ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคนเดียว

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียวคือ

ธุรกิจเจ้าของคนเดียว

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มยอดการตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น กิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ กิจการขนาดเล็ก (SME) ผุดขึ้นตามมาเช่นกัน

และเพื่อให้การควบคุมดูแลกิจการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหล่านี้เป็นไปโดยง่ายตอบสนองความก้าวหน้าของโลกยุคดิจิตอล กฏหมายจึงให้สิทธิ ต่อเจ้าของกิจการได้เลือกจดทะเบียนรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการของตน ซึ่งรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น “กิจการ เจ้าของคนเดียว”

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียวหมายถึง

ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการไทย เข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบกิจการ เจ้าของคนเดียว เพิ่มมากขึ้น ในบทความนี้จึงรวบรวมเนื้อหาสำคัญ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียของรูปแบบธุรกิจดังกล่าว  เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการได้เลือกรูปแบบธุรกิจให้เหมาะสมตั้งแต่เริ่มกิจการ เพื่อเพิ่มโอกาสแข่งขันในการค้าและการลงทุน รวมทั้งยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ง่ายต่อการเริ่มต้นธุรกิจ

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคน เดียว คือ ?

กิจการ เจ้า ของ คน เดียว คือ (Sole Proprietorship) กิจการหรือธุรกิจที่มี “บุคคลธรรมดา” เพียงบุคคลเดียวเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้ลงทุน ไม่มีหุ้นส่วน จึงมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ในขณะเดียวกันก็รับภาระหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัดความรับผิดชอบเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหาร ร้านเสริมสวย คลินิคทำฟัน ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีจุดเด่นของรูปแบบกิจการที่คล้ายคลึงกัน คือ
– เป็นรูปแบบธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นตามความถนัดของเจ้าของกิจการ จึงมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารงานแต่เพียงผู้เดียว
– มีขนาดเงินลงทุนน้อยโดยส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนส่วนตัว กฏหมายจึงมิได้กำหนดให้ต้องมีทุนจดทะเบียน
– มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เข้าใจได้ง่าย มีที่มาของรายได้ และกำไรชัดเจนโดยส่วนใหญ่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ

เปิดกิจการเจ้าของคน เดียว

การจัดตั้ง กิจ การ เจ้า ของ คน เดียว
กิจการ เจ้า ของ คน เดียวเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นการจัดตั้งจึงสามารถทำได้โดยง่าย เพียงเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาสัญญาเช่าพื้นที่ ไปยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์ในพื้นที่ประกอบกิจการ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จะออก “ใบทะเบียนพาณิชย์” ให้กับเจ้าของกิจการเพื่อนำไปติดในสถานที่ประกอบธุรกิจ และต้องติดตั้งบนพื้นที่ที่เห็นได้สะดวก เช่นบนผนังของร้านค้าหรือบนหน้าเว็บไซต์ของกิจการ พร้อมทั้งต้องทำป้ายชื่อร้านให้ตรงกับชื่อในใบจดทะเบียนพาณิชย์ ดังกล่าว

ธุรกิจ เจ้า ของ คน เดียวนั้นถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับเจ้าของกิจการ มีสถานะทางกฎหมายเป็น “บุคคลธรรมดา” เจ้าของกิจการจึงมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้าหากธุรกิจเข้าข่ายที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย

การประกอบการ เจ้า ของ คน เดียวนั้นต้องเสียภาษีการค้าเป็นรายเดือน และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกปีละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ตามแต่ประเภทกิจการ

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการ เจ้า ของ คน เดียวเสียภาษีอย่างไร

คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาสัญญาเช่าพื้นที่ไปยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์ในพื้นที่ประกอบการเมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบแล้วจะออก ใบทะเบียนพาณิชย์ ให้เจ้าของกิจการ
ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบการ กิจการใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทและปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้จดทะเบียน การจดทะเบียนพาณิชย์ต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้า ของ คน เดียว จดทะเบียนที่ไหน

รูปแบบ ธุรกิจเจ้าของคนเดียว

ด้วยความสะดวกของการจัดตั้งกิจการ เจ้า ของ คนเ ดียว เนื่องจากเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีอิสระ มีความคล่องตัวในการทำงานสูง ขั้นตอนการจดทะเบียนไม่ยุ่งยากสามารถกระทำได้ด้วยตนเอง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการส่วนมากนิยมจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้มากกว่าจดทะเบียนในรูปบริษัท อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนเป็นเจ้า ของกิจากรคนเดียวยังมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ดังนี้

1. ความรับผิดชอบหนี้สิน

กิจการ เจ้า ของ คน เดียว หากดำเนินธุรกิจมีกำไร เจ้า ของกิจการจะได้ผลตอบแทนเต็มที่เนื่องจากไม่ต้องแบ่งผลประโยชน์กับหุ้นส่วน แต่เมื่อกิจการขาดทุนหรือยกเลิกกิจการ เจ้า ของ ธุรกิจจะเป็นบุคคลเดียวที่มีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด ซึ่งอาจต้องสูญเสียทั้งเงินลงทุนและรับผิดชอบนำสินทรัพย์ส่วนตัวมาชดใช้หนี้ต่างๆที่เกิดขึ้น หากทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้

2. ข้อจำกัดด้านการดำเนินการ

แม้ว่ากิจการ เจ้า ของ คน เดียวจะมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานต่างๆเต็มที่ แต่ก็มีอัตราความล้มเหลวที่สูงเนื่องจากพึ่งความสามารถของผู้ประกอบการเพียงคนเดียว ซึ่งอาจไม่มีความชำนาญในบางเรื่อง เช่นเรื่องบัญชี การขนส่งจากต่างประเทศ ทำให้อาจเกิดการบริหารงานผิดพลาด ธุรกิจอาจล้มเหลาวได้ อีกทั้งการขยายกิจการโดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารกระทำได้ยาก เนื่องจากพึ่งภาพลักษณ์ความมั่นคงของเจ้า ของเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด

3. ผลประโยชน์ทางด้านภาษี

ข้อดีของกิจการ เจ้า ของ คน เดียว ในด้านภาษี คือ มีข้อจำกัดทางกฏหมายน้อย จึงไม่ต้องแสดงงบการเงินต่อกรมสรรพากรทุกสิ้นงวดบัญชีเพื่อเสียภาษี แต่ใช้วิธีแบบเหมาจ่ายเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา (ภงด.90 และ ภงด.94) โดยคิดเป็นรายได้รวมของเจ้า ของกิจการ จึงลดภาระในการทำบัญชีและค่าใช้จ่ายรับรองงบการเงินสำหรับผู้สอบบัญชี แต่กิจการ เจ้า ของ คน เดียว จะมีอายุการดำเนินกิจการที่จำกัด หากเจ้า ของกิจการตายหรือไร้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจก็จะสิ้นสุดลง

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของ คนเดียว มีอะไรบ้าง

ดังนั้น แม้กิจการ เจ้า ของ คน เดียวจะเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ง่ายและสะดวกต่อการจัดตั้ง เหมาะสมกับธุรกิจเริ่มต้นอย่าง SME ในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อจำกัดในหลายๆด้านที่ส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้นการศึกษา ทำความเข้าใจและตัดสินใจชั่งน้ำหนักระหว่าง ข้อดีและข้อเสีย ของการดำเนินธุรกิจในแต่ละรูปแบบและเลือกได้เหมาะสมกับกิจการของตน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรกหากคิดจะดำเนินธุรกิจ

ข้อดี กิจการ เจ้า ของคนเดียว

  1. ง่ายและสะดวกในกาจัดตั้ง คือ ถ้าผู้ประกอบการมีทุนมีความรู้ในธุรกิจที่ทำ ก็สามารถดำเนินการได้โดยง่าย
  2. มีอิสระในการดำเนินงาน คือ ผู้ประกอบการจะตัดสินใจในด้านต่างๆ แต่เพียงผู้เดียวสามารถใช้ความรู้และวิจารณญาณส่วนตัวได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเสียวเวลาปรึกษาหารือกับผู้อื่น ทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
  3. ได้รับผลกำไรคนเดียว คือ ผู้ประกอบการไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้คนอื่น สามารถนำเงินไปลงทุนขยายกิจการด้านต่างๆได้
  4. มีข้อบังคับทางกฏหมายน้อย คือ ถ้าจะตั้งป็นร้านค้าก็เพียงแต่จดทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์ ก็ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ส่วนกิจการที่ไม่มีที่ตั้งแน่นอน เช่นหาบเร่ รถเข็น ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
  5. เลิกกิจการได้ง่าย ถ้าผู้ประกอบการต้องการจะเลิกกิจการสามารถทำไดโดยง่าย เช่น เลิกกิจการไปเลย หรือขยายกิจการ

ข้อเสีย กิจการเจ้าของคนเดียว

  1. เจ้า ของกิจการรับผิดชอบไม่มีที่สิ้นสุดคนเดียว การประกอบกิจการแบบนี้ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบในภาระต่างๆ โดยไม่จำกัด
    มีทุนจำกัดและยากที่จะหาทุนมาเพิ่มเติม เนื่องจากกิจการมีขนาดเล็ก การกู้ยืมทำได้ยาก
  2. ความสามรถในการคิดและการบริหารงานมีจำกัด เนื่องจากบริหารงานคนเดียว เป้นภาระที่ค่อนข้างหนัก และยังมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา ความคิด แรงงาน
  3. ขยายต่อเนื่องในการดำเนินงาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ เนื่องจากสุขภาพไม่ดี
ตัวอย่าง กิจ การ เจ้าของ คน เดียว

ข้อดี ข้อเสีย รูปแบบธุรกิจ อื่นๆ

แก้ไขครั้งสุดท้าย พฤศจิกายน 16, 2022

 

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคนเดียวมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ข้อดีและข้อเสียของธุรกิจเจ้าของคนเดียว.
2.1 มีเงินทุนในการดำเนินงานมีอยู่อย่างจำกัดไม่มากนัก.
2.2 ต้องรับผิดชอบหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน.
2.3 มีข้อจำกัดในเรื่องความรู้ความสามารถของเจ้าของธุรกิจ.
2.4 ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินกิจการ.
ห้างหุ้นส่วน Partnership..

อะไรคือข้อเสียของการเป็นเจ้าของ แต่เพียงผู้เดียว?

ข้อเสียอย่างหนึ่งของการเป็นเจ้าของ แต่เพียงผู้เดียวก็คือความต้องการให้เจ้าของจัดทำตาราง SE ซึ่งคำนวณจำนวนภาษีการจ้างงานตนเองที่ค้างชำระ เจ้าของไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีการว่างงานด้วยตัวเอง แต่พวกเขาต้องรับผิดชอบภาษีประกันสังคม 15% เต็มสำหรับกำไรขั้นต้น ในสถานการณ์การจ้างงานแบบดั้งเดิมพนักงานจ่ายเพียงครึ่งหนึ่งของข้อกำหนด ...

กิจการ เจ้าของ คน เดียว มีข้อดี อะไร บ้าง

จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการดำเนินงาน ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว

ข้อเสียของการประกอบการโดยห้างหุ้นส่วนสามัญคือข้อใด

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนสามัญ มีเงินทุนจำกัดเพียงแค่ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ถ้าหุ้นส่วนถอนตัว หรือเสียชีวิต ความเป็นห้างหุ้นส่วนจะถูกปิดตัวลง ความน่าเชื่อน้อย เพราะไม่ได้เป็นนิติบุคคล หุ้นส่วนทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบหนี้สินอย่างไม่จำกัด