

โดยกลยุทธ์ที่จะเอามาพิชิตใจไรเดอร์ ครองใจลูกค้า สร้างความมั่นใจเลือกใช้บริการ

  1. รอบวิ่งเยอะ 24 ชั่วโมง : เนื่องจาก Shopee มีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว สร้างความมั่นใจให้แก่ไรเดอร์เพิ่มโอกาสรอบวิ่งตลอดทั้งวัน
  1. ออเดอร์เพียบ : แอปพลิเคชันช้อปปี้เป็นอีกหนึ่งแอปที่มีฐานข้อมูลลูกค้ามากมาย พร้อมช่องทางการชำระแสนสะดวกผ่านช้อปปี้ และ Shopee Pay เพื่อเพิ่มโอกาสรับออเดอร์ได้มากขึ้น
  1. รับงานเท่าเทียม : ได้มีการตั้งมาตรการแบ่งขั้นการรับงานอย่างเท่าเทียม ด้วยอุปกรณ์เซ็ตใหญ่ หรือ เล็ก ก็วิ่งได้เหมือนกัน
  1. แจกงานให้เท่ากัน : ระบบการกระจายงานให้แก่ไรเดอร์อย่างเท่าเทียม ไม่มีการทุจริตจ่ายงานลำเอียง
ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565
ขอบคุณรูปภาพ : ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดปี 65 มูลค่าตลาด “ฟู้ดเดลิเวอรี่” โตแตะ 7.9 หมื่นล้าน (bangkokbiznews.com)

เทรนด์ธุรกิจ Food Delivery เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งทางShopee มองเห็นถึงโอกาสเทรนด์ธุรกิจ FoodDelivery เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจลงแข่งสนามเดือดในครั้งนี้ด้วย หากดูมูลค่าตลาดรวมย้อนในแต่ละปีจะเห็นได้ว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี 

  • ปี 2563 มูลค่าตลาด 68,000 ล้านบาท
  • ปี 2564 มูลค่าตลาด 74,000 ล้านบาท
  • ปี 2565 คาดว่ามูลค่าตลาด 82,000 ล้านบาท
  • ปี 2566 คาดว่ามูลค่าตลาด 90,000 ล้านบาท

จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ หลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ผู้บริโภคนิยมเลือกใช้บริการแอปสั่งซื้ออาหาร อีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป

สาเหตุของการเติบโตธุรกิจ Food Delivery

ปัจจัยหลักสำคัญของอัตราการเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เกิดจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผลักดันให้ผู้คนเข้าสู่โลกออนไลน์โดยปริยาย นอกจากจะอำนวยความสะดวกสบาย รวดเร็ว ยังมีโปรโมชั่น คูปองส่วนลดต่างๆ ของพาร์เนอร์ร้านอาหารชื่อดังมากมาย พร้อมส่งตรงความอร่อยให้ถึงบ้าน

อย่างไรก็ตามShopee ลุยธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การแข่งขันยังคงมีแนวโน้มรุนแรงทวีคูณเรื่อยๆ ซึ่งทุกแบรนด์ต่างงัดกลยุทธ์เพื่อเอาใจผู้ประกอบการร้านอาหาร ไรเดอร์ และผู้บริโภค โดย EIC คาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าวิกฤตโควิด-19 คลี่คลายลง แนวโน้มธุรกิจแอปส่งอาหารยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือว่าShopeeFood ยังคงเป็นที่น่าจับตามองอย่างมากในไทย

อ้างอิง : shopeefood / thansettakij / bangkokbiznews.