ประเทศ เยอรมนี ประเทศ แห่ง ขยะ รีไซเคิล

ชมคลิป แยกขยะแบบเยอรมนี “หนึ่งของโลกด้านรีไซเคิล”

เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2564 01:05   ปรับปรุง: 27 มิ.ย. 2564 01:05   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เยอรมนี ยังเป็นประเทศผู้นำทางด้านรีไซเคิล กว่า 67% ของขยะถูกนำไปรีไซเคิล และเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าเพราะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลเท่านั้น ส่วนสำคัญที่สุดที่นำเยอรมนีไปสู่ความสำเร็จ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และชาวเยอรมัน

รัฐบาลเยอรมนี มีกฎหมายและมาตรการจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐทั้ง 16 รัฐนั้นมอบหมายให้มีมาตรการจัดการขยะของตนเอง จึงเป็นหน้าที่ของเทศบาลของแต่ละเมืองที่เข้ามาดูแล ตั้งแต่การเก็บ การลำเลียงไปกำจัด หรือรีไซเคิล

ด้านธุรกิจเอกชน ผู้ผลิตสินค้า แต่ละบริษัทต้องเป็นคนรับผิดชอบขยะที่เกิดมาจากสินค้าของตัวเองด้วย ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป ส่วนการแยกขยะในครัวเรือน ก็จะมีการแบ่งแยกตามสีของถังขยะ ทั้งนี้ทางเทศบาลของเขาค่อนข้างเข้มงวดกับการจัดการขยะมาก หากใครไม่ทำตามกฎอาจจะโดนค่าปรับสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 87,000 บาท

ขณะที่ชาวเยอรมันเอง ทุกวันนี้เขาให้ความร่วมมือในการรีไซเคิลเป็นอย่างมาก อ้างอิงจาก Statista ประชากรกว่า 80% นั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้ามาก ว่าต้องสามารถนำไปรีไซเคิลได้

นั่นจึงทำให้อุตสาหกรรม การจัดการขยะและรีไซเคิลของเยอรมนีกลายเป็นอีกอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไปด้วย โดยมีจำนวนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะมากถึง 11,000 บริษัท มีพนักงานรวมกว่า 270,000 คน สร้างรายได้รวมสูงถึง 2.4 ล้านล้านบาทต่อปี และมีโรงงานเกี่ยวกับการจัดการขยะรวม 15,500 แห่งทั่วประเทศ

เรื่องเล่าในคลิปนี้ โดยคุณ pattamai เธอพาไปชมของจริงว่าที่นั่นเขามีระบบจัดการขยะที่ดีอย่างไรถึงทำให้พวกเขากลายเป็นประเทศที่รีไซเคิลได้มากมาย ที่จริงปริมาณของขยะก็อาจจะไม่ได้ต่างจากบ้านเราสักเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าเขามีระบบการจัดการที่แตกต่างจากเราอยู่หลายขุมเท่านั้นเอง

pattamai เธอบรรยายใต้คลิปนี้ไว้ว่า “ขอสารภาพว่าตอนมาถึงแรกๆ นี่งงตาแตกกับหลักการแยกขยะที่ยิบย่อยและยุ่งยากมากๆ ของเยอรมัน (ผ่านมาปีกว่าแล้วก็ยังแอบงงๆ อยู่) คนที่นี่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมากๆ มันได้เป็นแค่กฎเกณฑ์ แต่เป็นนิสัยและความเคยชินไปแล้วว่าเขาต้องแยกขยะและรีไซเคิลให้มากที่สุด อย่างโฮสต์เราถึงจะมีฐานะค่อนข้างดีแต่ก็จะเอาถุงซิปล็อกที่ใช้แล้วมาล้างแล้วล้างอีกจนมันขาดเป็นรูนั่นแหละ...555 ถึงจะเลิกใช้ ยอมใจมากๆ กับนิสัยการใส่ใจสิ่งแวดล้อมขนาดนี้”

อย่างขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องที่ใช้แล้ว เขายังไม่ทิ้งเป็นขยะที่ไร้ประโยชน์ เยอรมนีมีระบบ Pfand คือระบบมัดจำ คนที่นั่นเขาจะเอาขวดไปคืนที่ตู้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วได้บิลมาแลกเงินมัดจำคืน หรือจะเก็บไว้เป็นส่วนลดเวลาซื้อของก็ได้.

อีกอย่างที่น่าสนใจคือ Mülltrennung หรือระบบการแยกขยะแบบเข้มงวดมาก ถ้าใครเพิ่งเดินทางไปเยอรมนีครั้งแรก อาจนึกว่าเราจะแยกให้ถูกได้ไง เรื่องนี้ทางการของเขารวดเร็ว เราย้ายมาอยู่เยอรมัน ทันทีที่ถึง เมืองที่อยู่ เขาก็จะส่งจดหมายส่งมาบอกว่าต้องแยกขยะอะไรบ้าง ขยะประเภทใดต้องทิ้งลงในถังสีอะไร รวมถึงให้ข้อมูลอีกว่าจะเข้ามาเก็บขยะวันไหน (มีวันเก็บขยะแต่ละประเภท เช่น ขยะที่นำไปเผา กระดาษ หรือขยะชิ้นใหญ่พวกเฟอร์นิเจอร์ก็มีวันเก็บ) มาตรการที่เข้มงวด และเด็ดขาดมากก็คือถ้าเกิดเราเอาขยะไปวางผิดประเภท เขาก็จะไม่เก็บให้ แถมส่งใบเตือนมาฝากด้วย

Sperrmüll หรือวันทิ้งขยะชิ้นใหญ่ เฟอร์นิเจอร์ก็มีความสนุกสนาน Sperrmüll เป็นระบบที่ดีที่สนับสนุนให้คนใช้ของมือสอง เพราะคนจะเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาวางไว้หน้าบ้าน แล้วคนอื่นก็มาหยิบไปใช้ต่อได้เลย ลองมองหาดีๆ อาจจะได้ของที่ยังดูใหม่เอี่ยมมาใช้ด้วยละ

การมีระบบการจัดการดีๆ ช่วยให้ขยะได้ไปอยู่ในที่ที่ถูกต้อง ได้รับการจัดการหลังใช้งานถูกวิธี แทนที่จะไปรวมกันเป็นกองขยะมหาศาล บางอย่างก็ได้ใช้ประโยชน์ต่ออย่างขยะชิ้นใหญ่ในวัน Sperrmüll

ขอบคุณคลิปจากคุณ pattamai (https://www.youtube.com/channel/UCvqzUHs9MCOVW6OJVo6BR1w)
ข้อมูลอ้างอิง CHULA Zero Waste, pattamai

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร)

เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง

ประเทศ เยอรมนี ประเทศ แห่ง ขยะ รีไซเคิล
| ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ

นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้

1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป

2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว

3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย

4.ขยะอิเล็กทรอนิกส์ – ทิ้งได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือตามตู้ทิ้งเฉพาะ

5.ขยะอินทรีย์ กระดาษต่างๆ และขยะอื่นๆ ที่เหลือจากที่กล่าวมาด้านบนทั้งหมด ระบบการทิ้งจะขึ้นอยู่กับมาตรการของแต่ละรัฐ แต่ส่วนมากทิ้งได้ที่ถังขยะหน้าบ้าน

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีทางเลือกอื่นให้แก่ผู้อยู่อาศัยในกรอบของนโยบาย เพื่อผลักดันให้ผู้อยู่อาศัยแยกขยะสำหรับเพิ่มการรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด โดยคิดค่าเก็บขยะตามปริมาณและประเภทของขยะ และขยะอื่นๆ จะเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าขยะรีไซเคิลนั่นเอง

ประเทศ เยอรมนี ประเทศ แห่ง ขยะ รีไซเคิล
| แผนลดขยะแบบ (เยอร) มันๆ

เยอรมนียังมีแผนระยะยาวในการลดจำนวนขยะอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่าการลดเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการขยะ อย่างปี 2021 นี้จะเริ่มใช้นโยบายคิดภาษีตามน้ำหนักสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิล และภายในกลางปียังมีแผนจะเลิกใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งทุกรูปแบบ เช่น หลอดพลาสติก ไม้พันสำลี บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

ตอนนี้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วตามร้านอาหารและเครื่องดื่มในเมือง ซึ่งมีหลอดรักษ์โลกมากมายแทนที่หลอดพลาสติก หรือเปลี่ยนมาใช้ฝาแก้วแบบยกดื่มได้เลย เช่น ร้าน Longgrain Thai Cuisine ในเมืองมิวนิก ที่ใช้หลอดจากใยแอปเปิล ผลิตจากกากแอปเปิลที่คั้นน้ำหมด ข้อดีคือไม่เปื่อยง่ายเท่ากระดาษและกินได้ด้วย ซึ่งเราลองมาแล้วเลยรู้ว่ามีรสเปรี้ยวหน่อย แต่กลิ่นแอบฉุน

หรือในมหาวิทยาลัยก็มีการจัดการกับแก้วกาแฟอย่างเป็นระบบมานานแล้ว เช่น Technical University of Munich มีแก้วพอร์ซซีลานให้บริการเมื่อซื้อกาแฟ เราสามารถถือไปดื่มที่ไหนก็ได้แล้วค่อยนำแก้วไปคืนที่โรงอาหาร แต่ถ้าวันไหนแก้วกาแฟหมด ก็ซื้อใส่แก้วกระดาษได้ โดยจะมีค่าบริการเพิ่มอีก 75 เซ็นต์นั่นเอง

ประเทศ เยอรมนี ประเทศ แห่ง ขยะ รีไซเคิล
| แคมเปญกรีนๆ ช่วยลีนของเสีย

นอกจากนโยบายดี และการวางแผนอย่างมีระบบแล้ว ชาวเยอรมนียังร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างโครงการดีๆ มากมาย เพื่อสู้กับขยะในเมือง เช่น

Recup – บริการให้ยืมแก้วกาแฟ to go สำหรับให้ลูกค้าซื้อกาแฟใส่แก้ว to go ที่ใช้ซ้ำได้ แล้วค่อยนำมาคืนภายหลัง โดยคิดค่ามัดจำไว้ 1 ยูโร ซึ่งความสะดวกอยู่ที่หลายคาเฟ่ทั่วประเทศเยอรมนีนั้นตบเท้าเข้าร่วมโครงการนี้ คอกาแฟจึงไม่จำเป็นต้องนำแก้วไปคืนที่ร้านเดิม เพราะผ่านที่ไหนก็คืนที่นั่นได้เลย

Too good to go – บริการขายอาหารเกือบเหลือในราคาพิเศษสุดๆ เรียกได้ว่าเป็นการเซฟอาหารและวัตถุดิบเหลือใช้ไว้ก่อนที่จะโดนโยนทิ้งลงถังจนเป็นขยะอาหาร ซึ่งมีร้านอาหารน้อยใหญ่ตามเมืองเข้าร่วม ไม่เว้นแม้แต่ร้านกาแฟสุดดังอย่างสตาร์บัคส์

ระบบการแยก ทิ้ง และเก็บขยะแบบฉบับเยอรมนีทำให้เราได้เรียนรู้ว่า สุดท้ายแล้วการแยกขยะไม่ใช่แค่หน้าที่ของภาครัฐ แต่คือความรับผิดชอบต่อสังคมของเราทุกคน เพราะทั้งนโยบายรัฐ มาตรการ และแคมเปญต่างๆ จะไม่สำเร็จเลย ถ้าประชาชนทุกคนไม่ให้ความร่วมมือ

ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีนโยบายในการจัดการและผลักดันจากภาครัฐที่เข้มแข็ง ก็คงไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสังคมเช่นกัน ดังนั้นความสำเร็จในการแยก ทิ้ง เก็บ ไปจนถึงรีไซเคิลขยะจึงต้องเกิดจากความร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อไม่เป็นภาระแก่มนุษย์ในรุ่นหลังที่ต้องมาตามแก้ปัญหาที่คนรุ่นนี้ร่วมกันสร้างไว้ และเพื่อรักษาโลกของเราในอนาคตให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

Germany green recycle waste wastemanagement

Writer

ประเทศ เยอรมนี ประเทศ แห่ง ขยะ รีไซเคิล

กำลังเรียนปริญญาโทในมิวนิคเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่ง แต่เส้นทางชีวิตไม่มีป้ายบอก so let's get lost together? ยามว่างชอบเดินขึ้นลงเขา สำรวจเมืองใหม่ๆ และบันทึกเรื่องราวลงทวิตเตอร์ (@friendindeeeeed)