ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน หมายถึง

การถอดคำประพันธ์บทร้อยกรอง นมัสการมาตาปิตุคุณ และนมัสการอาจริยคุณ

นมัสการมาตาปิตุคุณ

ข้าขอนบ ชนกคุณ  / ชนนีเป็นเค้า มูล

ผู้กอบนุกูลพูน  /  ผดุงจวบเจริญวัย

ฟูมฟักถนุถนอม /  บ บำราศนิราไกล

แสนยากเท่าไร ๆ / บ คิดยากลำบากกาย

ตรากทนระคนทุกข์  / ถนอมเลี้ยงฤดูวาย

ปกป้องซึ่งอันตราย   / จนได้ รอดเป็นกายา

เปรียบหนักชนกคุณ   /  ชนนีคือ ภูผา

ใหญ่พื้นพสุธรา  /  ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน

เหลือที่จะแทน ทด  / จะสนองคุ ณานันต์

แท้บูชไนยอัน  /  อุดม เลิศประเสริฐคุณ

คำแปล

            อัน คุณของบิดามารดานั้นยิ่งใหญ่นัก ตั้งแต่เราได้ถือกำเนิดเกิดมาบนโลกใบนี้ บุคคลแรกที่เราจำความได้สองท่านนี้ ก็คอยฟูมฟัก ทะนุถนอมเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ แม้บางครั้งจะมีอุปสรรคที่ร้ายแรงเพียงใดท่านก็ไม่เคยหวาดหวั่น ต่อสู้ และฝ่าฟันเพื่อบุตรทุกประการ หากจะเปรียบคุณของบิดามารดานั้นดูยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะยกภูเขาทั้งลูก แผ่นดินทั้งแผ่นมาเทียมได้ มากมายมหาศาลเหลือเกิน แม้การที่เราจะทดแทนบุญคุณทั้งหมดคงจะเป็นไปไม่ได้ แต่เพียงแค่เรากระทำตนเป็นคนดีของสังคม กตัญญูรู้คุณต่อท่านเท่านี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว

นมัสการอาจาริยคุณ

อนึ่งข้าคำนับน้อม   /  ต่อพระครูผู้การุณ

โอบเอื้อและเจือจุน  /   อนุ สาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ /  ทั้งบุญบาปทุก สิ่งอัน

ชี้แจงและแบ่งปัน  /  ขยาย อัตถ์ให้ชัดเจน

จิตมากด้วยเมตตา  /  และ กรุณา บ เอนเอียง

เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์  /  ให้ฉลาดและแหลมคม

ขจัดเขลาบรรเทา โม-   /  หะจิตมืดที่งุนงม

กังขา ณ อารมณ์  /  ก็สว่าง กระจ่างใจ

คุณส่วนนี้ควรนับ   /   ถือ ว่าเลิศ ณ แดนไตร

ควรนึกและตรึกใน   /   จิตน้อมนิยมชม

คำแปล

            ขอ ความเคารพนอบน้อมต่อครู ผู้มีความกรุณา เผื่อแผ่อบรมสั่งสอนศิษย์ทุกสิ่ง ให้มีความรู้ ทั้งความดี ความชั่ว ชั่วขยายความให้เข้าใจแจ่มแจ้ง มีเมตตากรุณา กรุณาเที่ยงตรง เคี่ยวเข็ญให้ฉลาดหลักแหลม ช่วยกำจัดความโง่เขลา ให้มีความเข้าใจแจ่มชัด พระคุณดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นเลิศในสามโลกนี้ ควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่อง

ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน หมายถึง

ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษามา เพื่อน ๆ น่าจะได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งคำประพันธ์มากมายทั้งในรูปแบบโคลง กาพย์ กลอน และร่าย แต่ในวันนี้ StartDee จะขอพาเพื่อน ๆ มารู้จักคำประพันธ์ในรูปแบบฉันท์ ซึ่งมีมากมายหลายประเภทย่อย หนึ่งในนั้นคือ “อินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งเป็นรูปแบบที่พระยาศรีสุนทรโวหารใช้ในการแต่งเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ ไปดูกันดีกว่าว่าอินทรวิเชียร์ฉันท์ในเรื่องนี้จะมีลักษณะแตกต่างกับเรื่องอื่นอย่างไร

นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังสามารถเรียนกันได้ในรูปแบบวิดีโอ ที่แอปพลิเคชัน StartDee ดาวน์โหลดเลย มีสรุปให้ปรินต์ไปอ่านก่อนสอบได้ด้วยนะ

ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน หมายถึง

ผู้แต่ง

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับสมญานามว่าเป็น ศาลฎีกาภาษาไทย เพราะเป็นผู้แต่งตำราชุดแรกของไทย เรียกว่า “แบบเรียนหลวง” 

ที่มาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ

เป็นบทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุดภาษาไทยเล่มที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

ลักษณะคำประพันธ์

พระยาศรีสุนทรโวหารเรียกฉันท์ที่ใช้ในการแต่งบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจารยคุณว่า “อินทะวะชิระฉันท์” แต่โดยทั่วไปเรียกว่า “อินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งมีการบังคับครุและลหุ แต่ผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหารเลือกให้ความสำคัญกับเนื้อหา โดยเลือกสรรคำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึก และใช้สำหรับเป็นบทบูชาสรรเสริญมากกว่าการแต่งให้ถูกฉันทลักษณ์ อย่างไรก็ตาม เพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านให้ถูกฉันทลักษณ์ได้ เช่น คำว่า ชนนี สามารถอ่านว่า ชะ-นะ-นี เป็นต้น

อินทรวิเชียร์ฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ นิยมใช้ในการแต่งข้อความซึ่งเป็นบทชม บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทพากย์โขน เพื่อน ๆ สามารถดูแผนผังการแต่งอินทรวิเชียร์ฉันท์ได้ที่นี่

และหากเพื่อน ๆ อยากแต่งอินทรวิเชียรฉันท์เองบ้าง แต่ไม่รู้จะเลือกใช้คำแบบไหน สามารถดูได้ที่ตารางด้านล่างนี้เลย

คำครุ (เสียงหนัก)

คำลหุ (เสียงเบา)

- คำที่ประสมกับสระเสียงยาว ในแม่ ก กา

- คำที่มีตัวสะกด

- คำที่ประสมกับสระ -ำ, ไ-, ใ-, เ-า

- คำที่ประสมกับสระเสียงสั้นในแม่ ก กา

- คำที่เป็นพยัญชนะตัวเดียว ไม่มีรูปสระ เช่น ธ ณ บ บ่ เป็นต้น

ถอดคำประพันธ์บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

ข้าขอนบนกคุณ

ชนนีเป็นเค้ามูล

ผู้กอบนุกูลพูน

ผดุงจวบเริญวัย

ฟูมฟักทะนุถนอม

บ่บำราศนิราไกล

แสนยากเท่าไร ๆ

บ่คิดยากลำบากกาย

ตรากทนระคนทุกข์

ถนอมเลี้ยงรู้วาย

ปกป้องซึ่งอันตราย

จนได้รอดเป็นกายา

เปรียบหนักนกคุณ

ชนนีคือภูผา

ใหญ่พื้นสุนธรา

ก็บ่เทียบบ่เทียมทัน

เหลือที่จะแทนทด

จะสนองคุณานันต์

แท้บูไนยอัน

อุดมเลิศประเสริฐคุณ

เป็นบทอาขยานที่กล่าวถึงการนอบน้อมในพระคุณของบิดามารดา ผู้ที่ได้เลี้ยงดูและเกื้อกูลเรามาตั้งแต่เล็กจนเติบโต คอยเฝ้าระวังรักษาประคับประคอง ดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง แม้ว่าจะลำบากเท่าไรก็อดทนได้ อีกทั้งยังคอยปกป้องจากอันตรายจนลูกมีชีวิตรอดมาเป็นผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น พระคุณของพ่อแม่ จึงยิ่งใหญ่กว่าภูเขาหรือผืนแผ่นดิน แม้จะกราบไว้บูชาอย่างวิเศษล้ำเลิศแค่ไหน ก็ไม่อาจทดแทนบุญคุณอันมากล้นของพ่อแม่ได้

คำศัพท์ในบทประพันธ์

ชนก หมายถึง พ่อ

ชนนี หมายถึง แม่

บูชไนย หมายถึง พึงบูชา

พสุนธรา หมายถึง แผ่นดิน

คุณานันต์ หมายถึง บุญคุณมหาศาล

ถอดคำประพันธ์บทนมัสการอาจริยคุณ

อนึ่งข้าคำนับน้อม

ต่อพระครูผู้การุญ

โอบเอื้อและเจือจุน

อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ

ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ

ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

ชี้แจงและแบ่งปัน

ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน

จิตมากด้วยเมตตา

และกรุณา เอียงเอน

เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์

ให้ฉลาดและแหลมคม

ขัดเขลาบรรเทาโม

หะจิตมืดที่งุนงม

กังขา อารมณ์

ก็สว่างกระจ่างใจ

คุณส่วนนี้ควรนับ

ถือว่าเลิศ แดนไตร

ควรนึกและตรึกใน

จิตน้อมนิยมชม

เป็นบทอาขยานที่กล่าวถึงการสรรเสริญพระคุณของครูอาจารย์ ผู้เปี่ยมไปด้วยความกรุณาและโอบอ้อมอารี คอยสั่งสอนให้รู้วิชาและศาสตร์ต่าง ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งในเรื่องของบาปบุญคุณโทษด้วย คอยขยายความให้ลูกศิษย์มีความเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีความเมตตากรุณาที่เที่ยงตรงเที่ยงธรรม เคี่ยวเข็ญให้ลูกศิษย์มีความฉลาดหลักแหลม ขจัดความโง่เขลาและสับสนออกไปจากจิตใจ ดังนั้น พระคุณของครูอาจารย์จึงถือว่าเป็นเลิศในสามโลก ควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่องเป็นอย่างยิ่ง

คำศัพท์ในบทประพันธ์

อนุสาสน์ หมายถึง สั่งสอน

อัตถ์ หมายถึง ขยายความ

แกล้ง หมายถึง ตั้งใจ (แปลตามความหมายเดิม)

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ

 ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับในการเดินเรื่อง เช่น ชนก ชนนี เป็นต้น และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ เช่น โอบเอื้อ เจือจุน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที อาจมีคำยากบ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่ง StartDee ได้รวบรวมให้แล้วข้างต้น ลองย้อนกลับไปดูกันนะ

การใช้ภาพพจน์


มีการใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทียบ เช่น 

เปรียบหนักชนกคุณ

ชนนีคือภูผา

ใหญ่พื้นพสุนธรา

ก็บ่เทียบบ่เทียมทัน

จากบทประพันธ์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการเปรียบเทียบบุญคุณของพ่อแม่ว่าหนักแน่นเท่าภูผา หรือภูเขา และยิ่งใหญ่เท่าพสุนธรา หรือแผ่นดินนั่นเอง

การเล่นเสียง


แบ่งออกเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียงเบา - หนัก (ครุ - ลหุ)  

  • การเล่นเสียงพยัญชนะ หากเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกับหรือใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการกระทบกันของเสียง ช่วยให้เกิดความไพเราะ เช่น ข้าขอนบนกคุณ มีการใช้คำว่า ข้าและขอ เป็นเสียง ข เหมือนกัน และใช้คำว่า (ช) นกและนบ ซึ่งเป็นเสียง น เหมือนกัน เป็นต้น
  • การเล่นเสียงสระ มีการเล่นเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสที่น่าฟัง เช่น ตรากทนระคนทุกข์ มีการเล่นเสียงสระโอะ โดยใช้คำว่า ทน และ (ระ) คน

การซ้ำคำ

มีการใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาวางไว้ในตำแหน่งใกล้กัน แต่มีการใช้คำอื่นแทรกลงไป ทำให้การออกเสียงมีความคมคาย ไพเราะ และยังเพิ่มความหมายที่น่าสนใจ เช่น ก็ บ่ เทียบ บ่ เทียมทัน มีการใช้คำว่า “บ่” แทรกกลางระหว่างคำว่า “เทียบ” และ “เทียม” ที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน 

นอกจากนี้ยังมีการเล่นคำที่มีความหมายคู่ตรงข้าม เช่น บ ทราบก็ได้ทราบ  ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน เป็นต้น

คุณค่าด้านเนื้อ สังคมและข้อคิด

คุณค่าด้านเนื้อหา

  • การลำดับความได้ชัดเจน คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณมีการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม ชัดเจน โดยในคำนมัสการมาตาปิตุคุณ มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของบุญคุณของพ่อแม่ และปิดท้ายด้วยการการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้ให้กำเนิด เช่นเดียวกับคำนมัสการอาจาริยคุณ ที่กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์ที่คอยสั่งสอนและให้ความรู้ทั้งทางธรรมและทางโลก ตามด้วยการกล่าวถึงบุญคุณของคุณครู ซึ่งเด็ก ๆ ควรเคารพและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
  • มีการสอนจริยธรรม จะเห็นได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ นำไปใช้ได้จริง ด้วยการรู้จักสำนึกในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ นับเป็นการใช้บทประพันธ์เพื่อปลูกฝังจริบธรรมได้เป็นอย่างดี

คุณค่าด้านสังคม

วรรณคดีเรื่องนี้มีจุดเด่นในการสะท้อนให้เห็นภาพสังคมในอดีตและยังจรรโลงสังคมอีกด้วย

  • การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา

แม้ว่าจะเป็นฉันท์ที่ไม่ยาวมากนัก แต่เพื่อน ๆ ก็ได้เรียนรู้ทั้งลักษณะคำประพันธ์ และคุณค่าด้านต่าง ๆ ไปแบบจัดเต็ม ใครที่อยากตะลุยเรียนภาษาไทยในระดับชั้น ม.๔ กันต่อ ดูที่ลิสต์ด้านล่างนี้ได้เลย

  • ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
  • กวีโวหาร
  • อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
  • หัวใจชายหนุ่ม

แกล้งเกณฑ์หมายถึงอะไร

แกล้ง ในที่นี้มีความหมายว่า ตั้งใจ เป็นความหมายที่ใช้กันในสมัยโบราณ (ดังมีในศิลา จารึกหลักที่ ๑) “เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม” จึงหมายความ ว่า ครูอาจารย์ตั้งใจให้การศึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และสติปัญญา ฉลาดหลักแหลม

คำนมัสการอาจริยคุณหมายถึงอะไร

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการ อาจริยคุณ เป็นบทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่ต้องการสั่งสอนและ ปลูกฝังให้เยาวชนในฐานะที่เป็นลูกและศิษย์มีความ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ อันได้แก่ บิดา มารดา และครูอาจารย์ เพราะความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

เปรียบหนักชนกคุณชนนีคือภูผาหมายถึงอะไร

กล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดา ผู้เลี้ยงดูลูก อย่างทะนุถนอม และปกป้องอันตรายโดยไม่เห็นแก่ความยากล าบาก พระคุณของท่านยิ่งใหญ่กว่าภูเขาและพื้นแผ่นดินไม่สามารถทดแทน ได้หมด จึงเป็นผู้ประเสริฐที่ควรบูชายิ่ง บทนมัสการอาจริยคุณ

คำว่า "อนุสาสน์" หมายถึงข้อใด

คำว่า "อนุสาสน์" หมายถึงข้อใด เนื้อความ คำสั่งสอน คำว่ากล่าวตักเตือน