กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ยา

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ยา

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

โทร. : 044-465010-4 ต่อ 456, 106 // เปิดให้บริการ : จันทร์ – ศุกร์ 8:45 – 16:00 น. (หยุดพักกลางวัน และวันหยุดราชการ) // e-mail : // Facebook-1 : @ossckorat และ Facebook-2 : @fdakorat // ที่ตั้ง : 255 ม.11 ต.โคกกรวด อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 30280 // พิกัด GPS : 14.927056, 101.994944

วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพฯ เรียกร้องรัฐมนตรีว่าการ สธ. และคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษกำหนดให้สารสกัด THC เกิน 0.2%   เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เสนอ อย.กำหนดมาตรการคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกประเภทที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบในระดับความเสี่ยงสูงสุด ป้องกันอันตรายแก่ผู้บริโภค พร้อมชงเพิ่มในร่างพรบ.กัญชาฯ จัดตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2565  รศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ผู้อำนวยการวิยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย ลงนามออกแถลงการณ์วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริ โภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท ) ระบุว่า 

สืบเนื่องจากการส่งเสริมการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบและการลดระดับการควบคุมกัญชาของรัฐบาล ส่งผลให้มีการบริโภคกัญชากันอย่างกว้างขวาง จึงอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบริโภคของประชาชน

วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาภสัชกรรม จึงขอเสนอให้หน่วยงาน บุคคล และคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการ ในการดูแลกำกับกัญชาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ดำเนินการดังนี้

ข้อ 1 ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ กำหนดให้สารสกัดจากพืชกัญชา ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (etahydrocannabinol, THC) เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เพื่อให้การควบคุมตามประมวลกฎหมายยาเสพติดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และผู้บริโภคจะได้รับสิทธิในการบริโภคกัญชาอย่างปลอดภัย

ข้อ 2 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องกำหนดมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกประเภทที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ในระดับความเสี่ยงสูงสุดของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การส่งเสริมผลิตภัณฑ์กัญชาตามนโยบายไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค

กรมอนามัย ต้องกำหนดให้ร้านอาหารที่ปรุงอาหาร โดยมีส่วนประกอบของกัญชา ต้องแจ้งหรือแสดงข้อมูลให้ผู้บริ โภครับทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนว่ามีกัญชาเป็นส่วนประกอบ คำเตือนกลุ่มที่มีความเสี่ยงไม่ควรบริโภค อาการเป็นพิษหรืออันตราย ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอาการเป็นพิษหรืออันตราย เพื่อประกอบการตัดสินใจบริโภค หรือ ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อ 3 กระทรวงสาธารณสุข ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยในการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบในทุกระดับ โดยเป็นศูนย์เฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยในการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบที่เอื้อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา ปรับปรุง กฎหมาย กฎระเบียบและมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมและทันการณ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อ 4 กำหนดให้เพิ่มสาระกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการ ใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกัญชาในร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ... เพิ่มมากขึ้น คือ 

(1) กำหนดห้ามนำมาใช้เพื่อสันทนาการ 
(2) เพิ่มกรรมการที่มาจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่แสวงหากำไรและผู้แทนจากสภาองค์กรของผู้บริ โภค 
(3) เพิ่มบทบัญญัติการประกาศ ผลการตรวจสอบ ผลวิเคราะห์ การฝ่าฝืนที่กระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ประชาชนทราบเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค 
(4)เพิ่มการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ยา

  • ข่าว

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชา
  • กัญชาพ้นยาเสพติด
  • ปลดล็อกกัญชา
  • กัญชาเสรี
  • กองทุนเยียวยากัญชา

  • 246 views

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ยา

นายแพทย์ศรีศักดิ์ ตั้งจิตธรรม
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ยา

นางสมจิตร ทองสุขดี

เภสัชกรเชี่ยวชาญ (ด้านเภสัชสาธารณสุข)

ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ยา

นางลลิตา พรพนาวัลย์

หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข