โดนฟ้องล้มละลาย ไม่ไป ศาลได้ ไหม

หน้าแรก > บทความกฎหมาย > ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย หากลูกหนี้สามารถนำสืบได้ว่าตนมิได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลไม่อาจสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายได้

ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย หากลูกหนี้สามารถนำสืบได้ว่าตนมิได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลไม่อาจสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายได้

  • โดนฟ้องล้มละลาย ไม่ไป ศาลได้ ไหม

หลายๆ ท่านอาจจะเกิดปัญหาสภาวะเงินติดขัดหมุนเงินไม่ทันจนถูกเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าจะตามสัญญา ตามการจ้างงานหรือตามธุรกิจค้าขายของตนที่ได้ให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ เมื่อตกเป็นผู้ผิดนัดเจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลไม่ว่าจะเรียกร้องเอาจากศาลแพ่ง หรือข้ามไปยื่นให้เป็นบุคคลล้มละลายตามมูลหนี้ได้ เมื่อลูกหนี้มิได้มีหนี้สินล้นพ้นตัวกลับถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีทางที่จะชำระหนี้ของตนได้อยู่ หากพิสูจน์ไม่ได้ย่อมตกเป็นบุคคลล้มละลายเป็นแน่นอน แต่เมื่อพิสูจน์ได้แล้วศาลก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้

ตัวอย่าง นาย ก เป็นหนี้ นาย ข  สามสิบล้านบาท เมื่อหนี้ครบกำหนด นาย ก ไม่ได้ชำระเงินใดๆ แก่นาย ข เลยเมื่อนาย ข เห็นว่านาย ก ไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งทรัพย์ที่นำมาจำนองค้ำประกันเงินกู้ก็มีมูลค่าเพียงยี่สิบล้านบาทเท่านั้นยังขาดไปอีกสิบล้าน และตนก็มิได้รู้ถึงทรัพย์สินอื่นใดของนาย ก อีกเลย จึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้นาย ก เป็นบุคคลล้มละลายและนำทรัพย์ออกขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่ตน แต่นาย ก กลับเข้าสู้คดีว่าตนยังมีทางอื่นที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ นาย ข ได้ เพราะยังมีที่ดินอีกจำนวนร้อยกว่าไร่ ราคาประเมินรวมไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้นาย ก เป็นบุคคลล้มละลายได้ จึงต้องพิพากษายกฟ้องนาย  ข ออกเสีย

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2548 จำเลยที่ 1 กับเพื่อนได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อใช้เป็นทุนในการเปิดคลินิกทันตแพทย์ ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้คดีเพราะเห็นว่าเป็นหนี้โจทก์จริง หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ติดต่อชำระหนี้แก่โจทก์อีกหลายครั้งแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และเมื่อถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ก็ได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์อีกเพื่อขอผ่อนชำระหนี้ ปัจจุบันจำเลยที่ 1 ได้ทำงานประจำที่คลินิกทันตกรรม มีรายได้ประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์มาเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพโดยสุจริต แม้ไม่ประสบความสำเร็จก็ยังพยายามติดต่อขวนขวายชำระหนี้แก่โจทก์เรื่อยมา การกระทำดังกล่าวย่อมแสดงถึงความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ในภาระหนี้ที่มีต่อโจทก์ เมื่อพิจารณาถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบอาชีพทันตแพทย์และมีรายได้ในการประกอบอาชีพที่แน่นอน ประกอบกับความพยายามโดยสุจริตในการที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้บุคคลอื่นอีก จำเลยที่ 1 ยังอยู่ในวิสัยที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ กรณีจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

Visitors: 549,848

โดนฟ้องล้มละลาย ไม่ไป ศาลได้ ไหม

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาว่าอยู่ในภาวะการขยายตัวชะลอลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงไปกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ อะไร ๆ ก็มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ ทำให้หลายครั้งเราอาจจะได้ยินหรือพบเห็นคนที่มีฐานะทางการเงินทั้งในระดับร่ำรวยและปานกลาง อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็น“คนล้มละลาย” ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วต้องใช้เวลาในการ “ฟื้นฟู” เพื่อทำให้ตัวเองกลับมาเหมือนเดิม อย่างไรก็ดีหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่เราควรต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีหนี้สินมากมายจนถึงขนาด ที่เรียกว่า “หนี้สินล้นพ้นตัว” ซึ่งอาจจะทำให้เรากลายเป็นบุคคลล้มละลาย นอกจากนี้ จากการตรวจสอบ พบว่า สถิติการฟ้องคดีล้มละลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 มีคดีล้มละลายที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม จำนวน 5,679 คดี เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ซึ่งมีจำนวน 5,536 คดี เพื่อให้ทุกคนได้ระวังไม่ให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะการล้มละลายไม่ใช่เรื่องไกลตัว ในที่นี้ ผู้เขียนจึงรวบรวมเอาประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายมาเล่าให้ฟัง เพื่อผู้อ่านจะได้รู้เท่าทันและไม่อยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย


“คดีล้มละลาย” คือ คดีที่เกิดจากการที่บุคคลมีหนี้สินมากเสียจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ และเพื่อหาวิธีการที่ทำให้บุคคลดังกล่าวหลุดพ้นจากหนี้นั้น วัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงมีอยู่สองประการ โดยประการแรก คือ การทำให้เจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการจัดสรรแบ่งปันทรัพย์สินของลูกหนี้ และประการที่สอง คือ การทำให้ลูกหนี้ที่สุจริตได้รับโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่


เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องคดี ศาลจะทำการพิจารณาสืบพยานหลักฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงตามคำฟ้องหรือไม่   หากว่าจริง ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้   คำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดคือการที่ศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ควบคุมกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ กล่าวคือ ลูกหนี้ไม่สิทธิกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนได้เลย ยกเว้นแต่ทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น   เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้แล้ว ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคดีล้มละลาย แต่ศาลจะยังไม่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในทันที ศาลจะส่งหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ เพื่อให้ดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้และดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้เพื่อจัดสรรให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ต่อไป   ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้สินมากจนไม่เพียงพอจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องติดตามทรัพย์อื่นมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป   โดยในปี พ.ศ. 2562 มีสถิติการบังคับคดีล้มละลายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ จำนวนรวม 5,123 สำนวน (หนังสือรายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2559 และ 2560) 

สาเหตุของการเป็นบุคคลล้มละลาย

สาเหตุของการเป็นบุคคลล้มละลาย

ใครจะกลายเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่นั้น กล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า มีสาเหตุมาจากการที่เรามีหนี้สินมากจนไม่สามารถชำระเงินคืนเจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย สาเหตุของการเป็นบุคคลล้มละลาย มีดังต่อไปนี้

  1. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท
  2. กรณีเป็นนิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท
  3. กรณีเป็นผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้
     

การเป็นบุคคลล้มละลายมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร

หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้

  1. ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น
  2. ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  3. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งในบริษัท หากมีความจำเป็นจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนจึงจะดำรงตำแหน่งได้
  4. ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากมีความจำเป็นจริงๆ จะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะเดินทางไปที่ไหน กี่วัน และบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในขณะที่อยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

การพ้นจากสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย

การถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้นจะมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย  โดยให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย และภายหลังจากที่มีคำสั่งปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ อย่างไรก็ดีคำสั่งปลดจากการล้มละลายนี้ จะส่งผลให้บุคคลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย


สำหรับใครที่ผิดพลาด หรืออาจมีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องหนี้สินมาแล้ว ก็ควรหาวิธีในการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการและมีหลายหน่วยงานที่พร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือในการเจรจาประนอมหนี้ เช่น กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ที่มีช่องทางและวิธีการไกล่เกลี่ยหนี้สินก่อนที่จะมีการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องให้เป็น “บุคคลล้มละลาย” 


บทความโดย: อังค์วรา ไชยอนงค์