บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท

บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท

บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก

บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท

กิจกรรมปีนหน้าผา

นันทนาการ คือ กิจกรรมที่สมัครใจทำในยามว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ[1] นันทนาการ การเล่น และความสนุกสนาน ไม่สงวนไว้แต่มนุษย์ แต่พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด การเล่นช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหวในสิ่งมีชีวิตวัยเยาว์

สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ และวันหยุด ประกอบด้วย ดนตรี การเต้นรำ กีฬา งานอดิเรก เกม และการท่องเที่ยว การดูโทรทัศน์ และฟังเพลง เป็นรูปแบบสามัญของนันทนาการ

ศัพทมูล[แก้]

คำว่านันทนาการตรงกับคำภาษาอังกฤษคือ "recreation" แต่เดิมกรมวิชาการ กระทรวงธรรมการเคยกำหนดให้ใช้ในภาษาไทยว่า "สันทนาการ" แต่คำนี้มาจาก "สนฺทน" + "อาการ" แปลว่า การไหล ซึ่งไม่ตรงกับความหมายของ "recreation" ที่แปลว่า การพักผ่อนหย่อนใจ ต่อมา ราชบัณฑิตยสถานจึงบัญญัติให้ใช้ว่า "นันทนาการ" แทน[2]

เอกลักษณ์[แก้]

ความเป็นเอกลักษณ์ของนันทนาการคือ

  1. ไม่เป็นงานอาชีพ
  2. ไม่เป็นอบายมุข
  3. ไม่มีผลตอบแทน
  4. ไม่มีใครบังคับให้ร่วมกิจกรรม

ตัวอย่างกิจกรรมนันทนาการ[แก้]

  • การเต้นรำ
  • การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
  • การล่าสัตว์และการตกปลา
  • การท่องเที่ยว
  • เล่นอินเทอร์เน็ต
  • อ่านหนังสือ
  • เขียนนิยายหรือเรื่องสั้น (ในกรณีที่เขียนโดยไม่ได้ตั้งใจจะนำไปจัดพิมพ์)
  • การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย
  • ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
  • การเล่นวิดีโอเกม
  • ไปสวนสนุก
  • เล่นว่าว
  • เดินเล่น
  • การปั่นจักรยาน ฯลฯ

นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีรูปแบบกิจกรรมนันทนาการ ที่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นมากขึ้น อาทิ

  • สกี
  • สโนว์บอร์ด
  • บันจีจัมพ์
  • การเล่นเพนต์บอล
  • การเล่นบีบีกัน
  • การปีนหน้าผา
  • การท่องเที่ยวผจญภัย
  • วิ่งฟรีรันนิ่ง ฯลฯ

อ้างอิง[แก้]

  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  2. ชนินทร์ วิศวินธานนท์ (2552). "นันทนาการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-28. สืบค้นเมื่อ 2556-03-10. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • กลุ่มสัมพันธ์

เขียนโดย Green Recreation ,

บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท
บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท
บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท

นันทนาการ ( Recreation ) หมายถึง กิจกรรมที่คนเราใช้เวลาว่างจากภารกิจงานประจำโดยเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ทำในยามว่าง และ ต้องไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและกฎหมายบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจ หรือก่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การเล่น พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด ซึ่งการการมีเล่นช่วยพัฒนาและเป็นการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่นทักษะการเคลื่อนไหว สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาว่างหรือ วันหยุด สุดสัปดาห์ ซึ่งโดยทั่วไปของกิจกรรมนันทนาการสำหรับมนุษย์ สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้คือ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ การท่องเที่ยว การเล่นกีฬาเป็นต้น

บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท
บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท

นันทนาการ เป็นคำมาจากคำเดิมว่า "สันทนาการ" ซึ่งพระยาอนุมานราชธน หรือเสถียรโกเศศได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ.2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Recreation" มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของนันทนาการไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

นันทนาการ หมายถึง กิจกรรม (Activities) ต่างๆ ที่บุคคลเข้าร่วมในช่วงเวลาว่าง โดยไม่มีการบังคับหรือเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ มีผลก่อให้เกิดการพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนานหรือความสุขสงบ และกิจกรรมนั้นๆ จะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปหัตกรรม การอ่าน-เขียน กิจกรรมอาสาสมัคร ศิลปวัฒนธรรม งานอดิเรก เกม กีฬา การละคร ดนตรี กิจกรรมเข้าจังหวะ และนันทนาการกลางแจ้งนอกเมือง

บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท
บอกลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมา 5 ประเภท

ประโยชน์ของนันทนาการ
1. ต่อครอบครัว : กิจกรรมนันทนาการ เป็นสื่อสำคัญที่จะช่วยสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้สมาชิก
2. ต่อชุมชน : นันทนาการจะช่วยพัฒนาชุมชน คือ ช่วยสร้างคนให้เป็นสมาชิกที่ดี มีเหตุผล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมรู้จักการเสียสละ
3. ต่อประชากรในสังคม : กิจกรรมนันทนาการจะเป็นสื่อและส่งเสริมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. ต่อประเทศชาติ : กิจกรรมนันทนาการ จะช่วยให้ ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดปัญหาอาชญากรรม ทำให้ประเทศชาติมีความสงบสุข

ลักษณะพื้นฐานของนันทนาการ
1. นันทนาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ตั้งแต่เกมกีฬา ศิลปหัตถกรรม ดนตรี ละคร กิจกรรมกลางแจ้งนอกเมือง งานอดิเรก โยคะ สมาธิ
2. นันทนาการมีรูปแบบหลากหลาย มีขอบเขตไม่จำกัด
3. นันทนาการจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและมีแรงจูงใจ
4. นันทนาการเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่จำกัด บุคคลมีอิสระที่เข้าร่วม
5. นันทนาการจะต้องมีจุดมุ่งหมาย เป็นการ พัฒนาอารมณ์สุข
6. นันทนาการเป็นการบำบัดรักษา ช่วยฟื้นฟู และรักษาคนไข้
7. นันทนาการเป็นกิจกรรมที่สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม สภาพแวดล้อม ความต้องการและสนใจของชุมชน ตลอดจนอุปกรณ์ และสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก
8 นันทนาการจะต้องเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม กิจกรรมนันทนาการของสังคม หรือ ชุมชนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมกับอีกชุมชนหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะความสนใจ ต้องการค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี สภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นขอบข่ายวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการจะต้องเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้น ๆ

.....................................................................

ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ว่างจากการเรียนการประกอบอาชีพหรือจากการว่างภารกิจส่วนตัว กิจกรรมที่ทำ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานอาชีพหรืองานที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ เป็นกิจกรรมที่ไม่มีใครบังคับให้ทำแต่ทำด้วยความสมัครใจ ความพึงพอใจตนเอง

ประเภทของกิจกรรมนันทนาการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ สร้างความสนุกสนาน บางกิจกรรมอาจจะมีทั้งการร้องเพลงและเต้น ไปพร้อม ๆ กัน เช่น เต้นบัลเล่ต์ Hip Hop B-Boy รำาไทย ลีลาศ ระบำาพื้นเมือง โมเดิร์นแด๊นซ์ และนาฏศิลป์อื่น ๆ

นันทนาการประเภทศิลปหัตถกรรม มีอะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการประเภทศิลปหัตถกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ผู้เข้าร่วมสามารถใช้จินตนาการของตน สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ เช่น การแกะสลัก ผู้เข้าร่วมอาจแกะสลักไม้, ปูนปลาสเตอร์ ไปจนถึงแตงกวาหรือผลไม้ต่าง ๆ ก็ได้ การวาดภาพ ผู้วาดอาจวาดบนกระดาษ ฝาผนัง ผ้า หรือบนกระเป๋าหนังก็ได้ ...

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ มีกี่ประเภท

1.กีฬาที่ท้าทายความสามารถ เช่น การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา 2.การส่องดูนก ส่องดูสัตว์ต่างๆ การตกปลา ทำให้ได้รู้จักสัตว์นานาชนิด 3.การท่องเที่ยวทัศนศึกษาหรือทัศนาจรไปตามสถานที่ต่างๆเช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ 4.การอยู่ค่ายพักแรมจะได้อยู่กับธรรมชาติทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดี