ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว

หม้อหุงข้าว เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับหุงข้าว เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น หม้อหุงข้าวที่เก่าแก่ที่สุด เรียกว่า คามาโดะ มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโคฟุน ค.ศ. 300-710 คามาโดะเป็นเตาดินเสริมด้วยอิฐหักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน ใช้ฟืนในการหุงต้ม นอกจากใช้หุงข้าวแล้วก็ยังนำมาต้มซุปถั่ว แต่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต่อมาสมัยนารา-เฮอัน ราวปี ค.ศ.710-794 หม้อหุงข้าวพัฒนามาเป็น โอกิ-คามาโดะ สร้างขึ้นให้ใช้งานกลางแจ้ง และมีภาชนะแยกส่วนสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่าฮากามะ สำหรับหย่อนลงในหลุมที่ด้านล่างมีกองฟืนสำหรับหุงต้ม ภายหลังมีการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุงโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นทรงรีทำด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามา เรียกหม้อหุงข้าวชนิดนี้ว่า มูชิ-คามาโดะ

เริ่มมีการทดลองผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ในช่วงปลายยุคสมัยไตโช กลางทศวรรษ 1920 ต่อมาปลายทศวรรษ 1940 บริษัทมิตซูบิชิ อิเลคทริก ผลิตหม้อหุงข้าวที่มีหม้อและขดลวดนำความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สะดวกสบายนัก ยังไม่มีระบบอัตโนมัติ ภายหลังบริษัทมัตซูชิตะและโซนี่ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงานในการสงครามด้วย ความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการหุงข้าวจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ในวันที่ 10 ธันวาคม 1956 บริษัทโตชิบานำหม้อหุงข้าวอัตโนมัติออกวางจำหน่าย 700 ใบ ประสบความสำเร็จมาก โตชิบาเริ่มผลิตหม้อหุงข้าวอีก 200,000 ใบ ในเวลาเพียง 1 เดือน อีก 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวเริ่มแพร่หลายไปเกือบครึ่งประเทศ หม้อหุงข้าวของโตชิบานี้ใช้เวลาเพียง 20 นาที มี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำ ส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบนี้ใช้อยู่นานถึง 9 ปี จึงเปลี่ยนพัฒนามาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบัน

หม้อหุงข้าวแบบใช้หม้อสองชั้นที่ โตชิบา ผลิตออกมาในปีค.ศ.1956 และเป็นที่นิยมในเวลานั้น ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะหุงข้าวได้เสร็จสมูรณ์และใช้ไฟค่อนข้างมาก ราวช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1960 หม้อหุงข้าวแบบนี้จึงเสื่อมความนิยมลง และถูกแทนที่ด้วยหม้อหุงข้าวแบบหม้อชั้นในใบเดียว อันเป็นแบบที่มีใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยนั้นผู้ผลิตบางรายก็เคลือบสารกันข้าวติดหม้อเพื่อง่ายในการทำความสะอาด

เนื่องจากข้าวที่หุงเสร็จะเย็นลงค่อนข้างเร็ว ในปีค.ศ. 1965 บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นชื่อ Zojirushi ก็ได้ผลิตหม้อหุงข้าวแบบที่มีระบบอุ่นในตัวออกวางจำหน่ายครั้งแรกของโลก สามารถขายได้ถึง 2,000,000 ใบต่อปี และบริษัทผู้ผลิตรายอื่นก็หันมาใช้ระบบนี้เช่นกัน ซึ่งระบบอุ่นนี้โดยทั่วไปจะอุ่นได้อย่างต่ำ 24 ชั่วโมง ซึ่งมีประโยชนืในการหยุดยั้งการเติบโตของแบ็คทีเรียบางประเภท ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ

และในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เมื่อ ไมโครโพรเซสเซอร์ เข้ามามีบทบาทในเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนมากขึ้น มันก็ถูกนำมาใช้กับหม้อหุงข้าวเช่นกัน โดยเป็นจุดเริ่มต้นของหม้อหุงข้าวอัตโนมัติที่สามารถตั้งโปรแกรมการหุงได้หลากหลายและละเอียดมากขึ้น ในเรื่องการตั้งเวลาหุง ชนิดของข้าวที่หุง และการควบคุมอุณหภูมิในการหุงแบบอัตโนมัติ บางรุ่นที่ราคาสูงก็มีระบบนึ่งข้าวหรืออุ่นข้าวด้วยไอน้ำในตัว

ในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ประเทศจีนก็เริ่มผลิตหม้อหุงข้าวราคาถูกที่มีคำสั่งการทำงานแค่ระดับพื้นฐานออกมาเป็นจำนวนมากและส่งขายไปหลายประเทศทั่วโลก ส่วนผู้ผลิตจากทางประเทศญี่ปุ่นจะแข่งขันในตลาดส่วนนี้ไปที่เรื่องของคุณภาพผลิตภัณฑ์และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์

และในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2000 หม่อหุงข้าวราคาแพงระดับ High-end ก็ออกสู่ตลาดมากขึ้นและกลายเป็นที่สนใจมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคมากขึ้น โดยหม้อหุงข้าวประเภทนี้วัสดุที่ใช้ทำหม้อภายในจะไม่ได้ทำจากวัสดุประเภทโลหะ เพื่อให้เกิดการทำความร้อนในรูปแบบของรังสี far-infared ซึ่งมีผลในการปรับปรุงรสชาติและคุณภาพของข้าวที่หุงสุก ในปี ค.ศ.2006 บริษัท มิตซูบิชิ ก็ผลิตหม้อหุงข้าวราคาแพงระดับ High-end ออกมารุ่นหนึ่ง ที่ตัวหม้อภายในถูกตั้งชื่อว่า Honsumigama ซึ่งผลิตาจากคาร์บอนบริสุทธิ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือ ทำงานร่วมกันกับการเหนี่ยวนำความร้อน ซึ่งจะสร้างความร้อนได้ละเอียดและมีประสิทธิภาพมากกว่า ออกวางจำหน่ายด้วยราคา 115,500 เยน (1,400 ดอลลาร์สหรัฐ) สามารถขายได้ 10,000 ใบ ภายในเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เริ่มออกจำหน่ายครั้งแรก เป็นหม้อหุงข้าวที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดผลิตภัณฑ์ประเภทหม้อหุงข้าวระดับ High-end หม้อหุงข้าวประเภทนี้จะมีวัสดุที่ใช้ทำตัวหม้อภายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งทองแดงบริสุทธิ์ เซรามิกผสมเหล็ก บ้างก็มีการเคลือบเพชร

บริษัทผู้ผลิตหม้อหุงข้าวหลายรายต่างค่อนข้างจริงจังและทุ่มเทในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งหม้อหุงข้าวที่หุงข้าวออกมาได้ดีที่สุด ทั้งในเรื่องรสชาติและรูปลักษณ์ของข้าวที่ผ่านการหุงจนสุก

มีหม้อหุงข้าวผลิตออกมาราว 85 ล้านใบในปี ค.ศ.2005 ส่วนใหญ่ผลิตในลประเทศจีน เกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น และ 70% ของหม้อหุงข้าวในปัจจุบันผลิตในประเทศจีน

อ้างอิง[แก้]

  • หม้อหุงข้าว คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

3.หลักการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า       
            

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
มื่อกดสวิตช์ในการหุงข้าวแล้วคานบังคับจะดันสปริงขึ้นไปแท่งแม่เเหล็ก
ที่อยู่ทางด้านล่างของสปริงจะดูดแท่งเหล็กเฟอร์ไรต์ที่อยู่ด้านบนของสปริง
ทำให้หน้าสัมผัสติดกันมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหน้าสัมผัสเข้าสู่วงจรหุงและแผ่นความร้อน ทำให้แผ่นความร้อนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆและส่งผ่านความร้อนไปยังหม้อชั้นในและข้าวที่อยู่ในหม้อ
ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
  เมื่อข้าวสุกได้ปริมาณน้ำที่เราเติมพอดีหุงข้าวสวยน้ำจะกลายเป็นไอน้ำ
และกลายเป็นไอดงอยู่ในหม้อชั้นในซึ่งจะทำให้ข้าวสุกและอุณหภูมิสูงมากยิ่งขึ้น
อุณหภูมิที่สูงขึ้นมากๆนี้จะทำให้แท่งเหล็กเฟอร์ไรต์เสื่อมสภาพเป็นสาภาพทำให้
แรงดึงดูดระหว่างแท่งแม่เหล็กกับแท่งเหล็กเฟอร์ไรต์รแม่เหล็ก
ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
ในการที่จะซื้อหม้อหุงข้าวแต่ละครั้งเราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับครอบครัว
เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานและประหยัดค่าไฟฟ้า

ตารางแสดงขนาดของหม้อหุงข้าวที่เหมาสะสมกับครอบครัว

ขนาด (ลิตร)

ปริมาณข้าวสารในการหุงต้ม(ถ้วย)

  จำนวนสมาชิกในครอบครัว(คน)

กำลังไฟฟ้า (วัตต์)

0.3-1 ลิตร

3-5

1-2

130-450

1-1.5 ลิตร

5-10

3-6

450-500

1.6-2 ลิตร

12ขึ้นไป

5-8

530-730

              หมายเหตุ ขนาดถ้วยตวงมีความจุประมาณ 180 ลูกบาศก์เซนติเมตร ความจุนี้พอๆกับแก้วน้ำขนาดเล็ก หม้อหุงข้าวแต่ละขนาด
                            ใช้กำลังไฟฟ้าต่างกัน ถ้าขนาดกำลังไฟฟ้ามาก ก็จะเสียค่าไฟมาก

ตารางขนาดหม้อหุงข้าวไฟฟ้ากำลังไฟฟ้าที่ใช้และค่าไฟ

ขนาด

กำลังไฟ้า(วัตต์)

ค่าไฟต่อเดือน

1ลิตร

450

27บาท

1.8ลิตร

600

36บาท

2.2 ลิตร

800

48บาท

2.8ลิตร

1,000

60บาท


            

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
 5. ข้อแนะนำในการใช้หม้อหุงข้าว
                       
1. การหุงข้าวแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
                                   
- ชนิดของข้าวที่หุง
                                    - ปริมาณน้ำที่ใช้
                                    - วิธีการหุงข้าว
                                    - ความร้อนที่ข้าวได้รับระหว่างหุง      

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
2.ไม่ควรนำทับพีไว้ ในหม้อข้าว
ความร้อนจากข้าวทำให้ทัพพีร้อนเป็นอันตรายและอาจทำให้สารที่เคลือบอยู่ในหม้อชั้นใน
ได้รับความร้อนจะละลายเจือปนกับข้าว


ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
2.ไม่ควรนำถุงอาหาร ไปอุ่นในหม้อข้าว
ไมควรนำอาหารหรือข้าวที่เหลือมาอุ่นในหม้อข้าว เพราะจะทำให้เสียพลังงาน ความร้อน
และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ทำให้หม้อหุงข้าวเสื่อมเร็ว

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
3.ขณะที่หม้อข้าวร้อน อย่าเอามือไปแตะ
ขณะที่หม้อข้าวร้อนเอามือไปแตะจะทำให้เกิดอันตรายอาจทำให้มือพองได้

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
4.ก่อนหุงข้าวต้องทำความสะอาดเศษข้าวที่ติดอยู่ ออกให้หมดก่อน
ในการหุงข้าวต้องทำความสะอาดเอาเศษอาหารออกให้หมดเพราะเศษอาหารที่ติดอยู่ทำให้ข้าวบูดได้
และต้องใช้พลังงานในการหุงมากขึ้นทำให้เปลืองไฟ

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
5.นำสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ บนแผ่นความร้อนและ อย่าหุงข้าวขณะที่ไม่มีภาชนะบรรจุข้าวด้านใน
ก่อนหุงข้าวต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่แผ่นความร้อนหรือไม่ ถ้ามีต้องเอาออกเพราะจะทำให้เกิดการเสียหายกับแผ่นความร้อนและหม้อหุงข้าวได้

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
6.ไม่ควรนำหม้อหุงข้าว ไว้ใกล้แหล่งความร้อน
ไม่ควรนำหม้อหุงข้าวใกล้แหล่งความร้อน เพราะจะทำให้หม้อหุงข้าว เกิดการเสียหายจากความร้อนได้

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
6.ไม่ควรนำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าชั้นนอก
ไม่ควรนำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าชั้นนอกไปล้างน้ำเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล
และเกิดการลัดวงจร และต้องถอดปลั๊กออกทุกครั้งที่ทำความสะอาด

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
7.ใช้ผ้าเช็ดเบาๆ เมื่อมีสิ่งสกปรกติด แผ่นความร้อนหรือเทอร์โสตัท

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
8.ไม่ควรใช้ฝอยเหล็กขัดเพราะจะทำให้แผ่นความร้อนหรือเทอร์โมสตัทเสื่อมเละสึกเร็ว

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
9.ควรใช้ฟองน้ำกับน้ำยาล้างจาน ล้าง ทำความสะอาดหม้อหุงข้าว
ไม่ควรใช้ ผงซักฟอก ทินเนอร์ ฝอยเหล็ก ขัดล้างหม้อหุงข้าว เพราะจะทำให้ผิวหม้อ เสียหายได้

   

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว
  6. ปัญหาที่เกิดกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

ส่วนประกอบ และ หน้าที่ ของหม้อหุงข้าว

1. หม้อหุงข้าวไม่ทำงาน
- สายไฟขาด

-สวิตช์เสีย
- ขั้วปลั๊กหลุดหรือหลวม
- ลวดความร้อนขาด
2. หม้อหุงข้าวไม่ตัดไฟ
- เทอร์โมสตัทไม่ทำงาน
-เทอร์โมสตัทไม่สัมผัส กับด้านล่างของภาชนะ
3.ขณะอุ่นข้าวข้าวไหม้
-วงจรอุ่นข้าวผิดปกติ
-เกิดการลัดวงจร ของลวดความร้อน

           หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการหุงข้าวให้รวดเร็ว แต่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
     ดังนั้นในการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมและบำรุงรักษาอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
     และประหยัดและยังมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆอีกที่ใช้พลังงานความร้อนในการหุงต้มอาหารที่จะต้องศึกษา
     เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้งานในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน

ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวมีอะไร

ล่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน 1.ที่จับฝาหม้อภายนอก 2. ฝาปิดหม้อ 3.หูจับหม้อชั้นนอก 4. หม้อชั้นใน 5. หม้อชั้นนอก 6. ชุดควบคุมแสดงการท างาน

หม้อหุงข้าวไว้ทำอะไร

โปรเซสเซอร์ รูปร่างหน้าตา หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความสะดวกในการหุง ข้าวให้สุกโดยอัตโนมัติ และใช้กันอย่างแพร่หลาย การรู้จักเลือกซื้อ และใช้อย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานอีกด้วย

หม้อหุงข้าวมีระบบอะไรบ้าง

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของมนุษย์ที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้า หุงข้าวให้สุกอย่างอัตโนมัติ และรักษาอุณหภูมิของข้าวได้ หม้อหุงข้าวได้พัฒนารูปแบบออกไปมากมาย เช่น มีระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ มีระบบไอน้ำ และมีระบบที่สามารถประกอบอาหารได้หลายๆ อย่างเช่น นึ่ง ตุ๋น ต้ม เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า คือ ...

หม้อหุงข้าวใช้งานยังไง

1. ใช้ถ้วยตวงตวงข้าวสารในปริมาณที่เต็มพอดีกับถ้วย โดย 1 ถ้วยตวงประมาณ 180 มล. และใส่ลงในหม้อตามปริมาณที่ต้องการ 2. ซาวข้าวเพื่อทำความสะอาดข้าวสารและเติมน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณข้าวแล้วเกลี่ยข้าวให้เสมอกัน 3. เช็ดบริเวณรอบ ๆ ด้านนอกของหม้อที่เปียกให้แห้ง แล้วใส่หม้อลงในหม้อหุงข้าวและปิดฝาให้สนิท