คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร (ไทย) : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration Program in Human Resource Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration
(Human Resource Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Human Resource Management)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

ปรัชญาของหลักสูตร

บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ ต้องเป็นผู้นำที่มีสมรรถนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

สาระสำคัญของหลักสูตร

     หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ และมุ่งเสริมสร้างให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของสมรรถนะนักจัดการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถยกระดับเพื่อเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์ได้

จุดเด่นของหลักสูตร

1. วิสัยทัศน์ “ พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
อุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Register : TQR) ”
2. เรียน 121 หน่วยกิต อย่างมีคุณภาพ
3. เรียนจบ มีโอกาสทำงานในฐานะผู้บริหารนิติบุคคล ตามนโยบายจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นเขตที่พักอาศัย ตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

วัตถุประสงค์หลักสูตร

1. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Worldwide Perspective) มีสมรรถนะ มีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ในระดับสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปแก้ปัญหาในระดับองค์การและระดับสังคม
2. เป็นผู้เปิดใจรับ (Receptive Mind) มีความสามารถออกแบบแนวทางการปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้ในมิติที่ซับซ้อนและบริบทที่มีความหลากหลาย
3. เป็นผู้นำอย่างยั่งยืน (Sustainable Leadership) มีความสามารถนำความรู้และทักษะระดับมืออาชีพ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรหรือสังคมด้วยการยึดหลักความถูกต้องทางวิชาชีพ
4. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics and Morality) มีความสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้ประเด็นหลักและหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญในการดำเนินงานในวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์
5. เป็นผู้มีความเข้าใจในมนุษย์ (Human Intelligence) มีความสามารถใช้ทักษะสังคมและการสื่อสารในการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์
6. เป็นผู้มีทักษะการคิดแบบบูรณาการ (Ability to Think Integratively) มีความสามารถบูรณาการแนวปฏิบัติ แนวความคิด และทฤษฎีต่างๆ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การอย่างเป็นระบบ ให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การเพื่อสร้างประสิทธิภาพขององค์กร
7. เป็นผู้นำแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การประยุกต์ใช้ให้เป็นจริง (Enable HROD Concept) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสในการเข้าสู่มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์

แนวทางประกอบอาชีพ

1. นักวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
2. นักพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์
3. พนักงานฝ่ายบุคคล
4. พนักงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. พนักงานแรงงานสัมพันธ์
6. พนักงานสรรหาว่าจ้างและบริหารอัตรากำลัง
7. ผู้จัดการนิติบุคคล
8. ผู้ประกอบการ

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  (ฉบับปรับปรุง 2564)

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 2 ภาควิชา คือ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและ ทรัพยากรมนุษย์ และภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ซึ่งดำเนินการจัดการเรียนการสอน ทางด้านบริหารธุรกิจ ในรูปแบบหลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงจากสถานประกอบการ ปัจจุบัน คณะมีความร่วมมือ กับกลุ่มสถานประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในรูปแบบสหกิจศึกษา เพื่อมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการบริหารจัดการชั้นสูง เทคโนโลยี การบริหารจัดการแนวใหม่ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัยเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ

ภาควิชา

  • การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ 
  • การบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ

หลักสูตรปริญญาตรี

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (BBR) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษและสหกิจศึกษา) (BBR)

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ทำงาน (BBRs)

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงาน (BBRx)
 

ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (BMS) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษและสหกิจศึกษา) (BMS)
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ทำงาน) (BMSs)
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงาน) (BMSx)
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้ที่ผ่านโครงการพัฒนาครูฝึกช่างเทคนิคขั้นสูงตามมาตรฐานเยอรมันหรือหลักสูตรฝึกอบรมนักเทคโนโลยีหรือนักปฏิบัติการขั้นสูงตามมาตรฐานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) (BMSm)
 

หลักสูตรปริญญาโท

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (MBR) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (แผน ก) (S-MBR)

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (แผน ข) (โครงการพัฒนาผู้บริหาร) (X-MBR)
 

หลักสูตรปริญญาเอก

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (DBR) หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (โครงการพัฒนาผู้บริหาร) (X-DBR)