เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

การตรวจพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีจีโนมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์

Introduction:

ในพืช การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นหัวใจสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านต่างๆ เช่น พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค ดังนั้นการนำองค์ความรู้และข้อมูลผลงานวิจัยทางด้านจีโนมพืชมาพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพในระดับพันธุกรรม จะมีส่วนสำคัญ ในการย่นย่อ ระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์เหล่านั้นให้มีความรวดเร็ว  มีคุณสมบัติของพันธุ์ถูกต้องแม่นยำตรงตามความต้องการของ เกษตรกร ผู้บริโภค และตลาด สอดคล้องต่อสถานการณ์ของความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงปัญหาสภาพแวดล้อมวิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นและยากต่อการการเดา ในอนาคต

ปัจจุบันทีมวิจัย “นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ” ประสบความสำเร็จในการพัฒนา ระบบปฏิบัติการตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบประสิทธิภาพสูง โดยระบบการตรวจสอบนี้ มีความหนาแน่นของตำแหน่งที่จำเพาะต่อลักษณะที่ต้องการตรวจสอบจำนวนมาก ออกแบบได้ง่ายไม่จำกัด แปรผลรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบตัวอย่างปริมาณมากต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง การนำระบบดังกล่าวนี้มาใช้กระบวนการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพทางพันธุกรรมของพืชโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ สามารถทำได้หลายวิธีและหลายวัตถุประสงค์ เช่น 1. การทดสอบความบริสุทธิ์ ระบุ อัตลักษณ์ ความถูกต้องตรงตามพันธุ์  2. การตรวจรับรองลักษณะจำเพาะ หรือ ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมของ ของสายพันธุ์ 3. การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับพันธุ์พ่อ แม่ และการระบุเอกลักษณ์ทางพันธุกรรม สำหรับการปรับปรุงพันธุ์นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ประเมินความคล้ายคลึง หรือความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรในพืชแต่ละชนิดได้  จากผลงานวิจัยที่ผ่านมามากกว่า 15 ปี ทีมวิจัยสามารถนำเครื่องหมายดีเอ็นเอเข้าไปช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ในหลากหลายพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ  อาทิเช่น ข้าว, ข้าวโพด, มะเขือเทศ, มะพร้าว รวมถึงพืชสมุนไพร กัญชงและกัญชาเป็นต้น เครื่องมือตรวจสอบทางพันธุกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของนักปรับปรุงพันธุ์ สร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านสิทธิทางกฎหมายสำหรับคุ้มครองพันธุ์พืช และทรัพย์สินทางปัญญา 

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ดร. วินิตชาญ รื่นใจชน
ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ (APBT)
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

  • 0 2564 6700 ต่อ 3329-3331

  • [email protected]

  • https://www.biotec.or.th/home/

นิทรรศการอื่นๆ :

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

นิทรรศการ BCG | เกษตรและอาหาร

ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model : Bio – Circular – Green Economy)

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

นิทรรศการ BCG | เกษตรและอาหาร

การพัฒนาอาหารจากโปรตีนพืชด้วยการออกแบบโครงสร้างอาหาร

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

นิทรรศการ BCG | เกษตรและอาหาร

แพลตฟอร์มความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาคการเกษตร Thailand Agricultural Data Collaboration Platform (THAGRI)

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ด้านการเกษตร

นิทรรศการ BCG | เกษตรและอาหาร

“WiMaRC” นวัตกรรมเพื่อการเกษตรยุคใหม่

เทคโนโลยี DNA มีด้านอะไรบ้าง

เทคโนโลยีDNA.
ด้านเกษตร การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพืชโดยใช้เทคนิคต่างๆ ... .
ด้านอุตสาหกรรม = ผลผลิตจากด้านเกษตรกรรม, การใช้จุลินทรีย์ และการปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย.
ด้านอาหาร = เป็นผลพลอยได้จากด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรร.

เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสิ่งแวดล้อมอย่างไร

เช่น นำเอายีนที่ต้านทานสารปราบวัชพืชใส่เข้าไปในพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย ทำให้สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช ทำให้สารเคมีที่ปราบวัชพืชไม่มีผลต่อพืชดังกล่าวและสามารถใช้ประโยชน์จากดินและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนยังทำได้ง่ายขึ้น ผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ด้านนิติวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

1.การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการถ่ายรูป 2.การตรวจลายนิ้วมือฝ่ามือฝ่าเท้า 3.การตรวจเอกสาร 4.การตรวจอาวุธปืน และกระสุนปืนของกลาง 5.การตรวจทางเคมี 7.การตรวจทางชีววิทยา 8.การตรวจทางนิติเวช