ความ หมาย ของการวิเคราะห์และการวิจารณ์

ความแตกต่างของการวิเคราะห์กับการวิจารณ์ เป็นอย่างไรคะช่วยอธิบายหน่อยค่ะ ?

0

ความ หมาย ของการวิเคราะห์และการวิจารณ์

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้

ความคิดเห็นที่ 1

การวิจารณ์จะต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์​มาก่อน

ถ้าไม่ผ่านการวิเคราะห์เขาเรียก​   เรียก​"อวย" กับ"​ ใส่ร้าย"

0

ความ หมาย ของการวิเคราะห์และการวิจารณ์

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์
      เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผลของเรื่อง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
      การวิเคราะห์
            เป็นการหาคาตอบว่า ข้อความ บทความ ที่อ่านนั้นให้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง ข้อเขียนแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งช่วยพัฒนาสติปัญญา
      การวิจารณ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้สองความหมาย คือ
             ความหมายที่ 1 เป็นการให้คาตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้มีความรู้เชื่อถือได้ว่ามี
ความงาม ความไพเราะเพียงใดหรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น วิจารณ์ว่าหนังสือเล่มนี้สะท้อนปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล
            ความหมายที่ ๒ เป็นการติชมในความหมายโดยทั่วไปมักใช้คาว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น ผู้ชมมักวิพากษ์วิจารณ์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ดาเนินเรื่องช้าทาให้ผู้ชมเบื่อ เป็นต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายการวิเคราะห์วิจารณ์และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
อ่านวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่านโดยใช้กระบวนการคิด

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระ ภาษาไทย

หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม

ชั่วโมง การอ่านเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์

เรื่อง การอ่านเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ 2 ส.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)

การ[วิเคราะห์] กับ การ[วิจารณ์] แตกต่างกันอย่างไร?

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำไว้ว่า

.

.

วิเคราะห์

วิเคราะห์
ความหมายก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).

วิจารณ์

วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์
ความหมาย[วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่นเขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่นคนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

.

.

ความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ

  • การวิเคราะห์ มี เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้

  • การวิจารณ์ คือ การให้คำตัดสินว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดี หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไร สมควรได้รับรางวัล หรือ คำติชม

มันต่างกันมากนะคะ

จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ เป็นกระบวนการทางภาวะวิสัย(Objective) มุ่งเน้นอธิบายความเป็นจริงของสิ่งที่กำลังศึกษา โดยผู้วิเคราะห์จะไม่ใส่ความรู้สึก หรือความเห็นส่วนตัวแปปนลงไป เช่น ทฤษฏีโลกกลมมีความถูกต้องมากกว่าทฤษฏีโลกแบน (ว่ากันตามเนื้อผ้า)

ในขณะที่ การวิจารณ์ เป็นกระบวนการทางอัตวิสัย(Subjective) ใช้ความรู้สึกในจิตใจมนุษย์ตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การ์ตูนเรื่องนี้สนุกกว่าการ์ตูนเรื่องนั้น

เดี๋ยวนี้ความหมิ่นเหม่ของสองคำนี้เป็นสิ่งใกล้ตัวเรามาก ไม่ว่าสื่อที่แข่งกัน"วิเคราะห์"ข่าว นักวิชาการ"วิเคราะห์"สถานการณ์บ้านเมือง หรืออาจารย์ในชั้นเรียนที่"วิเคราะห์"บทเรียน ดังนั้น มันจึงสำคัญมากที่จะแยกแยะว่าเขากำลัง วิเคราะห์ ให้เราฟังหรือแท้จริงแล้วกำลัง วิจารณ์ อยู่กันแน่?

.

.

วิเคราะห์ คือ การอธิบาย โดยอาศัย หลักการอ้างอิงที่ชัดเจน สามารถสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องในภาพรวมทั้งหมดได้ ไม่ใช่กรณีนึงพูดอย่าง อีกกรณีนึงพูดอย่าง พอจับมาอธิบายรวมกัน ปรากฏว่าไอ้ที่พูดๆไปน่ะตีกันเอง ดังนั้น ผู้วิเคราะห์ที่ดีจึงต้องสามารถปรับใช้หลักการของตัวเองในการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างมีระบบและขั้นตอน ผู้วิเคราะห์ลักษณะนี้จะมีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้

วิจารณ์ คือ การตัดสินโดยอาศัย ความรู้สึกในจิตใจ ชอบ ไม่ชอบ / ดี เลว / สวย น่าเกลียด ฯลฯ ใครๆก็สามารถวิจารณ์ได้ มีความแตกต่างกันได้ คนวิจารณ์จะมีความรู้หรือไม่มีความรู้ในสิ่งนั้นๆก็ได้เพราะใช้ความรู้สึกของตัวเองเป็นที่ตั้ง

  • การศึกษาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราสามารถใช้ทั้งการวิเคราะห์ และการวิจารณ์ควบคู่ไปด้วยกันได้

  • นักวิเคราะห์ที่ดีไม่จำต้องวิจารณ์เก่ง แต่นักวิจารณ์ที่ดีจำต้องวิเคราะห์เป็น

  • สิ่งจำเป็นสูงสุดในการเป็นผู้วิเคราะห์ที่ดีคือ ใจเป็นกลางและยอมรับความเป็นจริง ซึ่งความเป็นจริงนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่สวยงามหรือดีที่สุดเสมอไป และความเป็นจริง สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยผลลัพท์สุดท้ายของตัวมันเอง

ถ้าคุณเจอ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจารย์ท่านใดอธิบายสิ่งหนึ่งให้คุณฟัง แล้ว...

  • มีหลักการชัดเจน อธิบายภาพรวมและปลีกย่อยได้อย่างสอดคล้องและครอบคลุม สามารถทำนายผลลัพท์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากข้อมูลในปัจจุบันได้อย่างแม่นยำ
    >> คุณกำลังฟังนักวิเคราะห์ชั้นเลิศ

  • พูดกลับไปกลับมา หลงประเด็นเอง จับต้นชนปลายไม่ถูก หาข้อสรุปไม่ได้ เวิ่นเว้อ
    >> คุณกำลังฟังนักวิจารณ์ห่วยๆ

จากเว็บ http://eguana.exteen.com/

การวิเคราะห์และการวิจารณ์ หมายถึงอะไร

การวิเคราะห์ คือ การดูสาระสำคัญของเนื้อหา ของบุคคล วิจารณ์ คือ การใส่ความคิดติชมเห็นลงไป เกี่ยวกับตัวบุคคล หรือ เนื้อหา หรือ สิ่งที่ต้องการ

การวิเคราะห์และวิจารณ์มีความแตกต่างกันอย่างไร

วิธีการวิเคราะห์ - เริ่มจากทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะนำมาวิเคราะห์ - แยกเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ - แยกพิจารณาทีละส่วนเพื่อทำการวิเคราะห์เป็นส่วนๆ การวิจารณ์ คือ การให้คำตัดสินจากผู้ที่มีข้อมูลความรู้ ว่าเรื่องนั้นๆ มีความงดงามหรือบกพร่องอย่างไร ฉะนั้นผู้ที่ทำการวิจารณ์ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี

การวิจารณ์มีความหมายว่าอย่างไร

การวิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความรู้ ความเข้าใจ และจากประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้ง ให้ข้อเสนอ แนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชม หรือการชี้แนะผลงานนั้นๆ ทั้งนี้กาวิจารณ์จะต้องมีเหตุมีผล เพื่อที่ ผู้สร้างผลงานจะได้นำไป ปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้นโดยสุจริต

การวิเคราะห์ การวินิจ และการวิจารณ์ หมายถึงอะไร เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

2. การวิเคราะห์ หมายถึงการแยกแยะประเภท ลักษณะ สาระสำคัญและการนำเสนอพร้อมทั้งเจตนาของผู้พูดหรือผู้เสนอ การวินิจ หมายถึงการพิจารณาเรื่องอย่างไตรตรอง หาเหตุผลข้อดีข้อเสีย และคุณค่าของสาร การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาอย่างมีหลักเกณฑ์ในเรื่องที่ฟังและดู ว่ามีอะไรน่าคิดน่าสนใจ น่าติดตาม น่าชมเชย น่าชื่นชมและมีไรบกพร่องบ้าง