ข้อเสียของการขายของหน้าร้าน

ในยุคที่การขายของอยู่บนโลกออนไลน์ มีช่องทางมากมายที่ช่วยให้ธุรกิจปิดการขายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง 2 ตัวเลือกยอดฮิตและมักถูกใช้งานอยู่เสมอคือ การใช้วิธีแชทสอบถามพูดคุยจากลูกค้า และการใช้งานเว็บไซต์ที่มี Salepage

ลองมาดูความแตกต่างและข้อดี-ข้อเสียเมื่อเลือกขายของออนไลน์ผ่านทั้ง 2 ช่องทางว่าเป็นอย่างไร และเราควรทำแบบไหนให้ได้ผลมากที่สุด

การขายผ่านช่องทางแชท

เป็นวิธีขายโดยอาศัยการพูดคุยระหว่างผู้ซื้อ (ลูกค้า) กับผู้ขาย (ธุรกิจ) รูปแบบการแชทส่วนมากจะเป็นลูกค้าที่ทักเข้ามาสอบถามรายละเอียด ข้อเสนอต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่ธุรกิจกำหนดเอาไว้ เช่น Facebook Messenger, Line, Instagram DM เป็นต้น

ข้อเสีย

  • ลูกค้าอาจขอส่วนลดที่มากเกินพอดีจนผู้ขายไม่คุ้มค่า
  • ในกรณีที่ตอบแชทช้าอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่พึงพอใจได้ โดยเฉพาะการพูดคุยครั้งแรก
  • ไม่สามารถคัดกรองลูกค้าได้ ทำให้อาจจะเสียเวลาตอบข้อสงสัยเยอะกับลูกค้าที่ไม่ศักยภาพในการสั่งซื้อจริงๆ เพราะเเชทคุยได้ทันเหมือนเพื่อน
  • ต้องคอยระวังเรื่องของอารมณ์เมื่อมีการโต้ตอบกันระหว่าง 2 ฝ่าย หากคุณเก็บอารมณ์ไม่ดีพออาจทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหาย

ข้อดี

  • ช่วยตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้ชัดเจน เพิ่มโอกาสในการรับรู้และตัดสินใจมากขึ้น
  • สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ เพราะเขาเองจะรู้จักสินค้า / บริการของคุณมากกว่าแค่การอ่านข้อมูล
  • ผู้ขายสามารถโน้มน้าว ให้โปรโมชั่นจูงใจเพื่อปิดการขายได้เร็วขึ้น ได้ยอดขายตามมา
  • มีโอกาสที่จะได้ลูกค้าที่ภักดีกับแบรนด์หากพูดคุยถูกคอ
  • ได้ศึกษากลุ่มลูกค้าโดยตรง นำไปปรับแนวทางการโฆษณา การขาย ให้เหมาะสมมากกว่าเดิม

การขายผ่าน Website – Salepage

การขายผ่านหน้า Website หรือ Sale Page คือ อีกวิธีที่จะช่วยให้การขายของออนไลน์ง่ายขึ้นกว่าเดิม หลักการของหน้านี้จะใช้วิธีสร้างเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาอ่าน จากนั้นจะมีปุ่มคลิกสำหรับนำไปสู่ขั้นตอนการซื้อ ชำระเงิน ปิดจบการขาย เมื่อธุรกิจได้รับออเดอร์จึงทำตามขั้นตอนต่อไป

ข้อเสีย

  • การโน้มน้าวใจลูกค้าทำได้น้อย โอกาสเปลี่ยนใจของลูกค้ามีอยู่ตลอดหากเกิดการเปรียบเทียบ
  • ต้องใช้ความชำนาญ สร้างสรรค์เนื้อหาให้กระชับ น่าสนใจ ดึงดูด
  • ลูกค้ามีโอกาสเกิดข้อสงสัยแล้วตัดสินใจไม่ซื้อได
  • อาจเกิดความสับสน ถ้าออกเเบบหน้าเว็บไซต์มาไม่ดี

ข้อดี

  • มีความสะดวกต่อการขาย ไม่ต้องคอยตอบคำถามตลอด
  • สามารถขายได้ตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องมีคนเข้ามาดูแลทุกเวลา
  • ลดความล่าช้าในการจัดการออเดอร์และความผิดพลาดของออเดอร์
  • สามารถนำเสนอสินค้าโดยวิธีที่เเปลกใหม่ ใช้กลยุทธ์เเละเครื่องมือทางการตลาดได้มากมาย
  • ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว เมื่อใช้คู่กับระบบหรือบริการอื่นๆได้ ทำให้ธุรกิจมีระบบที่อัตโนมัติ
  • เก็บสถิติวัดผลได้ง่าย ไม่ต้องคาดคะเนอย่างเดียว

แม้ว่าทั้ง 2 ช่องทางการขายจะมีความแตกต่าง มีข้อดี-ข้อเสียอยู่ แต่ถ้าธุรกิจเลือกทำไปพร้อม ๆ กันก็จะช่วยเพิ่มโอกาสด้านยอดขาย ผลกำไร และสร้างความภักดีให้เกิดขึ้นในระยะยาวได้

การขายผ่านเเชทหรือข้อความก็ทำให้ลูกค้าสามารถถามคำถามที่ยังสงสัยได้ทันที รู้สึกเป็นกันเอง สะดวกสบาย ธุรกิจก็สามารถสื่อสารหรือเเจ้งโปรโมทชั่นกับลูกค้าได้ทันทีอีกด้วย

การมี Web Salepage ทำให้ธุรกิจดูน่าเชื่อถือเหมือนมีที่ตั้งหน้าร้าน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้เองโดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่มาให้บริการจะตอนไหนก็ขายได้ ที่สำคัญมีลูกค้าใหม่เข้าหาอยู่ตลอดได้เช่นกันผ่านการค้นหาใน Search Engine

การตัดสินใจว่าจะไปทางการทำธุรกิจเปิดหน้าร้านแบบเดิมๆ ที่เป็น offline หรือจะไปทางวิถีสมัยใหม่อย่างการทำธุรกิจออนไลน์ หรือจะผสมทั้งสองทาง ก็ล้วนเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่คุณจะต้องเลือก เพราะแต่ละทางก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนที่คุณควรพิจารณา

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะเลือกทำธุรกิจแบบไหน มันก็ล้วนมีปัจจัยที่ควรนำมาเป็นแกนหลักในการเลือก

  • มันควรทำให้ตัวคุณพึงพอใจ ชอบที่จะทำ
  • มันควรทำกำไรได้
  • มันไม่ควรทำให้คุณรู้สึกเหมือนติดคุก

ถ้าการตัดสินใจของคุณสามารถตอบโจทย์แกนหลักได้แค่ 1 ในสามข้อด้านบน มันก็เป็นอาจเข้าข่ายได้ว่าคุณกำลังตัดสินใจผิด… เมื่อคนเรามีการตัดสินใจที่ผิดพลาดก็อาจไปไม่รุ่งนักในธุรกิจ แต่ถ้าคุณสามารถตอบโจทย์แกนหลักทั้งสามข้อด้านบนได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จ พูดถึงเกณฑ์ด้านบน…ข้อแรกเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคุณไม่ได้รักสิ่งที่คุณทำอย่างจริงใจ มันก็อาจส่งผลสะท้อนออกมายังผลงานที่คุณทำออกมาได้

ตอนนี้มันก็ถึงเวลาที่จะมาดูความแตกต่างและความคล้ายกันของธุรกิจแบบ online – offline แล้ว… เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะเลือกไปทางไหน เพราะธุรกิจบางประเภทก็ไม่ค่อยเวิร์คนัก ถ้าจะทำแบบออนไลน์

ทุกธุรกิจควรมีการโฆษณาหรือโปรโมททางออนไลน์ แต่มีแค่บางธุรกิจเท่านั้นที่จะทำได้แบบรุ่งจริงๆ ในการทำธุรกิจออนไลน์ เช่น ธุรกิจประเภทที่ต้องมีคุณปรากฎให้เจออยู่ ณ ที่บางที่หรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งนั้นแหละที่จะไม่เหมาะที่จะนำมาทำแบบออนไลน์

และในอีกด้านหนึ่ง ก็แทบไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถทำได้ในโลกธุรกิจออนไลน์ เพราะการเป็นออนไลน์คือการที่คุณสามารถขยายตลาดของคุณไปกว้างเท่าไรก็ได้ และยังสามารถเข้าถึงผู้ใช้ทั่วโลกได้อีกด้วย

ธุรกิจบางประเภททำเป็นออนไลน์แล้วรุ่งมาก

ถ้าธุรกิจของคุณคือการขายตั๋วต่างๆนาๆ เช่น ตั๋วเครื่องบิน เรือ คุณก็สามารถหวังได้เลยว่าจะทำยอดขายให้ได้มากขึ้นเมื่อนำมาเข้าเป็นแบบออนไลน์แทนที่จะนั่งรอให้คนเข้ามาในออฟฟิสเพื่อมาจองตั๋วเหล่านี้ ตลาดของคนที่ต้องการที่จะซื้อก็ค่อนข้างที่จะกลาดเกลื่อนกระจายอยู่ทุกที่ ดังนั้นแล้วการโฆษณาสินค้าออนไลน์นั้นหมายความว่าคุณจะสามารถเข้าหาตลาดของคุณได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพ

ธุรกิจออฟไลน์มักต้องจัดการอยู่ในชั่วโมงที่จำกัด

ไม่นับร้านที่มีการยกเว้นอย่าง 7-eleven ธุรกิจออฟไลน์ทั่วไปนั้นก็ต้องค้าขายอยู่ในวันและเวลาที่จำกัด ลูกค้าที่มีกำลังซื้อแต่ไม่สามารถเข้ามาซื้อสินค้าภายในวันและเวลาดังกล่าวแม้อยากได้สินค้าของคุณมากแค่ไหนก็จะต้องอดทนรอจนกว่าจะตรงกับวันและเวลาที่คุณเปิดทำการ หรือพวกเขาก็อาจหันไปช้อปปิ้งออนไลน์แทน

ธุรกิจออนไลน์สามารถเปิดทำการได้ตลอดเวลา

เมื่อคุณทำธุรกิจออนไลน์ ทุกสิ่งทุกอย่างคือการอยู่พร้อมตลอด 24 ชั่วโมงต่อวันและ 366 วันต่อปี ซึ่งนี่เป็นโอกาสที่คุณสามารถทำเงินได้ และแน่นอนว่าลูกค้ามักจะคาดหวังให้คุณอยู่พร้อมช่วยเหลือเมื่อพวกเขามีปัญหาตลอด 24 ชั่วโมงด้วย ดังนั้นคุณจึงหาเวลานอกการทำงานได้น้อยนัก นอกเสียจากว่าคุณจะจ้างพนักงานมารับผิดชอบงานแทนคุณ ซึ่งมันก็เป็นค่าใช้จ่าย ที่ถ้าบริษัทของคุณยังเล็กและไม่มีกำลังมากพอ ตัวคุณเองก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมดและหาเวลายากในการไปเที่ยวพักผ่อนหรือให้เวลาดูแลตัวเอง

ผู้คนจะยังรู้สึกวางใจในธุรกิจออฟไลน์มากกว่า

เมื่อลูกค้าซื้อของไปจากร้านออฟไลน์ของคุณ พวกเขาก็แทบจะไม่ต้องกังวลถึงอะไรที่จะตามมาอีกเลย และพวกเขาก็ยังมีโอกาสที่จะได้สำรวจร้านค้าต่างๆ หรือลองสินค้าก่อนที่จะจ่ายเงินด้วย ในโลกของธุรกิจออฟไลน์ คุณแทบไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเสียยอดขายจากการที่ลูกค้าไม่เชื่อใจเลย และคุณก็แทบไม่ต้องทำอะไรเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อใจเลยด้วย ซึ่งต่างจากการทำธุรกิจออนไลน์

ความเชื่อใจ เป็นปัจจัยหลักของธุรกิจออนไลน์

ลูกค้าในโลกธุรกิจออนไลน์จะไม่รู้เลยว่าคนที่เขาคุย (ช้อปปิ้ง) อยู่ด้วยนั้นเป็นใคร และพวกเขาก็จะรู้สึกไม่สมัครใจนักถ้าเป็นลูกค้าคนแรกๆของร้านค้าเปิดใหม่ ร้านที่ไม่เคยซื้อ หรือร้านที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งถ้าจะพูดกันตรงๆแล้วในโลกธุรกิจออนไลน์นั้นมีการหลอกลวงกันเยอะมาก คนขายโกงเยอะขึ้นทุกวัน ก็ไม่แปลกที่ลูกค้าจะมีความรู้สึกแบบนี้ ดังนั้นแล้วเจ้าของกิจการร้านออนไลน์ก็ควรมีการลงทุนไปกับการทำให้ลูกค้าเชื่อใจในการที่จะจ่ายเงินให้คุณ

นี่เป็นสิ่งที่ลูกค้ามักกังวลเมื่อซื้อของออนไลน์

  • พวกเขาไม่สามารถเห็นร้านค้าของคุณจริงๆ ได้ก่อนที่จะซื้อ
  • พวกเขาไม่สามารถแน่ใจได้ว่าร้านของคุณมีอยู่จริงๆ
  • พวกเขาไม่สามารถแน่ใจได้ว่าระบบการจ่ายเงินของคุณจะถูกต้องและตรงไปตรงมา
  • พวกเขาไม่สามารถแน่ใจได้ว่าคุณจะไม่ชาร์จค่าอะไรเพิ่มให้พวกเขา
  • พวกเขาไม่รู้ว่าคุณเป็นร้านที่ทำกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่
  • พวกเขาไม่ชัวร์ว่าสิ่งที่คุณนำเสนอนั้นจะเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของเขาได้จริงๆ

แต่คุณสามารถเพิ่มความเชื่อใจให้แก่พวกเขาได้โดย

  • แสดงข้อมูลของบริษัทของคุณอย่างถูกต้องและเป็นทางการ
  • แสดงข้อมูลช่องทางการติดต่อ รวมถึงที่อยู่ของบริษัทให้ชัดเจน
  • แสดงใบที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • แสดงรูปภาพหรือข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของร้านหรือข้อมูลที่ทำให้ลูกค้ารู้จักคุณว่ามีตัวตนอยู่จริงๆ
  • เปิดบอร์ดสนทนาหรืออย่างน้อยอาจเป็นเพจเฟซบุคที่จะทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับคุณได้อย่างรวดเร็ว
  • ร่วมงานกับองค์กรอื่นที่มีชื่อในด้านที่เขาเชี่ยวชาญ เช่น ระบบการจ่ายเงิน ระบบการขนส่ง เป็นต้น

ธุรกิจออฟไลน์มักต้องมีเงินลงทุนในการเริ่มต้นที่แข็งแรง

การจัดการธุรกิจบนสถานที่ที่มีอยู่จริงๆ เปิดหน้าร้านจริงจัง (ไม่รวมการเปิดร้านแบบรถบ้านหรืองานออกบูธเป็นครั้งคราว) ส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ ค่าอุปกรณ์ตกแต่ง พนักงาน หรือแม้แต่ค่าที่จอดรถ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว การที่จะทำให้มันคงอยู่ได้ในระยะยาวก็ยังต้องใช้เงินลงทุนสูงอีกเช่นกัน เช่น ถ้าคุณขายสินค้า คุณก็ยังต้องมีการสต็อกสินค้า ซึ่งนั่นก็เป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าโกดังหรือบำรุงรักษาเช่นกัน

ธุรกิจออไลน์ใช้เงินไม่มากในการเริ่มต้นสร้างและการจัดการ

เพราะการทำธุรกิจออนไลน์เพียงอย่างเดียวนั้นหมายถึงว่า สถานที่เป็นสิ่งที่ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจและยอดขาย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้าน เช่าที่ หรือค่าจอดรถ ธุรกิจออนไลน์นั้นสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยต้นทุนที่ไม่แพง เพียงแค่ลงทุนไปกับเว็บไซต์ที่เป็นหน้าร้านเดียวของคุณให้ดีเพื่อระยะยาวเท่านั้น

ธุรกิจออฟไลน์ต้องกังวลเกี่ยวกับการปล้นหรืออาชญากรรม

การทำธุรกิจโดยการเปิดร้านต้องกังวลสารพัดสิ่ง เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นแบบจับต้องได้ การโดนปล้นจี้ก็มีให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ข้อนี้จึงเป็นอีกปัจจัยหลักที่เป็นผลเสียของธุรกิจออฟไลน์ ซึ่งคุณอาจต้องลงทุนไปกับการซื้อประกันเพื่อครอบคลุมสินค้าที่เป็นทรัพย์สินของร้าน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่างๆ

ธุรกิจออนไลน์ต้องกังวลอย่างเดียวคือความประสงค์ร้ายจากบุคคลอื่น

เรื่องความปลอดภัยนั้นเป็นสิ่งแรกๆที่ธุรกิจออฟไลน์ต้องพิจารณา และในโลกของออนไลน์ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงเช่นกัน แต่จะเป็นในอีกด้านหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับกับความปลอดภัยของตัวเรา บุคคล หรือสิ่งของที่เป็นสิ่งที่จับต้องได้ แต่จะมีการแฮ็กที่อาจทำให้ข้อมูลของลูกค้า หรือข้อมูลด้านการเงินของคุณ ที่อาจสร้างความเสียหายที่เป็นตัวเลขแทนชีวิต ดังนั้นการเลือกหน้าร้านที่เป็นเว็บไซต์ที่ไ้ด้มาตรฐาน มีระบบความปลอดภัยขั้นสูงเป็นส่ิงที่จำเป็นมาก เพราะไหนๆ คุณก็ไม่ต้องเสียเงินลงทุนไปมากมายกับสิ่งอื่น ถ้านำมาลงทุนกับเว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดการแฮ็กได้ก็เป็นการเซฟตัวเองไปได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

การขายสินค้าออนไลน์มีข้อเสียอย่างไร

ข้อเสียของการขายสินค้าออนไลน์ 1. การแข่งขันสูงมาก ใครๆ ก็อยากขายของออนไลน์ ใครๆ ก็อยากมีรายได้เสริม 2. ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางได้ HTML ต้องศึกษาเพิ่มเติม 3. ต้องมีเวลาให้กับร้านค้า เพื่อการโปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จัก

การขายแบบมีหน้าร้านมีจุดเด่นอย่างไร

การขายแบบหน้าร้าน คือ การที่เจ้าของแบรนด์มีร้านจำหน่ายสินค้าเป็นของตัวเอง จัดแสดงสินค้าจริง ทำการขายสินค้าเองโดยตรง ลูกค้าสามารถทำการซื้อของกลับบ้านได้เลยทันที ถึงแม้การขายแบบหน้าร้านจะดูเรียบง่าย ไม่หวือหวาหรือมีอะไรพิเศษ แต่ก็เป็นวิธีการขายสินค้าที่ขาดไปไม่ได้ แม้ว่ากระแสการขายของออนไลน์จะเป็นที่นิยมมากแค่ไหนก็ตาม ...

ข้อดีของการขายออนไลน์ คืออะไร

ข้อดี ของการขายของออนไลน์ เป็นช่องการขายที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้จำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในเวลารวดเร็ว ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าได้ง่าย มีความสะดวกสบาย คนทำงานประจำ สามารถขายของออนไลน์เป็นรายได้เสริมให้กับตัวเองและครอบครัว ไม่ต้องเสียเงินทุนในการเปิดหน้าร้านขายสินค้า ไม่จำเป็นต้องมีสต็อกสินค้า

การขายผ่านหน้าร้านมีกี่ลักษณะ

1. ช่องทางการจำหน่ายทางตรง คือผู้ผลิตขายสินค้าไปยังผู้ใช้หรือผู้บริโภคด้วยตนเอง 2. ช่องทางการจำหน่ายทางอ้อม คือผู้ผลิตขายสินค้าผ่านตัวกลาง ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกเพื่อจำหน่ายไปยังผู้ใช้หรือผู้บริโภค