ทุก กร กิริยา ของ พระพุทธเจ้า

พระมหาบุรุษเสด็จเข้าสำนักดาบส-เริ่มทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษก็เสด็จจาริกจากที่นั้น ไปสู่สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร
ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ขอพำนักศึกษาวิชาและข้อปฏิบัติอยู่
ทรงศึกษาอยู่ไม่นาน ก็ได้สำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ สิ้นความรู้ของอาฬารดาบส

ทรงเห็นว่าธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาอาฬารดาบส
ไปสู่สำนักอุทกดาบส รามบุตร ขอพำนักศึกษาอยู่ด้วย ทรงศึกษาไดอรูปฌาน ๔ ครับสมาบัติ ๘
สิ้นความรู้ของอุทกดาบส ครั้นทรงไตร่ถามถึงธรรมวิเศษขึ้นไป อุทกดาบสก็ไม่สามารถจะบอกได้
และได้ยกย่องตั้งพระมหาบุรุษไว้ในที่เป็นอาจารย์เสมอด้วยตน

ทุก กร กิริยา ของ พระพุทธเจ้า

แต่พระมหาบุรุษทรงเห็นว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้
จึงได้อำลาอาจารย์ออกแสวงหาธรรมวิเศษสืบไป ทั้งมุ่งพระทัยจะทำความเพียรโดยลำพังพระองค์เดียว
ได้เสด็จจาริกไปยังมคธชนบท บรรลุถึงตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น
แนวป่าเขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน่ารื่นรมณ์ โคจรคาม
คือ หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกษาจาร ก็ตั้งอยู่ไม่ไกล ทรงเห็นว่าประเทศนั้น
ควรเป็นที่อาศัยของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้ จึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น

ส่วนบรรพชิตทั้ง ๕ อันมีนามว่า ปัญจวัคคีย์ คือ พระโกณทัญญะ
พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พากันเที่ยวติดตามพระมหาบุรุษในที่ต่าง ๆ
จนไปประสบพบพระมหาบุรุษยังตำบลอุรุเวลา เสนานิคม จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาทแล้ว
อยู่ปฏิบัติบำรุง จัดทำธุระกิจถวายทุกประการ โดยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดตนบ้าง

พระมหาบุรุษทรงเริ่มทำทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นปฏิปทาที่นิยมว่าเป็นทางให้ตรัสรู้ได้ในสมัยนั้น
โดยทรมานพระกายให้ลำบาก ซึ่งเป็นกิจยากที่บุคคลจะกระทำได้ ด้วยการทรมานเป็น ๓ วาระ ดังนี้

วาระแรก ทรงกดพระทนต์(ฟัน)ด้วยพระทนต์
กดพระตาลุ(เพดานปาก)ุด้วยพระชิวหา(ลิ้น)ไว้ให้แน่น จนพระเสโท(เหงื่อ)ไหลจากพระกัจฉะ(รักแร้)
ในเวลานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง
จับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศรีษะ หรือที่คอ บีบให้แน่น ฉะนั้น
แม้พระกายจะกระวนกระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
พระองค์มีพระสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ท้อถอย ครั้นทรงเห็นว่า
การกระทำอย่างนั้น ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสสะ(ลมหายใจเข้าออก)
เมื่อลมไม่ได้ทางเดินสะดวก โดยช่องพระนาสิก(จมูก)และช่องพระโอฐ(ปาก)
ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณ(หู)ทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร(หัว) ร้อนในพระกายเป็นกำลัง
แม้จะได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนานั้น ก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ครั้นทรงเห็นว่า
การกระทำอย่างนี้ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ ก็ทรงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๓ ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้าง เสวยอาหารละเอียดบ้าง
จนพระกายเหี่ยวแห้ง พระฉวี(ผิว)เศร้าหมอง พระอัฏฐิ(กระดูก)ปรากฏทั่วพระกาย
เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากเน่าร่วงจากขุมพระโลมา
พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนเซล้ม วันหนึ่งทรงอ่อนพระกำลัง
อิดโรยโหยหิวที่สุด จนไม่สามารถจะทรงพระกายไว้ได้ ก็ทรงวิสัญญีภาพ(สลบ)ล้มลงในที่นั้น

        ทุกกรกิริยา ที่ทรงทำมี ๓ อย่างคือ กดพระทนต์ด้วยพระทนต์ ( กัดฟันแน่น) จนลมออกหูกลั้นลมหายใจจนท้องไส้ปั่นป่วน และอดอาหารจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก แต่ไม่ได้บรรลุธรรมอะไร จึงทรงเลิกละเสีย ทรงมุ่งมาปฏิบัติตามทางสายกลางจึงได้ตรัสรู้ธรรม

การบำเพ็ญทุกรกิริยา (อ่านว่า ทุ-กะ-ระ- กิ-ริ-ยา) มักเป็นเรื่องที่ผู้สอนพุทธประวัติทั่วไปจะไม่เข้าใจเท่าไร บางทีก็อธิบายว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา  แต่ที่จริงแล้วเป็นการทรมานตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์เรียกว่า “อัตตะกิละมัตถานุโยค” แปลว่าการบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง เป็นวิธีการที่สุดโต่ง ไม่ใช่ทางหลุดพ้นได้  จึงมีคำถามว่า แล้วเหตุไฉนพระพุทธองค์เมื่อก่อนตรัสรู้จึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยา  เพราะว่าหลังจากพระองค์ผนวชแล้วทรงได้ศึกษาคำสอน ปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ ของนักบวชในสมัยนั้น รวมทั้งการทำทุกรกิริยาด้วย  ซึ่งคิดว่าจะเป็นหนทางบรรลุพระโพธิญาณได้ แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติจนครบถ้วนแล้ว จึงได้เห็นว่าความเชื่อและวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ เพราะไปยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างขาดปัญญา  พระองค์จึงเปลี่ยนแนวทางใหม่คือดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง 

ซึ่งการบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ทรงปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้ -

๑. ลดพระกระยาหารให้น้อยลงตามลำดับจนกระทั่งเหลือเพียงเท่าเมล็ดในของถั่วพูเท่านั้นในหนึ่ง มื้อของแต่ละวัน
๒. เสวยของโสโครก เช่น เสวยมูลของลูกโค หรือพระบังคลหนักของพระองค์เอง เป็นต้น
๓. เอาของโสโครก เช่น ขี้เถ้า ทาพระวรกายโดยไม่ทรงสนาน(อาบน้ำ)เลยเป็นเวลานับปีจนกระทั่ง สิ่งโสโครกเหล่านั้นเกาะติดพระวรกายเป็นแผ่น
๔. กลั้นลมหายใจโดยใช้พระชิวหากดเพดานปากจนหูอื้อตาลายเกิดอาการวิงเวียนพระเศียร

วิเคราะห์
การที่พระองค์ได้ทรงกระทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ ปี จนทำให้พระวรกายของพระองค์ลำบาก สกปรก ซูบผอม และอ่อนล้า ในที่สุดพระองค์ทรงระลึกได้ว่า เมื่อคราวที่ทรงพระชนมายุ ๗ ขวบนั้น ทรงเจริญ
อานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกจนได้บรรลุปฐมฌาน

ทุก กร กิริยา ของ พระพุทธเจ้า

ที่มา ::: http://www.vicha.kroophra.net/

เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์

ทุกกรกิริยา มีอะไรบ้าง

ทุกรกิริยา” อย่างง่ายที่สุดคือการละเว้นจากกิเลสบางอย่าง เช่น การงดดื่มสุรา หรือการเลือกใช้ชีวิตอันสมถะ เช่น ใช้ชีวิตอารามวาสี หรือถ้าเป็น “ทุกรกิริยา” ขั้นรุนแรงอาจจะเป็นการทำร้ายตนเองเช่นโดยการเฆี่ยน แทง หรือกรีดเนื้อหนังเป็นต้น

พระพุทธเจ้าทรงบําเพ็ญทุกกรกิริยาณ ที่ใด

การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เองแทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้วพระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจาก ...

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรที่ใด

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง ... ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย