ตัวอย่าง การ เขียน ใบลา ออกจาก มหา ลัย

หากนิสิตต้องการสิ้นสุดการศึกษาในหลักสูตรที่นิสิตกำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน โดยสละสิทธิ์ที่ได้รับและผลการศึกษาที่สะสมมาทั้งปวง เพื่อที่จะไปเข้าศึกษาใหม่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ หรือเนื่องด้วยเหตุผลส่วนบุคคลอื่น ๆ นิสิตจะต้องทำเรื่องขอลาออกจากการเป็นนิสิต โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

นิสิตระดับปริญญาตรี

ตัวอย่าง การ เขียน ใบลา ออกจาก มหา ลัย

นิสิตระดับปริญญาตรีที่ต้องการขอลาออกจากการเป็นนิสิต ให้ดำเนินการดังนี้

  1. ขอแบบฟอร์มคำร้องขอลาออกจากคณะวิชาที่นิสิตสังกัด หรือสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้องขอลาออกได้ที่เว็บไซต์ https://registrar.ku.ac.th/บริการนิสิต/ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  2. เอกสารคำร้องขอลาออกต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครองและอาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการรับรองยืนยันว่าไม่มีหนี้สินค้างชำระจากหัวหน้าภาควิชาเจ้าสังกัดนิสิต เลขานุการคณะวิชา/วิทยาลัยเจ้าสังกัดนิสิต กองกิจการนิสิต สำนักหอสมุด และได้รับการอนุมัติจากคณบดีคณะวิชา/วิทยาลัยเจ้าสังกัดนิสิต
  3. ยื่นคำร้องขอลาออกได้ที่ งานบริการนิสิตแบบเบ็ดเสร็จ ฝ่ายทะเบียนและบริการนิสิตแบบเบ็ดเสร็จ สำนักบริหารการศึกษา ชั้น 1 อาคารระพีสาคริก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. เจ้าหน้าที่สำนักบริหารการศึกษาบันทึกการลาออกของนิสิต นิสิตจะสูญเสียการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้เครือข่ายนนทรี รวมไปถึงบริการสารสนเทศต่าง ๆ บริการ KU-Google Apps for Education และ KU-Microsoft Office 365 โดยทันที

นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา

ติดต่อบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อดำเนินการขอลาออกจากการเป็นนิสิต ทั้งนี้ การลาออกของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2559

จะเขียนใบลาออกว่าอะไรดีครับ

ตั้งกระทู้ใหม่

คือว่าผมกำลังจะซิ่ว เพื่อแอดปี57 น่ะครับ
ตอนนี้อยู่ ปี1 กำลังเรียนอยู่เทอม2 ครับ แล้วจะลาออก เพื่อจะไปอ่านหนังสือน่ะครับ
เลยถามว่า จะเขียนเหตุผล ในใบลาออก ยังไงดีครับ (รู้ว่าเขียนยังไงก็ได้แต่อยากได้แบบซอฟๆโดนบ่นน้อยๆน่ะครับ เพราะเพื่อนเล่าว่าเขียนเหตุไปตอนนั้นโดน ที่ อ.ที่ปรึกษา ด่า น่ะครับ
ตัวอย่าง การ เขียน ใบลา ออกจาก มหา ลัย

ตัวอย่าง การ เขียน ใบลา ออกจาก มหา ลัย

K

2 ธ.ค. 56 เวลา 02:16 น.

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

แสดงความคิดเห็น

5 ความคิดเห็น

บายนะ 2 ธ.ค. 56 เวลา 10:55 น. 2

เราลาออกมาแล้ว ตอนแรกจะดรอป เขาไม่ให้ดรอปค่ะ เซงมาก
เลยตัดสินใจลาออก โดยใช้เหตุผลว่า"ย้ายบ้านตามครอบครัว" เรื่องแบบนี้ต้องโกหกกันหน่อยละ
เพราะเพื่อนเราเขียนเหตุผลไปตรงๆเลยว่าอยากเรียนอันอื่นมากกว่า
โดนอ.ด่าเละเลยค่ะ

0 0

  • แจ้งลบ

T'มช00 2 ธ.ค. 56 เวลา 14:10 น. 3

ที่ มหาลัย ไม่มี แบบฟอร์ม ใบลา ออก หรอ คับ 

ตัวอย่าง การ เขียน ใบลา ออกจาก มหา ลัย

0 0

  • แจ้งลบ

csaa 6 ธ.ค. 56 เวลา 12:12 น. 4

เราเขียนว่า ลาศึกษาต่ออ่ะ
:P

0 0

  • แจ้งลบ

ซิ่วจ้า 6 ธ.ค. 56 เวลา 16:28 น. 5

เราเขียนว่า ต้องการไปศึกษาต่อยังสถาบันการศึกษาอื่นอะ

0 0

  • แจ้งลบ

รายชื่อผู้ถูกใจความเห็นนี้ คน

แจ้งลบความคิดเห็น

คุณต้องการจะลบความคิดเห็นนี้หรือไม่ ?

บทความที่คนนิยมอ่านต่อ

         สวัสดีน้องๆ เด็กซิ่วที่น่ารักทุกคนค่ะ วันนี้ เติมไฟเด็กซิ่ว ขอดึงประเด็นสำคัญว่าด้วยเรื่องของ "การลาออก" ที่มักสร้างคำถามให้น้องๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็น "เด็กซิ่วจำเป็นต้องลาออกไหม? ไม่ลาออกได้หรือเปล่า? ถ้าจะออก ต้องทำเรื่องตอนไหน? ดำเนินการอย่างไร?"  
 

         ล่าสุดพี่เมก้าก็ได้ไปเก็บข้อมูลสัมภาษณ์รุ่นพี่เด็กซิ่ว ที่เคยมีประสบการณ์การลาออกจากมหาวิทยาลัยโดยตรงเลยค่ะ ขอย้ำอีกครั้งว่า การลาออกเป็นเรื่องสำคัญ ถึงขั้นเปลี่ยนชีวิตของน้องๆ ได้เลย ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูกัน อย่าให้พลาดสักขั้นตอนนะคะ :)

ทำไมเด็กซิ่วถึงลาออก? 
         ก่อนที่จะไปดู "ขั้นตอนการลาออก" พี่เมก้าขอพาน้องๆ มาทบทวนกันอีกสักนิด เกี่ยวกับสิ่งที่มักจะถูกตั้งคำถามเสมอ "เราซิ่วไปเรียนไป จำเป็นต้องลาออกไหม? เห็นรุ่นพี่เด็กซิ่วลาออกกันทุกปี เพราะอะไรนะ?" ตามไปดูเหตุผลกันเลยค่ะ

๐ ลาออกตามเกณฑ์
         ง่ายๆ คือถึงเวลาที่เราต้องลาออกนั่นเอง โดยปกติน้องๆ เด็กซิ่วจะรู้อยู่แล้วว่า คณะที่เราต้องการซิ่วไปนั้น วางคุณสมบัติของผู้สมัครไว้อย่างไร ซึ่งแต่ละคณะ แต่ละการสอบรอบต่างๆ ก็จะกำหนดเกณฑ์รายละเอียดส่วนนี้ไว้ต่างกัน ยกตัวอย่าง

         ๐ การสอบ กสพท ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยรัฐ ยกเว้น ผู้ที่ได้ลาออกจากการศึกษาก่อนวันที่ระเบียบการกำหนด  
         ๐ การสอบแอดมิชชั่น ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 เว้นแต่จะได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
         ๐ การสอบแอดมิชชั่น คณะเภสัชศาสตร์ ต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะเภสัชศาสตร์ ยกเว้น ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันศึกษาเอกชน

         น้องๆ เด็กซิ่วที่รู้ตัวแล้วว่า คุณสมบัติเราไม่ตรงตามเกณฑ์ เช่น จะสอบแพทย์ กสพท แต่กำลังจะอยู่ในสถานะผู้ที่ศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 จะสอบทันตะ รอบแอดมิชชั่น แต่ตอนนี้เรียนปี 2 หรือจะซิ่วสอบเภสัชฯ เหมือนเดิม ในรอบแอดมิชชั่น เพื่อเปลี่ยนสถาบัน ฯลฯ ก็จะจัดการทำเรื่องลาออกให้เรียบร้อย ก่อนถูกส่งรายชื่อไปตัดสิทธิ์การสอบนั่นเองค่ะ หากน้องๆ คนไหน ไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องลาออกไหม ก่อนซิ่วก็ลองโทรศัพท์ไปสอบถามพี่เจ้าหน้าที่คณะนั้นๆ โดยตรงเลยก็ได้นะคะ

๐ ลาออกหลังซิ่วสำเร็จ      
         กรณีนี้สำหรับน้องๆ เด็กซิ่ว ที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตต้องลาออกตามเกณฑ์ คือสามารถรอลาออกทีเดียวหลังจากสอบติดที่ใหม่ได้ เช่น น้องๆ ปี 1 ที่ต้องการสอบแอดมิชชั่นใหม่ ส่วนใหญ่จะรอผลประกาศออกมาก่อนว่า "มีสิทธิ์เข้าศึกษา" ในคณะที่ซิ่วไปจนแน่ชัดแล้ว ถึงค่อยมาจัดการทำเรื่องลาออกจากสถาบันเดิมให้เรียบร้อยในภายหลัง ทั้งนี้เพราะหลายคนกลัวว่า ถ้าลาออกไปก่อน แล้วซิ่วไม่ติด จะเคว้งคว้างไม่มีที่เรียนนั่นเอง

คาใจ! ไม่ลาออกได้ไหม?
         เชื่อว่าน้องๆ เด็กซิ่วหลายคนไม่กล้าลาออก แต่ถ้าไม่ลาออก ก็กลัวจะมีปัญหาในภายหลัง คำถามที่ว่าไม่ลาออกได้ไหม? เลยเกิดตามมานั่นเอง พี่เมก้าอยากให้น้องๆ วกกลับไปอ่านเหตุผลด้านบนอีกครั้งหนึ่งค่ะ สำหรับน้องๆ ที่ต้องลาออกตามเกณฑ์ ถ้าไม่ลาออก ปัญหาย่อมตามมาทันที เพราะคุณสมบัติไม่ผ่าน ตัวอย่างเช่น

         เด็กซิ่วคนหนึ่งต้องการซิ่วเภสัชฯ จาก ม.A ไป ม.B ในรอบแอดมิชชั่น แต่ทำเรื่องลาออกจากมหาวิทยาลัยเดิมช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลคือระบบให้สมัครแอดมิชชั่นได้ แต่ตอนประกาศผลแอดฯ จะขึ้นมาเลยว่า "ไม่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์" เพราะลาออกไม่ทัน ทำให้รายชื่อยังค้างอยู่ในทะเบียนของมหาวิทยาลัย ไม่สามารถแอดมิชชั่นกลางได้นั่นเอง

         กรณีนี้เสียทั้งสิทธิ์ซิ่วใหม่และไม่มีที่เรียนไปเลย เพราะลาออกมาแล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลที่น้องๆ เด็กซิ่ว ต้องเช็กคุณสมบัติให้ละเอียดก่อนสมัครนั่นเองค่ะ แต่สำหรับน้องๆ คนไหน ที่สามารถทำเรื่องลาออกหลังจากซิ่วติดได้ ไม่มีอะไรน่าห่วงแล้วค่ะ ส่วนใหญ่จะมาทำเรื่องลาออกให้เรียบร้อยเพื่อความชัวร์และสบายใจ กลัวมีปัญหารายชื่อซ้ำซ้อน 2 สถาบัน กลัวติดหนี้สินกับทางมหาวิทยาลัย ฯลฯ

ขั้นตอน "ลาออก"
         ถ้าเช็กดีแล้วว่า เราเป็นเด็กซิ่วที่ต้องลาออกแน่ๆ ตามพี่เมก้าไปดูขั้นตอนการทำเรื่องลาออกกันเลยค่ะ แต่ออกตัวแรงก่อนว่าขั้นตอนนี้ พี่ไม่สามารถลงรายละเอียดแบบลึกๆ ได้ครบทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัยนะคะ จะเป็นขั้นตอนคร่าวๆ ที่เบื้องต้นน่าจะมีกระบวนการคล้ายคลึงกันค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 พบอาจารย์ที่ปรึกษา
         อันดับแรกทุกคนจะนึกถึงอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน ทำเรื่องนัดอาจารย์ค่ะ จากนั้นอาจารย์จะบอกเราเองว่าต้องทำอะไรต่อไป บางคนกลัวว่าอาจารย์จะไม่ให้ซิ่ว จะเกลี้ยกล่อมให้อยู่คณะเดิมต่อ ขอบอกว่าไม่มี้ไม่มี อาจารย์อาจจะแค่ถามเราเบื้องต้นว่า มีปัญหาอะไร? ทำไมถึงลาออก? เพราะน้องๆ ที่ลาออก ใช่ว่าจะมีแต่เด็กซิ่วอย่างเดียวนะคะ น้องบางคนอาจจะมีปัญหาเรื่องการเงิน เรื่องปรับตัวกับสังคมไม่ได้ ฯลฯ อาจารย์ถามเพราะจะได้ช่วยนิสิตนักศึกษาแก้ปัญหาได้ตรงจุดเท่านั้นค่ะ ถ้าน้องๆ มีเหตุผลที่ดี พี่เมก้าเชื่อว่าอาจารย์สนับสนุนอยู่แล้ว หลังจากพบอาจารย์ที่ปรึกษา น้องๆ ก็จะไปสู่ขั้นตอนที่ 2  

ขั้นตอนที่ 2 เขียนใบคำร้องขอลาออก
         พบอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว น้องๆ จะได้แหล่งให้เราไปตามหาใบคำร้องค่ะ อาจจะเป็นการโหลดผ่านเว็บไซต์คณะ หรือติดต่อขอรับจากฝ่ายที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เช่น ฝ่ายงานทะเบียน สำนักทะเบียน ส่วนทะเบียนและประมวลผล งานทะเบียนและวัดผล งานทะเบียนและสถิตินักศึกษา กองกิจการนักศึกษา ฝ่ายบริการงานศึกษา ฯลฯ พอได้ใบคำร้องมาแล้วน้องๆ ก็จัดการกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเลยค่ะ ชื่อ-นามสกุล คณะ สาขาวิชา ความประสงค์ขอลาออก เนื่องจากเหตุผลอะไร ฯลฯ  

ขั้นตอนที่ 3 ผู้ปกครองเซ็นรับรองการลาออกและยินยอม
         สำหรับขั้นตอนนี้ ถ้าน้องๆ คุยกับคุณพ่อคุณแม่มาก่อนหน้านี้แล้ว ผ่านไปไม่ยากเลยค่ะ เซ็นแป๊บเดียว เสร็จเรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่เคลียร์ ก็อาจจะต้องทำใจกล้าบอกท่านไปตรงๆ เลยว่าหนูจะซิ่ว ยังไงก็ต้องคว้าลายเซ็นอนุมัติการลาออกมาให้ได้! ใช้วิธีคุยนะคะ ไม่แนะนำให้ปลอมลายเซ็นเด้อออ!

ขั้นตอนที่ 4 ล่าลายเซ็นในใบคำร้อง
         ให้ผู้ปกครองเซ็นยินยอมแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนล่าลายเซ็นอื่นๆ ในใบคำร้อง เพื่อขออนุมัติการลาออกค่ะ โดยส่วนใหญ่จะเป็น อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าภาควิชา เลขานุการคณะ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา และคณบดีเป็นลำดับสุดท้าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบางมหาวิทยาลัยอาจจะมีลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการนิสิต หรือสำนักหอสมุดกลางร่วมมาด้วยนะคะ เพื่อตรวจสอบหนี้สินค้างชำระกับทางคณะค่ะ ถ้าน้องๆ มีหนี้สินค้างชำระ ก็จะต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน

ขั้นตอนที่ 5 ยื่นใบลาออก  
         หลังจากล่าลายเซ็นครบ ได้คำร้องที่ผ่านการอนุมัติจากคณบดีเรียบร้อยแล้ว น้องๆ ก็ถือกลับมายื่นใบลาออกกับพี่เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่รับผิดชอบดูแลเรื่องลาออกได้เลยค่ะ ส่วนใหญ่ก็เป็นพี่ๆ ใจดีเจ้าเก่าเจ้าเดิม ฝ่ายทะเบียนและประเมินผล ฝ่ายบริการงานศึกษานั่นแหละค่ะ โดยขั้นตอนหลังจากนี้ สำหรับน้องๆ ที่กลัวว่ายังไม่ได้เช็กหนี้ของตัวเอง เหมือนเพื่อนๆ บางคนนะคะ พี่ๆ ฝ่ายทะเบียนจะจัดการตรวจสอบสถานภาพการศึกษาและหนี้สินต่างๆ ให้เราเองค่ะ

ขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบสถานะการลาออก
         ยื่นใบลาออกเรียบร้อย น้องๆ ก็รอค่ะ รอให้พี่ๆ ส่วนทะเบียน จัดการเสนอเรื่องขออนุมัติต่ออธิการบดี โดยทั่วไปรอไม่เกิน 2-7 วันทำการค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำงานของแต่ละสถาบัน และการตามเรื่องของเราด้วยนะคะน้องๆ เพื่อความสบายใจ ก็ถามพี่ๆ ไว้ล่วงหน้าเลยว่า กี่วันหลังจากดำเนินการ ถึงทำเรื่องผ่านเรียบร้อย พอครบกำหนดตามที่คุยไว้ ก็เข้ามาตรวจสอบสถานะการลาออกค่ะ อาจจะเช็กผ่านเว็บไซต์คณะในช่องทางดูเกรด ก็จะขึ้นสถานะว่า "พ้นสภาพ" หรือเข้ามารับทราบผลการอนุมัติลาออกได้ที่สำนักทะเบียนฯ หรือสะดวกที่สุดคือคณะจะส่งจดหมายอนุมัติลาออกมาให้เราถึงบ้านเลยค่ะ เลิศไปอีก!

         โดยทั่วไปแล้ว รุ่นพี่เด็กซิ่วบอกว่าขั้นตอนการลาออกไม่ค่อยยุ่งยากค่ะ จะลำบากหน่อยตรงที่น้องๆ หลายสถาบัน ต้องเข้าไปขอลายเซ็นในใบคำร้องเอง (แต่บางสถาบันฝ่ายทะเบียนฯ จัดการให้หมดเลย) บางคนบอกว่ายากตั้งแต่ขอลายเซ็นคุณพ่อคุณแม่แล้ว มาเจอลายเซ็นอาจารย์ที่ปรึกษา ลายเซ็นฝ่ายกิจการนิสิตที่เราค้างค่าเทอมไว้อีก ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ TOT

         พี่เมก้าเลยอยากฝากให้น้องๆ เด็กซิ่ว ที่รู้ตัวว่าจำเป็นต้องลาออก รีบดำเนินเรื่องตั้งแต่เนิ่นๆ เลยค่ะ ก่อนกำหนด 1-2 เดือนยิ่งดี แล้วทำอะไรก็อย่าประมาท ต้องการพบอาจารย์ท่านใด นัดไว้ก่อนเลย จะได้ไม่ไปรอเก้อ ส่วนเรื่องหนี้ค้างชำระ ถ้าน้องยังไม่จ่ายค่าเทอม บางสถาบันก็อาจจะยังไม่สามารถอนุมัติให้เราลาออกได้ค่ะ อาจจะต้องทำเรื่องกันอีกหลายขั้นตอน ดังนั้น อย่าลืมรอบคอบไว้ก่อนนะคะ