หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร 2565

คุณภาพชีวิต

20 ต.ค. 2565 เวลา 13:33 น.7.9k

อัปเดตแจ้งให้ทราบด่วนเลย เงินช่วยเหลือเกษตรกร เช็กเกณฑ์ผู้ได้รับเงิน เยียวยาเกษตรกรน้ำท่วมปี 65 ตรวจสอบว่าใครจะได้เงินหมื่นหรือพันบาท

ตามต่อบอกให้รู้ กรณี เงินช่วยเหลือเกษตรกร เช็กเกณฑ์ผู้ได้รับ เงินเยียวยาเกษตรกร น้ำท่วมปี 65 มาตรการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรเสียหายจากภัยพิบัติจากอุทกภัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ชี้แจง กณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เงินเยียวยาเกษตรกรปี 65 เช็กด่วน กระทรวงเกษตรฯแจกเงินช่วยเหลือน้ำท่วม

และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 

หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร 2565

เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย มีพื้นที่เสียหายจริง อยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ และช่วยเหลือไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ 

หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร 2565

โดยการขอรับความช่วยเหลือนั้น มีระเบียบขั้นตอนดังนี้ 
1. เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว เกษตรกรยื่นแบบขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีตรวจสอบและรับรอง ตามสถานที่ที่กำหนด

2. คณะกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบ และรับรองความเสียหายนำรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ไปติดประกาศคัดค้านตามสถานที่ที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 วัน

3. สำนักงานเกษตรอำเภอนำเสนอคณะกรรมการ ก.ช.ภ.อ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท 

  • หากไม่เพียงพอ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเสนอคณะกรรมการ ก.ช.ภ.จ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ วงเงินในอำนาจ 20 ล้านบาท 
  • หรือหากไม่เพียงพอให้คณะกรรมการ ก.ช.ภ.จ. พิจารณาให้ความเห็นชอบใช้เงินทดรองราชการ ในอำนาจปลัด กษ. วงเงินในอำนาจ 50 ล้านบาท

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ที่กำหนดตามประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีไม่สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ยื่นขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ก่อนระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 15 วัน และขอให้มีการบูรณาการหน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อเร่งรัดดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร 

กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูก มีพืชตายหรือเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟู หรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้อีก ให้ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ในอัตรา ดังนี้

  • ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท
  • พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท
  • ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่นๆ ไร่ละ 4,048 บาท

การประมง ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติที่สัตว์ตายหรือสูญหาย ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นเงิน ดังนี้

  • กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
  • ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง)ไร่ละ 4,682 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
  • สัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ตารางเมตรละ 368 บาท ไม่เกินรายละ 80 ตารางเมตร

หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท

หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร 2565

ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตู้ ปณ. 1084 ปทฝ. เกษตรศาสตร์ ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10903

โทรศัพท์ 0-2942-8616 ต่อ 333, 345, 346 โทรสาร 0-2940-6688 อีเมล

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.

      กรมประมงขอเรียนว่า เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงประสงค์ขอความร่วมมือให้จังหวัดให้ปฎิบัติไปตามคู่มือกาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2565 ดังนี้

      1. กรณีเกิดภัยพิบัติให้ดำเนินการรายงานสถานการณ์เบื้องต้น ให้กรมประมงทราบทันที ทางโทรสารหมายเลข 0 2558 0218 หรือทาง E-mail :

      2. ดำเนินการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยด่วนที่สุด พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลความเสียหายของเกษตรกรให้ถูกต้อง และไม่ซ้ำซ้อนต่อการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งการสำรวจความเสียหาย และการให้ความช่วยเหลือให้ยึดพื้นที่ หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ที่เกษตรกรประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

      3. ขอให้จังหวัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ตามระเบียบกระทวงการคลังว่าด้วย เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิก พ.ศ. 2562 โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีที่เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถขอรับการสนับสนุนเงินทดรองราชการในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากระยะเวลาการให้ความช่วยเหลืือไม่เพียงพอให้จังหวัดดำเนินการขยายเวลาระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก่อนกำหนด เพื่อให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกร