คอนเซาท์ ก่อสร้าง ภาษาอังกฤษ

ปัญหาจะเกิดทุกครั้งเมื่อมีคนถามว่า “ทำงานอะไรอยู่ตอนนี้” พอบอกว่าเป็น “consult” เกือบ 100% ที่คนฟังจะทำหน้างงๆ หยุดคิดนิดนึง แล้วถามต่อว่า “มันคืออะไรล่ะ?!?” ก็นั่นสินะ มันคืออะไรกันแน่

ให้ตอบตรงๆคือตอนสมัครงานไป ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคืออะไร รู้แต่ว่าได้ใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเขียนโปรแกรม บริษัทค่อนข้างมีชื่อเสียง แล้วก็ทำไม่นานเพราะจะไปเรียนต่อเร็วๆนี้ เลยก็ไม่ได้ใส่ใจเหมือนกันว่าจะต้องไปทำอะไร ด้วยโชคหรืออะไรก็ตามทำให้ผ่านสัมภาษณ์ 3 รอบเข้าไปได้ (ตอนนั้นคิดว่าจะสัมภาษณ์อะไรกันหนักหนา มีรอบหนึ่งสัมภาษณ์แล้วหายไปหลายเดือนจนคิดว่าไม่น่าจะได้แล้ว) แล้วก็เข้าไปเริ่มงานแบบงงๆ

เวลาพ่อแม่ถามว่า “มันคืองานอะไร” ฉันก็จะอธิบายสิ่งที่ทำอยู่ ณ ตอนนั้น ซึ่งเหมือนเป็นแค่กิจกรรมหนึ่ง ยังไม่ใช่ภาพรวมหรือนิยามของอาชีพนี้ พอถามใหม่ คำตอบก็จะเปลี่ยนไปทุกครั้งจนคนถามงง ฉันก็งง ไม่รู้จะอธิบายยังไงให้เข้าใจ อาจจะเพราะ ฉังเองก็ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำอยู่เหมือนกัน

จุดเปลี่ยนอยู่ที่ ตอนนั้นไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสกับเพื่อนๆ คนหนึ่งเป็น Quality Assurance (QA) อยู่ Microsoft บริษัทที่ใครๆก็รู้จัก อีกคนเป็น programmer อยู่ Thomson Reuter พี่ที่เจอกันในคลาสออกกำลังกายบ่อยๆ ถามว่าน้องๆทำงานอะไรกันอยู่ เข้าพล็อตเดิม

พี่:     น้องเจนทำงานอะไรจ้ะ
ฉัน:   เป็น consult ค่ะพี่
พี่:     (อึ้ง จนรู้สึกได้) อ๋ออออ (ด้วยความไม่เข้าใจ แล้วหันไปถามเพื่อนๆที่เหลือ) น้อง A กับ B ล่ะ
A:     ผมอยู่ Microsoft ครับ
B:      ผมเป็น Programmer
พี่:      ต๊ายยย เก่งจังเลย เด็กสมัยนี้ (สีหน้านางปลื้มมาก)
ฉัน:   (ยืนอิจฉาอยู่เงียบๆ)

วันนั้นเลยกลับมา นั่งคิดคำนิยามให้งานตัวเองอยู่คนเดียว เพื่อที่จะเอาไว้ใช้อธิบายคนทั่วไปให้เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำ จากการทดลองมาแล้วหลายสิบครั้ง พบว่าคำอธิบายนั้น จะได้ผลเมื่อยกตัวอย่างประกอบไปด้วย

นิยามอาชีพ consultant ของฉัน (จากประสบการณ์ทำงาน 2 ปี) คือ

งาน consult คือการให้คำปรึกษา แก้ปัญหาให้ลูกค้าในเรื่องต่างๆ สากกะเบือยันเรือรบ เช่น เวลาบริษัทใดๆจะขึ้นระบบใหม่ ขยายสาขา คิดกลยุทธ์ทางด้าน IT หรือปรับโครงสร้างองค์กร ฯลฯ แล้วเผอิญว่าไม่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ ประสบการณ์ (พูดตรงๆคือไม่เคยทำ ทำไม่เป็น  หรือต้องการคนช่วย) ก็จะมาจ้างเหล่า consult ไปให้คำปรึกษานั่นเอง

เคยไปถามเจ้านายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาอธิบายโดยเปรียบเทียบอาชีพเรากับหมอ ลูกค้าคือคนป่วยที่เดินมาหาหมอ พร้อมบอกอาการ คนเป็นหมอห้ามเชื่อทันที  ต้องวินิจฉัยโรคก่อน แล้วค่อยจ่ายยา ให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับคนไข้ ถ้าเปรียบเทียบกับอาชีพ consult คือ ลูกค้าจะบอกสิ่งที่ต้องการมา ศัพท์ในวงการคือ “solution” ที่อยากได้ เช่น อยากซื้อระบบ IT ใหม่ เพราะของเก่ามันกากเกิน ใช้เวลานานกว่าจะออกรายงานให้ผู้บริหารได้ อยากให้ทางเราช่วยเก็บ requirement ให้หน่อย แต่พอเข้าไปดูจริงๆแล้ว มันอาจจะเป็นที่กระบวนการการทำงาน เช่น พนักงานพิมพ์ข้อมูลออกมาให้หัวหน้าเซ็นอนุมัติ 7 ทอด ก่อนเอามาออกเป็นรายงานได้ เป็นต้น ดังนั้นเวลาให้คำแนะนำ ก็ต้องบอกลูกค้าให้ไปแก้ที่กระบวนการการทำงาน ไม่ใช่ตัวระบบ

งาน consult มันก็มีหลายแบบ เอาแบบที่เราจัดเอง ก็ตามนี้

  1. Strategy House:
    บริษัทที่ดังๆที่พูดชื่อขึ้นมาแล้วใครๆก็นึกออก คือ Mckinsey & Company, Boston Consulting Group (BCG) พวกนี้ในความคิดของฉันจะเป็นพวก fly high ให้คำปรึกษาระดับกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท (corporate strategy) โจทย์ของพวกเค้าจะกว้างเป็นมหาสมุทร เช่น ทำยังไงให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า (=..=) ขอทำจมูกบานแป๊บ ดังนั้นคนที่ทำงานบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นอัจฉริยะกลับชาติมาเกิด จบ MBA มาจากมหาวิทยาลัย top 10 ของอเมริกา อังกฤษ บลาๆ ค่าตัวแพงลิบ จ่ายค่า consult ทีเป็นเลข 9 หลัก เงินเดือนของ consultant เหล่านี้จะอยู่ที่หลักแสน (เรทเดียวกันทั่วโลก ดังนั้นทำงานที่เมืองไทย ย่อมเก็บเงินได้มากโขกว่าทำงานต่างประเทศ เพราะค่าครองชีพต่ำกว่า) แต่ก็ทำงานหัวขวิดไปตามๆกัน
  2. Big 4:
    PwC, Deliotte, KPMG, E&Y 4 บริษัทนี้มี service แบ่งเป็น audit (ตรวจสอบบัญชี), tax (ให้คำปรึกษาด้านภาษี), advisory (หรืองาน consult) ที่แข่งกันจริงน่าจะเป็นฝั่ง audit หรือตรวจสอบบัญชีมากกว่า เพราะงาน  consult บางที่ก็ยังไม่มีแบบเต็มรูปแบบ บริษัทเหล่านี้จะทำระดับ operation ละเอียดมากกว่า เฉพาะเจาะจงมากกว่ากลุ่มแรก ค่าตัวก็ลงตามไปด้วย ที่คิดลูกค้าอาจเป็นประมาณ 7-8 หลักหรือมากกว่า ทำงานจนสมองจะกระเซ็นออกมาเหมือนกัน
  3. Consultant + Implementer 
    ส่วนใหญ่จะเป็นด้าน IT เช่น Accenture,  IBM, บริษัท SAP consulting ต่างๆ บริษัทพวกนี้จะให้คำปรึกษา พร้อมทั้งติดตั้งระบบให้ด้วย (คือคิดให้ทำให้เสร็จสรรพ ในขณะที่ 2 กลุ่มบนจะคิดให้อย่างเดียว บริษัทต้องเอาไปทำต่อเอง) ไม่ต้องบอกว่างานน่าปวดหัวและหนักจนขนหัวลุก ใช้ชีวิตอยู่ในบริษัทตัวเองหรือบริษัทลูกค้าอย่างต่ำ 12 ชั่วโมง พนักงานในบริษัทเหล่านี้ เวลากลับบ้านที พ่อแม่อาจจะถามว่า “หนูมาหาใครหรอจ้ะ” ก็เป็นได้
  4. Other Specialist:
    เชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น Hay Group จะให้คำปรึกษาในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) อย่างเดียว ก็มี

เดี๋ยวนี้ฉันสามารถทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้แล้วว่าตัวเองทำงานอะไร เพียงแค่ต้องใช้เวลาในการอธิบายซักหน่อยเท่านั้นเอง 😛

ที่ปรึกษางานก่อสร้าง

บริษัทที่ปรึกษางานก่อสร้าง คืออะไร ? เขามีหน้าที่อะไร ? เขาจะเฝ้างานก่อสร้าให้เราหรือเปล่า ? และหลายๆคำถาม เป็นคำถามเมื่อได้ยินคำๆนี้ หลายๆคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ในวงการก่อสร้างที่ปรึกษางานก่อสร้าง นั้นจะมีชื่อเรียกว่า คอนเซาท์(Consult) เขาจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนเจ้าของงานก่อสร้างในการคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบและวัตถุประสงค์ บริหารงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วง และให้คำปรึกษาแก่เจ้าของโครงการตามหลักวิศวกรและสถาปัตยกรรม ...

แล้วทำไมเวลามีงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ อพาร์ทเม้นท์ โรงงาน โกดังเก็บของ คอนโดมิเนียม หรืออื่นๆ ทำไมเราต้องจ้าง ที่ปรึกษางานก่อสร้าง ด้วยละ ? ..เหตุผลง่ายๆก็คือ บริษัทที่ปรึกษางานก่อสร้าง จะมีทีมงานวิศวกร สถาปนิก หรือคอนเนคชั่นในด้านงานก่อสร้างมากกว่า ทำให้สามารถเข้าใจกระบวนการการทำงาน ขั้นตอนการทำงานต่างๆได้เป็นอย่างดี ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน สามารถพูดคุยต่อรองกับผู้รับเหมาได้ และอื่นๆ ซึ่งถ้าเจ้าของโครงการที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างมาก่อนจะทำการศึกษาในส่วนนี้อาจจะต้องใช้เวลาหลายวัน หลายอาทิตย์ หรือเป็นเดือนกันเลยทีเดียวที่จะสามารถเข้าใจในส่วนต่างๆในการบวนการได้เป็นอย่างดี (ตัวอย่างของการหาที่ปรึกษางานก่อสร้าง)

คอนเซาท์ ก่อสร้าง ภาษาอังกฤษ
ภาพ : การทำงานของช่างที่หน้างานก่อสร้าง

แล้วบริษัทที่ปรึกษางานก่อสร้างทำอะไรมั่งละ ? ..ความเป็นจริงที่ปรึกษาหรือผู้ควบคุมงานจะมีบทบาทในตั้งแต่คิดโครงการเลยทีเดียว ...แต่คนส่วนมากจะมานึกถึงที่ปรึกษางานก่อสร้างในขั้นตอนก่อนเซ็นสัญญาก่อสร้างเพื่อให้มาช่วยดูและตรวจสอบเอกสารต่างๆ หรือจะนึกถึงหลังจากเซ็นสัญญาก่อสร้างไปแล้วโดยต้องการหาคนรับควบคุมงานก่อสร้าง ..

ทีนี้ถ้าบอกว่าที่ปรึกษางานก่อสร้างสามารถมีบทบาทได้ตั้งแต่การคิดโครงการเลย จะเป็นยังไงละ ? ..ที่ปรึกษางานก่อสร้างสามารถให้คำปรึกษาได้ตั้งแต่งานออกแบบโครงการ ประมูลและจัดหาผู้รับเหมา เปรียบเทียบและให้คำปรึกษาในการเลือกผู้รับเหมาแก่เจ้าของโครงการ วิเคราะห์โครงการ วิเคราะห์ความเสี่ยงทางกฎหมาย ความคุ้มทุน แผนงานของโครงการ และอื่นๆอีกมาก และจะเห็นว่าถ้าจะให้งานก่อสร้างออกมามีคุณภาพสูงสุดควรจะมีที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเป็นเหมือนเพื่อคู่คิดไปตั้งแต่คิดโครงการในส่วนนี้จะเรียกว่าส่วน pre-construction ...

คอนเซาท์ ก่อสร้าง ภาษาอังกฤษ
ภาพ : ที่ปรึกษางานก่อสร้างเดินตรวจงานก่อสร้าง

หลังจากส่วนของการเตรียมการและการวางแผนของงานก่อสร้างมาแล้ว ในช่วของการก่อสร้างละ ที่ปรึกษางานก่อสร้างจะทำอะไรมั่งละ ? ... ถ้าพูดโดยภาพรวมเลยก็คือการบริหารงานก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้างให้งานก่อสร้างสำเร็จลุล่วงได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการ ...ซึ่งในที่นี้จะไม่ได้เป็นแค่เรื่องของคุณภาพงาน แต่ยังเป็นของงบประมาณ และประโยชน์การใช้สอยอีกด้วย

ไม่ใช้งานของที่ปรึกษางานก่อสร้างจะจบแค่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ ที่ปรึกษางานก่อสร้างยังต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของโครงการส่งมอบให้กับเจ้าของโครงการ แนะนำวิธีการใช้งานอาคาร เพื่อที่จะสามารถใช้งานอาคาร และซ่อมแซมปรับปรุงได้อย่างถูกต้องอีกด้วย