ผลกระทบของบุหรี่ต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบของบุหรี่ต่อสิ่งแวดล้อม

          กระบวนการผลิตที่ต้องตัดต้นไม้ เพื่อนำมาบ่มใบยาสูบ โรงงานผลิตที่ปล่อยควันเสีย รวมถึงการสูบก็สร้างมลภาวะและก้นบุหรี่ยังเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก


          เมื่อเห็นผลกระทบมากมายขนาดนี้ WHO เลยอยากชวนคนไทยที่ยังสูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ทั้งบุหรี่มวน บุหรี่ยาเส้น และบุหรี่ไฟฟ้า

          #วันงดสูบบุหรี่โลก #บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม #เลิกบุหรี่โทร1600


อย่างที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่มีโทษต่อร่างกายหลายด้านด้วยกัน นำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ หลากหลายที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต ไม่ใช่เพียงผู้ที่สูบเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ เพราะคนรอบข้างเองก็ได้รับโทษไม่น้อยเช่นกัน

ในควันบุหรี่มีสารนิโคติน

ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นหนึ่งในโรคร้ายคร่าชีวิตให้ถึงแก่ความตายได้ และกลายเป็นปัญหาหลักๆ ในการสูญเสียประชากรของสังคม นอกจากโรคมะเร็งก็ยังมีโรคร้ายอื่นๆ ที่เกิดจากควันบุหรี่ได้เช่นกัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง อีกทั้งยังเพิ่มความถี่ความรุนแรงให้กับอาการหอบหืด และภาวะการตายฉับพลันในทารกแรกเกิด เป็นต้น

โทษของควันบุหรี่ แบ่งออกเป็น

  • ควันบุหรี่มือหนึ่ง คือควันที่ผู้สูบดูดเข้าสู่ร่างกายด้วยตนเอง
  • ควันบุหรี่มือสอง คือควันที่ผู้สูบพ่นออกมาและฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่โดยรอบที่สูดดมเข้าไปและได้รับสารพิษ
  • ควันบุหรี่มือสาม เป็นควันที่ตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งของ เสื้อผ้า และวัตถุอื่นๆ ทำให้สารพิษเกาะติดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อผู้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น

ในเรื่องของควันบุหรี่มือสามซึ่งเป็นสารตกค้างที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการทำปฏิกิริยากับอากาศและผู้อยู่อาศัยสูดดมเข้าไป ก็ทำให้อันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งสารพิษจากควันบุหรี่มือสามเป็นชนิดที่เหมือนกันกับควันมือหนึ่งและมือสองทั้งหมด ที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งกว่า 200 ชนิดด้วยกัน

จากการศึกษายังพบว่าใน 75 ครอบครัวมีเด็กที่ตรวจพบตรวจพบสารโคตินินในปัสสาวะเด็กสูงกว่าปกติ ซึ่งโคตินิน คือตัวบ่งชี้ถึงการที่ร่างกายได้รับนิโคตินจากบุหรี่ คาดว่าไม่ได้มาจากการเดินผ่านควันบุหรี่แล้วสูดดมเข้าไป แต่เป็นการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ โดยอัตราที่ตรวจพบนั้นอยู่ที่ 42% ของ 75 ครอบครัว

นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อควันบุหรี่มือสาม ยังพบว่าจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามอพาร์ตเม้น คอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นไปได้ว่าในห้องพักอาศัยของตนเองอาจไม่มีผู้สูบบุหรี่ แต่ถ้าหากห้องข้างๆ มีการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ก็สามารถเล็ดลอดทางหน้าต่าง ท่อระบายน้ำ และอื่นๆ มาได้อย่างง่ายดาย จากการศึกษายังพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดฯ 1 ใน 4 กว่า 68% มีการตรวจพบสารนิโคตินในเด็ก ขณะที่ผู้อาศัยในบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตรวจพบสารนิโคตินในเด็กเพียง 30% เท่านั้น

วิธีการกำจัดสารพิษตกค้าง

คือให้คนในบ้านหรือหากเป็นผู้สูบเองทำการเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาด และทำความสะอาดสถานที่ ห้องต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลา รวมถึงระบายอากาศที่มีอยู่ ซึ่งก็ต้องใช้ระยะเวลาเช่นกัน สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่เองหากไม่คิดที่จะเลิก ก็ควรคำนึงถึงส่วนร่วมหรือผู้ที่อยู่รอบข้าง ควรเคารพสิทธิของผู้อื่น หรือทำการสูบไม่ให้รบกวนผู้อื่น

http://www.smokefreezone.or.th/media_page/590/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1.html

Cr.มูลนิธิการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

วันงดสูบบุหรี่โลก ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี โดยเริ่มมีการจัดงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม

ประวัติวันงดสูบบุหรี่โลก

องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) มีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี โดยมีอนุสัญญาควบคุมยาสูบและแสดงโทษของยาสูบ เพื่อแนะนำให้แต่ละประเทศ ใช้ซองบุหรี่แบบเรียบเพื่อแสดงภาพคำเตือนบนซองบุหรี่

สัญลักษณ์ของวันงดสูบบุหรี่โลก

ดอกลีลาวดี (ดอกลั่นทม) เป็นสัญลักษณ์ของ “วันงดสูบบุหรี่โลก” หมายถึง การขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา

ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึง การมีแต่ความสุข ชื่อเดิมนั้น คือ ดอกลั่นทม ซึ่งเมื่อก่อนทุกคนจะเข้าใจว่า เป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน ปลูกแล้วมีแต่ความทุกข์ระทม แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม

  • ลั่น = ละทิ้ง เลิก
  • ทม = ความระทม

รวมความของดอกไม้ประจำวันงดสูบบุหรี่ได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือให้มีความสุข สดใส และพอใกล้จะถึงวัน ที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง, ร้านอาหารต่างๆ, ตลอดจนหน่วยงานทีมีความสนใจ ได้ร่วมกันรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ บางหน่วยงานจะมีการจัดขบวนมอบของกระตุ้นกำลังใจเพื่อวันที่ไร้บุหรี่ จัดเพื่อสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่อย่างแท้จริง

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 2565 : บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม

โทษของบุหรี่

การสูบบุหรี่นั้นถือเป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็ง ไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารอันตรายที่สำคัญ เช่น

บุหรี่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

เพราะบุหรี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้ป่ามากที่สุด อีกทั้งกระบวนการการผลิตยาสูบต้องใช้ฟืนจำนวนมากในการบ่มใบยาสูบ จึงทำให้เราสูญเสียป่าไปอีกหลายล้านไร่ นอกจากจะทำให้ปอดคนหายแล้วก็ยังทำลายปอดของโลกอีกด้วย

บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไร

“ขยะจากก้นกรองบุหรี่ จะประกอบด้วยสารเคมี เช่น ท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง สารก่อมะเร็ง สามารถทำให้น้ำทะเลและน้ำสะอาดมีพิษ และยังเป็นพิษต่อจุลินทรีย์และสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่มักได้รับผลกระทบจากการกินขยะประเภทนี้จนเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการผลิต ก้นกรองบุหรี่ ...

การสูบบุหรี่มีผลเสียอย่างไร

เมื่อสูบบุหรี่เข้าไปในร่างกายแล้ว บุหรี่ก็เข้าไปทำลายร่างกายแทบจะทุกส่วน เริ่มตั้งแต่หลอดเลือดสมอง แอด ทางเดินอาหาร หัวใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ จนทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดนิปัสสาวะ รวมถึงเกืดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีความเสี่ยงแท้งของหญิงตั้งครรภ์ และมีโอกาสตาบอดถาวร

บุหรี่ทำลายสุขภาพอย่างไร

บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,800 ชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ง่าย ผู้ที่เคยสูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน และหยุดการสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดได้ หากเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลานานกว่า 10 ปี โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเทียบเท่าได้กับผู้ที่ไม่สูบ ...