เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

การขอรับสิทธิ กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

1. กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
2. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น
ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่
        1. ค่าทำศพ 40,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ
ใครคือผู้จัดการศพ
         (ก) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
         (ข) สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
         (ค) บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
        2. เงินสงเคราะห์กรณีตาย
•    เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น  แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้     
1. ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป  แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
2. ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตายได้แก่
           บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน
* กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 2 ปี (ดูรายละเอียดในกรณีชราภาพ)

เรียบเรียงโดย บริษัท เอมซัคเซส จำกัด

ขอบคุณข้อมูล  สำนักงานประกันสังคม


เผยแพร่ 25 มี.ค. 2565 ,12:43น.




ประกันสังคม เผย หากผู้ประกันตน ม.33-ม.39 เสียชีวิต ทายาทได้รับ 3 สิทธิ เช็กเงื่อนไขที่นี่

สำนักงานประกันสังคม เผยว่า ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ต้องรู้ไว้จะได้อุ่นใจ 3 สิทธิที่ทายาทจะได้รับหากผู้ประกันตนเสียชีวิต

  • ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้กับผู้จัดการศพ เช่น สามี-ภรรยา, บิดา- มารดา,บุตร หรือญาติ-พี่น้อง ของผู้ประกันตน
  •  เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตโดยจ่ายให้แก่บุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้เท่านั้น หากไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ จะเฉลี่ยจ่ายให้ผู้มีสิทธิในจำนวนที่เท่ากัน

ประกันสังคม เปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 เปลี่ยนโรงพยาบาลผ่านออนไลน์ถึง 31 มี.ค.65

เช็กสิทธิ! ผู้ประกันตน ติดโควิด-19 ประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชย

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

ได้แก่ สามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสกันบิดา-มารดา กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะได้เฉพาะมารดา บุตรของผู้ประกันตน รวมทั้งบุตรบุญธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย

  • เงินบำเหน็จชราภาพ หากผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพคืนโดยจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ เช่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย, สามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย, บิดา-มารดาที่จดทะเบียนสมรสกัน หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะได้เฉพาะมารดา หรือ บุคคลอื่นที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้ให้ได้รับร่วมกับทายาทผู้มีสิทธิ
 

เงื่อนไขการได้รับสิทธิ ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย

ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่:

- เอกสารหนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)

ประกันสังคมเชิญชวนผู้ประกันตนใช้สิทธิทำฟันประจำปี 2565

เช็กสิทธิ ผู้ประกันตนม.33- ม.39 ป่วยโรคไต ประกันสังคมช่วยซัพพอร์ต

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

นางพจนารถ สุทธิพร ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กองทุนประกันสังคม ได้ให้สิทธิประโยชน์คุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในกรณีเสียชีวิต ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน ดังนั้นเมื่อผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ทายาทสามารถรับสิทธิประโยชน์เป็นค่าทำศพ เงินสงเคราะห์ และเงินบำเหน็จชราภาพ

สำหรับเงินค่าทำศพ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 1 ใน 6 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท ซึ่งจะจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพคือ บุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ประกันตนจะไม่ได้ระบุไว้ ดังนั้น จะดำเนินการจ่ายให้กับผู้ที่จัดการศพจริง โดยต้องมีเอกสารระบุจากสถานที่จัดการศพ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่มี 3 ทางเลือก จะได้รับเงินค่าทำศพไม่เท่ากัน โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน เว้นแต่กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน และทางเลือกที่ 2 จ่ายสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท ส่วนทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท สำหรับหนังสือมอบสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตนั้น ผู้ประกันตนสามารถจัดทำขึ้นเองได้ พร้อมระบุทายาทผู้รับประโยชน์ให้ชัดเจน โดยสามารถมอบให้กับทายาทที่มีสิทธิรับประโยชน์เก็บหนังสือฉบับดังกล่าวไว้

นางพจนารถ กล่าวถึงเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน หรือ 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ย 4 เดือน เช่น ผู้ประกันตนมาตรา 33 ฐานค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท จะได้รับ 30,000 บาท ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับ 9,600 บาท ส่วนกรณีส่งเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป หรือ 10 ปี ก็จะได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือนขึ้นไป เช่น ผู้ประกันตนมาตรา 33 ฐานค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท จะได้รับ 90,000 บาท ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับ 28,800 บาท ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 จะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต หากส่งเงินสมทบ 60 เดือนขึ้นไป หรือ 5 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนที่กำหนดตามกฎหมายประกันสังคม ทายาทจะได้รับประโยชน์ทดแทนเป็นเงินบำเหน็จชราภาพคืนให้ทายาท

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นิตยา คุณสิม

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย