การจัดการ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน ตัวอย่าง

ชื่อโครงการ การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม มูลนิธิปิดทองหลังพระ, เทศบาลตำบลสมเด็จ
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลสมเด็จ อ.สมเด็จ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0817174430,
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 304,100.00 บาท
ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตําบลสมเด็จ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล โดยการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสี่แยก ในปี พ.ศ.2504 มีชื่อเรียกว่า "สุขาภิบาลสี่แยก" และมีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 ในปี พ.ศ.2507 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอําเภอสมเด็จ สุขาภิบาลสี่แยกยังขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอําเภอสหัสขันธ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2512 กิ่งอําเภอสมเด็จได้ยกฐานะเป็นอําเภอสมเด็จ สุขาภิบาลสี่แยกจึงได้มาขึ้นอยู่ในการปกครองของอําเภอสมเด็จ และในปี พ.ศ. 2522 ได้เปลี่ยนชื่อจากสุขาภิบาลสี่แยกเป็นสุขาภิบาลสมเด็จ ประกอบด้วยบางส่วนของตําบลสมเด็จ อันได้แก่ท้องที่ในหมู่ 2,3,4,5,6,10 ของตําบลสมเด็จ จากการวัดพื้นที่ตามแนวหลักเขตตามประกาศกระทรวงมหาดไทย สุขาภิบาลสมเด็จมีพื้นที่ 4.5 ตารางกิโลเมตร และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั่วประเทศสุขาภิบาลสมเด็จจึงได้ยกฐานะเป็นเทศบาล มีชื่อว่าเทศบาลตําบลสมเด็จ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา
จากการสำรวจของเทศบาลตำบลสมเด็จ ในปี พ.ศ. 2559 เทศบาลตำบลสมเด็จมีประชากรที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จํานวน 7,266 คน จํานวนครัวเรือน 3,108 ครัวเรือน ปริมาณความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตร ต่อพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งมีพื้นที่ 4.5 ตร.กม. คือ มีความหนาแน่น เท่ากับ 1,614.66 คนต่อตารางกิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกนำไปใช้ในการพัฒนาและเกิดความเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศมีลักษณะรวมศูนย์ขาดการเชื่อมโยงกับพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ระบบนิเวศชายฝั่งถูกทำลาย และทรัพยากรน้ำยังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และชุมชนเมือง ภาวะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดลอมจากการใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการบริโภคและการผลิตของมนุษย พิจารณาไดจาก เมื่อการใชประโยชนดานใดดานหนึ่งเริ่มมีขอจํากัดเกิดขึ้นขอจํากัดดังกลาวจะเปนดัชนีที่บงชี้ถึงภาวการณเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางดานปริมาณและคุณภาพจากที่เคยเปนกับภาวะที่เปนอยูจริง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 9 (2545-2549) ไดนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเปนแนวทางโดยยุทธศาสตรดานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไดใหความสําคัญกับการปรับกลไกและกระบวนการจัดการเชิงบูรณาการที่เนนการมีสวนรวมของทองถิ่นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยใหมีจิตสํานึกในการอนุรักษสภาพแวดลอมของชาติและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใชกฎหมายที่ประชาชนมีสวนรวมในการบริหารจัดการ
จากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในเทศบาลตำบลสมเด็จ เมื่อปี พ.ศ. 2561 พบว่า ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งข้อเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่
(1) การไม่มีท่อระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำชํารุด ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังจากน้ำทิ้งและน้ำเสียที่ใช้ตามบ้านเรือน ร้านค้า โรงงานขนาดเล็ก รวมทั้งมีน้ำท่วมขังจากสภาวะฝนตก ท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำ เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตําบลสมเด็จ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับเนิน และการถมดินที่สูงมากในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน รวมทั้งการวางผังเมืองที่ไม่ได้วางระบบการไหลของน้ำที่เกิดจากการใช้ในบ้านเรือน ร้านค้า โรงงาน และน้ำฝน ดังนั้น ปัญหาน้ำเน่าเสียและท่วมขังจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งมีปริมาณน้ำท่วมขังมาก อันส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนอย่างไรก็ตามการก่อสร้างถนนของเทศบาลในอดีตไม่ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำพร้อมกันไปด้วย ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังจากครัวเรือน ร้านค้าโดยทั่วไปและจากการขยายตัวของเมืองที่ออกไปสู่รอบนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่นา
(2) ปัญหาเรื่องความสะอาด ปัญหาขยะตกค้าง ถังขยะมีไม่ถั่วถึง ทิ้งขยะไม่เป็นระเบียบ การที่ประชาชนนอกเขตเทศบาลนําขยะเข้ามาทิ้งในพื้นที่เขตเทศบาลเป็นจํานวนมากทําให้เทศบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการกําจัดขยะ ความสะอาด เทศบาลตําบลสมเด็จเป็นท้องถิ่นเป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นและแออัด จํานวนประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง ทําให้ขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจําวันมีจํานวนมากตามขึ้นไปด้วย ประกอบกับประชาชนของท้องถิ่นรอบนอกได้นําขยะเข้ามาทิ้งในเขตพื้นที่ของเทศบาล เมื่อขยะมูลฝอยมีจํานวนเพิ่มขึ้น ทําให้ส่งผลกระทบต่อการรักษาความสะอาดของชุมชน เกิดขยะตกค้างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นชุมชนหนาแน่น เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านเรือน ร้านค้า และตลาดสด
จากปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมชุมชน ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาเพียงฝ่ายเดียวจะจะไม่สามารถทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ การพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งจึงต้องสนับสนุนให้ชุมชนรู้เท่าทันสถานการณ์สิ่งแวดล้อมตามบริบทของพื้นที่ และสามารถจัดการปัญหาหรือความเสี่ยงสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนและก่อเกิดของการมีส่วนร่วมในชุมชน เกิดนวัตกรรมชุมชนที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนอื่น ๆ เกิดการสร้างภาคีเครือข่ายการทำงาน สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือการที่ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจกันในการควบคุมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยมีส่วนร่วมตั้งแต่การศึกษาประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่มีในชุมชน การหาสาเหตุของปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ไข ปัญหา และแนวทางในการป้องกันปัญหา การตัดสินใจและการดำเนินการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในการช่วยกันแก้ไขปัญหา จะสามารถนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดตั้งแต่การดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกำหนดปัญหา วางแผนตัดสินใจ ระดมทรัพยากรบริหารจัดการ ติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของคนในชุมชนอันจะสร้างความเข้มแข็งจากภายใน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาคุณภาพชีวิต
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารและการแปรรูป - ฮาลาล การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและ การจัดการภัยพิบัติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทะเลสาบสงขลา ประมงและการเพาะเลี้ยง สังคมพหุวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา สุขภาพและการแพทย์ Digital Smart city Smart Education Smart Health Smart Farmand Creative Economy การจัดการพลังงาน พลังงานชีวภาพ พลังงานน้ำ ลม แดด สังคมสูงวัย (Aging Society) ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง (Social Quality) ภายใต้แผนปฏิรูปด้านสังคม
คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
นำเข้าสู่ระบบโดย
การจัดการ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน ตัวอย่าง
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 17:12 น.

การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีอะไรบ้าง

1) พัฒนาแนวทางในการจัดการของเสียและน้ำเสียของทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม 3) ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชน และ 4) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับ ...

สิ่งแวดล้อมในชุมชน มีอะไรบ้าง

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น 2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย

การจัดการสิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยการวางแผน ดําเนินงาน ติดตามประเมินผลและปรับปรุง แก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ให้ได้ยั่งยืน ยาวนานตลอดไป และเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติให้มากที่สุด (วินัย วีระวัฒนา ...

นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองได้อย่างไร

1. ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติและควบคุมดูแลคุณภาพ สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 2. ระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน การสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างรู้คุณค่าโดยการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลประโยชน์และผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ