ดอกไม้ที่มีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน เช่น

การถ่ายละอองเรณู

1. การถ่ายละออกเรณูของพืชดอก (Pollination)

ดอกไม้ที่มีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน เช่น

การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกัน

การถ่ายละออกเรณูเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูเจริญเต็มที่ อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไป โดยอาศัยลม น้ำ โดยเฉพาะ แมลง มีความสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก และบนยอดเกสรตัวเมีย โดยจะมีน้ำเหนียวๆ(Stigma) ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยในการดักละอองเรณู

การถ่ายละอองเรณู มี 2 แบบ คือ

  • การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน หรือคนละดอกในต้นเดียวกัน (Self pollination) การถ่ายละอองเรณูแบบนี้จะทำให้รุ่นลูกมีสมบัติทางกรรมพันธุ์เหมือนเดิม ถ้าเป็นพันธุ์ดีก็จะถ่ายทอดลักษณะพันธุ์ดีไปเรื่อย ๆ
  • การถ่ายละออกเรณูคนละดอกของต้นไม้คนละต้นในพืชนิดเดียวกัน (Cross pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอก หรือต่างต้นกัน ก็จะทำให้พืชมีลักษณะต่างๆ หลากหลายและอาจจะได้พืชพันธุ์ใหม่ ๆขึ้นมาได้

ดอกไม้ที่มีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน เช่น

ละอองเรณูชนิดต่างๆ

    การถ่ายละอองเกสร

                        การถ่ายละอองเกสรหมายถึงการที่ละอองเรณูตัวผู้ถูกพาไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย  แล้วจะมีการผสมพันธุ์ระหว่างเซลล์ตัวผู้กับรังไข่ ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ที่จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ดต่อไป

                การถ่ายละอองเรณูจะเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันหรือระหว่างดอกของต้นเดียวกันหรือข้ามดอกก็ได้  สิ่งที่ช่วยในการผสมพันธุ์พืช (การถ่ายละอองเรณูคือ ลม น้ำ คน สัตว์

             การถ่ายละอองเรณูของพืช  อาศัยสิ่งต่อไปนี้คือ

1. ลม จะพาละอองเรณูปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมียก็จะผสมพันธุ์ได้ เช่น ดอกข้าว ข้าวโพด ดอกหญ้า

2.  น้ำ  พาละอองเรณูตัวผู้ที่ร่วงลงน้ำไปสู่ยอดเกสรตัวเมีย  ได้แก่  พืชน้ำพวกสันตะวา  สาหร่าย

3. แมลง  จะดูดน้ำหวานจากดอกไม้  ผงละอองเรณูจะติดตามปีก ขา  ปากของแมลง เมื่อไปเกาะดอกตัวเมียจะเกิดการถ่ายละอองเรณูขึ้น นับว่าแมลงช่วยในการถ่ายละอองเรณูมากที่สุด

4. คน มีส่วนช่วยในการนำเกสรมาผสมพันธุ์กัน ทำให้เกิดพันธุ์พืชที่ดี หรือเกิดพันธุ์พืชใหม่

5. สัตว์ เช่น นก

การปฏิสนธิ คือ เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (ละอองเรณูผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (ไข่อ่อน)

เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียและได้รับอาหารที่ยอดเกสรตัวเมีย จะงอกหลอดไปตามเกสรตัวเมีย และเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ (ไข่อ่อนภายในรังไข่

ดอกไม้ที่มีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน เช่น

  • http://learners.in.th/blog/my-new/324557
  • http://203.113.101.214/biology/BioText/Student/BE2542/STUD2542/s643/ m05/flower3.htm
  • http://oak.cats.ohiou.edu/~braselto/readings/differ_intro.html

คำถาม  1.  การถ่ายละอองเกสรหมายถึง อะไร

ตอบ   การที่ละอองเรณูตัวผู้ถูกพาไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย  แล้วจะมีการผสมพันธุ์ระหว่างเซลล์ตัวผู้กับรังไข่ ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ที่จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ด

คำถาม 2.การถ่ายละอองเรณูมีกี่แบบ 

ตอบ  มี 2 รูแบบ

พืชดอก

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

      โครงสร้างของดอก (Flower structure)

       ดอก (Flower)

       พืชที่นักเรียนรู้จักมีมากมายหลายประเภท ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึง พืชดอก ซึ่งมีดอก (Flower) เป็นส่วนต่อจากกิ่ง  มีขนาด  รูปร่าง  และสีแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ดอกเป็นอวัยวะของพืชที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ ดอกของพืชส่วนใหญ่มีสีสวยงามและกลิ่นหอม เพื่อล่อแมลงให้มาช่วยผสมเกสรให้แก่พืช ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ ของพืชดอกมีสิ่งที่ให้นักเรียนศึกษา ดังนี้

  1. ลักษณะของดอกเดี่ยวและดอกช่อ

            จำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจากจำนวนดอกบนหนึ่งก้าน สามารถแบ่งออกได้เป็นดอกเดี่ยว ดอกช่อ และดอกรวม

  1. ดอกเดี่ยว ( single folwer) คือ ดอกไม้ที่มีดอกอยู่เพียงดอกเดียวบนก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ดอกบัว ดอกจำปี ดอกมะเขือ ดอกชบา
  2. ดอกช่อ ( inflorescence flower ) คือ ดอกที่ประกอบด้วยดอกย่อยหลายๆ ดอกอยู่บนหนึ่งก้านดอก แต่ละดอกมีดอกย่อย มีก้านดอกย่อย ที่โคนก้านดอกย่อยมีใบประดับ รองรับด้วยก้านดอกย่อยอยู่บนช่อดอก ช่อดอกของพืชแต่ละชนิดรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกช่อดอกออกเป็น 2 พวก ใหญ่ ๆ คือ

                 2.1. ช่อดอกที่มีดอกช่อเกิดตามแกนกลาง ช่อดอกนี้เจริญออกไปได้เรื่อย ๆ ทำให้ช่อดอกยาวขึ้น ดอกที่เกิดก่อนอยู่ด้านล่างจะบานก่อน

                 2.2. ช่อดอกที่ดอกย่อยแตกออกจากแกนกลางหรือไม่แตกออกจากแกนกลางก็ได้ ลักษณะที่สำคัญคือ ดอกย่อยที่อยู่บนสุดจะแก่หรือบานก่อนดอกย่อยอื่น ๆ ที่อยู่ถัดออกมาด้านข้าง

  1. ดอกรวม (composite flower) เป็นดอกช่อชนิดหนึ่ง (แบบhead ) ซึ่งจะประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ จำนวนมากรวมอยู่บนฐานรองดอก มีก้านชูดอกอันเดียวกันมองดูคล้ายดอกเดี่ยว เช่น ดอกบานชื่น

 

ดอกไม้ที่มีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน เช่น

 ภาพตัวอย่างพืชดอก
ที่มา https://pixabay.com/ , JillWellington

  1. ส่วนประกอบของดอก

                   กลีบเลี้ยง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง มีรูปร่างคล้ายใบ สีเขียว อยู่วงนอกสุด ซึ่งก็คือชั้นนอกสุดของตาดอก ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนของดอกที่อยู่ข้างในขณะที่ดอกยังอ่อน เพื่อป้องกันแมลงมากัดกินดอก เรียงตัวอยู่ชั้นนอกสุด มีสีเขียวคล้ายใบ

                   กลีบดอก ประกอบด้วยกลีบดอกอยู่ถัดเข้าไปจากวง รูปร่าง คล้ายใบ มีสีสันต่างๆ ทำหน้าที่ช่วยในการล่อแมลงที่ช่วยผสมเกสรวงกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เป็นชั้นที่ไม่ได้ทำ หน้าที่เกี่ยวข้องในการสืบพันธุ์ แต่จะมีหน้าที่ป้องกันอวัยวะสืบพันธุ์ และดึงดูดแมลงที่ช่วยในการผสมพันธุ์ วงทั้ง 2 ชั้นนี้จะเรียกรวมกันว่า วงกลีบรวม ในพืชบางชนิดมีวงกลีบรวมที่มีลักษณะของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกันจนแยกไม่ออก เช่น ดอกทิวลิป จะเรียกแต่ละกลีบว่ากลีบรวม

                   เกสรเพศผู้ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้   ประกอบด้วยเกสรเพศผู้ ซึ่งเกสรเพศผู้แต่ละอันประกอบด้วยอับเกสรตัวผู้ บรรจุละอองเรณู และก้านชูอับเรณู

                   เกสรเพศเมีย หน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย  ประกอบด้วยเกสรเพศเมีย ตั้งแต่ 1 ถึงหลายอัน ซึ่งเกสรเพศเมียแต่ละอันประกอบด้วยรังไข่ (ovary) ไข่ (ovule) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และยอดเกสรตัวเมีย (stigma)

ลักษณะเพศของพืชดอก (Plant sexuality) การจำแนกลักษณะเพศชองพืชดอก โดยใช้เกณฑ์ต่างๆได้ดังนี้

  1. การจำแนกโดยลักษณะโครงสร้างดอก

                1.1 . ใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น

                         - ดอกสมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน  ได้แก่  ดอกพริก  ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกมะเขือ ดอกพู่ระหง

                         - ดอกไม่สมบูรณ์ คือ มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป  ได้แก่ ดอกมะระ  ดอกบวบ ดอกมะละกอ ดอกตำลึง ดอกมะพร้าว

                1.2 ใช้ส่วนเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น

                         - ดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน  ได้แก่ ดอกบัว  ดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบ ดอกข้าว ดอกพู่ระหง

                        - ดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียเพียงอย่างเดียวในดอกหนึ่งดอก ได้แก่ ดอกข้าวโพด  ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ ดอกตำลึง ดอกมะยม

                 ดอกเพศผู้ (staminate flower) เป็นดอกที่มีแต่เกสรเพศผู้

                 ดอกเพศเมีย (pistillate flower) เป็นดอกที่มีแต่เกสรเพศเมีย

  1. การจำแนกโดยลักษณะต้นพืช แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ต้นพืชที่มีดอกที่เป็นเพศผู้หรือเพศเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน หรือต้นเดียวกันเรียกว่า พืชต่างเพศร่วมต้น) แต่พืชที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกต้นกันเรียกว่า พืชต่างเพศต่างต้น ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย

การสืบพันธุ์ของพืชดอก  มีขั้นตอนดังนี้

  1. พืชต้องสร้างเซลล์สืบพันธุ์กล่าวคือ เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะเริ่มออกดอก ซึ่งภายในดอกก็จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์  โดยเกสรเพศผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูเก็บไว้ในอับละอองเรณู ส่วนเกสรเพศเมียจะมีรังไข่ ภายในรังไข่มีออวุล ทำหน้าที่เก็บไข่อ่อนเอาไว้
  2. การถ่ายละอองเรณูคือ การที่ละอองเกสรตัวผู้ตกลงไปยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ได้แก่-การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันเกิดได้เฉพาะในดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น-การถ่ายละอองเรณูข้ามดอกโดยมีสิ่งที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู เช่น แมลง  นก  หรือ ลมพัดละอองเรณูปลิวไปตกบนยอดเกสรเพศเมีย
  3. ละอองเรณูงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมีย
  4. เกิดการปฏิสนธิละอองเรณูผสมกับเซลล์ไข่ภายในออวุล
  5. ยอดและก้านเกสรเพศเมียจะเหี่ยวลง กลีบเลี้ยงกลีบดอก เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจะร่วงหลุดไป
  6. รังไข่จะเจริญเป็นผลส่วนไข่หรือออวุลเจริญไปเป็นเมล็ด(รังไข่ที่มีออวุลเดียว จะมีเมล็ดในผลเพียงเมล็ดเดียว เช่น ลำไย  เงาะ   ส่วนรังไข่ที่มีหลายออวุล จะมีเมล็ดอยู่ในผลจำนวนมาก เช่น มะละกอ แตงโม น้อยหน่า เป็นต้น)
  7. เมล็ดแพร่กระจายไปตามสถานที่ต่างๆและตกในบริเวณที่เหมาะสมกับการงอก เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไป   เรียกการสืบพันธุ์แบบนี้ว่าการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก

***เกร็ดน่ารู้ พืชดอกสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้  แต่จะเป็นการแพร่พันธุ์แบบอื่นแทน เช่น การแตกหน่อของต้นกล้วย ไผ่  พุทธรักษา

แหล่งที่มา

ชนิดของดอกไม้ สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562,  จาก  https://ngthai.com/science/15348/flowersclassified/

การสืบพันธ์ของพืช สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562,  จาก https://sites.google.com/site/suxsngserimkarreiynru/chnid-khxng-dxk

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

พืช,ดอกไม้ , โครงสร้าง,หน้าที่

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอังคาร, 11 มิถุนายน 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ช่วงชั้น

ประถมศึกษาตอนปลาย

ดูเพิ่มเติม

ดอกไม้ชนิดใดที่ถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันได้

1. การถ่ายละอองเกสรในดอกเดียวกัน พืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันละอองเกสรตัวผู้สามารถร่วง หรือ ปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเกสรในดอกเดียวกัน ได้แก่ถั่ว มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ

การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันเกิดขึ้นเมื่อใด

1. การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียงกัน เกิดในพืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ พืชที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ละอองเรณูตัวผู้นั้นสามารถร่วง หรือปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน ได้แก่ ถั่ว มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ

การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันมีผลดีอย่างไร

การถ่ายเรณูในดอกเดียวกันมีผลดีหรือผลเสียต่อพืชอย่างไร มีผลดีคือ ถ้าต้นพันธุ์เป็นพันธุ์แท้รุ่นลูกที่ได้จะมีพันธุกรรมเหมือนเดิม ผลเสียคือ ทำ ให้รุ่นลูกมี ความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยกว่าการผสมข้ามต้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้การต้านทานโรค ลดลง และลักษณะด้อยปรากฏในรุ่นต่อๆ ไปได้ง่าย

ละอองเรณูในดอกเดียวกันมีลักษณะอย่างไร

การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน: การถ่ายละอองเรณูภายในต้นเดียวกัน เช่น การถ่าย ละอองเรณุในดอกกล้วยไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นคล้ายผึ้งตัวเมีย ทำให้ผึ้งตัวผู้ มาดูดกินน้ำหวานและได้ถ่ายละอองเรณูให้ดอกอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีผึ้งมา เกสรตัวผู้ก็อาจจะโค้งลงมา และมีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันได้