ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น shopee

ผู้แต่ง

  • ปฐณวิกรณ์ ฐิตาภัทรภิญโญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • พุฒิธร จิรายุส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ภัสสิรี วรเวชธนกุล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ตลาดออนไลน์, การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า, โชห่วย, แอปพลิเคชั่น Shopee

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบอิทธิผลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้มาใช้บริการร้านค้าโชว์ห่วยผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shopee การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คนซึ่งเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเป็นเพศหญิงร้อยละ 53.50โดยมีอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 41.20 และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้บริการแบบเจาะจงมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (=3.55, SD=0.92) รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (=3.51, SD=1.12) ด้านผลิตภัณฑ์ (=3.45, SD=1.12) ด้านการส่งเสริมการตลาด (=3.45, SD=1.12) ด้านราคา (=3.44, SD=1.12) ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว (=3.38, SD=1.15) ตามลำดับ และพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้บริการแบบเจาะจง และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ล้วนมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโชว์ห่วยผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shopee จากผลการศึกษานี้ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการพัฒนาปัจจัยส่วนประสมทางการตลอดออนไลน์ในครบทุกด้านและสำหรับการศึกษาครั้งต่อควรให้ความสำคัญประเด็นความพึงพอใจและแรงจูงใจต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริกานของร้ายโชห่วยผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shopee หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). อัตราการเจริญเติบโตของร้านโชห่วย ในปี 2561 – 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469419756.

กรรณิการ์ ชัยอำนาจ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธารารัตน์ พวงสุวรรณ. (2558). Electronic commerce การตลาดออนไลน์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพพร จันทรนำชู. (2563). รูปแบบและเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 15(1), 60-75.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

วริศรา สู้สกุลสิงห์ และ วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วารุณี เตชะคุณารักษ์ มณฑา ทิพย์สุมนทา ยุพดี ทองโคตร กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ และไพรสุวรรณ คะณะพันธ์. (2562). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจการบิน คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี.

เสาวลักษณ์ สมานพิทักษ์วงศ์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อวัสดา กิจสวน. (2560). กลยุทธ์การตลาดของร้านโซห่วยในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อความอยู่รอดกรณีศึกษา ร้านโชห่วย ในเขตอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติวิทยาการทางปัญญา คณะวิจัยและสถิติวิทยาการทางปัญญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อรอนงค์ ทองกระจ่าง. (2560). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารแบบบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shopee. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Shopee Thailand, (2021). Shopee is E-Commerce platform in thailand. Retrieved August 8, 2021. From https:// shopee Thailand/blog.

Yamané T. (1997 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York. Harper and Row.

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น shopee

How to Cite