ชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทย ที่มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย โดยกำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ.2411

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561 คือ “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ก็เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

และเพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในโอกาสนี้ Tonkit360 จึงได้รวบรวม 5 สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ไทย มาให้ผู้อ่านได้ทราบถึงประวัติผลงานคร่าวๆ จะมีท่านใดบ้างไปดูกันเลย

1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

เป็นที่ยอมรับกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ ทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์เทียบเท่ากับนักดาราศาสตร์สากล ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ งานทางด้านการวิจัย และการสถาปนาเวลามาตรฐาน นักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีการประชุมกัน เพื่อพิจารณาหาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และได้ตกลงมีมติเลือกวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณคาดหมายไว้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาที่ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เป็นต้นมา และได้ประกาศยกย่องว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขา สารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2530 ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

3. ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์

ชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วย ในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย เป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ ยาเอดส์ ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา ภายหลังลาออกจากองค์การเภสัชกรรม ได้เริ่มต้นการทำงานในประเทศคองโก และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ Afrivir หลังจากนั้นได้เดินทางไปช่วยเหลืองานทางเภสัชกรรม ณ ประเทศแทนซาเนีย โดยสามารถวิจัยและผลิตยา Thai-Tanzunate ในประเทศแทนซาเนียได้สำเร็จ อันเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย ผลงานของดร.กฤษณาเป็นที่สนใจในวงกว้าง จนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติ

4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี

ชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ราษฎรอาวุโส เป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข และนักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งเป็นผู้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิต ผลงานเด่นคือ การค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย และได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปีพ.ศ.2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)

5. ศาสตราจารย์ ดร.ถาวร วัชราภัย

ชื่อนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย จบการศึกษาปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ สาขาไม้ดอกไม้ประดับ และปริญญาเอกพฤกษศาสตร์ สาขาเซลล์พันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2532 ในสาขาพฤกษศาสตร์ เป็นผู้พบว่าการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกายในต้นที่ขยายพันธุ์ โดยไม่อาศัยเพศด้วยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นคนแรกที่รายงานปรากฏการณ์ดังกล่าวในพืชโตเต็มวัย เมื่อพ.ศ.2515