ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

น้ำเปลี่ยนสีรายเขต

เขตอ่าวไทยตอนบน

จากการได้รับแจ้งจากชุมชนชายฝั่ง และหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนพ.ศ.2550-สิงหาคม พ.ศ.2554 พบการเกิดปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รวมทั้งสิ้น 63 ครั้ง โดยพบสัตว์น้ำตายจำนวน 9 ครั้ง ของการเกิดน้ำเปลี่ยนสีทั้งหมด (คิดเป็นร้อยละ 14)

แนวโน้มการเกิดน้ำเปลี่ยนสี พบการเกิดน้ำเปลี่ยนสีมากที่สุดในปี พ.ศ.2551 จำนวน 20 ครั้ง และมีแนวโน้ม การเกิดน้ำเปลี่ยนสีลดลงในปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2553 ตามลำดับโดยพบการเกิดน้ำเปลี่ยนสีบ่อยครั้งในช่วงปลายปีถึงต้นปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง เมื่อพิจารณา จากสถิติการเกิดน้ำเปลี่ยนสีใน 7 จังหวัดชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน พบการเกิดน้ำเปลี่ยนสีสูงสุดในจังหวัดสมุทรสาคร (ร้อยละ 60) รองลงมาได้แก่ชายทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพฯ (ร้อยละ 14) ซึ่งมีคลองสาขาเชื่อมต่อกับคลองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยไม่พบน้ำเปลี่ยนสีในจังหวัดสมุทรสงคราม

ชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุ พบว่า ร้อยละ 60 ของการเถิดน้ำเปลี่ยนสี มีสาเหตุจากการสะพรั่ง ร่วมกันของแพลงก์ตอนพืชมากกว่าสองชนิด รองลงมา ร้อยละ 17 เกิดจากแพลงก์ตอนพืชชนิด Noctiluca scintillans (ความหนาแน่น 225-70,000 เซลล์ต่อลิตร) และร้อยละ 10 เถิดจาก Ceratium furca (ความหนาแน่นประมาณ 450 ถึงมากกว่า 1 ล้านเซลล์ต่อลิตร) รองมาได้แก่ ไดอะตอมสกุล Skeletonema sp., Pseudonitzschia sp., Chaetoceros sp.  และไดโนแฟลกเจลเลทสกุล Peridinium sp.

แนวทางการแก้ไข หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรทำงานร่วมกันอย่างจริงจังเพื่อควบคุม และปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านการบำบัดอย่างเหมาะสมซึ่งถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ โดยมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น ปริมาณสารอาหารในน้ำต้องลดลง ร้อยละ 20 ภายในระยะเวลา 6 เดือน เป็นต้น โดยจัดทำแผนการปฏิบัติงานทั้งในรูปแบบมาตรการระยะสั้น เช่น ติดตั้งบ่อดักไขมันฟรีในชุมชน บ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำซึ่งตั้งอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเกิดน้ำเปลี่ยนสีค่อนข้างบ่อย รวมทั้งกวดขันบังคับใช้กฎหมาย ควบคุมน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดทุกประเภทอย่างจริงจัง หรือมาตรการระยะกลาง เช่น การส่งเสริมหรือจูงใจ โดยลดภาษีหากโรงงานลดการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ หรือมาตรการระยะยาว เช่น จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน เป็นต้น

น้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลัก

ข่าว ประชาสัมพันธ์

ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานในสังกัดของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และขยายผลการทำงานโดยการสร้างและพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม

งานวิจัยและพัฒนา

ระบบสำรวจภูมิประเทศ Mobile Mapping System : MMS และระบบแสดงผลข้อมูลแผนที่ 3 มิติแบบออนไลน์

จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ทำให้พบว่าข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน มีความละเอียดและทันสมัยไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ห....

อ่านเพิ่มเติม

ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

งานวิจัยและพัฒนา

ระบบฐานข้อมูลและแบบจำลองเพื่อการวิจัยทางสมุทรศาสตร์สำหรับประเทศไทย

ระบบฐานข้อมูลและแบบจำลองเพื่อการวิจัยทางสมุทรศาสตร์สำหรับประเทศไทย บูรณาการ พัฒนาต่อยอด สร้างการรับรู้ เพื่อการวิจัยทางสมุทรศาสตร์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะประมง มหาวิ....

อ่านเพิ่มเติม

ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

งานวิจัยและพัฒนา

ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. พัฒนา “ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ” (National Hydroinformatics Data Center : NHC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ ทั้งข้....

อ่านเพิ่มเติม

ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

งานวิจัยและพัฒนา

ระบบคาดการณ์สภาพอากาศ ระยะสั้น แบบคู่ควบ

เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง แบบจำลองบรรยากาศ Weather Research and Forecasting (WRF) และแบบจำลองมหาสมุทร Regional Ocean Model System (ROMS) โดยพัฒนาจากระบบแบบจำลองคู่ควบ Coupled Ocean Atmosphere Wa....

อ่านเพิ่มเติม

ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

หน่วยวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่

Mobile War Room

พร้อมทุกที่

ทุกสถานการณ์

ฐาน ข้อมูล แหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ