วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน

Main Article Content

พระครูนิวิฐศีลขันธ์ (ณรงค์ ฐิตวฑฺฒโน)

อัครเดช พรหมกัลป์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

รัตติยา เหนืออำนาจ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีพุทธ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างซึ่งค่าความตรงตามเนื้อหารายข้อ และความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ มีค่า 1 และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/หรือคน ด้วยแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีพุทธ ในการสร้างครอบครัวที่อบอุ่นและเข้มแข็งนั้นคู่สามีและภรรยาจะต้องดำเนินรอยตามหลักสมชีวิธรรม 4 ประกอบด้วย 1) จะต้องมีความเชื่อและทัศนคติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) จะต้องมีการประพฤติปฏิบัติดีเสมอกัน 3) จะต้องลดอัตตาและมีความเสียสละเสมอกัน และ 4) จะต้องมีปัญญาและมีเหตุมีผลเสมอกัน เบื้องต้นคู่สามีจะต้องมีศีล 5 เป็นพื้นฐานและประพฤติการปฏิบัติต่อกันและกันด้วยวิธีการที่ดีใน 3 มิติ คือ 1) ด้านกายกรรม 2) ด้านวจีกรรม และ 3) ด้านมโนกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

References

Chaichan, A. et al. (2013). Guidelines for the strengthening of families and communities to prevent the sexual risk behavior problem of youth. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 9(Special Issue), 659-666.

Chaijukul, Y. et al. (2009). Family Strength Research and Development through Participatory Learning Process of Tambon Administrative Organization Leaders. Journal of Behavioral Science, 15(1), 162-184.

Inchaithep, S. et al. (2011). The Development of Happiness Family Indicators for Families in Lampang Province (Research Report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.

Jeungklinchan, P. (2014). Adaptation process and parenting of adolescent mothers who have to take care of children alone. Case study: users of the Sahathai Foundation. The Golden Teak: Humanity and Social Science, 20(1), 73-90.

Jewpattanakul, Y., & Thapkaew, T. (2014). The development of resolving family conflict guideline for prevention of Thai youth alcohol consumption. Journal of faculty of nursing Burapha University, 22(2), 15-27.

Lertsakornsiri, M. (2014). The Relationship between Personal Factors as well as Families’ Strengths and Developmental Assets in Pregnant Adoliscent. Naresuan University Journal: Science and Technology, 22(3), 47-57.

Sanyavivat, S. (1991). Thai wisdom. Bangkok: Thai Studies Institute.

Sitsirirath, C. (2016). The study of psychosocial factors affecting Thai behavior in students. (Research Report). National Research Council of Thailand: Srinakharinwirot University.

Somkhanat, H. (1992). Local knowledge about humans, the natural environment. Bangkok: Kurusapa Printing.

Tumhiran, K. et al. (2010). Family life conditions, parents, adolescents and social services for (Research Report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.

🎓ภูมิปัญญาท้องถิ่น🎓

        ในปัจจุบันเมืองไทยเราได้กลายเป็นประเทศเปิดที่รับเอาความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี จากผลของการรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมานี้เอง ทำให้ประเทศของเรา ชุมชนของเรานึกถึงความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอันดี ที่เคยสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยเราส่วนมากจะยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาตามชนบทหรือ ตามท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงมีการสืบทองภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านของเราจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของท้องถิ่นเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับทราบและร่วมภูมิใจกับบุคลในท้องถิ่นด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์มาช้านานเป็นการดำรงในชีวิตที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นโดยมีการปรับสภาพการดาเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติตามกาลเวลา (ประเวศ วะศรี, ๒๕๓๖)

✠ความหมายของภูมิปัญญา✠

      📚พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ (๒๕๔๖, หน้า ๘๒๖) ได้ให้ความหมายของคำว่า    ภูมิปัญญาไว้ว่า “พื้นความรู้ความสามารถ” ภูมิปัญญาหมายถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน หรือเป็นลักษณะสากล ที่หลายถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญา ชาวบ้านในแต่ละถิ่นเกิดจากการแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญานี้จึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและชาวบ้าน เช่น การประกอบพิธีกรรมของชุมชน หรือประเพณีการรวมกำลังช่วยกันทำงานใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเดียวเป็นต้น ภูมิปัญญาหมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรของบุคคลหรือ ทรัพยากรความรู้ก็ได้ทรัพยากรความรู้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ความรู้ในสาขาอาชีพหรือวิชาการด้านต่างๆ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การถนอมอาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ จารีตประเพณี เป็นต้นส่วนทรัพยากรบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ชาวนาผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในบายศรี เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) เป็นคำที่รู้จักกันมานานพอสมควร เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง  หลายแง่มุม ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ในแง่มุมต่างกัน ดังนี้

🧠ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือปัญญาชนชาวบ้านหรือปัญญาชนท้องถิ่น (Intellectual Organic) หมายถึง “พื้นเพรากฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์สืบเนื่องต่อกันมาทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเองหรือทางอ้อมซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา" (สามารถ จันทร์สูรย์,๒๕๓๓ อ้างถึงใน สำเนียง สร้อยนาคพงษ์,๒๕๓๕:๒๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาแห่งชีวิต ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานาน เพราะสังคมเปรียบเสมือนมนุษย์ หากไม่มีสอนหรือปัญญาย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้   (ประเวศ วสี,๒๕๓๔) อ้างถึงใน นิลุบล คงเกตุ,๒๕๔๐ หน้า ๔๓) วันเพ็ญ พวงพันธุ์บุตร (๒๕๔๒:๑๐๘) ให้ทัศนะเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึงองค์ความรู้ทั้งหลายที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาของชาติไทย    โดยการคิดค้นปรับเปลี่ยนผสมผสานกับ
ความรู้ใหม่ และพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รุ่ง แก้วแดง (๒๕๔๓:๒๐๔) ได้กล่าวถึงภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึง องค์ความรู้
ความสามารถและทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรรเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย รัตนะ บัวสนธิ์ (๒๕๓๕:๓๕) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงกระบวนทัศน์ชองบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวมีรากฐานจากคาสอนทางศาสนา คติ จารีตประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง     แต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล

 🔎สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง และนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน
ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดทำ  โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

✨ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น✨

      ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น
จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชาดังที่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑)
ได้จำแนกไว้รวม ๑๐ สาขา คือ

๑. 🌱สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตร เป็นต้น

๒. 🔨สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัยประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา      กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น

๓. 👨‍⚕️สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

๔. 🌄สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน

๕. 💰สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

๖. 📈สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

๗. 🎨สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น

๘. 📋สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

๙. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

๑๐. ☮สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคล  และสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น


             🕸 แยกตามประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด 🕸

🌱ด้านเกษตรกรรม🌱

    ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

การทำปุ๋ยจากสารอินทรีย์

นายธำรง  จันทร์สุกรี

๙๙/๑๐๓  ม.๕ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

เกษตรอินทรีย์ปลอดสาร

นายเสริมศักดิ์  แตงอ่อน

๗๕/๑๖๘ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

🛠ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม🛠

    ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

เครื่องปั้นดินเผา

นายอำนาจ  โห้เฉื่อย

๘๔/๑๓ ม.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ชุดตุ๊กตาไทยประยุกต์

นางสาวสมปอง  ก๋งแหยม

๒๔/๒๔ ม.๕ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด    จ.นนทบุรี 11120

เครื่องปั้นดินเผาแกะสลัก

นายถาวร  ใจสว่าง

๖๙ ม.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด         จ.นนทบุรี 11120

🩺ด้านการแพทย์ไทย🩺

ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

การผลิตลูกประคบสมุนไพรไทยแผนโบราณ

นางปราณี  เที่ยงพัฒน์

๓๗/๓๕ ม.๓ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด    จ.นนทบุรี 11120

การแปรรูปสมุนไพรไทย

นางสาวมัลลิกา  พรหรมพจนารถ

๒๔/๒๔ ม.๕ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด   จ.นนทบุรี 11120

สูตรยาดมส้มโอมือ

นางสาวดวงอมร  กฤษณ์มพก

๔๖/๔๖ ม.๒ ซอยแจ้งวัฒนะ ๒๘      ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรี 11120

🌏ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌏

ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

กระบวนการแปรสภาพขยะ คือปุ๋ยหมัก และน้ำ

นายอเนก  หอมหวาน

บ้านพบสุข  ม.๕ ต.บางตลาด            อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

การจัดการสิ่งแวดล้อมจากต้นทาง

นายเสริมศักดิ์  แตงอ่อน

๗๕/๑๖๘ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

การจัดการขยะมูลฝอย

นายธำรง  จันทร์สุกรี

๙๙/๑๐๓  ม.๕ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

🏺ด้านศิลปกรรม🏺

ชื่อของภูมิปัญญา

 ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

ศิลปะการเพ้นท์จากขวดแก้ว

นายประภัทร  สุขเกษม

บ้านพบสุข  ม.๕ ต.บางตลาด            อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

การเป่าแก้วประยุกต์ศิลปะไทย

นายสมชาย  น้อยจินดา

๗๕/๑๖๘ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

เครื่องปั้นดินเผาแกะสลัก (บ้านศิลป์ ดินสวย)

นายสุชาติ  กิ่งสดศรี

๑๘/๘๙๐ ม.๕ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

งานไม้เขียนลาย

นางนิรมล  ใจสว่าง

๑๑๗/๑๙ ฒ.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด      จ.นนทบุรี 11120

🥧ด้านอื่นๆ (ด้านอาหารและขนมไทย)🥧

ชื่อของภูมิปัญญา

ชื่อของเจ้าของภูมิปัญญา

ที่อยู่

บะจ่าง

นางสาวปนัดดา  เจริญจรัสกุล

๗๖/๑๕๙ ซอยเกื้อกูล ต.บางตลาด      อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120

ทอดมันหน่อกะลา

นายวิโรจน์  นันทวิริยาจารย์

๓ หมู่ ๒ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด         จ.นนทบุรี 11120

ขนมกาละแม / แกงมะตาด

นางกนกวรรณ  นามชุ่ม

๑๓๑/๓๘ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด        จ.นนทบุรี 11120

ขนมกระยาสารท (เท้งปากเกร็ด)

นายณภพ ภูวนธนบูรณ์

๙๒-๙๓.ซ.ตลาดเก่า ต.ปากเกร็ด           อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ขนมเปี๊ยะ  (ร้านเฉลิมชัยพาณิช)

นางสาวสุปราณี  โอสถาวรนันทร์

๙๒-๙๓.ซ.ตลาดเก่า ต.ปากเกร็ด           อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ไอศกรีม  แป๊ะหงวน

นายสันติ  เนาวพนานนท์

๓๘ ม.๒ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด       จ.นนทบุรี 11120

ขนมโบราณ

นางอัจฉรา  จำปากะนันท์

๗/๑๖ ม.๙ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด       จ.นนทบุรี 11120

ขนมไทยมงคล

นางสาวอรวรรณ  ตัณฑวิทยากุล

๑๕๖/๒ เคหะนนทบุรี ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด       จ.นนทบุรี 11120

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านหมายถึงอย่างไร

วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์ กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมมีทั้งสาระและรูปแบบที่เป็นระบบความคิด วิธีการ โครงสร้างของสังคม สถาบัน ตลอดจนแบบแผนและทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น ความหมายของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความชาญฉลาด ...

ภูมิปัญญาวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง

สาขาศิลปะการแสดง ... .
งานช่างฝีมือดั้งเดิม ... .
วรรณกรรมพื้นบ้าน ... .
กีฬาภูมิปัญญาไทย ... .
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล ... .
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ... .

ภูมิปัญญากับวัฒนธรรมมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

วัฒนธรรมหมายถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม วัฒนธรรมมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยหมายถึง ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม ภูมิปัญญามีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น วัฒนธรรมกับภูมิปัญญาไทยจึงมีความสัมพันธ์กันเพราะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตและเป็นสิ่งที่สืบทอดจากรุ่นมาสู่รุ่นต่อไป 2.

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมีความสําคัญต่อสังคมอย่างไร

ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น ... .
สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย ... .
สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ... .
สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ... .
เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย.