การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

ปัจจุบันต้องบอกว่าธุรกรรมออนไลน์มีให้เลือกใช้งานหลากรูปแบบมาก ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยได้ยินกับระบบ “e-payment” กันพอควร ทว่า e-payment คืออะไร มั่นใจในการใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน? นี่คงเป็นความสงสัยที่ต้องมีคนจำนวนไม่น้อยต้องการคำตอบ เพื่อการันตีว่าหากเลือกใช้งานแล้วไม่ต้องกังวลใจ ที่สำคัญข้อมูลส่วนตัวไม่มีทางรั่วไหลออกไปเหมือนกับจ่ายเงินสดตามแบบที่คุ้นเคย

ไขข้อสงสัยe-payment คืออะไร?

e-payment คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างความสะดวกให้กับคนในยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีการฉ้อโกงใด ๆ เกิดขึ้น การันตีความปลอดภัยสบายใจหายห่วง โดยสามารถทำธุรกรรมการโอนเงินได้จากทางสมาร์ทโฟนที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะมาจาก Wi – Fi หรือ 3G, 4G, 5G อย่างไรก็ตามยังต้องมีการขออนุญาตก่อนเปิดใช้งาน ซึ่งการทำงานของ e-payment มีด้วยกัน 8 ประเภท ได้แก่

  • บริการเครือข่ายบัตรเครดิต โดยจะทำหน้าที่ในการส่งผ่านข้อมูลการเงินไปยังผู้ใช้บริการบัตรเครดิตให้รู้ตัวเสมอว่ากำลังมีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น
  • ระบบธุรกรรมการเงินแบบ e-Money ใช้จ่ายตามมูลค่าของตัวเงินผ่านการบันทึกรายการต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำธุรกรรมออนไลน์แทนเงินสด มีทั้งการโอนจ่ายบริการ หรือจ่ายค่าสินค้า เป็นต้น
  • บริการสวิตซิ่งในการจ่ายเงิน เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อการรับ-ส่งข้อมูลไปยังผู้ให้บริการ 
  • บริการเครือข่าย EDC Network ทำหน้าที่เชื่อมโยงด้านเครือข่ายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีให้บริการไว้ด้วยกัน สร้างความสะดวกสบายมากขึ้น
  • บริการชำระเงินแทน ทำการจ่ายเงินแทนที่ของเจ้าหนี้ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างรวดเร็ว
  • บริการหักบัญชี ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบ พร้อมยืนยันตกลงการจ่ายเงินแบบหักบัญชีด้วย ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยที่มีความรวดเร็ว และแม่นยำ ไม่ต้องกังวลกลโกงใด ๆ 
  • บริการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไปยังอุปกรณ์รองรับที่เป็นได้ทั้งระบบ PC อย่างคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือระบบปฏิบัติการ iOS – Android จำพวกมือถือ ขอแค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อเท่านั้น ที่สำคัญจะไม่มีการเก็บเงินเข้าไว้ก่อน

จากสิ่งที่อธิบายมาเบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่า  e-payment คือการใช้งานธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมช่วยเหลือคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ 

โดยถ้าแบ่งเป็นความน่าสนใจของกลุ่มประชาชนคนอย่างเรา ๆ ก็คือจะสามารถรับชำระหรือจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็ว เติมเงินผ่านมือถือได้ง่าย ๆ แบบไม่เสียเวลา ไม่ต้องถือเงินสดติดตัวจำนวนมากอันสุ่มเสี่ยงต่ออันตราย มีบริการแจ้งเตือนเงินเข้าออก ป้องกันการถูกมิจฉาชีพโจรกรรมไปได้ ค่าธรรมเนียมถูก ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้งานได้เลย ไม่ต้องกังวลเรื่องการใส่ข้อมูลผิดพลาด มั่นใจในการโอนเงินไปยังปลายที่ต้องการได้100% และยังช่วยรับเงินจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพคนชรา หรือเงินคืนภาษีบุคคลธรรมดา และอื่น ๆ อีกด้วย

กรณีเป็นในส่วนขององค์กรธุรกิจ มีการจ่ายภาษี หรือจ่ายเงินดำเนินการทางธุรกิจจะช่วยเพิ่มความชัดเจน โปร่งใส มีต้นทุนเกี่ยวกับการชำระเงินต่าง ๆ ประหยัดกว่าเดิม ลดการใช้งานเอกสาร พร้อมเพิ่มโอกาสการค้าไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลคนละซีกโลกก็ยังสามารถทำธุรกิจร่วมกันได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ

แล้วจะมั่นใจใช้งาน e-payment ได้มากน้อยแค่ไหน?

เมื่อรู้จักกันไปแล้วว่า e-payment คืออะไร แต่เผื่อว่าใครยังมีข้อสงสัยในเรื่องความเชื่อมั่น จะขอย้ำอีกครั้งว่าคุณสามารถมั่นใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบ e-Payment ได้จริง โดยมีการสำรวจคนไทยที่เลือกทำธุรกรรมระบบนี้มากกว่าการใช้เงินสดเกิน 70% โดยกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงจะใช้งานเยอะมาก เหตุเพราะไม่จำเป็นต้องพกเงินสดเยอะ ๆ ติดตัว 

ขณะที่ผลสำรวจคนไทยไม่อยากเสี่ยงพกเงินติดตัว ต้องการความปลอดภัยมากกว่า 50% และเลือกใช้เพราะความสะดวกรวดเร็ว เป็นการจ่ายเงินแบบอัตโนมัติมากกว่า 60% เลยทีเดียว 

เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังรู้แล้วเกี่ยวกับ e-payment คืออะไร มั่นใจได้มากน้อยแค่ไหน ทำให้รู้สึกไม่ลังเลเลือกใช้งานจริงแน่นอน ซึ่งหากใครที่เข้าข่ายการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินบ่อย โอนเงินจำนวนเยอะ ๆ ไม่อยากพกเงินสดมาก ลดความเสี่ยง ก็ลองใช้บริการดูได้ สบายใจไร้กังวลในเรื่องดังกล่าวจริง

ให้ Fillgoods ช่วยดูแลร้านค้าของคุณได้แบบครบวงจร

รู้จักฟีเจอร์ของเรา สมัครสมาชิก

การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับ e-Money ที่จดทะเบียนไม่ถูกต้องตามกฎหมายกำลังมาแรง หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า e-Money คืออะไร และ บริการรับชำระเงินเทพเพย์ใช่บริการ e-Money หรือไม่ วันนี้เราเลยอยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)  ซึ่งมี e-Money เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้กัน

  • การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)  คืออะไร
  • การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ต้องจดทะเบียนกับธปท.
  • LnwPay เป็นบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย ไม่ใช่บริการ e-Money
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ e-Payment ได้อย่างไร

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)  คืออะไร

“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การโอนสิทธิครองเงิน หรือการโอนสิทธิการถอนเงิน หรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วน  – อ้างอิงจาก พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกาารควบคุมดูแลธุรกิจการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551

กล่าวโดยสรุปแล้ว การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ การใช้ระบบต่าง ๆ ในการฝาก,ถอน,โอน หรือหักเงิน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นั่นเอง

การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ต้องจดทะเบียนกับธปท.

การให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) นั้นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธุรกิจ e-Payment ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธปท. ประกอบด้วยบริการ 8 ประเภท ดังนี้  

1. บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

e-Money หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ให้บริการออกให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือทำธุรกรรมอื่น ๆ แทนเงินสด ตามมูลค่าของเงินที่ผู้ใช้บริการฝากไว้กับผู้ให้บริการ หรือที่เราอาจจะคุ้นกันในศัพท์ที่ว่า “e-Wallet” นั่นเอง

2. บริการเครือข่ายบัตรเครดิต 

เครือข่ายบัตรเครดิต คือ เครือข่ายการให้บริการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิสก์ส่งต่อไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่าง ๆ

3. บริการเครือข่ายอีดีซี (EDC Network)

เครือข่ายอีดีซี (EDC Network) คือ จุดเชื่อมต่อ หรือ เครือข่ายของการให้บริการอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

4. บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching)

Transaction Switching คือ บริการเป็นศูนย์กลาง หรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ให้บริการตามที่ตกลงกัน

5. บริการหักบัญชี (Clearing)

บริการหักบัญชี คือ บริการรับส่ง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลตามคำสั่งการชำระเงิน รวมถึงการจัดการต่าง ๆ ให้กระบวนการชำระดุลระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนนี้สำเร็จลุล่วง

6. บริการชำระดุล (Settlement)

บริการชำระดุล คือ บริการระบบการชําระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ให้บริการหักเงินฝากของผู้ใช้บริการไปใช้ในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้

7. บริการรับชำระเงินแทน

บริการรับชำระเงินแทน คือ บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้

8. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย

การบริการประเภทนี้จะเป็นการรับชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้

การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

LnwPay เป็นบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย ไม่ใช่บริการ e-Money

สำหรับระบบรับชำระเงินเทพเพย์ เป็นบริการที่ขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทยในประเภทของ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย เลขที่ ค(3) 008/2555 โดยจดทะเบียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2555

ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ e-Payment ได้อย่างไร

ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ e-Payment แบบต่าง ๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ของธปท.  หรือ www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/OversightOfEmoney/ListOfEmoney/Pages/eMoneyProvider.aspx


ที่มาของข้อมูล: ธนาคารแห่งประเทศไทย 

Edit: เพิ่มคำว่า e-Wallet ในคำอธิบายเกี่ยวกับ e-Money ต้องขอบคุณ Oravee Smithiphol  ที่ทำให้คิดถึงศัพท์คำนี้ออกด้วยนะคะ