ความขัดแย้งระหว่าง ไทย กับ อินโดนีเซีย

กลอง กอร์ดัง ซาบิลัน (Gordang Sembilan) กลอง 9 ชิ้นในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีท้องถิ่นของชาวชนเผ่า Batak ชนเผ่าท้อวถิ่นในเขตแมนไดลิง (Mandailing) บนเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซียกำลังกลายเป็นประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซียไปแล้ว หลังจากที่ทางการมาเลเซียประกาศให้ประเพณีการตีกลอง กอร์ดัง ซาบิลัน และพิธีกรรมการเต้นแบบพื้นเมืองที่เรียกว่า ตอร์ ตอร์ (tor tor) ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากที่เดียวกันในประเทศอินโดนีเซีย ขึ้นในบัญชีมรดกชาติของประเทศมาเลเซีย

รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซียแสดงความไม่พอใจเรียกร้องให้ทางการมาเลเซียอธิบายในเรื่องนี้ เช่นเดียวกับการรวมตัวกันประท้วงของชาวอินโดนีเซียระดมขว้างก้อนหินและไข่เข้าใส่สถานทูตมาเลเซียอย่างโกรธแค้น และ
หนึ่งในสมาชิกรัฐสภาของอินโดนีเซียซึ่งเป็นชาวเกาะสุมาตราตอนเหนือถึงกับกล่าวว่า มาเลเซียควรจะได้รับการสั่งสอนในเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด

อย่างไรก็ตามคุณ Sitok Srengene นักเขียนและนักอนุรักษ์ศิลปะชาวอินโดนีเซีย กลับเห็นต่างออกไป โดยกล่าวว่า ทั้งการ ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ตอร์ตอร์ และกลอง กอร์ดัง ซาบีลันอันเก่าแก่เป็นประเพณีที่มีมาก่อนที่อินโดนีเซียและมาเลเซียจะก่อตั้งเป็นประเทศในโลกสมัยใหม่และแน่นอนว่ามาเลเซียมีสิทธ์ที่จะใช้วัฒนธรรมเหล่านี้เพื่ออธิบายอัตลักาษณ์ของตัวเองพอๆกับกลุ่มชาวแมนไดลิงบนเกาะสุมาตราที่มีสิทธิ์เช่นกัน

Sitok Srengene กล่าวด้วยว่า ต้องทำความเข้าใจว่าไม่มีวัฒนธรรมใดที่อยู่ได้โดยอิสระหรือเกิดมาโดยไม่มีที่มา เพราะทุกวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอื่นๆอยู่เสมอนั่นเอง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ทางการมาเลเซียกล่าวว่า การประกาศดังกล่าวเป็นเพียงการบันทึกไว้ในรายการมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเท่านั้น ไม่ได้อ้างถึงสิทธิเหนือประเพณีดังกล่าว ขณะเดียวกันในมาเลเซียก็มีชาวแมนไดลิงจากเกาะสุมาตราอาศัยอยู่มากว่าศตวรรษแล้วเช่นกัน

แต่ข้อแก้ตัวนี้ไม่ได้ทำให้ความโกรธเคืองของชาวอินโดนีเซียลดลง เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวอินโดนีเซียกล่าวหาว่ามาเลเซียอ้างในมรดกทางวัฒนธรรมของพวกเขา โดยเฉพาะโฆษณาทางโทรทัศน์ชุด Enigmatic Malaysia ที่ประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในมาเลเซียเมื่อปีพุทธศักราช 2553 คือหนึ่งในรอยจำที่สร้างความโกรธแค้นให้ชาวอินโดนีเซียมาก่อนหน้านี้ เมื่อส่วนหนึ่งของโฆษณาการมีภาพการละเล่นของชาวอินโดนีเซียปรากฏอยู่ แต่ในครั้งนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของมาเลเซียต้องออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการ และอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของบริษัทผู้ผลิตโฆษณาโทรทัศน์ชิ้นดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่า พิธีกรรม หรือการละเล่นทางวัฒธรรมอื่นๆเช่น Wayang Kulit การแสดงหุ่นเงา หรือที่รู้จักในนามหนังตะลุงที่มีทางภาคใต้ของไทยเช่นกัน รวมไปถึง การเขียนผ้าบาติค และอาหารประเภทสเต๊ะ ชนิดต่างๆ อาจจะก่อให้เกิดส่งครามวัฒนธรรมได้ในอนาคต

Dr. Ross Tapsell ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อในอินโดนีเซีย จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยกล่าวว่า ประเด็นทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย และสื่อของอินโดนีเซียก็มักจะนำเสนอเรื่องราวในลักษณะนี้มายาวนาน และมักจะกล่าวหามาเลเซีย หรือสิงคโปร์ที่ผู้พรากวัฒนธรรมเหล่านี้ไปจากชาวอินโดนีเซีย

มีความกังวลเช่นกันว่าความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซีย และมาเลเซียอาจะไม่ยุติเพียงแง่ทางวัฒนธรรมเท่านั้น และเริ่มเกิดข้อพิพาทในระดับย่อย เช่นเกิดการข่มเหงรังแกทางเพศ หรือการทำร้ายร่างกายแรงงานอพยพชาวอินโดนีเซีย โดยนายจ้างชาวมาเลเซียบ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งๆที่ผู้คนจากสองประเทศจะมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมและภาษาที่ใกล้เคียงกันอย่างมาก

ปัญหาความขัดแย้งทางด้านศาสนาในอาเซียน เป็นปัญหาที่มีมาก่อนที่จะจัดตั้งสมาคมอาเซียนเสียอีก เป็นปัญหาที่มีความยืดเยื้อยาวนาน ทวีคูณความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยรัฐบาลก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างถาวรได้ อีกทั้งไม่อาจทราบด้วยว่าแท้จริงแล้วต้นสายปลายเหตุของปัญหามาจากอะไรกันแน่

ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาในอาเซียนที่เรียกได้ว่ารุนแรงมากที่สุด คงต้องยกให้กับปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์ในประเทศพม่า เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชาวพุทธในประเทศพม่าและชาวมุสลิมในประเทศพม่า ซึ่งมีความรุนแรงถึงชีวิต ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย มีผู้พลัดถิ่นอีกเป็นจำนวนไม่น้อย ถึงแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์จะทุเลาลง แต่ปัญหาก็ไม่ได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริง ยังคงมีบาดแผลฝังลึกอยู่ภายในใจของประชาชนแต่ละฝ่าย อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหารุนแรงขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มจากการที่โบสถ์คริสต์ 3 แห่งในเกาะสุลาเวสี ของอินโดนีเซียถูกปาด้วยระเบิดเพลิง ทำให้ทางการอินโดนีเซียได้ออกมาระงับการดำเนินการของโบสถ์หลายแห่งชั่วคราว เพื่อลดเงื่อนไขในการใช้ความรุนแรงต่อโบสถ์คริสต์ ส่งผลให้ชาวคริสต์ออกมาประท้วงเรียกร้องสิทธิ์ต่อรัฐบาล จนต้องมีการอนุญาตให้เปิดใช้งานโบสถ์คริสต์ได้ตามปกติ แม้ว่าสถานการณ์จะไม่ได้รุนแรงถึงขั้นมีการเสียชีวิตหลายร้อยราย แต่ก็นับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งภายในใจเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา ที่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ความขัดแย้งดังกล่าวจะมีการประทุขึ้นมาอีก

ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศมาเลเซีย เหตุการณ์นี้เริ่มจากกองกำลังในนามของสุลต่านซูลูคิรามที่ 3 จากเกาะซูลูของฟิลิปปินส์บุกยึดเมืองลาหัต ดาตู ในรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย เหตุการณ์บานปลายทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 70 คน และสิ้นสุดลงจากการที่มาเลเซียใช้กองกำลังเข้าปราบปรามการลุกลามของฟิลิปปินส์ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลให้รัฐบาลของทั้งสองประเทศถูกประณามเป็นอย่างมาก

ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย ที่มีความยืดเยื้อยาวนานมากว่า 10 ปี เป็นปัญหาความขัดแย้งทางด้านศาสนาที่ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ได้เสียที แม้ว่าจะมีความสงบอยู่บ้างในช่วงนี้ แต่สถานการณ์ก็พร้อมจะปะทุขึ้นทุกเมื่อ โดยไม่รู้เมื่อใด ทำให้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างวิกฤตเลยทีเดียว

จากการยกตัวอย่างความรุนแรงจากความขัดแย้งในเรื่องของศาสนาแต่ละประเทศนั้น จะเห็นได้ชัดเลยว่าอาเซียนแทบไม่มีบทบาทในการเข้ามายับยั้ง หรือช่วยยุติปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ได้เลย ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎในการไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศของประเทศสมาชิกก็เป็นได้ ทำให้อาเซียนเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เพื่อความสบายใจของประเทศสมาชิก จนถูกมองว่าอาเซียนนั้นเย็นชาต่อผู้ถูกกระทำมากเกินไป และได้รับการประณามในที่สุด

ซึ่งหากสมาคมอาเซียนยังไม่สามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างถาวร ปล่อยให้ปัญหาความรุนแรงจากความขัดแย้งทางด้านศาสนาเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่ความรุนแรงนั้นทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการจัดการ หรือออกบทลงโทษต่อรัฐบาลของประเทศที่เป็นต้นเหตุของปัญหา ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นตัวถ่วงการเจริญเติบโตของสมาคมอาเซียนในที่สุด อีกทั้งยังจะเป็นตัวถ่วงในด้านของความมั่นคง ด้านของเศรษฐกิจ ด้านของเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ตลอดจนลดความหน้าเชื่อถือของสมาคมลงในที่สุด

ดังนั้นอาเซียนควรที่จะให้ความสำคัญกับปัญหาความขัดแย้งในด้านของศาสนาที่เกิดขึ้น ตระหนักถึงผลกระทบต่างๆ และหาแนวทางแก้ไข เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างซ้ำซ้อน โดยออกมาตรการในการลงโทษ รวมถึงการเข้าไประงับเหตุการณ์ไม่ให้บานปลายเหมือนในอดีตอีกด้วย