ชุมชน เศรษฐกิจ พ่อ เพียง ใน กรุงเทพ

แนวคิดที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษที่สำคัญประการหนึ่งของชาวชุมชนแห่งนี้คือเรื่องการให้ความสำคัญกับการศึกษา ดังจะเห็นได้จากการก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมาในชุมชนกันเองตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2479 โดยไม่คิดที่จะรอรับช่วยเหลือจากราชการ จนปัจจุบันนี้มีการจัดการศึกษาในชุมชนตั้งแต่ระดับเด็กก่อนวัยเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน) ระดับอนุบาลจนถึงชั้นประถมปีที่ 6 (โรงเรียนอิสลามลำไทร) ระดับมัธยมศึกษา (การศึกษานอกโรงเรียน) ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติกับวิถีชีวิตพึ่งตนเอง มีการจัดการเรียนการสอนศาสนาอิสลาม มีการจัดสวัสดิการชุมชน ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชน กองทุนซะกาต และกองทุนฌาปนกิจของชุมชนตามหลักศาสนาอิสลามนอกจากนี้ที่น่าสนใจมากก็คือ สหกรณ์ร้านค้าชุมชน

ชุมชนแผ่นดินทอง คอยรุตตั๊กวา ได้ก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2532 นับเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ได้ 17 ปีแล้ว โดยชุมชนเป็นผู้ก่อตั้งกันเอง คิดกันเอง ทำกันเอง บนพื้นฐานของความไม่มีอะไรเลย ตั้งแต่ไม่มีอาคาร ไม่มีทุนเงิน มีแต่ความคิดที่อยากทำสวัสดิการชุมชนเพื่อช่วยเหลือกันเองในรูปแบบของสหกรณ์ โดยให้คนที่มีเงินน้อยมาเป็นเจ้าของ เงินกำไรที่ได้จากสหกรณ์ร้านค้า จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน เพื่อปันผลให้กับสมาชิก และเอามาพัฒนาชุมชน เช่น ทำศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม

ในการระดมทุนครั้งแรก มีการขายหุ้นในอัตราผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 20 บาท รวมเป็นเงิน 7,000 บาท แต่เมื่อได้เงินมาแล้ว กลับพบอุปสรรคเนื่องจากผู้คนจำนวนมากยังไม่เข้าใจ

“ไปซื้อของไม่มีร้านไหนขายให้เลย เพราะไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร มันจะไปไหวไหม คือไปซื้อของราคาประมาณ 15,000 บาท จนไปเจอร้านหนึ่งเขาบอกว่า อาจารย์..หนูช่วย แล้วก็ได้ของจากร้านนั้นมาขาย โดยใช้มุมหนึ่งของโรงเรียนเป็นที่ตั้งสหกรณ์ขายสินค้า คนก็เริ่มเข้าใจ แล้วมีเงินปันผล ซึ่งกลายเป็นคำตอบว่า สหกรณ์ดี ชาวบ้านก็เลยถือหุ้นเพิ่ม ไม่เคยเลยในชีวิตที่ชาวบ้านซื้อของแล้วจะได้เงินกลับคืน ตอนนี้มีเงินหุ้นอยู่ 7 แสน มีเงินทุนหมุนเวียน 1 แสน ซึ่งพอแล้ว และชุมชนไม่อยากขยายสหกรณ์ คือจริงๆ แล้วสหกรณ์เป็นอุดมการณ์ สหกรณ์ไม่ใช่ร้านค้า” อาจารย์สมชายอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

“สำนักพัฒนาชุมชนเข้ามาถามผมว่า อาจารย์จะเอาเงินไหม ดอกเบี้ยไม่มี ผมบอก..ผมไม่เอา เงินโครงการ SML ก็ไม่เอาด้วย ทุนที่จะเข้ามา มันควรเป็นทุนทางสังคมมากกว่า ถ้าเป็นทุนเงินมันจะเป็นดาบฟันสังคม ฟันไม่เลี้ยงเลย”

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้มีความอยู่เย็นเป็นสุขก็คือ การมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความรู้ ยึดมั่นในศาสนา เป็นผู้สามารถประสานทุกอย่างด้วยหลักการเข้าด้วยกันอย่างลงตัวและเหมาะสม แบบอาจารย์สมชาย สมานตระกูล และกรรมการชุมชนนี่เอง จนปัจจุบันชุมชนแผ่นดินทอง คอยรุตตั๊กวา มีความสุขสงบร่มเย็นจนกลายเป็นชุมชนตัวอย่างที่ได้รับรางวัลมากมาย และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของหน่วยราชการต่างๆ องค์กรชุมชนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด จนชื่อเสียงแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง

เยาวชนและคณาจารย์จากโครงการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนและสถาบันการศึกษาสืบสานพระราชดำริ ซึ่งจัดโดยสำนักงาน กปร. ได้นำเยาวชนและคณาจารย์จากสถาบันการศึกษา จำนวน 16 สถาบัน เข้าศึกษาเรียนรู้ และดูงานวิถีชีวิตของชุมชน ณ โรงเรียนวัดทศทิศ จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันก่อน


ซึ่งการใช้ชีวิตตลอดถึงการประกอบอาชีพของราษฎรในพื้นที่แห่งนี้จะเป็นการบูรณาการในการอยู่ร่วมกันระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน ในลักษณะของ บวร ตามแนวพระราชดำริ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของคนในชุมชนในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนและโรงเรียน รวมถึงหน่วยราชการบูรณาการร่วมกันในการช่วยเหลือเยาวชนและประชาชนในชุมชนอย่างพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


ชุมชน เศรษฐกิจ พ่อ เพียง ใน กรุงเทพ


การนี้คณะเยาวชนได้เดินทางไปยังบ้านเกษตรกรตัวอย่าง ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” ตำบลบึงทองหลาง จังหวัดปทุมธานี ที่ได้น้อมนำแนวพระราช ดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมีภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพ ก่อเกิดราก ฐานด้านการเงินที่มั่นคง


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่บ้านคลองซอยที่ 11 หมู่ 2 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี  โดยในปี 2553 ที่ผ่านมาได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับ “มั่งมี ศรีสุข” ซึ่งในสมัยก่อนบริเวณนี้ เรียกว่า ทุ่งหลวง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะเป็นแหล่งอาหารของประเทศ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองพื้นที่ทุ่งหลวงขึ้น และเปิดให้ประชาชนเข้าจับจองพื้นที่ข้างเคียงสำหรับทำกินและอยู่อาศัย

ชุมชน เศรษฐกิจ พ่อ เพียง ใน กรุงเทพ


ปัจจุบันมีครัวเรือนอาศัยอยู่จริง 175 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 552 คน ทุกคนมีอาชีพที่แน่นอนส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกพืชผักและไม้ผล มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 130,066 บาทต่อปี หมู่บ้านแห่งนี้ถือว่าเป็นหมู่บ้านชานเมืองหลวงที่ยังคงมีทรัพยากร ธรรมชาติที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพด้านการเกษตรได้เป็นอย่างดี  ด้วยมีความสมบูรณ์ ทั้งสภาพของพื้นที่ด้านดิน น้ำ และการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว แถมมีระบบสาธารณูปโภคแบบครบถ้วน


นอกจากนี้ยังมีศูนย์ไอที ของหมู่บ้านทำให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และก้าวตามทันต่อสถานการณ์ด้านการเพาะปลูกโดยเฉพาะด้านการตลาดได้ง่ายและสะดวก และประชาชนในหมู่บ้านยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุน เวียนในการประกอบอาชีพได้ง่ายอีกด้วย เนื่องจากหมู่บ้านมีแหล่งเงินทุนที่คนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการกันเองคือกองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกองทุนออมวันละบาท


ชุมชน เศรษฐกิจ พ่อ เพียง ใน กรุงเทพ


ในด้านวิถีชีวิตทุกครอบครัวจะดำเนินชีวิตแบบพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วยการลดรายจ่าย โดยการเลี้ยงไก่ เป็ด กบ รวมถึงการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะการปลูกพืชผักจะเน้นการปลูกแบบปลอดภัยจากสารพิษเพื่อเป็นตู้กับข้าวให้กับชุมชน ภายใต้แนวทางการ

ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกชุมชนมีการประหยัด ขณะที่การเพาะปลูกพืชทุกชนิดจะใช้ปุ๋ยที่ชุมชนผลิตกันเอง ซึ่งจะมีการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ จากวัสดุที่เหลือใช้ภายในหมู่บ้าน ยึดหลักการพึ่งตนเองก่อน ก่อนที่จะพึ่งคนอื่น หากจำเป็นก็จะให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด รายได้จากการขายผลผลิตเหลือจากใช้จ่ายประจำวันจะเก็บออมไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำไปขยายการลงทุนในการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้