สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ราม

หนังสือเรียนม.ราม SOC1003 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น 63050 Sheetandbook 

บทที่ 1 ปรัชญาว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์

บทที่ 2 ขอบเขตและสาระแห่งสังคมวิทยา

บทที่ 9 การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม

บทที่ 10 การควบคุมทางสังคม

บทที่ 11 สังคมวิทยาการเมือง

บทที่ 15 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

บทที่ 20 วัฒนธรรมของชนในทวีปต่างๆ

บทที่ 21 ลักษณะอุปนิสัยประจำชาติ

บทที่ 22 การสังคมสงเคราะห์

ภาคผนวก สังคมวิทยาเชิงพุทธ

จัดทำโดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความสนใจประเด็นวิชาการ Anthropology of Art, Anthropology of Aesthetics, Anthropology of Food, Physical Anthropology, Primatology, Population Studies and Korean Studies

1199 views


หลักสูจรปริญญาตรีสาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ มุ่งเน้นเนื้อหาให้เหมาะกับการเรียนที่ส่งเสริมความรู้คู่คุณธรรม รวมถึงด้านการพันาวิชาการ การวิจัย และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในประชาคมอาเซียน โดยการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง คุณธรรมผ่านแนวคิด ทฤษฎี หลักการปฏิบัติและทักษะ ทางด้านภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ โดยเคารพในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

แนวทางการประกอบอาชีพ
ปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นพนักงานสายข่าวต่างๆ ผู้ผลิตรายการโทศน์ นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการต่างๆทางสื่อ ช่างภาพ นักเขียน นักประชาสัมพันธ์ ผู้กำกับรายการ นักตัดต่อรายการต่างๆ ผู้กํากับภาพยนตร์ ผู้ประสานงานกองถ่าย ผู้พัฒนาบทภาพยนตร์และสื่ออื่นๆ คอลัมนิสต์หรือนักวิจารณ์ภาพยนตร์ภัณฑารักษ์ด้านภาพยนตร์ ผู้ผลิตสื่อออนไลน์หรือ สื่อดิจิทัล ผู้สร้างสรรค์สื่อภาพเคลื่อนไหว ผู้วิจัยสื่อภาพยนตร์และสื่อสร้างสรรค์ นักวิชาการสื่อภาพยนตร์ นักวิชาการสื่อสร้างสรรค์ เป็นต้น

สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาโท มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 1 หลักสูตร
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-310-8978 ถึง 80 www.mac.ru.ac.th

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


โทร. 02-310-8547 www.hrd.ru.ac.th
เปิดสอนระดับปริญญาตรี
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) ศศ.บ.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) Bachelor of Arts (Human Resourse Development) B.A. (Human Resourse Development)
เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาทฤษฎีการพัฒนาคน การพัฒนางาน การพัฒนาองค์กร การจัดองค์ความรู้ต่างๆ การให้คำปรึกษาและวางแผนอาชีพ การบริหารโครงการ การฝึกอบรมต่างๆ การทำงานเป็นทีม การจัดการความรู้ ทักษะ เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากร และวางกลยุทธ์ ยุทธวิธีการบริหารจัดการภายในองค์กร

แนวทางการประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม วิทยากร เจ้าหน้าที่บริหารโครงการธุรกิจต่างๆ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักทรัพยากรบุคคล

คณะวิศวกรรมศาสตร์


สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ราม

โทร.02-310-8570-71, 02-310-8577-78 ต่อ 233 www.eng.ru.ac.th
เปิดสอนระดับปริญญาตรี
ชื่อปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering (B.Eng.)
เปิดสอน 5 สาขาวิชา

1.สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาด้านการวิเคราะห์และการออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น อาคาร สะพาน ถนน ระบบขนส่งและจราจร และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ การทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ วิศวกรรมธรณีเทคนิค วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ งานสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง รวมถึงการบริหารจัดการงานก่อสร้าง

แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศวกรโยธา ทำงานได้ในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยลักษณะของงานมี 3 ส่วน คือ 1)ส่วนวิเคราะห์ออกแบบ 2)ส่วนบริหารงานหรือวางแผนดำเนินงาน และ3)ส่วนควบคุมและดูแลการก่อสร้าง


2.สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาด้านการวิจัยดำเนินงาน การศึกษาการทำงาน การบริหารงานอุตสาหกรรม การวางแผนและควบคุมการผลิต การออกแบบผังโรงงานอุตสาหกรรม วิศวกรรมระบบ การวิเคราะห์กระบวนการผลิตและการจัดการ การออกแบบโรงงาน อุตสาหกรรม วิศวกรรมระบบ การควบคุมคุณภาพ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรมและงบประมาณ การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม

แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศวกรประจำโรงงาน วิศวกรบริหารการผลิตและเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ วิศวกรออกแบบการจัดวางสายการผลิตภายในโรงงาน เครื่องจักร และการบริหารระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน การผลิต การส่งมอบ การควบคุมคุณภาพ เป็นต้น


3.สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาด้านการออกแบบ การแก้ไขปรับปรุง การควบคุมและแนะนำการแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ การออกแบบระบบผลิตน้ำประปา และระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ การออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคาร ระบบรวบรวมและระบายน้ำ และระบบบำบัดน้ำเสีย

แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศวกรออกแบบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบรวบรวมและระบายน้ำ วิศวกรออกแบบระบบสุขาภิบาลในอาคาร วิศวกรออกแบบระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำและระบบผลิตประปา งานที่ปรึกษา ออกแบบ ควบคุมและแนะนำการแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม


4.สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาด้านการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างข้อมูลและอัลกอลิทึม สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ การออกแบบระบบดิจิทัล ระบบฐานข้อมูลและเครือข่าบคอมพิเตอร์ ไมโครโพนเซสเซอร์ และไมโครคอลโทรลเลอร์

แนวทางการประกอบอาชีพ
ทำงานได้ 3 สายงาน คือ Hardware Software และ Network ได้แก่ การพัฒนาโปรแกรม เขียนโปรแกรมต่างๆ วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรดูแลเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ กราฟฟิก หรือฝ่ายการตลาด ด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์


5.สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาด้านการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร สำนักงานการอนุรักษ์พลังงานการเปลี่ยนรูปพลังงาน การวิเคราะห์พลังงานอุณหภาพและไฟฟ้า การใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการประกอบอาชีพ
ทำงานได้ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ งานบริษัทเอกชน และกิจการส่วนตัว เช่น วิศวกรในกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้า การประปานครหลวง การเคหะแห่งชาติ เป็นต้น หรือทำงานในลักษณะที่ปรึกษา ออกแบบ หรือจัดตั้งบริษัท จำหน่าย ผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ทางวิศวกรรมพลังงาน

คณะศิลปกรรมศาสตร์

สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ราม

โทร.02-310-8295-96 www.fa.ru.ac.th เปิดสอนระดับปริญญาตรี ชื่อปริญญา ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ) Bachelor of Fine and Applied Arts(B.F.A.) เปิดสอน 3 สาขาวิชา
1.สาขาวิชานาฏกรรมไทย
2.สาขาวิชาดนตรีไทย
3.สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม วิชาเอกดนตรีลูกทุ่ง-ลูกกรุง วิชาเอกการขับร้อง วิชาเอกการแสดงดนตรี วิชาเอกทฤษฎีและการประพันธ์เพลง วิชาเอกดนตรีเพื่อชีวิตศึกษาและการประพันธ์

เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้เกิดทักษะเฉพาะสาขา เช่น ศิลปกรรมปริทรรศน์ ประวัตินาฎกรรมไทย วรรณการแสดง ทฤษฎีดนตรีไทย วิถีดนตรีไทย วรรณกรรมในดนตรีไทย ทฤษฎีดนตรีสากล รูปแบบดนตรีและการวิเคราะห์ การประพันธ์เพลงเบื้องต้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานดนตรี การขับร้องเพลงไทยและเพลงพื้นบ้านไทย การแสดงผลงานดนตรี เป็นต้น

แนวทางการประกอบอาชีพ
ศิลปิน นักร้อง นักแสดง นักดนตรี นักประพันธ์เพลง นางรำ ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับละครเวที โปรดิวเซอร์ ครู อาจารย์ หรือรับราชการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

คณะทัศนมาตรศาสตร์


โทร.02-310-8906-8 www.opto.ru.ac.th
เปิดสอนระดับปริญญาตรี
หลักสูตร 6 ปี สำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มเรียนเป็น Pre-Optometry ในช่วง 2 ปีแรก และเรียน Optometry ในช่วง 4 ปีหลัง
ชื่อปริญญา ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (ทศ.บ.) Doctor of Optometry (O.D.)
เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์

เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
เป็นสาขาวิชาประยุกต์ทางด้านคลินิกสายตาและระบบการมองเห็น ที่มีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และฟิสิกส์ด้านแสง-เลนส์สายตา มาใช้ในการตรวจ วินิจฉัย และแก้ไขปัญหาของระบบการมองเห็น ปริญญาทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต เป็นปริญญาสำหรับผู้ต้องการประกอบโรคศิลปะในสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ ผู้ถือหนังสืออนุญาตนี้ เรียกวา นักทัศนมาตร หรือหมอสายตา

แนวทางการประกอบอาชีพ
นักทัศนมาตร ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการด้านทัศนมาตรศาสตร์ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักวิชาการด้านเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง เจ้าของกิจการที่เกี่ยวกับการประกอบแว่นสายตา

คณะสาธารณสุขศาสตร์


สำนักงานคณะสาธารณสุขศาสตร์ อาคารสุโขทัย ชั้น 13 ห้อง 1301 โทร. 02-310-8928 www.publichealth.ru.ac.th
เปิดสอนระดับปริญญาตรี
ชื่อปริญญา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) Bachelor of Health (B.P.H)
เปิดสอน 2 หลักสูตร
1.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เนื้อหาวิชาที่ศึกษา
ศึกษาเน้นวิชาวิทยาศาสตร์เป็นหลัก กลุ่มวิชาชีพพื้นฐานสาธารณสุข เช่น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ ชีวเคมี จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา ชีวสถิติ วิทยาการระบาด อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย กลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้าน เช่น เภสัชสาธารณสุข ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการดูแลฉุกเฉิน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งอากาศ น้ำ การป้องกันไฟ การกำจัดของเสีย เป็นต้น

แนวทางการประกอบอาชีพ ประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์กรเอกชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนขององค์กรปกครองท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายเวชปฏิบัติของโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำองค์กรเอกชน นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นักวิจัยทางด้านสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน