สื่อ ทาง ตรง หมาย ถึง สื่อ โฆษณา ลักษณะ แบบ ใด

ความหมายของสื่อโฆษณา          
สื่อโฆษณาคือเครื่องมือทางการตลาดชิ้นหนึ่ง 
ที่มีหน้าที่นำพาข่าวสารที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภค ได้รับรู้
และเกิดความต้องการในสินค้า
การที่ผู้โฆษณาจะประสบความสำเร็จทางด้านการสื่อสารผู้โฆษณาควร
ที่จะรู้จักลักษณะของสื่อโฆษณาแต่ละชนิด
เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสื่อโฆษณาที่นิยมใช้  
โดยทั่วไป 
ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์
สื่อดังกล่าวเป็นสื่อหลักที่ใช้กันเป็นส่วนมาก ในงานโฆษณา
เนื่องจากเป็นสื่อมวลชนที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก
ดังนั้นในการวางแผนการใช้สื่อ
งบประมาณด้านสื่อส่วนใหญ่ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่สื่อเหล่านี้เป็นอันดับแรก
สำหรับสื่อ ณ จุดซื้อ แผ่นพับ ใบปลิว สื่อนอกสถานที่ เช่นแผ่นป้ายต่างๆ
จะมีความสำคัญในฐานะเป็นสื่อสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ในการเตือนความจำ
ผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือตัวย้ำสารโฆษณาจากสื่อหลักซึ่งได้โฆษณาไปแล้วนั่นเอง
สื่อโฆษณาเบื้องต้น

ประเภทของสื่อโฆษณา
1. สื่อสิ่งพิมพ์ Printed media advertising

Show

    1.1 หนังสือพิมพ์ Newspaper
    1.2 นิตยสาร Magazine
    1.3 สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order media
    1.4 สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง Directories
2. สื่อกระจายภาพและเสียง Broadcast media advertising
    2.1 โทรทัศน์ Television
    2.2 วิทยุ Radio
    2.3 โรงภาพยนตร์ Cinema
    2.4 อินเทอร์เน็ต Internet
3. สื่ออื่นๆ Other media advertising
    3.1 สื่อกลางแจ้ง Outdoor media
    3.2 สื่อทางยานพาหนะ Transit media
    3.3 สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ Point of purchase

หนังสือพิมพ์ Newspaper


          หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีความสำคัญ
ได้รับความสนใจและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในชีวิตประจำวันของคนเมืองที่มีความเจริญแล้ว
ยิ่งจะได้รับความสนใจในการอ่านกันอย่างแพร่หลาย
การเลือกใช้สื่อโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เพื่อนำข่าวสารโฆษณาไปสู่กลุ่มเป้าหมายเราจึงต้องมีความเข้าใจลักษณะของตัวสื่อหนังสือพิมพ์
นั่นก็จะทำให้การโฆษณาของเรามีประสิทธิภาพ

การลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. โฆษณาเดี่ยว (Display Advertising)
เป็นการโฆษณาสินค้าเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ โดยไม่มีโฆษณาอื่นมาปะปนกัน
เป็นโฆษณาที่สร้างความตื่นเต้น หรูหรา ยิ่งใหญ่เป็นเอกเทศ
ถ้าเป็นสีก็จะทำให้เกิดควาสะดุดตามากยิ่งขึ้น
2. โฆษณาหมู่
(Classified Advertising)
เป็นการลงโฆษณาสินค้าในพื้นที่ที่หนังสือพิมพ์จัดไว้ให้โดยเฉพาะ
จะมีสินค้าหลากหลายชนิดลงโฆษณาปะปนกัน เช่นโฆษณาขายที่ดิน รถยนต์มือสอง
เรียนภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมหนัง ฯลฯ

หนังสือพิมพ์ Newspaper ข้อดี
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายทางภูมิศาสตร์ได้
3. ส่งข่าวสารได้รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
4. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวถูกกว่าสื่อชนิดอื่นๆ (ในประเภทสื่อสิ่งพิมพ์)
5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือจากคนทั่วไป
ข้อเสีย
1. ไม่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะกลุ่มได้
2. รูปภาพ สีสัน และคุณภาพกระดาษค่อนข้างต่ำ
3. อายุของหนังสื่อพิมพ์จะสั้น ทำให้ผ่านตาผู้บริโภคได้น้อยครั้ง

นิตยสาร Magazine           นิตยสารเป็นสิงพิมพ์ที่รวมเนื้อหาสาระประเภทต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน
ที่มีความน่าสนใจหลายๆเรื่อง แต่เป็นเรื่องประเภทเดียวกัน
ทำให้สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า
และจัดพิมพ์ออกมาเป็นเล่มวางตลาดเป็นรายคาบ (Periodical Publication)
คือรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน เป็นต้น

ประเภทนิตยสาร
สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทยได้จำแนกประเภทของนิตยสารที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด มีจำนวนมากกว่า 15 ประเภทเช่น
1. นิตยสารการเมือง
2. นิตยสารกีฬา
3. นิตยสารสำหรับเด็ก
4. นิตยสารทางการถ่ายภาพและภาพพิมพ์
5. นิตยสารการท่องเที่ยว
6. นิตยสารทางธุรกิจและทางการโฆษณา
7. นิตยสารบันเทิง
8. นิตยสารบ้าน
9. นิตยสารผู้หญิง
10. นิตยสารผู้ชาย
11. นิตยสารรถ
12. นิตยสารทางศิลป-วัฒนธรรม
13. นิตยสารเศรษฐกิจ
14. นิตยสารสุขภาพ
15. นิตยสารครอบครัว

นิตยสาร Magazine ข้อดี
1. เป็นสื่อที่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
2. สื่อมีอายุยาวนาน ทำให้โฆษณาผ่านตาผู้บริโภคบ่อยครั้ง
3. สื่อมีคุณภาพ เพราะกระดาษมีคุณภาพ และการพิมพ์มีคุณภาพสูง
4. มีจำนวนผู้อ่านต่อฉบับสูง
5. เข้าถึงผู้บริโภคได้ในวงกว้าง
ข้อเสีย
1. ระยะเวลาในการวางแผงจำหน่ายไม่ตรงเวลาทำให้ข่าวสารเกิดความล่าช้า จนบางครั้งข้อมูลดีเดย์อาจพ้นกำหนดไปแล้ว

สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order advertising           เอ็ดเวิร์ด
เอ็น เมเยอร์(Edward N. Mayer) นักโฆษณาทางไปรษณีย์
ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อคิดเป็นหลักการของการดำเนินการโฆษณาทางไปรษณีย์ไว้
"ถึงแม้ชิ้นงานโฆษณาทางไปรษณีย์ของคุณจะเลิศสักเพียงใดก็ตาม
ข้อความและคำโฆษณายอดเยี่ยม
รูปแบบการจัดภาพในงานศิลปกรรมของคุณก็เป็นที่พึงพอใจ
ศิลปการพิมพ์ก็สามารถชนะการประกวดได้รางวัลยอดเยี่ยม
แสตมป์ของคุณก็เป็นแสตมป์รุ่นใหม่หายากและเหมาะแก่การเก็บเป็นของที่ระลึก
แต่ถ้าชิ้นงานโฆษณาทางไปรษณีย์นั้นส่งไปยังบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าของคุณ
และเขาไม่สามารถซื้อสินค้าคุณได้ ความพยายามทั้งหมดของคุณก็คือ
ความล้มเหลว ซึ่งกลับกลายเป็นการสูญเสียที่แพงยิ่ง"

สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order advertising รูปแบบการโฆษณาทางไปรษณีย์
          1. จดหมายขาย Sales Letters
เป็นรูปแบบการโฆษณาที่ใช้ข้อความตัวอักษรเป็นหลัก
มีลักษณะคล้ายจดหมายสำคัญทางราชการ
หากมีการเซ็นต์ชื่อผู้ส่งด้วยลายเซ็นต์ของตนเองแล้ว
ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกที่ดี
          2. โปสการ์ด
Postcards สามารถใช้ไปรษณียบัตรพิมพ์ข้อความโฆษณาที่เตรียมไว้
หรือใช้วิธีการพิมพ์ไปรษณียบัตรขึ้นมาใหม่ แล้วส่งให้ลูกค้าเป้าหมาย
ข้อความโฆษณาจะเป็นข้อความที่สั้นๆ
          3. ใบปลิว Leaflets
เป็นใบโฆษณาเล็กๆ แนบมากับจดหมาย
นำมาเสริมเพราะใบปลิวสามารถพิมพ์รูปแบบการโฆษณาได้สวยงาม
และมีเนื้อหาที่น่าสนใจ
          4. แผ่นพับ Folder or Brochure มีลักษณะคล้ายใบปลิวผสมจุลสาร บางครั้งสามารถพับให้เป็นตัวซองจดหมายได้ในตัว
          5. จุลสาร Booklets มีลักษณะคล้ายหนังสือเล่มบางๆ เล็กๆ
มีเนื้อหาหลายหน้ากระดาษ บรรจุข่าวสารรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน
แม้จุลสารจะมีค่าใช้จ่ยที่สูงแต่ก็ให้ผลทางด้านความรูสึกที่คุ้มค่า
          6. แค็ตตาล็อก Catalogs
เป็นเอกสารหนังสือที่อธิบายรายละเอียดของสินค้าที่สมบูรณ์ที่สุด
จะมีภาพสินค้า ขนาด น้ำหนัก สี และรหัสสินค้า
เพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องไปดูสินค้าจริง
ภาพตัวอย่างการโฆษณาทางไปรษณีย์แบบแค็ตตาล็อก

สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order advertising ข้อดี
1. สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้
2. สามารถส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมาย หลายกลุ่มได้ในเวลาที่พร้อมกันได้
3. เป็นสื่อที่เหมาะกับการส่งข่าวสารแบบเทศกาล และการส่งเสริมการขายพิเศษ
4. สามารถออกแบบรูปแบบสื่อได้เต็มที่ เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านเนื้อที่ ขนาด
5. มีผู้โฆษณาเพียงรายเดียวทำให้ผู้บริโภคไม่สับสน
ข้อเสีย
1. ค่าใช้จ่ายต่อหัวสูง
2. โฆษณาจะสัมฤทธิ์ผล จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของรายชื่อลูกค้าเป็นสำคัญ

ื่อสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง Directories


          นอกจากสื่อสิงพิมพ์เบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ
อีกมากมายเช่น สมุดโทรศัพท์ไดเร็คทอรี่ สมุดโทรศัพท์ไดเร็คทรอรี่
คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อ โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจ ร้านค้า สินค้าต่างๆ
แยกออกเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับตัวอักษร ลักษณะการโฆษณาก็จะมีพื้นที่พิเศษ
คือนอกจากจะมีการบอกชื่อร้านค้า
และเบอร์โทรศัพท์แล้วยังมีพื้นที่สำหรับการลงรูปถ่ายร้านค้าหรือสินค้า
รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นด้วย
สื่อชนิดนี้จะมีข้อด้อยตรงที่กระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นกระดาษคุณภาพต่ำ
และไม่พิมพ์สี่สี
อย่างไรก็ดีสื่อชนิดนี้นับเป็นสื่อที่สำคัญอีกสื่อหนึ่งที่หน่วยงานธุรกิจต่างๆ
ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์จริงๆ
อายุของสื่อก็ยาวนานใช้กันเป็นปี ผู้บริโภคที่ต้องการสินค้า
สามารถเปิดหาร้านค้าที่จำหน่ายได้ทันที

ข้อดี
1. เสียค่าใช้จ่ายต่ำ
2. สื่อมีอายุที่ยาวนาน
ข้อดี
1. คุณภาพกระดาษต่ำ
2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงแคบ

ข้อมูลอ้างอิง http://suyanee.multiply.com/journal/item/4

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related