อันตราย จากการเผยแพร่

อย่าลืมว่าข้อมูลต่างๆ ที่คุณโพสต์จะเปิดเผยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโพสต์ข้อมูลที่สุ่มเสี่ยงก็อาจจะส่งผลร้ายต่อตัวเราเองได้ ฉะนั้นก่อนโพสต์ทุกครั้งต้องคิดให้รอบคอบ

  1. ใช้ความระมัดระวังในการคลิกลิงก์ต่างๆ

หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์แปลกปลอมที่มากับการแชร์หรือข้อความ หรือมาจากคนที่ไม่รู้จัก หรือแม้แต่เพื่อนซึ่งใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดูแปลกไปจากปกติ เพราะอาจเป็นลิงก์ที่นำไปสู่ไวรัสหรือช่องทางขโมยข้อมูลของเหล่าแฮกเกอร์

  1. พิมพ์ที่อยู่ URL ของเว็บไซด์โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นๆ โดยตรง

การใช้งานบนเบราว์เซอร์ให้หลีกเลี่ยงการเข้าเครือข่ายทางสังคมผ่านทางคลิกลิงก์จากผลแสดงการค้นหา หรือจากอีเมล เพราะอาจเป็น URL ปลอมที่นำเราไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกเอาบัญชีผู้ใช้และ Password ได้ เช่น www.facebook.com อาจมี URL หลอกเป็น www.faeebook.com เป็นต้น

หลีกเลี่ยงการตอบรับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เพราะผู้ไม่หวังดีอาจแฝงมากับคนที่ขอเข้ามาเป็นเพื่อนเรา และหากพบคนที่เป็นเพื่อนซึ่งเราไม่รู้จักและน่าสงสัยก็ควรลบออกไป

ผู้ให้บริการแต่ละรายจะกำหนดการตั้งค่าส่วนตัวไว้เพื่อไม่ให้ข้อมูล หรือสิ่งที่เราทำ หลุดออกไปยังคนที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เราควรตั้งค่าให้เพื่อนเท่านั้นที่เห็นกิจกรรมของเรา และหลีกเลี่ยงการตั้งค่าสิ่งที่เราทำให้เป็นสาธารณะ หรือคนทั่วไปเห็นได้

  1. ไม่แสดงข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ

ไม่ควรโพสต์บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเครดิตลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบข้อความ หรือรูปภาพ เพราะแฮกเกอร์และผู้ไม่หวังดีสามารถแฝงตัวมากับกลุ่มเพื่อนที่เราอนุญาตให้เข้าชมได้

เพื่อป้องกันการติดตามและการเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้ไม่หวังดีที่ลักลอบเข้ามาขโมยข้อมูลด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเว็บเบราว์เซอร์ที่เปิดใช้งาน Do Not Track ได้แล้ว เช่น Internet Explorer 10

  1. ใช้วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข่าวสาร

อย่ารีบปักใจเชื่อข้อมูลที่เผยแพร่เข้ามาในทันที รวมทั้งการกล่าวอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ เพราะอาจมีการสวมรอย หรือสมอ้างจากผู้ไม่หวังดีเพื่อสร้างข่าว หรือสร้างความเสื่อมเสียต่อแหล่งที่มานั้นได้

  1. ดูแลและควบคุมการใช้งานของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

สอนให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ข้อมูล และรู้จักเล่นอย่างถูกวิธี เพราะความรู้ในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็มีอยู่มากมาย และปัจจุบันครูอาจารย์ก็ทันสมัยจนแจ้งเรื่องต่างๆ แก่ลูกศิษย์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น Facebook หรือ Twitter กันแล้ว นอกจากนี้ อาจหาเครื่องมือในการควบคุมการใช้งานของบุตรหลายได้ เช่น โปรแกรม Windows Live Family Safety ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ไมโครซอฟต์เปิดให้ใช้งานได้ฟรีๆ นอกจากจะใช้ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้แล้ว ยังสามารถกำหนดช่วงเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ และป้องกันการใช้โปรแกรม หรือเล่นเกมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้รับอนุญาตได้อีกด้วย

  1. ตระหนักว่ามันเป็นสังคมเสรี

แม้ว่าทุกคนจะมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น แต่ทุกคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมก็สามารถเป็นเหตุในการฟ้องร้องได้ และศาลก็อาจจะรับฟังคำร้องด้วย

จริงอยู่ว่าเราจะแชร์อะไรก็ได้ในพื้นที่ส่วนตัวของเรา แต่อย่าลืมว่าพื้นที่นั้นมันไม่ได้ส่วนตัวอย่างที่คิดเลย การแชร์อะไรบางสิ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ ดังนั้นก่อนจะแชร์อะไรออกไป ควรคิดให้รอบคอบสักหน่อยว่า “มันส่งผลอะไรกับตัวเราหรือไม่” ตั้งสติก่อนแชร์กันนะ

เผยข้อมูลส่วนตัว

อันตราย จากการเผยแพร่

ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุลจริง , วันเกิด , อายุ , ที่อยู่ , เบอร์โทรศัพท์ หรือ สิ่งที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณ เพราะนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ข้อมูลต่างๆ ของเราถูกแฮกได้   เช่น การเปิดเผยที่อยู่จริงของคุณ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ใครที่ประสงค์ร้ายอาจเข้าใกล้คุณได้มากขึ้น , การเปิดเผยเบอร์โทร อายุ วันเกิด ผลสำรวจบอกไว้ว่า ผู้คนมักจะเอาข้อมูลเหล่านั้นไปตั้ง Password กัน หรือ เอาไปตั้งสำหรับคำถามรักษาความปลอดภัยของข้อมูล Security Question

ถ้าคุณอยากจะอัพเดตว่าตอนนี้เปลี่ยนที่อยู่ / เบอร์โทร ควรส่งข้อมูลทาง Inbox จะปลอดภัยกว่าเยอะ สมัยนี้มิจฉาชีพเยอะ เราไม่รู้หรอกว่า ใครจะเอาข้อมูลเราไปทำอะไร งั้นกันไว้ดีกว่าแก้จ้า

ถ่ายส่วนหนึ่งของตัวบ้าน

อันตราย จากการเผยแพร่

เหมือนกับการแชร์ว่า “บ้านเราอยู่ไหน” แต่อันตรายมากกว่าเยอะ อย่าไปคิดว่า “การถ่ายภาพหรือ Live ในบ้านโชว์คนในโซเชียลว่า จัดบ้านใหม่ รีโนเวทบ้าน นั้นจะไม่เป็นอะไร” เพราะ การโชว์ภายในตัวบ้านให้เห็น เหมือนอนุญาตให้โจรเข้ามาแล้ว ทำให้พวกนั้นรู้มุมต่างๆ ของบ้านเรา ยิ่งไปกว่านั้นอาจพบเห็นของมีค่าที่อยู่ภายในบ้าน สร้างสิ่งล่อตาล่อใจให้กับโจรไปอีก

ตั๋วเครื่องบิน

อันตราย จากการเผยแพร่

ทำไมอะ ก็กำลังจะไปเที่ยวต่างประเทศก็ต้องอวดให้โลกรู้หน่อย คิดแบบนั้นไม่ได้เลย อันตรายกว่าที่เราคิดเยอะ เพราะ มิจฉาชีพสามารถใช้โปรแกรมตรวจบาร์โค้ดของตั๋วเครื่องบิน ซึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้อย่างง่ายดาย  บัตรเครดิตชนิดใด เดินทางไปที่ไหน ชื่อ-นามสกุลที่ปรากฏบนตั๋วเครื่องบิน และ สามารถยกเลิกตั๋วเครื่องบินได้

หนังสือเดินทาง

อันตราย จากการเผยแพร่

หนังสือเดินทางก็เหมือนกับบัตรประชาชน เพราะ มีข้อมูลของ ชื่อนามสกุลเรา วันเดือนปีเกิด อายุ สัญชาติ และ เลข Passport เพราะ มีสิทธิที่ผู้ไม่หวังดีจะใช้ช่องทางนี้ในการปลอมแปลง Passport ของเราได้

Check in สถานที่

อันตราย จากการเผยแพร่

ไปเที่ยวไหน เราก็อยากสร้างความทรงจำด้วยการ Check in หน่อยว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน ซึ่งบอกเลยว่า อันตรายมาก เพราะ มันแสดงให้รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน คนที่ไม่หวังดีอาจจะง่ายขึ้นในการเข้าถึงตัวคุณ หรือ ที่แย่ไปกว่านั้นคือ โจรไปขึ้นบ้านคุณในขณะที่คุณไปเที่ยวอยู่

โพสต์เรื่องราวตัวเองมากเกินไป

อันตราย จากการเผยแพร่

จริงอยู่ว่าพื้นที่ของเรา เราจะแชร์อะไรออกไปก็ได้ แต่การที่เราโพสต์เรื่องราวของตัวเองบ่อย และ ถี่ เต็มไปเรื่องราวดราม่า ร้ายกว่านั้นคือ หยาบคายด้วย ก็จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ลบให้กับตัวคุณเอง สร้างความน่ารำคาญให้กับคนรอบข้างด้วย มีผลต่อการสมัครงาน (ถ้าบริษัทแอบเข้ามาเช็คประวัติเราก่อนนะ) สิ่งที่ควรทำคือ ต้องมีสติ และ ยับยั้งอารมณ์ชั่ววูบที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ เวลามีอารมณ์โกรธ โมโห อย่าพิมพ์เมื่อกำลังโกรธ เพราะ จะเสียใจในภายหลัง

วิจารณ์ที่ทำงาน

อันตราย จากการเผยแพร่

เป็นการสร้างภาพลักษณ์แย่ๆ ให้กับตัวคุณเอง การที่คุณเม้าส์ หรือ บ่นเรื่องราวในที่ทำงาน มันต้องมีสักคนในที่ทำงานบ้างแหละ เอาเรื่องราวไปบอก หรือ ที่ร้ายกว่านั้นคือ เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานของคุณมาเห็นเอง มันจะสร้างสถานการณ์ที่น่าอึดอัดของคุณอย่างมากเมื่ออีกฝ่ายรู้เรื่องแล้ว มองหน้ากันไม่ติด ความสัมพันธ์เลวร้ายลงไป จนถึงขั้นลาออกจากงานก็เป็นไปได้ ดังนั้นถ้าจะวิจารณ์ “ตั้งค่าก่อน” ไม่ให้คนที่ทำงานเห็นก็ดีนะ

ทัศนคติที่ลบ ความเชื่อ การเมือง ศาสนา

อันตราย จากการเผยแพร่

เรามีความชอบ ความเชื่อ ความศรัทธาที่ไม่เหมือนกัน เราอาจจะไม่เห็นด้วยกับความเชื่อบางอย่าง แต่เราก็ไม่จำเป็นที่ต้องไปเหยียด หรือ พูดจาในแง่ลบแก่ความเชื่อเหล่านั้น เพราะ เราต่างรักและศรัทธาในความเชื่อของตัวเองทั้งนั้น ถึงจะเชื่อไม่เหมือนกัน เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่าให้การแชร์อะไรแบบนั้นสร้างปัญหาให้กับคุณเลย

ข่าวปลอม

อันตราย จากการเผยแพร่

“ตั้งสติก่อนแชร์” ดูก่อนว่าข่าวที่เห็นในโซเชียลนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือแค่ไหน มีที่มาอย่างไร เพราะ การแชร์ข่าวสารที่ปลอมออกไป อาจเป็นการสร้างการตื่นตระหนก ทำให้คนที่พบเห็นเกิดการเข้าใจผิดได้ ดังนั้น “ไม่ชัวร์ อย่าแชร์”