ปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร แนวทาง แก้ไข

"มีกี่ครั้งที่ท่านเกิดความรู้สึกเสียใจ หรือหงุดหงิด โมโห จากการสื่อสารแย่ๆของเจ้านายของท่าน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน!?"

Part.2.การสื่อสารในยุคปัจจุบัน

ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การสื่อสารแบบเจอหน้าเจอตา หรือการสื่อสารด้วยเสียงทางโทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยข้อความทางe-mail แบบที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น

แต่ยังรวมไปถึงการสื่อสานผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น เสียง-รูป-ข้อความ-สติ๊กเกอร์ทางLine และ การสื่อสารด้วย เสียง-รูป-ข้อความ -สติ๊กเกอร์ -messengerของ facebook รวมไปถึงการสื่อสารผ่านหน้าจอมือถือและหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านapp zoom หรือ ms team ในกรณี Work From Home และทุกช่องทางการสื่อสารผ่านSocial Media ระหว่างท่านกับลูกน้อง

มีข้อที่น่าสังเกต ที่ ท่านอ่านจะไม่เคยคิด หรือ มองข้าม ก็คือ....

Part.3.ช่องทางการสื่อสารพัฒนา แต่ วิธีการสื่อสารของผู้นำ ส่วนมากแทบไม่เคยพัฒนา!

ไม่ว่ารูปแบบของการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆจะมีพัฒนามาให้เลือกหลากหลายช่องทาง หลากหลายรูปแบบมากเพียงใดก็ตาม แต่ทำไมบรรดา ผู้จัดการ/ผู้บริหาร/ไปจนถึงผู้นำ จำนวนไม่น้อย ยังคงไม่ยอมพัฒนาการสื่อสารของตนเองซะที!

คนที่มีลูกน้อง ตั้งแต่ระดับหัวหน้างาน /ผู้จัดการ/ไปจนถึงผู้นำสูงสุดขององค์กร ยังคง เคยชินกับ 1.สื่อสารแบบเข้าใจเองคนเดียว 2.สื่อสารแบบคลุมเครือ / อ้อมค้อม 3.สื่อสารโดยการสั่ง 4.สื่อสารด้วยอารมณ์

มีน้อยคนมาก ที่จะสื่อสารด้วย “สติ” มีน้อยคนเช่นกันที่ “สื่อสารอย่างสร้างสรรค์!”

Part.4.สาเหตุไม่มีอะไรซับซ้อน...

ธรรมชาติของคนเราแทบทุกคน โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำในทุกระดับ...จะไม่เคยสังเกตวิธีการสื่อสารของตนเอง" และไม่รู้ ไม่สนใจด้วยว่า การสื่อสารของตนเอง(ที่ไม่ดีนั้น) จะส่งผลกระทบอะไรบ้างกับทีมงานแล้วย้อนกลับมาหาตนเอง!

ตัวอย่างเช่น ลูกน้องมักจะสับสน ไม่เข้าใจ เวลาที่ผู้นำ สื่อสารแบบคลุมเครือ / อ้อมค้อม

และธรรมชาติของคนที่เป็นลูกน้องแบบไทยๆ มักจะพยักหน้าทั้งที่ไม่เข้าใจ! เดินออกไปหลังคุยกันเสร็จด้วยความงงๆ และบ่นพึมพำว่า “อะไรของมันแว๊!?”

ผู้นำที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง หรือเป็นประเภทขี้เกรงใจคน ขี้เกรงใจทีมงาน มักจะ สื่อสารแบบคลุมเครือ อ้อมค้อม ไม่บอกให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร ปล่อยให้ลูกน้องเข้าใจเอาเอง 

เพราะ “สื่อสาร" นิ่ม ติ๋มเกินไป สุดท้ายไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ แล้วจะบอกอะไร!

ในทางตรงกันข้าม... ผู้นำประเภทที่มั่นใจในตนเองมากเกินไป ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือในธุรกิจที่ทำ มักจะสื่อสารด้วยอารมณ์ ด้วยการสั่ง ใจเร็วใจร้อน ปากไว คิดอะไรได้ก็พูด ปากไวพอๆกับใจคิด

บ่อยครั้งสื่อสารแบบใส่อารมณ์ และอารมณ์ยิ่งขึ้นง่าย ถ้าไม่ได้ดังใจ ลูกน้องยิ่งกลัว เวลาไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่กล้าถาม เพราะถามแล้วโดนด่าแน่ ได้แต่รับปากรับคำไปทำ ส่วนมากทำแล้วก็ไม่ได้ดังใจท่านผู้นำอีก เพราะไม่เข้าใจตั้งแต่แรก ทำเอาเร็วเอาด่วนลวกๆให้รีบเสร็จเพราะท่านใจร้อน!

ส่วนท่านผู้นำที่สื่อสารแบบเข้าใจเองคนเดียว ก็เพราะมีประสบการณ์มาก เข้าใจเห็นภาพเห็นรายละเอียดทุกอย่างในหัวตัวเองว่าต้องการอะไร แต่มักจะไม่รู้วิธีเรียบเรียง ย่อยก่อนสื่อสาร

เพื่อให้ลูกน้องที่มีพื้นเพต่างกัน ประสบการณ์ต่างกันเข้าใจ ทุกครั้งที่พูดอะไรไป ลูกน้องได้แต่นั่งหรือยืนฟังตาใสๆ...แต่ในหัวปวดตึ้บๆ ไมเกรนขึ้นหัวทุกทีเวลาฟังท่านพึมพำ!

Part.5.แล้วจะแก้ปัญหานี้ยังไงดีล่ะ!?

ปัญหาเหล่านี้ บรรดาท่านผู้นำมักจะเข้าใจผิด ว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากลูกน้อง ลูกน้องโง่ ฯลฯ

ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากลูกน้องจริงๆ โดยเฉพาะลูกน้องแบบไทยๆ ที่เวลาไม่เข้าใจมักไม่กล้าถาม กลัวโดนท่านผู้นำตำหนิ หรือกลัวโดนเพื่อนร่วมงานมองว่าเซลส์สมองน้อยจังนิเธอ!

ต้องแก้ไขไปพร้อมๆกันระหว่างท่านผู้นำกับลูกน้อง โดย...

ท่านผู้นำต้องตั้งสติและสังเกตุวิธีการสื่อสารของตนเอง ถ้าจะให้ดี ถาม Feedback จากลูกน้องถึงวิธีการสื่อสารของท่านผู้นำ ว่าส่วนใดที่คิดว่าพอใช้ ส่วนใดที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่าอายที่จะถาม และต้องขอบคุณลูกน้องที่กล้าบอก เพราะกำลังช่วยท่านผู้นำที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งอย่าง!

เมื่อรู้ปัญหาการสื่อสารของตนเองแล้ว ค่อยปรับค่อยแก้ และถ้าจะให้ดี ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยว่า ลูกน้องแต่ละคน ส่วนมากมีจริตและมีวิธีรับสารที่แตกต่างกัน ถ้าต้องคุยกับใครควรรู้ว่าจะพูดยังไง ถ้าต้องสื่อสารให้ลูกน้องฟังเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ ควรปรับวิธีสื่อสารของท่านผู้นำอย่างไร หลักคิดง่ายๆคือ“อย่าสื่อสารตามใจตนเอง และอย่าสื่อสารตามความเคยชิน!”

หลังจากนั้นค่อยปรับแก้ที่ลูกน้อง ย้ำให้ทุกคนถ้าไม่เข้าใจให้ถามทันที และตัวผู้นำต้องพยายามตรวจสอบความเข้าใจของลูกน้อง ด้วยการถามเป็นระยะในทุกการสื่อสาร เป็นต้น

Part.6.จะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยาก..

ถ้าจะแก้ให้ได้ผล ต้องเริ่มต้นแก้ที่ตัวผู้นำ เพราะกฎของธรรมชาติในก็คือ.. “จะประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว ในเรื่องใดก็ตาม ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวผู้นำ!”

ความขัดแย้งหรือ Conflict ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับมนุษย์ครับ โดยเราจะเห็นความขัดแย้งแบบต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน หลายๆไอเดียที่คุณนำเสนอในการทำงานหรือการพูดคุยกับคนในทีม อาจนำไปสู่ปัญหาหรือความขัดแย้งในการสื่อสารได้อยู่เสมอ โดยหากปล่อยประละเลยไม่ได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น ก็อาจส่งผลต่อการทำงานระหว่างทีมและการติดต่อสื่อสารในเรื่องต่างๆทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความรู้สึกไม่ดี อารมณ์ที่ขุ่นมัว ทัศนคติที่แย่ลง ที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันได้ แล้วเราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในการสื่อสารเหล่านี้ได้อย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบให้คุณครับ

ปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร แนวทาง แก้ไข

5 วิธีสำหรับการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้ง

โดยปกติทั่วๆไปการลดความขัดแย้งในการสื่อสารจะมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

1. การรองรับ

วิธีแบบรองรับหรือบางครั้งอาจเรียกว่ายอมจำนน ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ด้วยการที่ฝ่ายหนึ่งรองรับอีกฝ่ายหนึ่งโดยการให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือช่วยเหลือบางอย่าง วิธีนี้ถือว่าได้ผลดีระดับหนึ่งครับเพราะมันช่วยลดโอกาสการโต้เถียงกันให้เบาลง ด้วยการเห็นว่าอีกฝ่ายนั้นพูดมีเหตุผลและมีประเด็นอยู่บ้างและก็ยอมทำตามหรือเสนอตัวรับทำในสิ่งที่อาจจะยังหาข้อสรุปไม่ได้ เช่น กรณีที่มีงานสำคัญเข้ามาหนึ่งชิ้นคุณอาจเล็งเห็นแล้วว่า หนึ่งในทีมงานของคุณนั้นมีงานล้นมือและไม่ได้พักมาเป็นเวลาหลายวัน จึงรับอาสาเป็นผู้รับงานนี้แทนซึ่งเป็นการทำงานช่วยเหลือกันในทีมให้บรรลุเป้าหมาย เป็นต้น

2. การหลีกเลี่ยง

วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่ก็สามารถใช้ในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ ซึ่งนับเป็นวิธีที่หลายๆคนนำมาใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่งครับ การหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งต่างๆไม่ใช่การแก้ปัญหาแต่มันจะสะสมความขุ่นข้องหมองใจ และอาจเกิดความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตทำให้ยากต่อการแก้ไขได้ เช่น คุณมักจะหลีกเลี่ยงการถกเถียงกันในการประชุมงานหรือโครงการ ด้วยการปล่อยให้มันผ่านไปเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน แต่งานที่ออกมาอาจไม่ได้ดีเท่าที่เป็นและส่งผลเสียในอนาคต

3. ประนีประนอม

การประนีประนอมมักจะถูกใช้ในความขัดแย้งทางการสื่อสารซึ่งนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การประนีประนอมระหว่าง 2 ฝ่ายจะแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจแบบผู้ใหญ่ที่มีหลักการและเหตุผล สามารถแสดงให้เห็นถึงทั้งวิธีการแก้ไขและการหาทางออกให้กับปัญหาได้ หรือเราเรียกว่าเป็นการแก้ไขแบบชนะทั้งคู่ (Win-Win)

4. สร้างความร่วมมือ

การสร้างความร่วมมือร่วมใจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็วที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งดูแล้วคล้ายกับการประนีประนอมครับ แต่เพิ่มเติมด้วยการมานั่งคุยกันอย่างเปิดอกและพยายามหาวิธีในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และนั่นต้องแสดงถึงความตั้งใจและความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้เห็น และมาช่วยกันทำงานจะดีกว่าการมานั่งทะเลาะกัน

5. การแข่งขัน

การแข่งขันจะดูเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้การสื่อสารนั้นลดความขัดแย้งลง และมีหลายๆครั้งที่ถูกนำมาใช้เช่นกัน เพราะการแข่งขันจะเป็นการตัดสินให้เกิดผู้แพ้และผู้ชนะ จะได้เห็นกันไปเลยว่าใครที่เป็นฝ่ายถูกและเป็นฝ่ายที่ควรได้รับเครดิตนั้นไป ซึ่งนั่นได้กลายเป็นวิธีลดความขัดแย้งวิธีหนึ่ง หรือเรียกวิธีนี้ว่า Win-Lose หรือมีฝ่ายหนึ่งที่ต้องเจ็บตัวนั่นเอง


เทคนิคเพื่อช่วยลดความขัดแย้งในการสื่อสาร

จาก 5 วิธี ที่ช่วยลดความขัดแย้งในการสื่อสารที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีเทคนิคดีๆที่ช่วยให้คุณสามารถพัฒนาการสื่อสารให้ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนี้

1. การเป็นผู้ฟังที่ดีและตั้งใจ

ต้องแยกระหว่างการเป็นผู้ฟังธรรมดากับผู้ฟังที่ดีให้ออกจากกันก่อนครับ เพราะผู้ฟังทั้ง 2 ประเภทนั้นจะเลือกฟังไม่เหมือนกัน หากเป็นผู้ฟังแบบธรรมดานั้นก็จะฟังแล้วตีความหมายจากสิ่งที่ได้ยินเพียงเท่านั้น แต่การเป็นผู้ฟังที่ดีและตั้งใจจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่ผู้ส่งสารถ่ายทอดออกมาแล้วคิดตามรวมไปถึงมีปฏิกิริยาตอบสนองอยู่ตลอดเวลาด้วย

การรับฟังอย่างตั้งใจและกระตือรือร้นนั้นถือว่าจำเป็นต่อการแก้ไขข้อขัดแย้ง เพราะเมื่อคุณให้ความสนใจฟังคนอื่นๆอย่างตั้งใจก็จะสามารถช่วยหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

ปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร แนวทาง แก้ไข

2. เขียนรายละเอียดข้อขัดแย้งให้ชัดเจน

หลายๆครั้งเรามักจะพูดหรือสื่อสารกันอยู่หลากหลายประเด็นแต่ก็อาจมีบางประเด็นที่ตกหล่นไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเรื่องสำคัญๆก็คงจะทำให้การสื่อสารนั้นขาดประสิทธิภาพได้ ดังนั้นการเขียนประเด็นต่างๆลงไปเป็นลายลักษณ์อักษรจึงมีความสำคัญมาก และยิ่งเป็นเรื่องหรือประเด็นที่เป็นปัญหาที่อาจสร้างความขัดแย้ง ก็ยิ่งจำเป็นต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน เพราะคุณสามารถนำเอาไปแตกประเด็นความคิดได้มากขึ้นทำให้คุณเข้าใจความรู้สึกนึกคิด รวมถึงนำไปหาทางแก้ไขเพื่อให้เกิดความเข้าใจกับคนอื่นๆได้ดีมากยิ่งขึ้น

3. การแสดงบทบาทสมมติ

หนึ่งในวิธีที่ช่วยนำไปสู่การปฏิบัติได้เห็นภาพมากที่สุด คือ การแสดงละครหรือบทบาทสมมติ นั่นก็คือ การจำลองสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งละการนำเสนอเรื่องราวที่จะแก้ไขข้อขัดแย้งดังกล่าว มันจะทำให้คุณเห็นและเข้าใจสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนมาก และคุณจะได้รู้สึกถึงอารมณ์ร่วมในการเข้าใจและหาวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดีกว่าเดิม

4. มีความสงสัยใคร่รู้

ความสงสัยใคร่รู้ไม่ใช่การเข้าไปยุ่งเรื่องของชาวบ้านครับ แต่เป็นเรื่องของการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา และให้โอกาสได้อธิบายถึงความคิดและสาเหตุที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่อาจสร้างความขัดแย้งต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากคู่กรณีของคุณอ้างว่าเขาโกรธคุณก็อย่าเพิ่งเริ่มก้าวร้าวใส่เขา แต่ให้ถามเขาว่า “คุณโกรธฉันทำไม ฉันทำอะไรที่ไม่ควรทำหรือไม่”

5. เอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจ

อีกวิธีหนึ่งในการขจัดข้อขัดแย้งๆทางการสื่อสารต่างๆที่เกิดขึ้น คือ การที่คุณต้องเอาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ แสดงความจริงใจ ใส่ใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มันจะทำให้คุณเปิดโลกในอีกมุมหนึ่งที่อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน และตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อที่คุณจะได้หาวิธีแก้ไขความขัดแย้งนั้นให้ออกมาดีที่สุดนั่นเอง

ปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร แนวทาง แก้ไข

6. เปลี่ยนคำพูดให้ดูเหมาะสม

ในทุกๆความขัดแย้งถ้าคุณสังเกตดีๆจะเห็นว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นผู้ถูกกระทำเสมอ และมักจะถูกสาดกันด้วยคำพูดที่ทำให้รู้สึกกระทบกระเทือนจิตใจ โดยส่วนใหญ่เรามักจะโยนคำพูดเชิงถูกกระทำไปใส่กับคู่สนทนาอยู่บ่อยๆ เช่น คุณทำให้ผมรู้สึกอึดอัดใจเป็นอย่างมาก คุณทำให้งานออกมามันดูยุ่งยากและเข้าใจยากมาก แต่หากจะสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้งลงก็อาจจะเปลี่ยนคำพูดให้ดูเบาลงบ้างด้วยการเปลี่ยนจาก “คุณ” เป็น “ผม” ดูบ้าง เช่น ผมค่อนข้างไม่สบายใจกับสิ่งที่คุณพูดสักเท่าไหร่ ผมรู้สึกว่าสิ่งที่คุณนำเสนอมันยังคลุมเครือและอาจต้องปรับใหม่ในบางจุดนะ เป็นต้น เพื่อให้ความขัดแย้งนั้นลดระดับความร้อนแรงลงครับ

7. เคารพในความแตกต่าง

แม้ว่าจะเป็นการถกเถียงกันหรือการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งในสถานการณ์ต่างๆ แต่ก็ไม่ควรที่จะด้อยค่าในการตระหนักถึงความรู้สึกและการเคารพในความคิดที่แตกต่าง เพราะหากเรามัวแต่อยากจะเอาชนะกันเราจะลืมในจุดๆนี้ไป อาจทำให้เรื่องราวนั้นบานปลายได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด แต่ละคนนั้นมีความคิดที่แตกต่างกันและก็คิดอยู่เสมอว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้นค่อนข้างถูกเป็นทุนเดิม ดังนั้นคุณควรเข้าใจในเรื่องนี้และเก็บไว้ในใจเพื่อหาทางออกในการสื่อสาร ให้ออกมาไหลลื่นและไม่สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นหนักมากกว่าเดิม

8. ไม่หลีกเลี่ยงปัญหาใดๆ

หลายๆคนพยายามที่จะใช้วิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่เอาตัวเองเข้ามาอยู่ในความขัดแย้ง แต่ในความเป็นจริงมันทำอย่างนั้นไม่ได้เสมอไปใช่ไหมครับ คุณอาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ที่ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันอยู่ดี ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัญหามันจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เพราะมันจะทำให้คุณไม่สามารถที่จะเรียนรู้ปัญหาหรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กลายเป็นคนที่ไม่มีทักษะในการแก้ไขปัญหาใดๆ (Problem-Solving Skill) ซึ่งนั่นจะกลายเป็นจุดอ่อนในชีวิตของคุณเอง ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลองนั่งเปิดอกคุยกันแบบตรงๆน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ

9. กล้าเผชิญหน้า

บางครั้งคุณอาจเป็นต้นเหตุของเรื่องราวความขัดแย้งต่างๆ แต่พยายามที่จะหลบหน้าเพราะคิดว่าจะต้องโดนจ้องถล่มจากคู่กรณีอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นก็ฟังดูเหมือนจะดีที่ได้ปกป้องตัวเองแต่เรื่องมันก็ไม่จบถูกไหมครับ ทางที่ดีไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราต้องกล้าที่จะเผชิญหน้ากับมันแบบตรงๆ และเพื่อให้ความขัดแย้งนั้นไม่กลายเป็นเรื่องส่วนตัว คู่สนทนาก็ต้องมุ่งประเด็นไปที่เนื้องานเท่านั้นไม่ควรเอาเรื่องให้กลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัวเช่นกัน นั่นจะช่วยให้ความขัดแย้งไม่บานปลายจนกลายเป็นประเด็นส่วนตัวนั่นเอง และช่วยกันหาทางออกจะดีกว่า

ปัญหาการ สื่อสาร ในองค์กร แนวทาง แก้ไข

10. เข้าใจคุณค่าของการสร้างความสัมพันธ์

ทุกครั้งของความขัดแย้งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เริ่มแตกแยก ดังนั้นเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องการสูญเสียความสัมพันธ์ ก็ควรตระหนักถึงคุณค่าขอคำว่าความสัมพันธ์ทั้งในฐานเพื่อนและการทำงาน อย่าเอาความคิดเห็นที่ขัดแย้งมาสร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระว่างกัน คุณควรระวังคำพูดคำจาและท่าทางในการแสดงออกในทุกๆครั้งของการสนทนาและการสื่อสาร เพราะความสัมพันธ์มันยิ่งใหญ่กว่าเรื่องของปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นครับ

ความขัดแย้งนั้นไม่ใช่เรื่องดีซึ่งมันไม่ควรจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานของคุณ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีการกระทบกระทั่งและแตกแยกทางความคิดกันบ้าง แต่เพื่อให้บรรยากาศในแต่ละวันนั้นดีอยู่ตลอดเวลา ก็ลองทำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ดูซึ่งน่าจะช่วยให้การสื่อสารของคุณ ลดปัญหาหรือบรรเทาความขัดแย้งลงได้บ้าง

เราจะมีแนวทางอย่างไรในการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสาร

เทคนิคเพื่อช่วยลดความขัดแย้งในการสื่อสาร.
1. การเป็นผู้ฟังที่ดีและตั้งใจ ... .
2. เขียนรายละเอียดข้อขัดแย้งให้ชัดเจน ... .
3. การแสดงบทบาทสมมติ ... .
4. มีความสงสัยใคร่รู้ ... .
5. เอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจ ... .
6. เปลี่ยนคำพูดให้ดูเหมาะสม ... .
7. เคารพในความแตกต่าง ... .
8. ไม่หลีกเลี่ยงปัญหาใดๆ.

อุปสรรคของการติดต่อสื่อสารในองค์การคืออะไร

อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดขึ้นในองค์กร เกิดจากจุดเริ่มต้นคือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งสาร ทำการพิจารณาตัวสาร และช่องทางหรือวิธีการส่งสาร ตลอดจนถึงผู้ทำหน้าที่รับสาร เมื่อการส่งและ รับสารขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะเกิดผลเสียทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและก่อให้เกิดผลเสีย ในระดับองค์กรอีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ...

ปัญหาการสื่อสารทางธุรกิจ มีอะไรบ้าง

3. ปัญหาการสื่อสารทางธุรกิจ 3.1 ทัศนคติและความต้องการของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไป 3.2 ธุรกิจมีการเจริญเติบโตและขยายตัวมากขึ้น 3.3 ความซับซ้อนทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น 3.4 ความต้องการข้อมูลและข่าวสาร 3.6 การแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น 3. ความต้องการของสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3.7 ข้อกําหนดของรัฐบาล

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารประกอบด้วยเรื่องใดบ้าง

ปัญหาในการสื่อสาร.
1.การไม่สื่อสาร ... .
2.การสื่อสารข้อมูลเท็จ ... .
3.การสื่อสารข้อมูลที่เติมแต่งความคิดเห็นส่วนตัว ... .
4.การสื่อสารข้อมูลไม่ครบถ้วน ... .
5.การสื่อสารล่าช้า ... .
6.การสื่อสารไม่ถูกคน ... .
7.การสื่อสารไม่ครบคน ... .
8.การไม่ทวนสอบความเข้าใจในการสื่อสาร.